ASTVผู้จัดการรายวัน-TDRIชงรัฐบาลเลิกโครงการจำนำข้าว ชี้สร้างความฉิบหายปีละแสนล้าน ผู้ส่งออกรับปีนี้ไทยหลุดแชมป์ คาดทั้งปีส่งออกข้าวได้ 6.5 ล้านตัน "พาณิชย์"พลิ้ว ไทยยังแชมป์ส่งออกราคาสูงสุด แม้ปริมาณวืด ปัดเปิดสัญญาจีทูจี ข้ออ้างเดิมเป็นความลับ กมธ.เกษตรฯ ฉุนกึก งัดพ.ร.บ.คำสั่งเรียกฯ บี้ "บุญทรง" มาชี้แจง ด้าน ส.ว.ยื่นรายงานหายนะจำนำข้าวให้ ป.ป.ช. แล้ว ชาวนาพิจิตรโวยจำนำข้าวได้เงินช้า เผยเริ่มมีการซื้อขายใบประทวน ด้านตำรวจสั่งเฝ้าระวังลักลอบขนข้าวเพื่อนบ้านสวมสิทธิ
วานนี้ (31 ต.ค.) นักวิชาการ ผู้ประกอบการ รวมถึงตัวแทนเกษตร ร่วมสัมมนาภาพอนาคตเศรษฐกิจข้าวไทย จัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการผลิตการบริโภค การค้า และการตลาดของข้าวไทย รวมถึงผลกระทบจากการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาล
นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ TDRI กล่าวว่า โครงการรับจำนำกระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวไทย และมีการทุจริตกันมาก โดยเฉพาะขั้นตอนการระบายข้าว ซึ่งรัฐบาลนำเงินภาษีประชาชนมาซื้อข้าวกักตุน แต่ไม่สามารถระบายข้าวได้ ทำให้ขาดทุน และอาจกลายเป็นหนี้ก้อนโต และหากดำเนินการต่อไป จะทำให้ขาดทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลควรหยุดโครงการรับจำนำข้าว
"รัฐบาลควรปฏิรูปโครงสร้างภาคการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีมาส่งเสริมต้นทุน และส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพให้ได้มากขึ้น เพราะผู้บริโภคจะหันมานิยมคุณภาพข้าวที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเอเชีย ซึ่งภายหลังการสัมมนา TDRI จะรวบรวมข้อสรุป และทำนโยบายเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป"
**ยอมรับไทยหลุดแชมป์แน่
ขณะที่นางกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวยอมรับว่า ปีนี้ไทยมีโอกาสหลุดแชมป์การส่งออกข้าวแน่นอน เพราะการส่งออกข้าวไทยตลอดทั้งปี จะอยู่ที่ 6.5 ล้านตัน โดย 3 เดือนที่เหลือสุดท้ายของปี จะส่งออกข้าวได้ประมาณเดือนละ 5-7 แสนตัน
**พลิ้วไทยแชมป์ราคาส่งออกสูงสุด
ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ที่มีนายนายบรรชา พงศ์อายุกูล ส.ว.พิจิตร เป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่อง การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในฤดูการผลิต 2554/2555 ทั้งนี้ กมธ.ส่วนใหญ่ต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับข้อมูลการระบายข้าวออกนอกประเทศ
นายฑิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงว่า ขณะนี้มีการทำเอ็มโอยูมีทั้งหมด 8 ล้านตัน ทำสัญญาไปแล้ว 7 ล้านตัน ประกอบด้วย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ไอเวอร์รี่โคสต์ และจีน ซึ่งในส่วนของจีน อินโดนีเซีย และไอเวอร์รี่โคสต์ ได้ทำสัญญาซื้อขายกับไทยแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจา ทำให้ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะการทำสัญญากับแต่ละประเทศมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นไปตามความสัมพันธ์ของไทยกับแต่ละประเทศ ล่าสุดได้ส่งมอบไปแล้วมากกว่า 1 ล้านตัน และจะส่งมอบให้อีกในเดือน พ.ย.-ธ.ค.อีกประมาณ 3 แสนตัน และในปี 2556 มีภาระต้องส่งมอบอีกราว 5 ล้านตัน
ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา ไทยมีปริมาณการส่งออกข้าวเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและเวียดนามจริง แต่ในทางกลับกัน มูลค่าการส่งออกของไทยมีอันดับสูงที่สุด โดยมีมูลค่าประมาณ 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อินเดียและเวียดนามมีมูลค่าต่ำกว่าไทยค่อนข้างมาก คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คือ ไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าเวียดนาม 30% สูงกว่าอินเดีย14%
"มูลค่าการส่งออกของเรายังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ เพราะว่าไทยไม่ได้ขายข้าวตัดราคาแข่งกับประเทศอื่นๆ ทำให้ราคาข้าวไทยยังอยู่ในเกณฑ์สูงมาก"นยฑิฆัมพรกล่าว
**งัดพ.ร.บ.คำสั่งเรียกฯบี้"บุญทรง"แจง
นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา และกมธ.เกษตรฯ กล่าวแสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับข้อมูลรายละเอียดการระบายข้าวว่า ทำไมภาครัฐถึงปกปิดข้อมูลการซื้อขายแบบจีทูจีทั้งที่เป็นประเด็นสาธารณะที่สังคมต้องการรับทราบว่ามีการซื้อขายกันจริงหรือไม่ ประกอบกับเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นความลับมากนัก เนื่องจากทั้งรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ต่างประกาศออกมาแล้วว่าได้ทำสัญญาซื้อขายกับประเทศไหนบ้างแล้ว จึงอยากให้เสนอให้ที่ประชุม กมธ. มีมติตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 เพื่อเรียกนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ มาชี้แจง
อย่างไรก็ตาม นายฑิฆัมพร ได้ยืนยันว่า ไม่สามารถตอบในรายละเอียดได้ ถ้าให้ข้อมูลตามที่ กมธ.ร้องขอ ส่วนตัวอาจถูกตั้งกรรมการสอบสวนในข้อหาปฏิบัติเกินกว่าหน้าที่ที่มีอำนาจรับผิดชอบได้
จากนั้น นายบรรชาสรุปว่า การให้อำนาจตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกฯ คงจะยังไม่มีการดำเนินการในตอนนี้ แต่จะลองประสานงานดูก่อนว่ารัฐมนตรีจะสามารถมาชี้แจงได้หรือไม่ เพราะหากไปใช้อำนาจตามกฎหมายทันทีอาจทำให้เกิดปัญหาได้
**วุฒิสภายื่นรายงานจำนำหายนะให้ป.ป.ช.
วันเดียวกันนี้ นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ประธานคณะกรรมมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์เเละอุตสาหกรรม วุฒิสภา ได้ยื่นหนังสือรายงานการพิจารณาศึกษาเเละวิเคราะห์นโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบกับปํญหาเศรษฐกิจของไทยเเละการพิจารณาศึกษาโครงการรับจำนำข้าวอันเป็นนโยบายของรัฐบาลที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะหนี้สาธารณะเเละปัญหาเศรษฐกิจในอนาคต ให้กับนายปานเทพ กล้าณรงค์ลาญ ประธานกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (ป.ป.ช.)
