เอเอฟพี/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-สื่อนอกยำเละ แชมป์ส่งออกข้าวเบอร์หนึ่งของโลกของไทยกำลังพังทลายจากน้ำมือรัฐบาล "ปู" หลังดึงดันใช้นโยบายจำนำไม่ลืมหูลืมตา จนมีข้าวกองมหึมาในสต๊อก คาดปีหน้าทะลุถึง 12.1 ล้านตัน เหตุขายไม่ออก ขณะที่ "พาณิชย์"รับสภาพ ปีนี้ส่งออกได้แค่ 7.5 ล้านตัน ต่ำกว่าเป้า
สำนักข่าวเอเอฟพีและสื่อต่างประเทศรายงานเมื่อวานนี้ (24 ต.ค.) ว่า นโยบายรับจำนำข้าวในราคาสูงลิ่วเกินกว่าราคาตลาดถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่ดำเนินมา 1 ปีเต็ม ได้ทำลายความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกข้าวชาวไทยจนหมดสิ้น หลังตัวเลขการส่งออกข้าวหดหายไปเกือบครึ่งหนึ่งในปีนี้ กระทบต่อสถานะผู้ส่งออกข้าวหมายเลขหนึ่งของโลก ที่ไทยผูกขาดครองแชมป์มายาวนาน
ยิ่งไปกว่านั้นกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (ยูเอสดีเอ) ยังคาดการณ์ว่า การส่งออกข้าวของไทยที่เคยครองสัดส่วนถึงกว่า 1 ใน 3 ของความต้องการข้าวในตลาดโลก อาจร่วงลงจนตามหลังผู้ส่งออกอย่างเวียดนามและอินเดีย
ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยไทยเคยผลิตข้าวได้ราว 20 ล้านตันในแต่ละปี ซึ่งในจำนวนนี้ราวครึ่งหนึ่งจะถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่เมื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามาครองอำนาจพร้อมกับนำนโยบายแห่งความขัดแย้งดังกล่าวมาบังคับใช้ ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยกลับพุ่งดิ่งเหวเหลือเพียง 6.5 ล้านตัน สวนทางกับปริมาณข้าวค้างสต็อกที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 10 ล้านตันตามการประเมินของนักวิชาการไทย
ขณะที่การคาดการณ์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุสิ้นปี 2555 ไทยจะมีปริมาณข้าวค้างสต็อกราว 9.4 ล้านตัน และในปี 2556 ปริมาณข้าวที่ขายไม่ออกของไทย จะพุ่งแตะระดับ 12.1 ล้านตัน เพราะไม่มีประเทศใดยอมซื้อข้าวราคาแพงของไทย
ขณะเดียวกันพื้นที่ในโกดังและสถานที่เก็บข้าวทั่วประเทศ กำลังถูกใช้เพื่อรองรับข้าวปริมาณมหาศาลที่รัฐบาลรับจำนำไว้ แต่ไม่สามารถหาผู้ซื้อได้ ซึ่งสื่อต่างประเทศชี้ว่า นโยบายจำนำข้าวราคาสูงลิ่วของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่เพียงแต่ทำให้ไทยขายข้าวได้น้อยลงแล้ว แม้แต่พื้นที่สนามบินและค่ายทหารอาจต้องถูกนำมารองรับภูเขาข้าวลูกมหึมา ถือเป็นเรื่องราวสุดพิลึกที่แทบไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ขณะเดียวกันชาวนาไทยก็ยังคงมีฐานะที่ยากจนไม่ต่างจากเดิม แต่พวกที่ร่ำรวยขึ้นกลับเป็นกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจำนำข้าวที่มีการทุจริตอย่างเป็นระบบในทุกขั้นตอน
แม้นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ได้ออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกโครงการดังกล่าว แต่ดูเหมือนนักการเมืองไทยที่เป็นฝ่ายครองอำนาจอยู่ในเวลานี้ จะไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออยู่ นอกจากต้องดันทุรังเดินหน้าโครงการจำนำข้าวต่อไป เพื่อสกัดกั้นมิให้ราคาข้าวตกต่ำลงจนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองที่จะกระทบการเลือกตั้งครั้งต่อไป
