ASTVผู้จัดการ - สวนดุสิตโพล ถามการเมืองไทย พบ ร้อยละ 45.23 แนะชะลอแก้รัฐธรรมนูญ ร้อยละ 40.49 หนุนถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ร้อยละ 56.17 ชี้ถ้าดันทุรังทำทั้งคู่รัฐบาลอยู่ไม่เกิน 6 เดือนแน่ เผยหากยุติแก้ทั้ง 2 เรื่องรัฐจะอยู่ครบวาระ "สุริยะใส" ชี้ พท. ถอนร่างฯปรองดอง แค่ปรับยุทธวิธี หวังผ่านด่านศาลรธน.-และร่างฯพ.ร.บ.งบประมาณก่อนเท่านั้น
วานนี้ (1 ก.ค.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อ การเมืองไทย ซึ่งมีผลโดยตรงต่ออายุ ของรัฐบาล จำนวน 2,562 คน โดยถามว่า ประชาชนคิดว่าเรื่องของ “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ควรดำเนินการต่อไปอย่างไร 45.23% ควรชะลอไปก่อน เพราะ ควรศึกษาให้รอบคอบและรอบด้าน ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์คนใดคนหนึ่ง ปัญหาความขัดแย้งต่างๆจะได้ลดลง ฯลฯ 28.31% ควรยกเลิกโดยไม่มีการแก้ไข เพราะ ถึงแม้จะแก้ไข รธน. ปัญหาต่างๆก็ยังไม่จบลง การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ,ปัญหาน้ำท่วม ของแพง เร่งด่วนกว่า ฯลฯ และ 26.46% ควรดำเนินการแก้ไขต่อไป เพราะ ที่มาของ รธน.ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ควรแก้ไขให้เหมาะสม ,เป็นเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลสัญญาไว้กับประชาชนว่าจะแก้ไข ฯลฯ
เมื่อถามว่า ประชาชนคิดว่าเรื่องของ “พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ” ควรดำเนินการต่อไปอย่างไร 40.49% ควรถอนออกไปเลย เพราะ เป็นประเด็นที่สร้างปัญหา ความขัดแย้งต่างๆจะได้ยุติ ,รัฐบาลจะได้เดินหน้าดำเนินการแก้ปัญหาที่สำคัญในเรื่องอื่นๆต่อไป ฯลฯ 34.36% ควรชะลอไปก่อน
เพราะ มีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น ,ควรศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ทำความเข้าใจกับประชาชน ฯลฯ และ 25.15% ควรเดินหน้าแก้ไขต่อไป เพราะ รัฐบาลจะได้เดินหน้าบริหารบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ ประเทศชาติสงบสุข การสร้างความปรองดองมีผลดีมากกว่าผลเสีย ฯลฯ
เมื่อถามว่า ถ้าเดินหน้าแก้ทั้ง รธน. และพ.ร.บ.ปรองดอง จะมีผลต่ออายุรัฐบาลอย่างไร 56.17% ไม่เกิน 6 เดือน 23.70% ไม่เกิน 1 ปี 7.14% ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน และ 12.99% เมื่อถามว่า ถ้าเดินหน้าแก้ รธน. แต่ถอน พ.ร.บ.ปรองดอง จะมีผลต่ออายุรัฐบาลอย่างไร 31.82% ไม่เกิน 6 เดือน 36.36% ไม่เกิน 1 ปี 16.23% ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน และ 15.59% อยู่ครบวาระ เมื่อถามว่า ถ้ายุติการแก้ รธน. แต่เดินหน้า พ.ร.บ.ปรองดอง จะมีผลต่ออายุรัฐบาลอย่างไร 38.74% ไม่เกิน 6 เดือน 30.46% ไม่เกิน 1 ปี 16.89% ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน และ 13.91% อยู่ครบวาระ และเมื่อถามว่า ถ้ายุติการแก้ทั้งรธน. และถอน พ.ร.บ.ปรองดอง จะมีผลต่อ
**ถอนร่างฯปรองดองแค่ปรับยุทธวิธี
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า การส่งสัญญาณจากประธานสภาฯ และแกนนำพรรคเพื่อไทยบางคน ว่าเตรียมถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ออกจากสภาฯ เพื่อยุติความขัดแย้งนั้น คงเป็นแค่การปรับยุทธวิธี แต่ยังคงเป้าหมายเดิม เพื่อประเมินอารมณ์สังคม และการจัดการปัญหาในพรรคเพื่อไทย ที่เห็นแตกต่างกันมาตั้งแต่ต้น
ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทย เห็นว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่ความแตกแยก ก็ไม่ควรเสนอมาตั้งแต่ต้น หรือเดินสายเปิดเวทีผลักดันทั้ง ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ล้างผิดทักษิณ และ ลงมติวาระ 3 ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสมัยประชุมสามัญที่จะถึงนี้