นายมหรรณพกล่าวว่า รายงานดังกล่าว ได้แสดงความห่วงใยว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจมหภาคและหนี้สาธารณะของประเทศที่อาจมีสภาพเช่นเดียวกับประเทศกรีซที่ใช้โครงการประชานิยมเกินตัว ทำให้เกิดหนี้สาธารณะเกิน 120% และขาดดุลการคลัง 12.7% จนประสบปัญหาเศรษฐกิจล้มละลายได้ ซึ่งหลังจาก กมธ.ได้ทำการศึกษาเสร็จแล้ว จะส่งให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาพร้อมกับหน่วยงานตรวจสอบ ทั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงาน ป.ป.ช. และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ดำเนินการต่อไป
จากการศึกษาพบว่าการจำนำข้าวได้ทำลายกลไกตลาด ระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมข้าว และทำลายความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลก เพราะราคาสูงกว่าคู่แข่งขัน เช่น อินเดียและเวียดนาม ทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงประมาณ 35% หรือเดือนละ 6,000 ล้านบาท คิดเป็นปีละ 7.2 หมื่นล้านบาท และไม่ได้ช่วยชาวนาที่ยากจนประมาณ 3 ล้านราย โดยชาวนาถูกเอาเปรียบจากโรงสีโกงตาชั่ง ความชื้นและสิ่งปลอมปน เฉลี่ยแล้วชาวนาได้รับเงินจากการจำนำประมาณ 9,500 -11,000 ล้านบาทต่อตันเท่านั้น ที่สำคัญยังทำลายคุณภาพข้าวไทยในระยะยาว เพราะชาวนาจะเพิ่มปริมาณการปลูกข้าวอายุสั้นมาจำนำ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ ส่งผลกระทบไปสู่คุณภาพของอุตสาหกรรมข้าวไทยทั้งระบบ
ดังนั้น รัฐบาลควรทบทวนโยบายการรับจำนำข้าวทั้งระบบ เช่น กำหนดปริมาณการรับจำนำไม่ทุกเมล็ด กำหนดปริมาณพื้นที่นา กำหนดราคาและวงเงินรับจำนำ โดยเน้นชาวนารายเล็กรายได้ต่ำให้มีโอกาสเข้าถึงโครงการให้เป็นส่วนใหญ่ได้อย่างทั่วถึงแทนชาวนาและนายทุนที่ร่ำรวยและให้มีโอกาสไถ่ถอน เพื่อขายในราคาตลาดได้ ดำเนินการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังและปรับแก้กระบวนการรับจำนำข้าวให้รัดกุม
"นโยบายและมาตรการรับจำนำสินค้าเกษตร เป็นนโยบายที่ล้มเหลวที่สุดตั้งแต่ปี 2529 สูญเสียเงินไปมากมาย โดยผลประโยชน์ไม่ได้ตกถึงมือเกษตรกรอย่างที่คิด ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับโรงสี ผู้ส่งออก ลานตากมัน รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพรรคพวกของนักการเมือง จึงไม่มีใครยอมเลิกโครงการนี้ และยังมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือคอร์รัปชั่นจากโครงการจำนำสินค้าเกษตร รัฐบาลเสียเงินขาดทุนมากมาย"นายมหรรณพกล่าว
**ชาวนาแฉเริ่มมีการซื้อขายใบประทวน
ที่จ.พิจิตร นายบุญเลิศ จรงธรรม เกษตรกรผู้ปลูกข้าว กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้นำข้าวไปจำนำกับสหกรณ์วชิรบารมีและโรสีทรัพย์ทวี เป็นโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวกับรัฐบาล จำนวน 79 ตัน ซึ่งขายได้เงินเพียงตันละ 11,900-11,200 บาท แต่วันนี้ยังไม่ได้รับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ต้องหาเงินมาลงทุนทำนาปลูกข้าวนาปรังรอบใหม่
