ใกล้เข้ามาเต็มทีแล้วสำหรับวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 วันพิพากษาหรือการปฏิบัติการปฏิวัติประชาชนขององค์การพิทักษ์สยาม นำโดย พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม “เสธ.อ้าย” ชื่อของเสธ.อ้ายดังกระฉ่อนหลังการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2555 หลังถูกฝ่ายต่างๆ ปรามาสเอาไว้เยอะ
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ใครจะไป ใครไม่ไป ตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ด่าว่าโทษกัน แต่ที่แน่ๆ ผมจะไปเพราะกลัวว่าเสธ.อ้ายขาดคนเดียวจะครบล้าน แกนนำพันธมิตรฯ ประกาศชัดว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
การอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านต้องฝ่อไป เพราะเรื่องการถอดยศร้อยตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ตกหลุมพรางของรัฐบาล มัวแต่ดิ้นพล่านตอบโต้กันรายวัน แถมโดนข่าวการชุมนุมใหญ่ขององค์การพิทักษ์สยามกลบทับอีกชั้นหนึ่ง ผู้คนเลยไม่สนใจการเมืองในระบอบรัฐสภา ตามที่เสธ.อ้ายประกาศจะแช่แข็งระบบการเมืองไทยเอาไว้ 5 ปี
วิธีการที่จะนำไปสู่การแช่แข็งนักการเมืองและระบบการเมืองไทยกำลังเป็นที่จับตามองและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่อง แต่ลำพังแค่เสธ.อ้ายคนเดียวไม่สามารถเป็นอัศวินม้าขาว เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยได้เพียงชั่วข้ามคืน
การสร้างสรรค์งานศิลปะนั้น ศิลปินจะต้องมีจินตนาการขึ้นมาก่อน จึงจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นรูปธรรมได้ การเมืองก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครคนใดจะเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของบ้านเมืองด้วยคนเพียงกลุ่มเดียว องค์การพิทักษ์สยามคงไม่ใช่เทวดาที่จะกำหนดพิมพ์เขียวประเทศไทยได้เพียงกลุ่มเดียว
ดังนั้นวันนี้ผมจึงอยากจะแบ่งปันความฝันของผม และฝันแทนพี่น้องประชาชนอีกหลายกลุ่มที่จะสะท้อนปัญหาต่างๆ ของประเทศเท่าที่เคยประสบมา คนไทยทุกคนควรมีส่วนร่วมในการสร้างพิมพ์เขียวแผ่นนี้ด้วยกัน ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
ด้านการเมือง
1. งดใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในหมวดที่ว่าด้วยรัฐสภา หมวด 6, 7, 8 และ 9 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
2. เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล
3. ประเทศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศฉบับ พ.ศ. 2555 ในส่วนที่ว่าด้วย “คณะกรรมการนิติบัญญัติแห่งชาติ” แทนหมวดที่ 6 ว่าด้วยรัฐสภา ให้มี “คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน” แทนหมวดที่ 7 ให้แต่งตั้ง “คณะกรรมการว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณของชาติ” แทนหมวดที่ 8 ให้แต่งตั้ง “คณะกรรมการการบริหารแห่งชาติ” แทนหมวดที่ 9 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี ให้มี “คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐในกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบ” ให้ใช้ธรรมนูญฉบับนี้ต่อไปเป็นเวลา 5 ปี
คณะกรรมการนิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนรัฐสภาในด้านนิติบัญญัติ สรรหามาจากกลุ่มอาชีพหลักใหญ่ๆ และตัวแทนของชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาส รวมแล้วไม่เกิน 300 คน
คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำหน้าที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน สร้างทัศนคติและความเข้าใจทางด้านการเมืองการปกครองประเทศระหว่างรัฐและประชาชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รับเรื่องราวร้องทุกข์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับรัฐ และมีหน้าที่ติดตามการแก้ไขปัญหา โดยเป็นผู้กำหนดกรอบระยะเวลา และประเมินผลงานเสนอคณะกรรมการการบริหารแห่งชาติ คณะกรรมการชุดนี้คัดสรรมาจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากแต่ละสาขาอาชีพ และตัวแทนประชาชน จำนวนไม่เกิน 100 คน และให้มีคณะทำงานหรืออนุกรรมการอยู่ในทุกตำบล ทุกหมู่บ้าน
