ASTVผู้จัดการรายวัน-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. ดีดตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน หลังการเมืองคลี่คลายลงจากการยุติดันแก้รัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.ปรองดอง คาดจากนี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นอีก
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.2555 ที่สำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ 2,232 คน ว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัวดีขึ้น สูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 78.6 เพิ่มขึ้นจาก 77.1 ในเดือนพ.ค.2555 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 57.9 เพิ่มขึ้นจาก 56.8 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ 86.0 จาก 84.4 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่ที่ 68.5 เพิ่มขึ้นจาก 67.1 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 69.6 เพิ่มจาก 68.1 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 97.8 เพิ่มขึ้นจาก 96.1
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวดีขึ้น มาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ค.อยู่ที่ 20,549 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.7% ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 30.61 จุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.00% และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในนี้ไว้ที่ 5.7%
ขณะที่ปัจจัยลบยังเป็นเรื่องเดิมๆ ทั้งความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากปัญหาหนี้สาธาณะในยุโรป ผู้บริโภคกังวลสถานการณ์การเมืองในประเทศ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าทรงตัวสูง และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
”ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงสุดในรอบ 9 เดือน นับจากช่วงน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนต.ค.2554 เพราะความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายลง หลังการชุมนุมทางการเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ปรองดองยุติลงชั่วคราว อีกทั้งราคาน้ำมันเริ่มปรับตัวลดลง และภาคธุรกิจได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ภายหลังน้ำท่วม” นางเสาวณีย์กล่าว
นางเสาวณีย์กล่าวว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ปรับเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลสำรวจภาวการณ์ใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือนมิ.ย.2555 ที่การซื้อรถยนต์คันใหม่ การซื้อบ้านหลังใหม่ การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว และการลงทุนทำธุรกิจของเอสเอ็มอี ที่ปรับเพิ่มขึ้นทุกรายการ เช่นเดียวกับดัชนีความสุขในการดำรงชีวิต ส่วนดัชนีภาวะค่าครองชีพเดือนมิ.ย. ก็ปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เพราะประชาชนรู้สึกว่ากำลังประสบกับภาวะค่าครองชีพสูงกว่าปกติ
ส่วนแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นในระยะต่อไป คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะผ่อนคลายลง หลายประเทศกำลังช่วยแก้ปัญหา หากปล่อยให้ลุกลามอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้ ขณะที่ภาคการส่งออกและท่องเที่ยวของไทย รัฐบาลก็เข้าไปแก้ไขปัญหาแล้ว โดยมีปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเดียว คือ ด้านการเมือง หากวุ่นวาย ก็จะฉุดความเชื่อมั่นลดลงทันที และส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมา ทั้งการบริโภค การลงทุน แต่ยังเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะยังโตได้ 5.7%
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.2555 ที่สำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ 2,232 คน ว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัวดีขึ้น สูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 78.6 เพิ่มขึ้นจาก 77.1 ในเดือนพ.ค.2555 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 57.9 เพิ่มขึ้นจาก 56.8 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ 86.0 จาก 84.4 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่ที่ 68.5 เพิ่มขึ้นจาก 67.1 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 69.6 เพิ่มจาก 68.1 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 97.8 เพิ่มขึ้นจาก 96.1
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวดีขึ้น มาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ค.อยู่ที่ 20,549 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.7% ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 30.61 จุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.00% และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในนี้ไว้ที่ 5.7%
ขณะที่ปัจจัยลบยังเป็นเรื่องเดิมๆ ทั้งความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากปัญหาหนี้สาธาณะในยุโรป ผู้บริโภคกังวลสถานการณ์การเมืองในประเทศ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าทรงตัวสูง และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
”ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงสุดในรอบ 9 เดือน นับจากช่วงน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนต.ค.2554 เพราะความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายลง หลังการชุมนุมทางการเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ปรองดองยุติลงชั่วคราว อีกทั้งราคาน้ำมันเริ่มปรับตัวลดลง และภาคธุรกิจได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ภายหลังน้ำท่วม” นางเสาวณีย์กล่าว
นางเสาวณีย์กล่าวว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ปรับเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลสำรวจภาวการณ์ใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือนมิ.ย.2555 ที่การซื้อรถยนต์คันใหม่ การซื้อบ้านหลังใหม่ การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว และการลงทุนทำธุรกิจของเอสเอ็มอี ที่ปรับเพิ่มขึ้นทุกรายการ เช่นเดียวกับดัชนีความสุขในการดำรงชีวิต ส่วนดัชนีภาวะค่าครองชีพเดือนมิ.ย. ก็ปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เพราะประชาชนรู้สึกว่ากำลังประสบกับภาวะค่าครองชีพสูงกว่าปกติ
ส่วนแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นในระยะต่อไป คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะผ่อนคลายลง หลายประเทศกำลังช่วยแก้ปัญหา หากปล่อยให้ลุกลามอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้ ขณะที่ภาคการส่งออกและท่องเที่ยวของไทย รัฐบาลก็เข้าไปแก้ไขปัญหาแล้ว โดยมีปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเดียว คือ ด้านการเมือง หากวุ่นวาย ก็จะฉุดความเชื่อมั่นลดลงทันที และส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมา ทั้งการบริโภค การลงทุน แต่ยังเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะยังโตได้ 5.7%