วันเดียวกันนี้ นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยว่า ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.2555 ไทยส่งออกได้แล้ว 5.2 ล้านตัน มูลค่าสูงถึงกว่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่เวียดนาม และอินเดีย แม้จะมีปริมาณส่งออกสูงกว่าไทยในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ราคาต่ำกว่าข้าวไทยมาก โดยเวียดนามส่งออกได้ 5.9 ล้านตัน มูลค่าเพียง 2,450 ล้านเหรียญสหรัฐ และอินเดีย ส่งออกได้ 5.6 ล้านตัน มูลค่า 2,990 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉลี่ยราคาข้าวไทยสูงกว่าของเวียดนามถึง 30% และสูงกว่าของอินเดีย 14.6% เช่น ข้าวขาว 5% ของไทยล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา ตันละ 570 เหรียญสหรัฐ เวียดนาม ตันละ 490 เหรียญสหรัฐ อินเดีย ตันละ 460 เหรียญสหรัฐ , ข้าวขาว 25% ไทย ตันละ 560 เหรียญสหรัฐ อินเดีย ตันละ 480 เหรียญสหรัฐ , ข้าวนึ่ง ไทยตันละ 574 เหรียญสหรัฐ อินเดีย ตันละ 460 เหรียญสหรัฐ
“ปีนี้ทั้งปีไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากเป้าหมายเดิมที่ 8.5 ล้านตัน โดยในปริมาณ 7.5 ล้านตันเป็นข้าวที่ส่งออกแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) 1.7-1.8 ล้านตัน และภาพรวมไม่ถือว่าเป็นปริมาณที่ต่ำ เพราะหากย้อนหลังไปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกได้เฉลี่ยปีละ 7-8 ล้านตันอยู่แล้ว มีเพียงปีที่แล้วที่ผิดปกติ และเป็นปีทองของข้าวไทยที่ส่งออกได้มากกว่า 10 ล้านตัน ส่วนปีหน้า คาดว่าจะส่งออกได้ 8.5 ล้านตัน เพราะมีสัญญาจีทูจีที่จะต้องส่งมอบอีก 5 ล้านตัน” นายฑิฆัมพรกล่าว
สำนักข่าวเอเอฟพีและสื่อต่างประเทศรายงานเมื่อวานนี้ (24 ต.ค.) ว่า นโยบายรับจำนำข้าวในราคาสูงลิ่วเกินกว่าราคาตลาดถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่ดำเนินมา 1 ปีเต็ม ได้ทำลายความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกข้าวชาวไทยจนหมดสิ้น หลังตัวเลขการส่งออกข้าวหดหายไปเกือบครึ่งหนึ่งในปีนี้ กระทบต่อสถานะผู้ส่งออกข้าวหมายเลขหนึ่งของโลก ที่ไทยผูกขาดครองแชมป์มายาวนาน
ยิ่งไปกว่านั้นกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (ยูเอสดีเอ) ยังคาดการณ์ว่า การส่งออกข้าวของไทยที่เคยครองสัดส่วนถึงกว่า 1 ใน 3 ของความต้องการข้าวในตลาดโลก อาจร่วงลงจนตามหลังผู้ส่งออกอย่างเวียดนามและอินเดีย
ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยไทยเคยผลิตข้าวได้ราว 20 ล้านตันในแต่ละปี ซึ่งในจำนวนนี้ราวครึ่งหนึ่งจะถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่เมื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามาครองอำนาจพร้อมกับนำนโยบายแห่งความขัดแย้งดังกล่าวมาบังคับใช้ ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยกลับพุ่งดิ่งเหวเหลือเพียง 6.5 ล้านตัน สวนทางกับปริมาณข้าวค้างสต็อกที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 10 ล้านตันตามการประเมินของนักวิชาการไทย