คณะกรรมการว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณของชาติ ทำหน้าที่ด้านการวางแผนจัดทำงบประมาณแผ่นดิน กำหนดนโยบายด้านการเงินและการคลังของชาติ จัดทำงบประมาณอย่างสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐ จำกัดกรอบวงเงินกู้อันจะสร้างภาระทางการเงินในอนาคต เน้นการจัดเก็บภาษีอย่างเข้มงวดและกระจายฐานการจัดเก็บภาษีให้กว้างขึ้น ส่งเสริมการออมและการใช้จ่ายที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำงบประมาณตามความต้องการและความจำเป็น คัดสรรจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง ด้านรัฐศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และนักวิชาการหลากหลายสาขา รวมทั้งตัวแทนจากภาคประชาชน จำนวนไม่เกิน 100 คน
คณะกรรมการการบริหารแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนคณะรัฐมนตรี โดยมีประธานคณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และให้มีคณะกรรมการบริหารกระทรวงต่างๆ ไม่เกินกระทรวงละ 5 คน ประธานของแต่ละกระทรวงทำหน้าที่แทนรัฐมนตรี
คณะกรรมการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในอดีตที่ก่อให้เกิดภาระหนี้สิน ความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายและการบริหารรัฐกิจที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน รวบรวมหลักฐานต่างๆ เพื่อนำไปสู่การดำเนินคดีต่ออดีตผู้ใช้อำนาจรัฐนั้น
คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐในกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบ ทำหน้าที่จัดทำบัญชีรายชื่อนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องสงสัยหรือมีผู้ร้องเรียนว่าร่ำรวยผิดปกติ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและอายัดทรัพย์ไว้ก่อนในระหว่างที่การตรวจสอบยังไม่สิ้นสุด เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องสงสัยนำหลักฐานการได้มาของทรัพย์สิน หากมีหลักฐานชัดเจนว่ามีการทุจริตประพฤติมิชอบจริง ให้ดำเนินคดีต่อศาลพิเศษสำหรับกรณีนี้ รวมทั้งหากมีการพาดพิงไปถึงบุคคลใกล้ชิดหรือวงศาคณาญาติ ให้มีอำนาจอายัดทรัพย์สินบุคคลเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบ มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับโทษลดหลั่นกันไป คดีเหล่านี้จะต้องไม่กำหนดวันหมดอายุความ โดยส่งให้คณะกรรมการนิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตราเป็นกฎหมายที่ถือเป็นกรณีเร่งด่วน
ด้านเศรษฐกิจ
เน้นให้เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก เน้นการพึ่งพาตนเองตั้งแต่ระดับชุมชน ไม่มุ่งเน้นการเร่งแสวงหาเงินตรา แต่ให้ความสำคัญกับความต้องการพื้นฐานและสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ของประชาชน ส่งเสริมการออม ขยายฐานภาษีให้กว้างขวางและเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เก็บภาษีตามอัตรารายได้ ผู้มีรายได้สูงต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นเป็นระบบขั้นบันได จัดเก็บภาษีด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการใช้น้ำ จัดเก็บภาษีมรดก เก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า
ด้านพลังงาน
จัดให้มีองค์กรอิสระให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและควบคุมด้านพลังงานและทรัพยากรเหมืองแร่ต่างๆ แทนกระทรวงพลังงาน แก้ไขกฎหมายเหมืองแร่และการปิโตรเลียม ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานต่างๆ ที่รัฐเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยด้านพลังงานทางเลือกของภาคประชาชน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากขยะและเศษอาหารที่สามารถเปลี่ยนเป็นก๊าซ ค้นคว้าวิจัยพืชพลังงาน ฯลฯ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เน้นการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยสนับสนุนภาคประชาชนให้มีจิตสำนึกรักถิ่นที่อยู่ ให้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของและร่วมกับรัฐในการดูแลรักษาพื้นที่ป่า ส่งเสริมการจัดการป่าโดยชุมชน จัดงบประมาณส่งเสริมสนับสนุนโดยเก็บภาษีจากผู้ใช้น้ำทุกประเภท นำมาเป็นกองทุนสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาป่าซึ่งทำหน้าที่ดูแลป่าต้นน้ำ ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมการปลูกป่า เพราะป่าไม้เกิดขึ้นเองได้ เพียงแค่ป้องกันไม่ให้คนเข้าไปบุกรุกทำลายป่า งดการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ หันมาสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กกระจายทั่วทุกหมู่บ้าน เชื่อมโยงแม่น้ำลำคลองสร้างโครงข่ายให้มากขึ้น สนับสนุนเกษตรปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์ จำกัดการนำเข้าเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร จัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม จัดโซนนิ่งพื้นที่สำหรับการปลูกพืชให้เหมาะสมกับภูมิภาคและภูมิอากาศ กระจายการถือครองที่ดินไปสู่ผู้ไร้ที่ดินทำกินหรือคนยากจน โดยปรับปรุงกฎหมายและการดำเนินงานของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร จัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อเป็นกองทุนจัดซื้อที่ดินคืนจากนายทุน หรือนำที่ดินของรัฐที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์มาจัดสรรให้กับเกษตรกรและคนยากจน
ด้านสิทธิเสรีภาพ ความสงบสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง รัฐต้องไม่สนับสนุนกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น เจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับต้องยึดมั่นในกฎหมาย ระบบตำรวจจำเป็นต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ อาจจำเป็นต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือให้ออกจากราชการไม่น้อยกว่า 5 หมื่นนาย โดยจัดทำบัญชีรานชื่อเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รีดไถ ข่มขู่ ค้ายาเสพติด คุมบ่อน ซ่อง คุ้มมือปืน เรียกค่าคุ้มครอง เก็บส่วย ซื้อตำแหน่ง ค้าของผิดกฎหมาย ฯลฯ บางรายให้ดำเนินคดีทันที แต่หากมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงรู้เห็นเป็นใจ ละเลยต่อหน้าที่ หรือมีผลประโยชน์ร่วมจะต้องถูกดำเนินคดีด้วย เปลี่ยนแปลงองค์กรตุลาการ โดยเฉพาะอัยการ ให้มีกระบวนการตรวจสอบดำเนินคดีกับตุลาการโดยภาคประชาชนเพื่อคานอำนาจ ปรับปรุงระบบการทำงานของศาลให้เที่ยงตรง ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
เท่าที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงรายละเอียดคร่าวๆ ซึ่งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่อยากให้เสธ.อ้ายเก็บไว้ประกอบกับพิมพ์เขียวที่ยังไม่สมบูรณ์
สิ่งเหล่านี้มาจากข้อมูลและประสบการณ์จริงกว่า 30 ปีของภาคประชาชน ผมฝันไปเองว่านี่คือส่วนหนึ่งในพิมพ์เขียวประเทศที่เสธ.อ้ายและคณะจะนำไปใช้หากสามารถเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองได้สำเร็จ ที่แน่นอนคือในคณะกรรมการชุดต่างๆ นั้น จะต้องไม่มีนักการเมืองในระบอบเดิมเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยเป็นอันขาด และนี่คือการแช่แข็งทางการเมือง
เสธ.อ้ายใส่สูทสีแดงซึ่งเป็นเครื่องแบบของราชองครักษ์ก็จริง แต่ก็ทราบมาว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ของพันธมิตรฯ คนหนึ่งซึ่งดูจอเหลืองมาตลอด วันนี้ผมคงไม่ขอแก้แทนว่าทำไมเสธ.อ้ายจึงไม่คิดแบบเดียวกับแกนนำพันธมิตรฯ ผมคงไม่สามารถรับรองใครว่าเป็นคนดี แต่ที่เห็นเสธ.อ้าย กล้าออกมาทำการใหญ่เช่นนี้ ถ้าไม่มีดีจริง แล้วอะไรคือสิ่งที่โดนใจคน ทั้งๆ ที่ไม่ได้มวลชนของตนเลย หรือจะเป็นเพราะบทเทศนาธรรมของหลวงตามหาบัวบทนี้
เกิดกับชาติต้องช่วยชาติ
ใครก็ตามจะอยู่ได้เพราะชาติ ถ้าชาติจมไปเสียแล้ว ไม่มีใครอยู่ได้ สูงขนาดไหน ต่ำขนาดไหนก็จมไปด้วยกัน ถ้าชาติอยู่ไม่ได้แล้ว อยู่ไม่ได้เมืองไทยเรานี่ เราเอาชาติออกเป็นที่ตั้งเลย เรียกว่าชาติเป็นใหญ่ว่างั้นเลย ถ้าลงชาติล่มจมอะไรไม่มีเหลือ ไปด้วยกันหมดเลย เพราะรากแก้วอยู่ที่นี่ ต้นลำอยู่นี่ อยู่ที่ชาตินี่ เพราะฉะนั้นเราถึงวิตกวิจารณ์มาก มันเกี่ยวกับชาติบ้านเมืองเรา (16 ม.ค. 41)
