กลุ่มจีอีเดินหน้าขายหุ้น BAY อีก 25% ที่เหลือ วงการคาดไม่พ้นแบงก์สัญชาติมาเลย์-สิงคโปร์ ชี้ CIMB มาแรง เพราะกำลังบุกตลาด ส่วนแบงก์พาณิชย์สัญชาติไทยอุปสรรคเพียบ งานนี้ไม่ง่าย เหตุจีอีขายขาด ต้องการเงินสด แถมต้องเจรจา "กฤตย์ รัตนรักษ์" ผู้ถือหุ้นตัวจริงอีกรายที่ครอบครองหุ้นมากกว่า 25%
การประกาศขายหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) ของกลุ่มจีอี แคปปิตอล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (GE) จำนวน 7.6% จากจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมด 32.9% ในราคาหุ้นละ 35.25 บาท และมีเงื่อนไขต่อไปว่าจะไม่ทำการขายหุ้นของธนาคารเพิ่มเติมภายในระยะเวลา 180 วัน เว้นแต่จะเป็นการขายหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดที่กลุ่มจีอีถืออยู่ตามกลยุทธ์ของกลุ่มจีอี หรือตามแต่ที่กลุ่มจีอีจะได้ตกลงกับ Morgan Stanley ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่ต้องการจะขายหุ้นออกมาแบบขายขาดและต้องการเงินสดเท่านั้น!...
ที่มาของการขยับครั้งนี้ เกิดจากวิกฤตยูโรโซนยังกดดันต่อผลประกอบการโดยรวม ทำให้บริษัทแม่ของจีอีในต่างประเทศสั่งให้ขายหุ้นส่วนที่เหลือเพื่อนำเงินกลับไปเยียวยา แม้จะต้องยุติบทบาทการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ BAY ก็ตาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวกลุ่มจีอีได้นำหุ้นที่ยังคงถืออยู่ในธนาคารกรุงศรีอยุธยาอีก 25.3% ไปเสนอขายแก่สถาบันการเงินรายใหญ่ที่ปักหลักในไทย ไม่เว้นกระทั่งธนาคารพาณิชย์สัญชาติไทย ทั้งๆ ที่ทางเลือกมีน้อย เพราะการขายหุ้นให้แบงก์สัญชาติไทยทำได้แค่โมเดลควบรวมกิจการกัน เพราะระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยถือหุ้นข้ามธนาคาร เว้นเสียแต่มีการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) เท่านั้น
**จากเมย์แบงก์ถึงโมเดลแบงก์อาเซียน**
จากเงื่อนไขที่กลุ่มจีอีจะได้ตกลงกับ Morgan Stanley นั้น ทำให้เป็นที่จับตานักลงทุนและผู้คนในแวดวงการเงินว่า จีอีจะขายหุ้นก้อนใหญ่ส่วนที่เหลือให้กับกลุ่มใด
ก่อนหน้าที่ กลุ่มจีอีจะประกาศขายหุ้นออกมาอย่างทางการเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมานั้น มีข่าวลือเป็นระลอกถึงการขายหุ้น BAY ให้กับกลุ่มเมย์แบงก์ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดในมาเลเซียที่สนใจเข้ามาลงทุนในสถาบันการเงินไทยเพิ่ม เป็นการต่อยอดหลังการเข้าซื้อบริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง เมื่อปลายปีก่อน
แต่ทางเมย์แบงก์ก็ได้ออกมายืนยันว่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว!...
