ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย. ดีดตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน หลังการเมืองคลี่คลายลงจากการยุติดันแก้รัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ปรองดอง คาดจากนี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นซ้ำอีก
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.2555 ที่สำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ 2,232 คน ว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัวดีขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 78.6 เพิ่มขึ้นจาก 77.1 ในเดือน พ.ค.2555 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 57.9 เพิ่มขึ้นจาก 56.8 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ 86.0 จาก 84.4 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่ที่ 68.5 เพิ่มขึ้นจาก 67.1 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 69.6 เพิ่มจาก 68.1 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 97.8 เพิ่มขึ้นจาก 96.1
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวดีขึ้น มาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือน พ.ค.อยู่ที่ 20,549 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.7% ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้น 30.61 จุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.00% และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ 5.7%
ขณะที่ปัจจัยลบยังเป็นเรื่องเดิมๆ ทั้งความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธาณะในยุโรป ผู้บริโภคกังวลสถานการณ์การเมืองในประเทศ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าทรงตัวสูง และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงสุดในรอบ 9 เดือน นับจากช่วงน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือน ต.ค. 2554 เพราะความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายลง หลังการชุมนุมทางการเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ปรองดองยุติลงชั่วคราว” นางเสาวณีย์กล่าว
ส่วนแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นในระยะต่อไปคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะผ่อนคลายลง โดยมีปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเดียว คือ ด้านการเมือง หากวุ่นวายก็จะฉุดความเชื่อมั่นลดลงทันที และส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมา ทั้งการบริโภค การลงทุน แต่ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะยังโตได้ 5.7%
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.2555 ที่สำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ 2,232 คน ว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัวดีขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 78.6 เพิ่มขึ้นจาก 77.1 ในเดือน พ.ค.2555 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 57.9 เพิ่มขึ้นจาก 56.8 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ 86.0 จาก 84.4 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่ที่ 68.5 เพิ่มขึ้นจาก 67.1 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 69.6 เพิ่มจาก 68.1 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 97.8 เพิ่มขึ้นจาก 96.1
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวดีขึ้น มาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือน พ.ค.อยู่ที่ 20,549 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.7% ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้น 30.61 จุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.00% และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ 5.7%
ขณะที่ปัจจัยลบยังเป็นเรื่องเดิมๆ ทั้งความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธาณะในยุโรป ผู้บริโภคกังวลสถานการณ์การเมืองในประเทศ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าทรงตัวสูง และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงสุดในรอบ 9 เดือน นับจากช่วงน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือน ต.ค. 2554 เพราะความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายลง หลังการชุมนุมทางการเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ปรองดองยุติลงชั่วคราว” นางเสาวณีย์กล่าว
ส่วนแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นในระยะต่อไปคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะผ่อนคลายลง โดยมีปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเดียว คือ ด้านการเมือง หากวุ่นวายก็จะฉุดความเชื่อมั่นลดลงทันที และส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมา ทั้งการบริโภค การลงทุน แต่ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะยังโตได้ 5.7%