ขณะที่การคาดการณ์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุสิ้นปี 2555 ไทยจะมีปริมาณข้าวค้างสต็อกราว 9.4 ล้านตัน และในปี 2556 ปริมาณข้าวที่ขายไม่ออกของไทย จะพุ่งแตะระดับ 12.1 ล้านตัน เพราะไม่มีประเทศใดยอมซื้อข้าวราคาแพงของไทย
ขณะเดียวกันพื้นที่ในโกดังและสถานที่เก็บข้าวทั่วประเทศ กำลังถูกใช้เพื่อรองรับข้าวปริมาณมหาศาลที่รัฐบาลรับจำนำไว้ แต่ไม่สามารถหาผู้ซื้อได้ ซึ่งสื่อต่างประเทศชี้ว่า นโยบายจำนำข้าวราคาสูงลิ่วของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่เพียงแต่ทำให้ไทยขายข้าวได้น้อยลงแล้ว แม้แต่พื้นที่สนามบินและค่ายทหารอาจต้องถูกนำมารองรับภูเขาข้าวลูกมหึมา ถือเป็นเรื่องราวสุดพิลึกที่แทบไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ขณะเดียวกันชาวนาไทยก็ยังคงมีฐานะที่ยากจนไม่ต่างจากเดิม แต่พวกที่ร่ำรวยขึ้นกลับเป็นกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจำนำข้าวที่มีการทุจริตอย่างเป็นระบบในทุกขั้นตอน
แม้นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ได้ออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกโครงการดังกล่าว แต่ดูเหมือนนักการเมืองไทยที่เป็นฝ่ายครองอำนาจอยู่ในเวลานี้ จะไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออยู่ นอกจากต้องดันทุรังเดินหน้าโครงการจำนำข้าวต่อไป เพื่อสกัดกั้นมิให้ราคาข้าวตกต่ำลงจนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองที่จะกระทบการเลือกตั้งครั้งต่อไป
วันเดียวกันนี้ นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยว่า ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.2555 ไทยส่งออกได้แล้ว 5.2 ล้านตัน มูลค่าสูงถึงกว่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่เวียดนาม และอินเดีย แม้จะมีปริมาณส่งออกสูงกว่าไทยในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ราคาต่ำกว่าข้าวไทยมาก โดยเวียดนามส่งออกได้ 5.9 ล้านตัน มูลค่าเพียง 2,450 ล้านเหรียญสหรัฐ และอินเดีย ส่งออกได้ 5.6 ล้านตัน มูลค่า 2,990 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉลี่ยราคาข้าวไทยสูงกว่าของเวียดนามถึง 30% และสูงกว่าของอินเดีย 14.6% เช่น ข้าวขาว 5% ของไทยล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา ตันละ 570 เหรียญสหรัฐ เวียดนาม ตันละ 490 เหรียญสหรัฐ อินเดีย ตันละ 460 เหรียญสหรัฐ , ข้าวขาว 25% ไทย ตันละ 560 เหรียญสหรัฐ อินเดีย ตันละ 480 เหรียญสหรัฐ , ข้าวนึ่ง ไทยตันละ 574 เหรียญสหรัฐ อินเดีย ตันละ 460 เหรียญสหรัฐ
“ปีนี้ทั้งปีไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากเป้าหมายเดิมที่ 8.5 ล้านตัน โดยในปริมาณ 7.5 ล้านตันเป็นข้าวที่ส่งออกแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) 1.7-1.8 ล้านตัน และภาพรวมไม่ถือว่าเป็นปริมาณที่ต่ำ เพราะหากย้อนหลังไปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกได้เฉลี่ยปีละ 7-8 ล้านตันอยู่แล้ว มีเพียงปีที่แล้วที่ผิดปกติ และเป็นปีทองของข้าวไทยที่ส่งออกได้มากกว่า 10 ล้านตัน ส่วนปีหน้า คาดว่าจะส่งออกได้ 8.5 ล้านตัน เพราะมีสัญญาจีทูจีที่จะต้องส่งมอบอีก 5 ล้านตัน” นายฑิฆัมพรกล่าว