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ใครจะไป ใครไม่ไป ตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ด่าว่าโทษกัน แต่ที่แน่ๆ ผมจะไปเพราะกลัวว่าเสธ.อ้ายขาดคนเดียวจะครบล้าน แกนนำพันธมิตรฯ ประกาศชัดว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
การอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านต้องฝ่อไป เพราะเรื่องการถอดยศร้อยตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ตกหลุมพรางของรัฐบาล มัวแต่ดิ้นพล่านตอบโต้กันรายวัน แถมโดนข่าวการชุมนุมใหญ่ขององค์การพิทักษ์สยามกลบทับอีกชั้นหนึ่ง ผู้คนเลยไม่สนใจการเมืองในระบอบรัฐสภา ตามที่เสธ.อ้ายประกาศจะแช่แข็งระบบการเมืองไทยเอาไว้ 5 ปี
วิธีการที่จะนำไปสู่การแช่แข็งนักการเมืองและระบบการเมืองไทยกำลังเป็นที่จับตามองและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่อง แต่ลำพังแค่เสธ.อ้ายคนเดียวไม่สามารถเป็นอัศวินม้าขาว เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยได้เพียงชั่วข้ามคืน
การสร้างสรรค์งานศิลปะนั้น ศิลปินจะต้องมีจินตนาการขึ้นมาก่อน จึงจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นรูปธรรมได้ การเมืองก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครคนใดจะเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของบ้านเมืองด้วยคนเพียงกลุ่มเดียว องค์การพิทักษ์สยามคงไม่ใช่เทวดาที่จะกำหนดพิมพ์เขียวประเทศไทยได้เพียงกลุ่มเดียว
ดังนั้นวันนี้ผมจึงอยากจะแบ่งปันความฝันของผม และฝันแทนพี่น้องประชาชนอีกหลายกลุ่มที่จะสะท้อนปัญหาต่างๆ ของประเทศเท่าที่เคยประสบมา คนไทยทุกคนควรมีส่วนร่วมในการสร้างพิมพ์เขียวแผ่นนี้ด้วยกัน ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
ด้านการเมือง
1. งดใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในหมวดที่ว่าด้วยรัฐสภา หมวด 6, 7, 8 และ 9 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
2. เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล
3. ประเทศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศฉบับ พ.ศ. 2555 ในส่วนที่ว่าด้วย “คณะกรรมการนิติบัญญัติแห่งชาติ” แทนหมวดที่ 6 ว่าด้วยรัฐสภา ให้มี “คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน” แทนหมวดที่ 7 ให้แต่งตั้ง “คณะกรรมการว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณของชาติ” แทนหมวดที่ 8 ให้แต่งตั้ง “คณะกรรมการการบริหารแห่งชาติ” แทนหมวดที่ 9 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี ให้มี “คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐในกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบ” ให้ใช้ธรรมนูญฉบับนี้ต่อไปเป็นเวลา 5 ปี
คณะกรรมการนิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนรัฐสภาในด้านนิติบัญญัติ สรรหามาจากกลุ่มอาชีพหลักใหญ่ๆ และตัวแทนของชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาส รวมแล้วไม่เกิน 300 คน
คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำหน้าที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน สร้างทัศนคติและความเข้าใจทางด้านการเมืองการปกครองประเทศระหว่างรัฐและประชาชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รับเรื่องราวร้องทุกข์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับรัฐ และมีหน้าที่ติดตามการแก้ไขปัญหา โดยเป็นผู้กำหนดกรอบระยะเวลา และประเมินผลงานเสนอคณะกรรมการการบริหารแห่งชาติ คณะกรรมการชุดนี้คัดสรรมาจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากแต่ละสาขาอาชีพ และตัวแทนประชาชน จำนวนไม่เกิน 100 คน และให้มีคณะทำงานหรืออนุกรรมการอยู่ในทุกตำบล ทุกหมู่บ้าน