"หากเป็นเกษตรกรรายอื่นต้องกู้เงินมาลงทุนนับแสนบาท โดยเงินขายข้าวตามโครงการรับจำนำยังไม่ตกถึงมือชาวนา ถามว่าโครงการรับจำนำดีไหม ก็บอกว่าราคาพออยู่ได้ แต่ขอให้เงินคล่องตัวกว่านี้ เพราะชาวนาหลายคนประสบปัญหาเหมือนๆ กัน คือเกี่ยวข้าว ขายข้าวไปยังโรงสี 2 เดือนกว่าแล้ว ยังไม่ได้เงิน ชาวนาส่วนใหญ่ร้องว่าไม่มีกินแล้ว เงินออกช้า นี่คือ ข้อเสียของโครงการรับจำนำ"
นอกจากนี้ ชาวนาส่วนใหญ่เมื่อประสบปัญหาเช่นนี้ ก็ต้องตัดใจขายข้าวเงินสด และถูกโรงสีกดราคา โดยขายได้เฉลี่ยตันละ 8,000 บาท และยังพบว่า เริ่มมีชาวนาในพิจิตรขายใบประทวนให้กับคนใกล้ชิดในหมู่บ้านในราคา 1,000 บาทต่อตัน เพราะได้เงินสด จึงตัดสินใจทิ้งใบประทวน ส่วนข้าวในมือก็นำไปขายเงินสดแทน เพราะได้เงินเลย ส่วนใบประทวนจะถูกเอาไปใช้ทำอะไรต่อ ไม่ทราบ แต่เริ่มมีมากขึ้น
ด้านนายสมเกียรติ โสภณพงศ์พิพัฒน์ ผู้จัดการสหกรณ์วชิรบารมี กล่าวยอมรับว่า เงินจำนำข้าวรอบเก่า ยังไม่เข้าไปยังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำให้เกษตรกรที่นำข้าวมาจำนำยังไม่ได้เงิน ส่วนสหกรณ์ฯ ก็ยังไม่เปิดรับจำนำข้าว เพราะห่วงเรื่องเงินออกช้า
**สั่งคุมเข้มลักลอบนำเข้าข้าวสวมสิทธิ์
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร.เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติงานอำนวยการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตในการรับจำนำข้าว ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมี พล.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม ผบช.สยศ.และ พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ ผบช.ประจำ สนง.ผบ.ตร.เข้าร่วมประชุม
พล.ต.อ.วรพงษ์ กล่าวว่า วันที่ 1 พ.ย.จะมีการลงพื้นที่ตรวจนับข้าวสารที่คลังกลางอีกครั้ง หลังจากที่การตรวจนับครั้งก่อน ไม่พบปัญหาจำนวนข้าวยังครบตามบัญชี พบแต่การทุจริตรายย่อย อย่างโรงสีร่วมมือกับเกษตรกร หรือโรงสีสวมสิทธิ์เท่านั้น โดยขณะนี้มีทั้งหมด 30 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 313,801,002.85 บาท
นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้มีการสกัดจับการลักลอบนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันการนำเข้ามาสวมสิทธิ์ ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่สามารถสกัดจับการลักลอบนำข้าวมาจากประเทศลาว ได้ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.เชียงราย โดยเป็นรายย่อยประมาณ 10 ราย จึงขอให้ บก.ทล.ตระเวนตามพื้นที่ตอนในต่างๆ ตรวจตราการขนส่งข้าวบนรถบรรทุก และขอให้ บช.ภ.1-8 และ บช.ตชด. รวมถึง สตม.ทำแผนสำหรับการตั้งด่านตรวจสกัดการลำเลียงลักลอบนำข้าวเข้ามาตามแนวชายแดน หรือทางทะเล ให้ประสานกับกรมการค้าภายใน ส่วนพื้นที่ใดที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ก็ให้ประสานไปยังทางเจ้าหน้าที่ทหารแทน พร้อมกับหาข่าวว่ามีการลักลอบนำข้าวเข้ามาทางจุดใด และในช่วงเวลานั้นประเทศใดอยู่ระหว่างฤดูการเก็บเกี่ยวบ้าง หากพบว่ามีการลักลอบว่ามีการนำข้าวเข้ามา จะต้องมีการสืบย้อนหลังว่า เพื่อหาผู้ที่รับผิดชอบต่อไป