ประการสำคัญ พรรคเพื่อไทย และรัฐบาล ต้องผ่านด่านศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีคำสั่งให้ชะลอการลงมติร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ให้ได้ก่อน ว่าเข้าข่ายล้มล้างรัฐธรรมนูญ และระบอบการปกครองหรือไม่ เพราะถ้าผ่านด่านนี้ไม่ได้ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองล้างผิดทักษิณ ก็ไม่มีอนาคต เพราะเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองทั้ง 4 ฉบับ ชัดเจนว่าเป็นการล้มล้างอำนาจตุลาการ และรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าผ่านวาระ 1 และมีคนร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ก็มีสิทธิตกไป
ดังนั้น รัฐบาล และพรรคเพื่อไทย จึงตกอยู่ในหมากบังคับ อาจะแค่ชะลอการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกไปสักระยะก่อน เพื่อจัดขบวนตระเตรียมกำลังให้พร้อมกว่านี้ หรือเดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ เพราะบทเรียนในสมัยประชุมที่ผ่านมา ประเมินฝ่ายตรงข้ามต่ำ และหวังบีบหรือมัดมือชกเสียงข้างน้อยมากเกินไป ที่สำคัญ อาจจะแค่หลีกทางให้มีการพิจารณา ร่าง แก้ไข พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดินปี 2556 ให้เสร็จสิ้นก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาวาระ พ.ร.บ. ปรองดอง
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าการล้างผิดให้ทักษิณ ด้วยการออกกม.นิรโทษกรรม ยังเป็นธงของพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลชุดนี้ ถ้าจะถอยและยุติความแตกแยกจริงๆ หรือกลับตัวกลับใจกันได้ ต้องยกเลิกความคิด ออกกฎหมายล้างผิด พ.ต.ท.ทักษิณ และกลับมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และยอมรับคำพิพากษาของศาลเท่านั้น
แต่ถ้าไม่แก้ที่ต้นเหตุ ความขัดแย้งก็ยังดำรงอยู่ และเหมือนฉีดยาชา เพื่อแค่ประคองสถานการณ์ ให้"รัฐบาลปู" อยู่ไปวันๆ เท่านั้น.
วานนี้ (1 ก.ค.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อ การเมืองไทย ซึ่งมีผลโดยตรงต่ออายุ ของรัฐบาล จำนวน 2,562 คน โดยถามว่า ประชาชนคิดว่าเรื่องของ “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ควรดำเนินการต่อไปอย่างไร 45.23% ควรชะลอไปก่อน เพราะ ควรศึกษาให้รอบคอบและรอบด้าน ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์คนใดคนหนึ่ง ปัญหาความขัดแย้งต่างๆจะได้ลดลง ฯลฯ 28.31% ควรยกเลิกโดยไม่มีการแก้ไข เพราะ ถึงแม้จะแก้ไข รธน. ปัญหาต่างๆก็ยังไม่จบลง การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ,ปัญหาน้ำท่วม ของแพง เร่งด่วนกว่า ฯลฯ และ 26.46% ควรดำเนินการแก้ไขต่อไป เพราะ ที่มาของ รธน.ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ควรแก้ไขให้เหมาะสม ,เป็นเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลสัญญาไว้กับประชาชนว่าจะแก้ไข ฯลฯ
เมื่อถามว่า ประชาชนคิดว่าเรื่องของ “พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ” ควรดำเนินการต่อไปอย่างไร 40.49% ควรถอนออกไปเลย เพราะ เป็นประเด็นที่สร้างปัญหา ความขัดแย้งต่างๆจะได้ยุติ ,รัฐบาลจะได้เดินหน้าดำเนินการแก้ปัญหาที่สำคัญในเรื่องอื่นๆต่อไป ฯลฯ 34.36% ควรชะลอไปก่อน
เพราะ มีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น ,ควรศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ทำความเข้าใจกับประชาชน ฯลฯ และ 25.15% ควรเดินหน้าแก้ไขต่อไป เพราะ รัฐบาลจะได้เดินหน้าบริหารบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ ประเทศชาติสงบสุข การสร้างความปรองดองมีผลดีมากกว่าผลเสีย ฯลฯ