คณะกรรมการว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณของชาติ ทำหน้าที่ด้านการวางแผนจัดทำงบประมาณแผ่นดิน กำหนดนโยบายด้านการเงินและการคลังของชาติ จัดทำงบประมาณอย่างสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐ จำกัดกรอบวงเงินกู้อันจะสร้างภาระทางการเงินในอนาคต เน้นการจัดเก็บภาษีอย่างเข้มงวดและกระจายฐานการจัดเก็บภาษีให้กว้างขึ้น ส่งเสริมการออมและการใช้จ่ายที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำงบประมาณตามความต้องการและความจำเป็น คัดสรรจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง ด้านรัฐศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และนักวิชาการหลากหลายสาขา รวมทั้งตัวแทนจากภาคประชาชน จำนวนไม่เกิน 100 คน
คณะกรรมการการบริหารแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนคณะรัฐมนตรี โดยมีประธานคณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และให้มีคณะกรรมการบริหารกระทรวงต่างๆ ไม่เกินกระทรวงละ 5 คน ประธานของแต่ละกระทรวงทำหน้าที่แทนรัฐมนตรี
คณะกรรมการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในอดีตที่ก่อให้เกิดภาระหนี้สิน ความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายและการบริหารรัฐกิจที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน รวบรวมหลักฐานต่างๆ เพื่อนำไปสู่การดำเนินคดีต่ออดีตผู้ใช้อำนาจรัฐนั้น
คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐในกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบ ทำหน้าที่จัดทำบัญชีรายชื่อนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องสงสัยหรือมีผู้ร้องเรียนว่าร่ำรวยผิดปกติ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและอายัดทรัพย์ไว้ก่อนในระหว่างที่การตรวจสอบยังไม่สิ้นสุด เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องสงสัยนำหลักฐานการได้มาของทรัพย์สิน หากมีหลักฐานชัดเจนว่ามีการทุจริตประพฤติมิชอบจริง ให้ดำเนินคดีต่อศาลพิเศษสำหรับกรณีนี้ รวมทั้งหากมีการพาดพิงไปถึงบุคคลใกล้ชิดหรือวงศาคณาญาติ ให้มีอำนาจอายัดทรัพย์สินบุคคลเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบ มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับโทษลดหลั่นกันไป คดีเหล่านี้จะต้องไม่กำหนดวันหมดอายุความ โดยส่งให้คณะกรรมการนิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตราเป็นกฎหมายที่ถือเป็นกรณีเร่งด่วน
ด้านเศรษฐกิจ
เน้นให้เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก เน้นการพึ่งพาตนเองตั้งแต่ระดับชุมชน ไม่มุ่งเน้นการเร่งแสวงหาเงินตรา แต่ให้ความสำคัญกับความต้องการพื้นฐานและสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ของประชาชน ส่งเสริมการออม ขยายฐานภาษีให้กว้างขวางและเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เก็บภาษีตามอัตรารายได้ ผู้มีรายได้สูงต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นเป็นระบบขั้นบันได จัดเก็บภาษีด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการใช้น้ำ จัดเก็บภาษีมรดก เก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า
ด้านพลังงาน
จัดให้มีองค์กรอิสระให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและควบคุมด้านพลังงานและทรัพยากรเหมืองแร่ต่างๆ แทนกระทรวงพลังงาน แก้ไขกฎหมายเหมืองแร่และการปิโตรเลียม ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานต่างๆ ที่รัฐเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยด้านพลังงานทางเลือกของภาคประชาชน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากขยะและเศษอาหารที่สามารถเปลี่ยนเป็นก๊าซ ค้นคว้าวิจัยพืชพลังงาน ฯลฯ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เน้นการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยสนับสนุนภาคประชาชนให้มีจิตสำนึกรักถิ่นที่อยู่ ให้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของและร่วมกับรัฐในการดูแลรักษาพื้นที่ป่า ส่งเสริมการจัดการป่าโดยชุมชน