ทั้งนี้ ยังมีการตรวจสอบพบว่า เกษตรกรที่เคยมาขึ้นทะเบียนตามโครงการประกันราคาข้าวกว่า 3.2 ล้านราย แต่เมื่อรัฐบาลเปลี่ยนมาทำโครงการรับจำนำข้าว กลับเหลือเกษตรเพียงแค่ 1.2 ล้านราย จึงต้องส่งเจ้าหน้าที่ลงไปเอ็กซ์เรย์พื้นที่อย่างจริงจังว่า พื้นที่นามีจำนวนจริงๆ เท่าไร ไม่ใช่ดูแค่เอกสารของชาวนาเท่านั้น และยังพบเพาะแสว่า การขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่ตรงกับข้อมูลจริง เช่น เกษตรกรมีนา 10 ไร่ แต่มีการแจ้งจำนวนขึ้นทะเบียน 30 ไร่ เพื่อใช้ช่องว่างตรงนี้ ในการนำข้าวมาสวมสิทธิ ซึ่งประเด็นนี้พบที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี พบกว่า 10 ราย ที่เป็นขบวนการสวมสิทธิข้าวรายย่อย
วานนี้ (31 ต.ค.) นักวิชาการ ผู้ประกอบการ รวมถึงตัวแทนเกษตร ร่วมสัมมนาภาพอนาคตเศรษฐกิจข้าวไทย จัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการผลิตการบริโภค การค้า และการตลาดของข้าวไทย รวมถึงผลกระทบจากการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาล
นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ TDRI กล่าวว่า โครงการรับจำนำกระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวไทย และมีการทุจริตกันมาก โดยเฉพาะขั้นตอนการระบายข้าว ซึ่งรัฐบาลนำเงินภาษีประชาชนมาซื้อข้าวกักตุน แต่ไม่สามารถระบายข้าวได้ ทำให้ขาดทุน และอาจกลายเป็นหนี้ก้อนโต และหากดำเนินการต่อไป จะทำให้ขาดทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลควรหยุดโครงการรับจำนำข้าว
"รัฐบาลควรปฏิรูปโครงสร้างภาคการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีมาส่งเสริมต้นทุน และส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพให้ได้มากขึ้น เพราะผู้บริโภคจะหันมานิยมคุณภาพข้าวที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเอเชีย ซึ่งภายหลังการสัมมนา TDRI จะรวบรวมข้อสรุป และทำนโยบายเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป"
**ยอมรับไทยหลุดแชมป์แน่
ขณะที่นางกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวยอมรับว่า ปีนี้ไทยมีโอกาสหลุดแชมป์การส่งออกข้าวแน่นอน เพราะการส่งออกข้าวไทยตลอดทั้งปี จะอยู่ที่ 6.5 ล้านตัน โดย 3 เดือนที่เหลือสุดท้ายของปี จะส่งออกข้าวได้ประมาณเดือนละ 5-7 แสนตัน
**พลิ้วไทยแชมป์ราคาส่งออกสูงสุด
ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ที่มีนายนายบรรชา พงศ์อายุกูล ส.ว.พิจิตร เป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่อง การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในฤดูการผลิต 2554/2555 ทั้งนี้ กมธ.ส่วนใหญ่ต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับข้อมูลการระบายข้าวออกนอกประเทศ
นายฑิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงว่า ขณะนี้มีการทำเอ็มโอยูมีทั้งหมด 8 ล้านตัน ทำสัญญาไปแล้ว 7 ล้านตัน ประกอบด้วย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ไอเวอร์รี่โคสต์ และจีน ซึ่งในส่วนของจีน อินโดนีเซีย และไอเวอร์รี่โคสต์ ได้ทำสัญญาซื้อขายกับไทยแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจา ทำให้ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะการทำสัญญากับแต่ละประเทศมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นไปตามความสัมพันธ์ของไทยกับแต่ละประเทศ ล่าสุดได้ส่งมอบไปแล้วมากกว่า 1 ล้านตัน และจะส่งมอบให้อีกในเดือน พ.ย.-ธ.ค.อีกประมาณ 3 แสนตัน และในปี 2556 มีภาระต้องส่งมอบอีกราว 5 ล้านตัน
ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา ไทยมีปริมาณการส่งออกข้าวเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและเวียดนามจริง แต่ในทางกลับกัน มูลค่าการส่งออกของไทยมีอันดับสูงที่สุด โดยมีมูลค่าประมาณ 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อินเดียและเวียดนามมีมูลค่าต่ำกว่าไทยค่อนข้างมาก คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คือ ไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าเวียดนาม 30% สูงกว่าอินเดีย14%
"มูลค่าการส่งออกของเรายังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ เพราะว่าไทยไม่ได้ขายข้าวตัดราคาแข่งกับประเทศอื่นๆ ทำให้ราคาข้าวไทยยังอยู่ในเกณฑ์สูงมาก"นยฑิฆัมพรกล่าว
**งัดพ.ร.บ.คำสั่งเรียกฯบี้"บุญทรง"แจง
นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา และกมธ.เกษตรฯ กล่าวแสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับข้อมูลรายละเอียดการระบายข้าวว่า ทำไมภาครัฐถึงปกปิดข้อมูลการซื้อขายแบบจีทูจีทั้งที่เป็นประเด็นสาธารณะที่สังคมต้องการรับทราบว่ามีการซื้อขายกันจริงหรือไม่ ประกอบกับเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นความลับมากนัก เนื่องจากทั้งรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ต่างประกาศออกมาแล้วว่าได้ทำสัญญาซื้อขายกับประเทศไหนบ้างแล้ว จึงอยากให้เสนอให้ที่ประชุม กมธ. มีมติตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 เพื่อเรียกนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ มาชี้แจง
อย่างไรก็ตาม นายฑิฆัมพร ได้ยืนยันว่า ไม่สามารถตอบในรายละเอียดได้ ถ้าให้ข้อมูลตามที่ กมธ.ร้องขอ ส่วนตัวอาจถูกตั้งกรรมการสอบสวนในข้อหาปฏิบัติเกินกว่าหน้าที่ที่มีอำนาจรับผิดชอบได้
จากนั้น นายบรรชาสรุปว่า การให้อำนาจตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกฯ คงจะยังไม่มีการดำเนินการในตอนนี้ แต่จะลองประสานงานดูก่อนว่ารัฐมนตรีจะสามารถมาชี้แจงได้หรือไม่ เพราะหากไปใช้อำนาจตามกฎหมายทันทีอาจทำให้เกิดปัญหาได้
**วุฒิสภายื่นรายงานจำนำหายนะให้ป.ป.ช.
วันเดียวกันนี้ นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ประธานคณะกรรมมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์เเละอุตสาหกรรม วุฒิสภา ได้ยื่นหนังสือรายงานการพิจารณาศึกษาเเละวิเคราะห์นโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบกับปํญหาเศรษฐกิจของไทยเเละการพิจารณาศึกษาโครงการรับจำนำข้าวอันเป็นนโยบายของรัฐบาลที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะหนี้สาธารณะเเละปัญหาเศรษฐกิจในอนาคต ให้กับนายปานเทพ กล้าณรงค์ลาญ ประธานกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (ป.ป.ช.)
นายมหรรณพกล่าวว่า รายงานดังกล่าว ได้แสดงความห่วงใยว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจมหภาคและหนี้สาธารณะของประเทศที่อาจมีสภาพเช่นเดียวกับประเทศกรีซที่ใช้โครงการประชานิยมเกินตัว ทำให้เกิดหนี้สาธารณะเกิน 120% และขาดดุลการคลัง 12.7% จนประสบปัญหาเศรษฐกิจล้มละลายได้ ซึ่งหลังจาก กมธ.ได้ทำการศึกษาเสร็จแล้ว จะส่งให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาพร้อมกับหน่วยงานตรวจสอบ ทั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงาน ป.ป.ช. และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ดำเนินการต่อไป
