ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อธิปไตยหรือที่แปลว่า ความเป็นใหญ่ ในภาษาไทยนั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ
1. อัตตาธิปไตย ประรภตน หรือถือตนเป็นใหญ่ กระทำการด้วยการยึดความคิดเห็นของตนเป็นประมาณ ไม่สนใจและใส่ใจความคิดเห็นของคนอื่น เทียบได้กับระบบเผด็จการ
2. โลกาธิปไตย ปรารภโลก หรือถือโลกเป็นใหญ่ กระทำการตามกระแสความนิยมของโลก เทียบได้กับประชาธิปไตย
3. ธรรมาธิปไตย ปรารภธรรม หรือยึดธรรมเป็นใหญ่ กระทำการโดยยึดความถูกต้อง เป็นธรรม ทั้งแก่โลกและตนเอง
หลักอธิปไตยทั้ง 3 ประการนี้ โดยนัยแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ ถือว่าเป็นเหตุเริ่มต้นให้คนคิด พูด และทำในสิ่งที่ตนปรารถนาจะทำ ถ้าทำโดยยึดตนเองเป็นหลัก หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ตนอยากทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น โดยไม่คำนึงว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร สอดคล้องหรือขัดแย้งกับตนเองหรือไม่ เรียกว่า อัตตาธิปไตย
ส่วนการคิด พูด หรือทำโดยยึดกระแสโลก หรือพูดง่ายๆ ก็คือทำไปเพราะเห็นว่าโลกเขาทำกัน โดยไม่คิดคำนึงว่าการกระทำนั้นสอดคล้องและเหมาะสมถูกต้องกับความเป็นจริงหรือไม่ประการใด เรียกว่า โลกาธิปไตย
ประการสุดท้าย ถ้ากระทำโดยยึดหลักการแห่งความถูกต้อง เหมาะสมแก่เหตุและผล เรียกว่า ธรรมาธิปไตย
แต่ในโลกแห่งปุถุชนคนที่มากด้วยกิเลสเฉกเช่นในปัจจุบัน การที่จะมีใครสักคนหรือสักกลุ่มกระทำโดยยึดธรรมาธิปไตยล้วนโดยไม่มีอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตยเจือปนหรือผสมผสานนั้นคงหาได้ยาก เพราะเป็นปกติธรรมดาของคนที่ยังมีกิเลสที่จะต้องนึกถึงตนเองและคนที่เกี่ยวข้องกับตน ก่อนที่จะคิดถึงความถูกต้องและเป็นธรรมแก่โลกโดยรวม
ดังนั้น อธิปไตยในปัจจุบันจะมีได้อย่างมากก็แค่อัตตาธิปไตยผสมกับธรรมาธิปไตย และโลกาธิปไตยผสมกับธรรมาธิปไตย ในสัดส่วนที่คนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรมก็คิดว่าดีมากแล้ว
ในความเป็นจริงที่มีอยู่ อธิปไตยในเมืองไทยที่เรียกกันสวยหรูว่าประชาธิปไตยนั้น แท้จริงถ้าเทียบตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้วมีเพียงส่วนผสมของอัตตาธิปไตยกับโลกาธิปไตยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่การเมืองไทยได้ถูกครอบงำด้วยนโยบายประชานิยมในช่วงปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้อนุมานได้จากเหตุปัจจัยในทางการเมืองในรูปแบบการปกครองที่เรียกประชาธิปไตยดังนี้
1. การเมืองของไทยที่มีลักษณะเป็นอัตตาธิปไตย ทั้งๆ ที่มีรูปแบบการเลือกตั้งที่เห็นได้เด่นชัดอย่างเป็นรูปธรรมได้ เริ่มขึ้นเมื่อพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของอดีตนายกฯ ทักษิณ มีอำนาจการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคนคนเดียว ทั้งๆ ที่พรรคมีกรรมการบริหารพรรคในรูปแบบของประชาธิปไตย และที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งกว่านี้ก็คือ อดีตนายกฯ ทักษิณถูกโค่นล้มจากอำนาจ และต้องคดีต้องหนีออกนอกประเทศ แต่พรรคการเมืองในยุคต่อมาที่ต้องพึ่งทุนเงินจากอดีตนายกฯ ทักษิณยังต้องฟังคำสั่งการ และตัดสินในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เช่น การปรับ ครม.หรือแม้กระทั่งการกำหนดนโยบายในการหาเสียงในยุคหัวหน้าพรรคที่เป็นร่างทรงในยุคต่อมา เช่น ยุคของนายสมัคร สุนทรเวช แม้กระทั่งในยุคของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังอยู่ในภาวะเดิมคือต้องฟังคนคนเดียว อันเป็นลักษณะของอัตตาธิปไตย และที่เป็นเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจทุนเงินที่หลายคนในพรรคเพื่อไทยต้องพึ่งพานั่นเอง