แน่นอนดีที่มีความเป็นไปย่อมหนีไม่พ้นแบงก์ในอาเซียนหรือมีสัญาชาติสิงคโปร์กับมาเลเซีย ประเทศที่มีศักยภาพในการซื้อหุ้น BAY ของกลุ่มจีอีด้วยเงินสด ธนาคารซีไอเอ็มบี (CIMB) ธนาคารยักษ์ใหญ่จากมาเลเซียที่มีเจ้าของเป็นน้องชาย ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมหมัด ราจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรี จึงเป็นเป้าหมายที่นักลงทุนคาด หรือไม่ก็ต้องเป็นกลุ่มยักษ์ใหญ่จากสิงคโปร์อย่างดีบีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ (DBS) หรือไม่ก็ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ (UOB)
**โจทย์ยาก "รัตนรักษ์" ตัวแปรสำคัญ**
ข่าวที่ว่าทางกลุ่มจีอีได้ติดต่อขายหุ้น BAY ที่ถืออยู่ 25% ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) หากยืนยันเพื่อควบรวมกิจการกัน ผู้บริหารไทยพาณิชย์ก็จะต้องเจรจาในเรื่องของหุ้นส่วนที่นายกฤตย์ รัตนรักษ์ ซึ่งเป็นโจทย์หินถือเป็นดีลที่ไม่ง่าย การควบรวมระหว่าง BAY กับ ไทยพาณิชย์ หากจะเกิดขึ้นแบงก์ไทยพาณิชย์จะต้องถือหุ้น BAY เต็มจำนวน และคืนใบอนุญาต ธปท. นอกจากจะซื้อหุ้นจากกลุ่มจีอีในสัดส่วน 25 % แล้ว ยังต้อเจรจาผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างคือนายกฤตย์ รัตนรักษ์ ที่ถือหุ้นอยู่ 25% เป็นสัดส่วนถือหุ้นในระดับที่มีนัยสำคัญต่อการลงคะแนนเสียง ที่สำคัญทั้ง BAY และไทยพาณิชย์เป็นธนาคารที่มีสาขามากอยู้แล้วทั้งคู่ ซับซ้อนและเป็นไปได้ยาก
ผู้บริหารธนาคารส่วนใหญ่มองตรงกันว่า หากเป็นการขายให้นักลงทุนต่างประเทศนั้น อาจจะมีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะมีทางเลือกในการเข้าถือหุ้นไขว้ได้หลายช่องทางกว่า แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็ยังมีเงื่อนไขในจุดที่ว่าผู้ลงทุนที่จะเข้ามา ต้องเป็นผู้ลงทุนที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจของ BAY ต่อจากกลุ่มจีอีได้ เนื่องจากโครงสร้างการบริหารของ BAY ปัจจุบันในระดับผู้บริหารหลักๆยังขับเคลื่อนด้วยบุคคลากรของจีอี
"หากเป็นกลุ่มที่เข้ามาซื้อเป็นนักลงทุนในกลุ่มธุรกิจอื่นที่ไม่คิดจะเข้ามาบริหารงานด้วย คงยากที่จะฝ่าด่านธปท.ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์อยู่ เพราะธุรกิจธนาคารพาณิชย์ปัจจุบันก็มีการแข่งขันที่สูงอยู่แล้ว ดังนั้น จึงเป็นที่น่าติดตามว่าจุดสิ้นสุดของดีลนี้จะเป็นอย่างไร และจะเป็นจุดเปลี่ยนของธนาคารแห่งนี้อีกครั้งหรือไม่"
**CIMB อีก 1 แบงก์ที่กลุ่มจีอียื่นขาย
จากการขยายธุรกิจธนาคารในไทยอย่างดุดันและต่อเนื่อง ซีไอเอ็มบี มาเลเซีย ธนาคารที่มีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงเป็นกลุ่มที่จีอีสนใจและยืนเงื่อนไขการขายหุ้น เป็นแนวทางที่ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์บอกว่าเป็นไปได้มากที่สุด ขณะที่โบรกเกอร์บางรายยืนยันว่าอยู่ระหว่างการทำการตรวจสอบสินทรัพย์และหนี้สิน (ดิว ดิลิเจนซ์) อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาเพราะต้องรอดูผลศึกษาหลายเรื่อง ที่ลืมไม่ได้คือเรื่องของราคา
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากปรากฏข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 1 พ.ย.หุ้นCIMBTราคาเพิ่มขึ้นจาก 2.48 บาทต่อหุ้นเมื่อวันที่ 31 ต.คเป็น 2.54 และขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 2.90 บาท เมื่อวันที่ 2 พ.ย.หรือ 2 วันทำการเพิ่มขึ้นกว่า 10%
**ย้อนรอยถือหุ้น 5 ปีกำไร 4 หมื่นล้าน**
กลุ่มจีอีเข้ามาซื้อหุ้น BAY ตั้งแต่ปี 2549 ในราคา 16 บาทต่อหุ้น สัดส่วนรวม 32.9% มูลค่ารวม 2.1 พันล้านบาท พร้อมกันนั้นได้เข้าบริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยาอย่างเต็มรูปแบบ พัฒนาระบบไอที รีแบรนดิ้ง แบรนด์ ขยายพอร์ตสินเชื่อรายย่อยทั้งจากแคมเปญต่างๆและการซื้อพอร์ตสินเชื่อเข้ามาจนก้าวขึ้นสู่ผู้นำด้านสินเชื่อรายย่อย และมีผลกำไรที่เติบโตอยู่ในระดับแนวหน้าแห่งหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
จากการประเมินผลตอบแทนคร่าวๆ ที่กลุ่มจีอีได้รับจาการถือหุ้น BAY ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีส่วนของเงินปันผลจากธนาคารกรงศรีอยุธยาจำนวน 4,600 ล้านบาท กำไรจากการขายหุ้นบริษัทในเครือให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1,100 ล้านบาท และส่วนต่างราคาหุ้นจากต้นทุนซื้อ 16 บาทต่อหุ้น และขายในราคา 35.25 บาทต่อหุ้น จำนวน 34,000 ล้านบาท รวมผลตอบแทนกว่า 40,000 ล้านบาท.
การประกาศขายหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) ของกลุ่มจีอี แคปปิตอล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (GE) จำนวน 7.6% จากจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมด 32.9% ในราคาหุ้นละ 35.25 บาท และมีเงื่อนไขต่อไปว่าจะไม่ทำการขายหุ้นของธนาคารเพิ่มเติมภายในระยะเวลา 180 วัน เว้นแต่จะเป็นการขายหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดที่กลุ่มจีอีถืออยู่ตามกลยุทธ์ของกลุ่มจีอี หรือตามแต่ที่กลุ่มจีอีจะได้ตกลงกับ Morgan Stanley ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่ต้องการจะขายหุ้นออกมาแบบขายขาดและต้องการเงินสดเท่านั้น!...
ที่มาของการขยับครั้งนี้ เกิดจากวิกฤตยูโรโซนยังกดดันต่อผลประกอบการโดยรวม ทำให้บริษัทแม่ของจีอีในต่างประเทศสั่งให้ขายหุ้นส่วนที่เหลือเพื่อนำเงินกลับไปเยียวยา แม้จะต้องยุติบทบาทการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ BAY ก็ตาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวกลุ่มจีอีได้นำหุ้นที่ยังคงถืออยู่ในธนาคารกรุงศรีอยุธยาอีก 25.3% ไปเสนอขายแก่สถาบันการเงินรายใหญ่ที่ปักหลักในไทย ไม่เว้นกระทั่งธนาคารพาณิชย์สัญชาติไทย ทั้งๆ ที่ทางเลือกมีน้อย เพราะการขายหุ้นให้แบงก์สัญชาติไทยทำได้แค่โมเดลควบรวมกิจการกัน เพราะระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยถือหุ้นข้ามธนาคาร เว้นเสียแต่มีการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) เท่านั้น
**จากเมย์แบงก์ถึงโมเดลแบงก์อาเซียน**
จากเงื่อนไขที่กลุ่มจีอีจะได้ตกลงกับ Morgan Stanley นั้น ทำให้เป็นที่จับตานักลงทุนและผู้คนในแวดวงการเงินว่า จีอีจะขายหุ้นก้อนใหญ่ส่วนที่เหลือให้กับกลุ่มใด
ก่อนหน้าที่ กลุ่มจีอีจะประกาศขายหุ้นออกมาอย่างทางการเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมานั้น มีข่าวลือเป็นระลอกถึงการขายหุ้น BAY ให้กับกลุ่มเมย์แบงก์ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดในมาเลเซียที่สนใจเข้ามาลงทุนในสถาบันการเงินไทยเพิ่ม เป็นการต่อยอดหลังการเข้าซื้อบริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง เมื่อปลายปีก่อน
แต่ทางเมย์แบงก์ก็ได้ออกมายืนยันว่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว!...
แน่นอนดีที่มีความเป็นไปย่อมหนีไม่พ้นแบงก์ในอาเซียนหรือมีสัญาชาติสิงคโปร์กับมาเลเซีย ประเทศที่มีศักยภาพในการซื้อหุ้น BAY ของกลุ่มจีอีด้วยเงินสด ธนาคารซีไอเอ็มบี (CIMB) ธนาคารยักษ์ใหญ่จากมาเลเซียที่มีเจ้าของเป็นน้องชาย ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมหมัด ราจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรี จึงเป็นเป้าหมายที่นักลงทุนคาด หรือไม่ก็ต้องเป็นกลุ่มยักษ์ใหญ่จากสิงคโปร์อย่างดีบีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ (DBS) หรือไม่ก็ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ (UOB)
**โจทย์ยาก "รัตนรักษ์" ตัวแปรสำคัญ**
ข่าวที่ว่าทางกลุ่มจีอีได้ติดต่อขายหุ้น BAY ที่ถืออยู่ 25% ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) หากยืนยันเพื่อควบรวมกิจการกัน ผู้บริหารไทยพาณิชย์ก็จะต้องเจรจาในเรื่องของหุ้นส่วนที่นายกฤตย์ รัตนรักษ์ ซึ่งเป็นโจทย์หินถือเป็นดีลที่ไม่ง่าย การควบรวมระหว่าง BAY กับ ไทยพาณิชย์ หากจะเกิดขึ้นแบงก์ไทยพาณิชย์จะต้องถือหุ้น BAY เต็มจำนวน และคืนใบอนุญาต ธปท. นอกจากจะซื้อหุ้นจากกลุ่มจีอีในสัดส่วน 25 % แล้ว ยังต้อเจรจาผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างคือนายกฤตย์ รัตนรักษ์ ที่ถือหุ้นอยู่ 25% เป็นสัดส่วนถือหุ้นในระดับที่มีนัยสำคัญต่อการลงคะแนนเสียง ที่สำคัญทั้ง BAY และไทยพาณิชย์เป็นธนาคารที่มีสาขามากอยู้แล้วทั้งคู่ ซับซ้อนและเป็นไปได้ยาก