จากการศึกษาพบว่าการจำนำข้าวได้ทำลายกลไกตลาด ระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมข้าว และทำลายความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลก เพราะราคาสูงกว่าคู่แข่งขัน เช่น อินเดียและเวียดนาม ทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงประมาณ 35% หรือเดือนละ 6,000 ล้านบาท คิดเป็นปีละ 7.2 หมื่นล้านบาท และไม่ได้ช่วยชาวนาที่ยากจนประมาณ 3 ล้านราย โดยชาวนาถูกเอาเปรียบจากโรงสีโกงตาชั่ง ความชื้นและสิ่งปลอมปน เฉลี่ยแล้วชาวนาได้รับเงินจากการจำนำประมาณ 9,500 -11,000 ล้านบาทต่อตันเท่านั้น ที่สำคัญยังทำลายคุณภาพข้าวไทยในระยะยาว เพราะชาวนาจะเพิ่มปริมาณการปลูกข้าวอายุสั้นมาจำนำ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ ส่งผลกระทบไปสู่คุณภาพของอุตสาหกรรมข้าวไทยทั้งระบบ
ดังนั้น รัฐบาลควรทบทวนโยบายการรับจำนำข้าวทั้งระบบ เช่น กำหนดปริมาณการรับจำนำไม่ทุกเมล็ด กำหนดปริมาณพื้นที่นา กำหนดราคาและวงเงินรับจำนำ โดยเน้นชาวนารายเล็กรายได้ต่ำให้มีโอกาสเข้าถึงโครงการให้เป็นส่วนใหญ่ได้อย่างทั่วถึงแทนชาวนาและนายทุนที่ร่ำรวยและให้มีโอกาสไถ่ถอน เพื่อขายในราคาตลาดได้ ดำเนินการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังและปรับแก้กระบวนการรับจำนำข้าวให้รัดกุม
"นโยบายและมาตรการรับจำนำสินค้าเกษตร เป็นนโยบายที่ล้มเหลวที่สุดตั้งแต่ปี 2529 สูญเสียเงินไปมากมาย โดยผลประโยชน์ไม่ได้ตกถึงมือเกษตรกรอย่างที่คิด ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับโรงสี ผู้ส่งออก ลานตากมัน รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพรรคพวกของนักการเมือง จึงไม่มีใครยอมเลิกโครงการนี้ และยังมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือคอร์รัปชั่นจากโครงการจำนำสินค้าเกษตร รัฐบาลเสียเงินขาดทุนมากมาย"นายมหรรณพกล่าว
**ชาวนาแฉเริ่มมีการซื้อขายใบประทวน
ที่จ.พิจิตร นายบุญเลิศ จรงธรรม เกษตรกรผู้ปลูกข้าว กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้นำข้าวไปจำนำกับสหกรณ์วชิรบารมีและโรสีทรัพย์ทวี เป็นโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวกับรัฐบาล จำนวน 79 ตัน ซึ่งขายได้เงินเพียงตันละ 11,900-11,200 บาท แต่วันนี้ยังไม่ได้รับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ต้องหาเงินมาลงทุนทำนาปลูกข้าวนาปรังรอบใหม่
"หากเป็นเกษตรกรรายอื่นต้องกู้เงินมาลงทุนนับแสนบาท โดยเงินขายข้าวตามโครงการรับจำนำยังไม่ตกถึงมือชาวนา ถามว่าโครงการรับจำนำดีไหม ก็บอกว่าราคาพออยู่ได้ แต่ขอให้เงินคล่องตัวกว่านี้ เพราะชาวนาหลายคนประสบปัญหาเหมือนๆ กัน คือเกี่ยวข้าว ขายข้าวไปยังโรงสี 2 เดือนกว่าแล้ว ยังไม่ได้เงิน ชาวนาส่วนใหญ่ร้องว่าไม่มีกินแล้ว เงินออกช้า นี่คือ ข้อเสียของโครงการรับจำนำ"