2. เมื่อทุกคนในพรรคต้องพึ่งทุนเงินจากคนคนเดียว หรือกลุ่มทุนกลุ่มเดียว แน่นอนว่าทุกเสียงในพรรคจะต้องถูกกำหนดด้วยทิศทางความต้องการของนายทุน ไม่ว่าจะในลักษณะของการแสวงหาหรือปกป้องผลประโยชน์ของนายทุน และนี่ก็เป็นลักษณะหนึ่งของอัตตาธิปไตย
3. ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองอันเป็นนิติบุคคลหรือจะเป็นนักการเมืองอันเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยปกติมีความอิสระในการตัดสินใจทางการเมือง แต่เมื่อถูกระบบทุนครอบงำก็จะต้องดำเนินกิจกรรมทางการเมืองให้ตรงต่อความต้องการของนายทุน มิฉะนั้นก็จะอยู่กับพรรคที่มีลักษณะของอัตตาธิปไตยไม่ได้ และนี่ก็คือลักษณะของอัตตาธิปไตยอีกประการหนึ่ง
4. เมื่อพรรคการเมืองที่ว่านี้มีโอกาสเป็นรัฐบาลก็จะต้องรับใช้นายทุน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่พรรคการเมืองลักษณะนี้จะทำงานรับใช้ประเทศโดยรวมโดยยึดคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่คำนึงว่าตนจะได้ประโยชน์หรือไม่ในฐานะปัจเจกบุคคล และยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่พรรคการเมืองลักษณะนี้จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อคนส่วนใหญ่
จากปัจจัย 4 ประการที่ว่ามานี้ จะเห็นได้ว่าพรรคการเมืองไทยในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคที่เป็นแกนนำรัฐบาลอยู่ในขณะนี้จะมีอะไรแตกต่างไปจากระบบเผด็จการ จะมีก็เพียงว่าเผด็จการมิได้มาจากการเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองในขณะนี้มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ถ้าดูเนื้อหาสาระแล้วไม่มีลักษณะของประชาธิปไตยที่ควรจะเป็นโลกาธิปไตยผสมกับธรรมาธิปไตย คือมาจากการเลือกตั้ง และทำกิจกรรมทางการเมืองโดยยึดหลักธรรมาธิปไตย คือมีความถูกต้อง เหมาะสม และคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งกลุ่มและคำนึงถึงความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นแก่ประเทศในอนาคต อันจะเห็นได้ชัดจากนโยบายรับจำนำข้าวที่สูงกว่าราคาตลาดในความเป็นจริง และกำลังจะก่อความเดือดร้อนให้แก่ประเทศเมื่อข้าวขายไม่ออกหรือขายออกในราคาที่ต่ำกว่ารับจำนำไว้ ทำให้ต้องแบกรับภาวะขาดทุน อันเป็นเหตุให้รัฐต้องก่อหนี้เพื่อมาชดเชยการขาดทุน และเป็นเหตุให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเป็นผู้ให้กู้เพื่อรับจำนำข้าวต้องเดือดร้อนถ้าข้าวขายออกไม่ได้เพราะจะทำให้ขาดสภาพคล่อง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินแห่งนี้ในไม่ช้านี้
และนี่ก็เป็นลักษณะการดำเนินงานในรูปแบบของอัตตาธิปไตยประการหนึ่งของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะได้มีทั้งนักวิชาการ และผู้ประกอบการได้ออกมาทักท้วงเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นระยะๆ แต่ไม่เป็นผลที่ทำให้การดำเนินการรับจำนำข้าวต้องยกเลิกหรือแม้กระทั่งมีการทบทวน
อีกประการหนึ่ง การจำนำข้าวที่พูดถึงกันเป็นเพียงตัวอย่างในหลายๆ นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่มีลักษณะของอัตตาธิปไตย จะมีอีกหลายอย่างเกิดขึ้นและก่อความเสียหายตามมาถ้ายังขืนปล่อยให้ดำเนินการต่อไป และนี่ก็น่าจะเป็นข้ออ้างหรือเหตุผลมากพอที่จะทำให้ม็อบสนามม้านางเลิ้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา มีคนมาอย่างล้นหลาม และมีแนวโน้มว่าจะมีมากขึ้นในครั้งต่อไปแน่นอน
ถ้าการคาดการณ์ไม่ผิด รัฐบาลชุดนี้คงพบกับการต่อต้านจนในที่สุดต้องยุบสภา หรือถ้าขืนดื้อดึงก็ต้องพบกับการโค่นล้มโดยกระบวนการประชาชนนำหน้า และคนจากกองทัพเดินตาม อันเป็นการขับไล่รัฐบาลที่พวกเขาเลือกหรือมิได้เลือกออกไป ด้วยเหตุผลประการเดียวคือ ปล่อยไว้ประเทศเสียหาย