จัดงบประมาณส่งเสริมสนับสนุนโดยเก็บภาษีจากผู้ใช้น้ำทุกประเภท นำมาเป็นกองทุนสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาป่าซึ่งทำหน้าที่ดูแลป่าต้นน้ำ ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมการปลูกป่า เพราะป่าไม้เกิดขึ้นเองได้ เพียงแค่ป้องกันไม่ให้คนเข้าไปบุกรุกทำลายป่า งดการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ หันมาสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กกระจายทั่วทุกหมู่บ้าน เชื่อมโยงแม่น้ำลำคลองสร้างโครงข่ายให้มากขึ้น สนับสนุนเกษตรปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์ จำกัดการนำเข้าเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร จัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม จัดโซนนิ่งพื้นที่สำหรับการปลูกพืชให้เหมาะสมกับภูมิภาคและภูมิอากาศ กระจายการถือครองที่ดินไปสู่ผู้ไร้ที่ดินทำกินหรือคนยากจน โดยปรับปรุงกฎหมายและการดำเนินงานของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร จัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อเป็นกองทุนจัดซื้อที่ดินคืนจากนายทุน หรือนำที่ดินของรัฐที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์มาจัดสรรให้กับเกษตรกรและคนยากจน
ด้านสิทธิเสรีภาพ ความสงบสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง รัฐต้องไม่สนับสนุนกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น เจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับต้องยึดมั่นในกฎหมาย ระบบตำรวจจำเป็นต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ อาจจำเป็นต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือให้ออกจากราชการไม่น้อยกว่า 5 หมื่นนาย โดยจัดทำบัญชีรานชื่อเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รีดไถ ข่มขู่ ค้ายาเสพติด คุมบ่อน ซ่อง คุ้มมือปืน เรียกค่าคุ้มครอง เก็บส่วย ซื้อตำแหน่ง ค้าของผิดกฎหมาย ฯลฯ บางรายให้ดำเนินคดีทันที แต่หากมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงรู้เห็นเป็นใจ ละเลยต่อหน้าที่ หรือมีผลประโยชน์ร่วมจะต้องถูกดำเนินคดีด้วย เปลี่ยนแปลงองค์กรตุลาการ โดยเฉพาะอัยการ ให้มีกระบวนการตรวจสอบดำเนินคดีกับตุลาการโดยภาคประชาชนเพื่อคานอำนาจ ปรับปรุงระบบการทำงานของศาลให้เที่ยงตรง ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
เท่าที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงรายละเอียดคร่าวๆ ซึ่งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่อยากให้เสธ.อ้ายเก็บไว้ประกอบกับพิมพ์เขียวที่ยังไม่สมบูรณ์
สิ่งเหล่านี้มาจากข้อมูลและประสบการณ์จริงกว่า 30 ปีของภาคประชาชน ผมฝันไปเองว่านี่คือส่วนหนึ่งในพิมพ์เขียวประเทศที่เสธ.อ้ายและคณะจะนำไปใช้หากสามารถเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองได้สำเร็จ ที่แน่นอนคือในคณะกรรมการชุดต่างๆ นั้น จะต้องไม่มีนักการเมืองในระบอบเดิมเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยเป็นอันขาด และนี่คือการแช่แข็งทางการเมือง
เสธ.อ้ายใส่สูทสีแดงซึ่งเป็นเครื่องแบบของราชองครักษ์ก็จริง แต่ก็ทราบมาว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ของพันธมิตรฯ คนหนึ่งซึ่งดูจอเหลืองมาตลอด วันนี้ผมคงไม่ขอแก้แทนว่าทำไมเสธ.อ้ายจึงไม่คิดแบบเดียวกับแกนนำพันธมิตรฯ ผมคงไม่สามารถรับรองใครว่าเป็นคนดี แต่ที่เห็นเสธ.อ้าย กล้าออกมาทำการใหญ่เช่นนี้ ถ้าไม่มีดีจริง แล้วอะไรคือสิ่งที่โดนใจคน ทั้งๆ ที่ไม่ได้มวลชนของตนเลย หรือจะเป็นเพราะบทเทศนาธรรมของหลวงตามหาบัวบทนี้
เกิดกับชาติต้องช่วยชาติ
ใครก็ตามจะอยู่ได้เพราะชาติ ถ้าชาติจมไปเสียแล้ว ไม่มีใครอยู่ได้ สูงขนาดไหน ต่ำขนาดไหนก็จมไปด้วยกัน ถ้าชาติอยู่ไม่ได้แล้ว อยู่ไม่ได้เมืองไทยเรานี่ เราเอาชาติออกเป็นที่ตั้งเลย เรียกว่าชาติเป็นใหญ่ว่างั้นเลย ถ้าลงชาติล่มจมอะไรไม่มีเหลือ ไปด้วยกันหมดเลย เพราะรากแก้วอยู่ที่นี่ ต้นลำอยู่นี่ อยู่ที่ชาตินี่ เพราะฉะนั้นเราถึงวิตกวิจารณ์มาก มันเกี่ยวกับชาติบ้านเมืองเรา (16 ม.ค. 41)