นอกจากนี้ ชาวนาส่วนใหญ่เมื่อประสบปัญหาเช่นนี้ ก็ต้องตัดใจขายข้าวเงินสด และถูกโรงสีกดราคา โดยขายได้เฉลี่ยตันละ 8,000 บาท และยังพบว่า เริ่มมีชาวนาในพิจิตรขายใบประทวนให้กับคนใกล้ชิดในหมู่บ้านในราคา 1,000 บาทต่อตัน เพราะได้เงินสด จึงตัดสินใจทิ้งใบประทวน ส่วนข้าวในมือก็นำไปขายเงินสดแทน เพราะได้เงินเลย ส่วนใบประทวนจะถูกเอาไปใช้ทำอะไรต่อ ไม่ทราบ แต่เริ่มมีมากขึ้น
ด้านนายสมเกียรติ โสภณพงศ์พิพัฒน์ ผู้จัดการสหกรณ์วชิรบารมี กล่าวยอมรับว่า เงินจำนำข้าวรอบเก่า ยังไม่เข้าไปยังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำให้เกษตรกรที่นำข้าวมาจำนำยังไม่ได้เงิน ส่วนสหกรณ์ฯ ก็ยังไม่เปิดรับจำนำข้าว เพราะห่วงเรื่องเงินออกช้า
**สั่งคุมเข้มลักลอบนำเข้าข้าวสวมสิทธิ์
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร.เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติงานอำนวยการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตในการรับจำนำข้าว ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมี พล.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม ผบช.สยศ.และ พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ ผบช.ประจำ สนง.ผบ.ตร.เข้าร่วมประชุม
พล.ต.อ.วรพงษ์ กล่าวว่า วันที่ 1 พ.ย.จะมีการลงพื้นที่ตรวจนับข้าวสารที่คลังกลางอีกครั้ง หลังจากที่การตรวจนับครั้งก่อน ไม่พบปัญหาจำนวนข้าวยังครบตามบัญชี พบแต่การทุจริตรายย่อย อย่างโรงสีร่วมมือกับเกษตรกร หรือโรงสีสวมสิทธิ์เท่านั้น โดยขณะนี้มีทั้งหมด 30 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 313,801,002.85 บาท
นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้มีการสกัดจับการลักลอบนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันการนำเข้ามาสวมสิทธิ์ ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่สามารถสกัดจับการลักลอบนำข้าวมาจากประเทศลาว ได้ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.เชียงราย โดยเป็นรายย่อยประมาณ 10 ราย จึงขอให้ บก.ทล.ตระเวนตามพื้นที่ตอนในต่างๆ ตรวจตราการขนส่งข้าวบนรถบรรทุก และขอให้ บช.ภ.1-8 และ บช.ตชด. รวมถึง สตม.ทำแผนสำหรับการตั้งด่านตรวจสกัดการลำเลียงลักลอบนำข้าวเข้ามาตามแนวชายแดน หรือทางทะเล ให้ประสานกับกรมการค้าภายใน ส่วนพื้นที่ใดที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ก็ให้ประสานไปยังทางเจ้าหน้าที่ทหารแทน พร้อมกับหาข่าวว่ามีการลักลอบนำข้าวเข้ามาทางจุดใด และในช่วงเวลานั้นประเทศใดอยู่ระหว่างฤดูการเก็บเกี่ยวบ้าง หากพบว่ามีการลักลอบว่ามีการนำข้าวเข้ามา จะต้องมีการสืบย้อนหลังว่า เพื่อหาผู้ที่รับผิดชอบต่อไป
ทั้งนี้ ยังมีการตรวจสอบพบว่า เกษตรกรที่เคยมาขึ้นทะเบียนตามโครงการประกันราคาข้าวกว่า 3.2 ล้านราย แต่เมื่อรัฐบาลเปลี่ยนมาทำโครงการรับจำนำข้าว กลับเหลือเกษตรเพียงแค่ 1.2 ล้านราย จึงต้องส่งเจ้าหน้าที่ลงไปเอ็กซ์เรย์พื้นที่อย่างจริงจังว่า พื้นที่นามีจำนวนจริงๆ เท่าไร ไม่ใช่ดูแค่เอกสารของชาวนาเท่านั้น และยังพบเพาะแสว่า การขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่ตรงกับข้อมูลจริง เช่น เกษตรกรมีนา 10 ไร่ แต่มีการแจ้งจำนวนขึ้นทะเบียน 30 ไร่ เพื่อใช้ช่องว่างตรงนี้ ในการนำข้าวมาสวมสิทธิ ซึ่งประเด็นนี้พบที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี พบกว่า 10 ราย ที่เป็นขบวนการสวมสิทธิข้าวรายย่อย