1. อัตตาธิปไตย ประรภตน หรือถือตนเป็นใหญ่ กระทำการด้วยการยึดความคิดเห็นของตนเป็นประมาณ ไม่สนใจและใส่ใจความคิดเห็นของคนอื่น เทียบได้กับระบบเผด็จการ
2. โลกาธิปไตย ปรารภโลก หรือถือโลกเป็นใหญ่ กระทำการตามกระแสความนิยมของโลก เทียบได้กับประชาธิปไตย
3. ธรรมาธิปไตย ปรารภธรรม หรือยึดธรรมเป็นใหญ่ กระทำการโดยยึดความถูกต้อง เป็นธรรม ทั้งแก่โลกและตนเอง
หลักอธิปไตยทั้ง 3 ประการนี้ โดยนัยแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ ถือว่าเป็นเหตุเริ่มต้นให้คนคิด พูด และทำในสิ่งที่ตนปรารถนาจะทำ ถ้าทำโดยยึดตนเองเป็นหลัก หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ตนอยากทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น โดยไม่คำนึงว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร สอดคล้องหรือขัดแย้งกับตนเองหรือไม่ เรียกว่า อัตตาธิปไตย
ส่วนการคิด พูด หรือทำโดยยึดกระแสโลก หรือพูดง่ายๆ ก็คือทำไปเพราะเห็นว่าโลกเขาทำกัน โดยไม่คิดคำนึงว่าการกระทำนั้นสอดคล้องและเหมาะสมถูกต้องกับความเป็นจริงหรือไม่ประการใด เรียกว่า โลกาธิปไตย
ประการสุดท้าย ถ้ากระทำโดยยึดหลักการแห่งความถูกต้อง เหมาะสมแก่เหตุและผล เรียกว่า ธรรมาธิปไตย
แต่ในโลกแห่งปุถุชนคนที่มากด้วยกิเลสเฉกเช่นในปัจจุบัน การที่จะมีใครสักคนหรือสักกลุ่มกระทำโดยยึดธรรมาธิปไตยล้วนโดยไม่มีอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตยเจือปนหรือผสมผสานนั้นคงหาได้ยาก เพราะเป็นปกติธรรมดาของคนที่ยังมีกิเลสที่จะต้องนึกถึงตนเองและคนที่เกี่ยวข้องกับตน ก่อนที่จะคิดถึงความถูกต้องและเป็นธรรมแก่โลกโดยรวม
ดังนั้น อธิปไตยในปัจจุบันจะมีได้อย่างมากก็แค่อัตตาธิปไตยผสมกับธรรมาธิปไตย และโลกาธิปไตยผสมกับธรรมาธิปไตย ในสัดส่วนที่คนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรมก็คิดว่าดีมากแล้ว
ในความเป็นจริงที่มีอยู่ อธิปไตยในเมืองไทยที่เรียกกันสวยหรูว่าประชาธิปไตยนั้น แท้จริงถ้าเทียบตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้วมีเพียงส่วนผสมของอัตตาธิปไตยกับโลกาธิปไตยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่การเมืองไทยได้ถูกครอบงำด้วยนโยบายประชานิยมในช่วงปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้อนุมานได้จากเหตุปัจจัยในทางการเมืองในรูปแบบการปกครองที่เรียกประชาธิปไตยดังนี้
1. การเมืองของไทยที่มีลักษณะเป็นอัตตาธิปไตย ทั้งๆ ที่มีรูปแบบการเลือกตั้งที่เห็นได้เด่นชัดอย่างเป็นรูปธรรมได้ เริ่มขึ้นเมื่อพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของอดีตนายกฯ ทักษิณ มีอำนาจการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคนคนเดียว ทั้งๆ ที่พรรคมีกรรมการบริหารพรรคในรูปแบบของประชาธิปไตย และที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งกว่านี้ก็คือ อดีตนายกฯ ทักษิณถูกโค่นล้มจากอำนาจ และต้องคดีต้องหนีออกนอกประเทศ แต่พรรคการเมืองในยุคต่อมาที่ต้องพึ่งทุนเงินจากอดีตนายกฯ ทักษิณยังต้องฟังคำสั่งการ และตัดสินในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เช่น การปรับ ครม.หรือแม้กระทั่งการกำหนดนโยบายในการหาเสียงในยุคหัวหน้าพรรคที่เป็นร่างทรงในยุคต่อมา เช่น ยุคของนายสมัคร สุนทรเวช แม้กระทั่งในยุคของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังอยู่ในภาวะเดิมคือต้องฟังคนคนเดียว อันเป็นลักษณะของอัตตาธิปไตย และที่เป็นเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจทุนเงินที่หลายคนในพรรคเพื่อไทยต้องพึ่งพานั่นเอง