เมื่อถามว่า ถ้าเดินหน้าแก้ทั้ง รธน. และพ.ร.บ.ปรองดอง จะมีผลต่ออายุรัฐบาลอย่างไร 56.17% ไม่เกิน 6 เดือน 23.70% ไม่เกิน 1 ปี 7.14% ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน และ 12.99% เมื่อถามว่า ถ้าเดินหน้าแก้ รธน. แต่ถอน พ.ร.บ.ปรองดอง จะมีผลต่ออายุรัฐบาลอย่างไร 31.82% ไม่เกิน 6 เดือน 36.36% ไม่เกิน 1 ปี 16.23% ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน และ 15.59% อยู่ครบวาระ เมื่อถามว่า ถ้ายุติการแก้ รธน. แต่เดินหน้า พ.ร.บ.ปรองดอง จะมีผลต่ออายุรัฐบาลอย่างไร 38.74% ไม่เกิน 6 เดือน 30.46% ไม่เกิน 1 ปี 16.89% ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน และ 13.91% อยู่ครบวาระ และเมื่อถามว่า ถ้ายุติการแก้ทั้งรธน. และถอน พ.ร.บ.ปรองดอง จะมีผลต่อ
**ถอนร่างฯปรองดองแค่ปรับยุทธวิธี
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า การส่งสัญญาณจากประธานสภาฯ และแกนนำพรรคเพื่อไทยบางคน ว่าเตรียมถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ออกจากสภาฯ เพื่อยุติความขัดแย้งนั้น คงเป็นแค่การปรับยุทธวิธี แต่ยังคงเป้าหมายเดิม เพื่อประเมินอารมณ์สังคม และการจัดการปัญหาในพรรคเพื่อไทย ที่เห็นแตกต่างกันมาตั้งแต่ต้น
ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทย เห็นว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่ความแตกแยก ก็ไม่ควรเสนอมาตั้งแต่ต้น หรือเดินสายเปิดเวทีผลักดันทั้ง ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ล้างผิดทักษิณ และ ลงมติวาระ 3 ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสมัยประชุมสามัญที่จะถึงนี้
ประการสำคัญ พรรคเพื่อไทย และรัฐบาล ต้องผ่านด่านศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีคำสั่งให้ชะลอการลงมติร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ให้ได้ก่อน ว่าเข้าข่ายล้มล้างรัฐธรรมนูญ และระบอบการปกครองหรือไม่ เพราะถ้าผ่านด่านนี้ไม่ได้ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองล้างผิดทักษิณ ก็ไม่มีอนาคต เพราะเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองทั้ง 4 ฉบับ ชัดเจนว่าเป็นการล้มล้างอำนาจตุลาการ และรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าผ่านวาระ 1 และมีคนร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ก็มีสิทธิตกไป
ดังนั้น รัฐบาล และพรรคเพื่อไทย จึงตกอยู่ในหมากบังคับ อาจะแค่ชะลอการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกไปสักระยะก่อน เพื่อจัดขบวนตระเตรียมกำลังให้พร้อมกว่านี้ หรือเดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ เพราะบทเรียนในสมัยประชุมที่ผ่านมา ประเมินฝ่ายตรงข้ามต่ำ และหวังบีบหรือมัดมือชกเสียงข้างน้อยมากเกินไป ที่สำคัญ อาจจะแค่หลีกทางให้มีการพิจารณา ร่าง แก้ไข พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดินปี 2556 ให้เสร็จสิ้นก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาวาระ พ.ร.บ. ปรองดอง
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าการล้างผิดให้ทักษิณ ด้วยการออกกม.นิรโทษกรรม ยังเป็นธงของพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลชุดนี้ ถ้าจะถอยและยุติความแตกแยกจริงๆ หรือกลับตัวกลับใจกันได้ ต้องยกเลิกความคิด ออกกฎหมายล้างผิด พ.ต.ท.ทักษิณ และกลับมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และยอมรับคำพิพากษาของศาลเท่านั้น
แต่ถ้าไม่แก้ที่ต้นเหตุ ความขัดแย้งก็ยังดำรงอยู่ และเหมือนฉีดยาชา เพื่อแค่ประคองสถานการณ์ ให้"รัฐบาลปู" อยู่ไปวันๆ เท่านั้น.