ผู้บริหารธนาคารส่วนใหญ่มองตรงกันว่า หากเป็นการขายให้นักลงทุนต่างประเทศนั้น อาจจะมีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะมีทางเลือกในการเข้าถือหุ้นไขว้ได้หลายช่องทางกว่า แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็ยังมีเงื่อนไขในจุดที่ว่าผู้ลงทุนที่จะเข้ามา ต้องเป็นผู้ลงทุนที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจของ BAY ต่อจากกลุ่มจีอีได้ เนื่องจากโครงสร้างการบริหารของ BAY ปัจจุบันในระดับผู้บริหารหลักๆยังขับเคลื่อนด้วยบุคคลากรของจีอี
"หากเป็นกลุ่มที่เข้ามาซื้อเป็นนักลงทุนในกลุ่มธุรกิจอื่นที่ไม่คิดจะเข้ามาบริหารงานด้วย คงยากที่จะฝ่าด่านธปท.ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์อยู่ เพราะธุรกิจธนาคารพาณิชย์ปัจจุบันก็มีการแข่งขันที่สูงอยู่แล้ว ดังนั้น จึงเป็นที่น่าติดตามว่าจุดสิ้นสุดของดีลนี้จะเป็นอย่างไร และจะเป็นจุดเปลี่ยนของธนาคารแห่งนี้อีกครั้งหรือไม่"
**CIMB อีก 1 แบงก์ที่กลุ่มจีอียื่นขาย
จากการขยายธุรกิจธนาคารในไทยอย่างดุดันและต่อเนื่อง ซีไอเอ็มบี มาเลเซีย ธนาคารที่มีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงเป็นกลุ่มที่จีอีสนใจและยืนเงื่อนไขการขายหุ้น เป็นแนวทางที่ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์บอกว่าเป็นไปได้มากที่สุด ขณะที่โบรกเกอร์บางรายยืนยันว่าอยู่ระหว่างการทำการตรวจสอบสินทรัพย์และหนี้สิน (ดิว ดิลิเจนซ์) อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาเพราะต้องรอดูผลศึกษาหลายเรื่อง ที่ลืมไม่ได้คือเรื่องของราคา
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากปรากฏข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 1 พ.ย.หุ้นCIMBTราคาเพิ่มขึ้นจาก 2.48 บาทต่อหุ้นเมื่อวันที่ 31 ต.คเป็น 2.54 และขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 2.90 บาท เมื่อวันที่ 2 พ.ย.หรือ 2 วันทำการเพิ่มขึ้นกว่า 10%
**ย้อนรอยถือหุ้น 5 ปีกำไร 4 หมื่นล้าน**
กลุ่มจีอีเข้ามาซื้อหุ้น BAY ตั้งแต่ปี 2549 ในราคา 16 บาทต่อหุ้น สัดส่วนรวม 32.9% มูลค่ารวม 2.1 พันล้านบาท พร้อมกันนั้นได้เข้าบริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยาอย่างเต็มรูปแบบ พัฒนาระบบไอที รีแบรนดิ้ง แบรนด์ ขยายพอร์ตสินเชื่อรายย่อยทั้งจากแคมเปญต่างๆและการซื้อพอร์ตสินเชื่อเข้ามาจนก้าวขึ้นสู่ผู้นำด้านสินเชื่อรายย่อย และมีผลกำไรที่เติบโตอยู่ในระดับแนวหน้าแห่งหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
จากการประเมินผลตอบแทนคร่าวๆ ที่กลุ่มจีอีได้รับจาการถือหุ้น BAY ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีส่วนของเงินปันผลจากธนาคารกรงศรีอยุธยาจำนวน 4,600 ล้านบาท กำไรจากการขายหุ้นบริษัทในเครือให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1,100 ล้านบาท และส่วนต่างราคาหุ้นจากต้นทุนซื้อ 16 บาทต่อหุ้น และขายในราคา 35.25 บาทต่อหุ้น จำนวน 34,000 ล้านบาท รวมผลตอบแทนกว่า 40,000 ล้านบาท.