2. เมื่อทุกคนในพรรคต้องพึ่งทุนเงินจากคนคนเดียว หรือกลุ่มทุนกลุ่มเดียว แน่นอนว่าทุกเสียงในพรรคจะต้องถูกกำหนดด้วยทิศทางความต้องการของนายทุน ไม่ว่าจะในลักษณะของการแสวงหาหรือปกป้องผลประโยชน์ของนายทุน และนี่ก็เป็นลักษณะหนึ่งของอัตตาธิปไตย
3. ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองอันเป็นนิติบุคคลหรือจะเป็นนักการเมืองอันเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยปกติมีความอิสระในการตัดสินใจทางการเมือง แต่เมื่อถูกระบบทุนครอบงำก็จะต้องดำเนินกิจกรรมทางการเมืองให้ตรงต่อความต้องการของนายทุน มิฉะนั้นก็จะอยู่กับพรรคที่มีลักษณะของอัตตาธิปไตยไม่ได้ และนี่ก็คือลักษณะของอัตตาธิปไตยอีกประการหนึ่ง
4. เมื่อพรรคการเมืองที่ว่านี้มีโอกาสเป็นรัฐบาลก็จะต้องรับใช้นายทุน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่พรรคการเมืองลักษณะนี้จะทำงานรับใช้ประเทศโดยรวมโดยยึดคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่คำนึงว่าตนจะได้ประโยชน์หรือไม่ในฐานะปัจเจกบุคคล และยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่พรรคการเมืองลักษณะนี้จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อคนส่วนใหญ่
จากปัจจัย 4 ประการที่ว่ามานี้ จะเห็นได้ว่าพรรคการเมืองไทยในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคที่เป็นแกนนำรัฐบาลอยู่ในขณะนี้จะมีอะไรแตกต่างไปจากระบบเผด็จการ จะมีก็เพียงว่าเผด็จการมิได้มาจากการเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองในขณะนี้มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ถ้าดูเนื้อหาสาระแล้วไม่มีลักษณะของประชาธิปไตยที่ควรจะเป็นโลกาธิปไตยผสมกับธรรมาธิปไตย คือมาจากการเลือกตั้ง และทำกิจกรรมทางการเมืองโดยยึดหลักธรรมาธิปไตย คือมีความถูกต้อง เหมาะสม และคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งกลุ่มและคำนึงถึงความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นแก่ประเทศในอนาคต อันจะเห็นได้ชัดจากนโยบายรับจำนำข้าวที่สูงกว่าราคาตลาดในความเป็นจริง และกำลังจะก่อความเดือดร้อนให้แก่ประเทศเมื่อข้าวขายไม่ออกหรือขายออกในราคาที่ต่ำกว่ารับจำนำไว้ ทำให้ต้องแบกรับภาวะขาดทุน อันเป็นเหตุให้รัฐต้องก่อหนี้เพื่อมาชดเชยการขาดทุน และเป็นเหตุให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเป็นผู้ให้กู้เพื่อรับจำนำข้าวต้องเดือดร้อนถ้าข้าวขายออกไม่ได้เพราะจะทำให้ขาดสภาพคล่อง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินแห่งนี้ในไม่ช้านี้
และนี่ก็เป็นลักษณะการดำเนินงานในรูปแบบของอัตตาธิปไตยประการหนึ่งของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะได้มีทั้งนักวิชาการ และผู้ประกอบการได้ออกมาทักท้วงเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นระยะๆ แต่ไม่เป็นผลที่ทำให้การดำเนินการรับจำนำข้าวต้องยกเลิกหรือแม้กระทั่งมีการทบทวน
อีกประการหนึ่ง การจำนำข้าวที่พูดถึงกันเป็นเพียงตัวอย่างในหลายๆ นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่มีลักษณะของอัตตาธิปไตย จะมีอีกหลายอย่างเกิดขึ้นและก่อความเสียหายตามมาถ้ายังขืนปล่อยให้ดำเนินการต่อไป และนี่ก็น่าจะเป็นข้ออ้างหรือเหตุผลมากพอที่จะทำให้ม็อบสนามม้านางเลิ้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา มีคนมาอย่างล้นหลาม และมีแนวโน้มว่าจะมีมากขึ้นในครั้งต่อไปแน่นอน
ถ้าการคาดการณ์ไม่ผิด รัฐบาลชุดนี้คงพบกับการต่อต้านจนในที่สุดต้องยุบสภา หรือถ้าขืนดื้อดึงก็ต้องพบกับการโค่นล้มโดยกระบวนการประชาชนนำหน้า และคนจากกองทัพเดินตาม อันเป็นการขับไล่รัฐบาลที่พวกเขาเลือกหรือมิได้เลือกออกไป ด้วยเหตุผลประการเดียวคือ ปล่อยไว้ประเทศเสียหาย