นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) เปิดเผยความคืบหน้าในการยื่นเรื่องร้องเรียนกรณีการประมูลได้จัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือเครือข่าย 3 G ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ทราบมาว่าในวันที่ 30 ต.ค.นี้ จะมีการประชุมประจำสัปดาห์ของผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยจะมีการนำข้อร้องเรียนของกลุ่มกรีนกรณีการประมูล 3G ขึ้นมาพิจารณาด้วยว่า ผู้ตรวจการฯจะใช้สิทธิทางศาลปกครองเพื่อหาข้อยุติในเรื่องนี้หรือไม่ โดยส่วนตัวคาดหวังว่าช่องทางผู้ตรวจการแผ่นดินจะเป็นช่องทางที่จะคลี่คลายข้อพิพาทการประมูล 3G ได้เท่าทันเวลา เพราะในส่วนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้น เป็นการตรวจสอบกรณีการทุจริตประพฤติมิชอบของ กสทช. เป็นการไต่สวนความผิดทางอาญา ซึ่งคงต้องใช้เวลาซึ่งอาจจะช้าหรือไม่ทันการณ์
“ต้องติดตามการประชุมของผู้ตรวจการฯ ว่าจะมีมติอย่างไร ทังนี้ผมค่อนข้างมั่นใจในประเด็นกรอบอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการฯ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้สิทธิทางศาลปกครองแทนประชาชนได้ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 มาตรา 13, 14 และ 15 ชึ่งผู้ตรวจการฯ สามารถเสนอเรื่องไปยังศาลปกครองและขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งดำเนินการไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวได้” นายสุริยะใส กล่าว
ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวต่อว่า ในคำสั่งศาลปกครองเองก็ระบุชัดว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินมีสิทธิและหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีโดยปกติทั่วไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ที่สำคัญในคำสั่งศาลปกครองแม้จะไม่รับฟ้องกรณีที่องค์กรประชาชนไปฟ้องเพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงก็ตาม แต่ศาลปกครองได้ชี้ชัดเจนว่าเหตุแห่งการฟ้องมีข้อเท็จจริงพอสมควรที่จะตรวจสอบการใช้ดุลพินิจและประกาศ กสทช.เรื่องเกณฑ์การประมูลว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
“ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเป็นความหวังเดียวของสังคมที่จะทำให้คำประกาศ กสทช.ว่าด้วยเกณฑ์การประมูล ในฐานะที่เป็นคำสั่งทางปกครองถูกตรวจสอบและไต่สวนโดยศาลปกครองว่าชอบด้วยกฎหมายและกระทบกับผลประโยชน์ของสาธารณะและประชาชนหรือไม่ เพราะเราคงไม่สามารถคาดหวังหรือรอให้เอกชนผู้เข้าร่วมประมูลในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ เพราะการประมูลครั้งนี้ถูกมองว่ามีการออกแบบจัดฉากมาตั้งแต่ต้น” นายสุริยะใส ระบุ
“ต้องติดตามการประชุมของผู้ตรวจการฯ ว่าจะมีมติอย่างไร ทังนี้ผมค่อนข้างมั่นใจในประเด็นกรอบอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการฯ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้สิทธิทางศาลปกครองแทนประชาชนได้ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 มาตรา 13, 14 และ 15 ชึ่งผู้ตรวจการฯ สามารถเสนอเรื่องไปยังศาลปกครองและขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งดำเนินการไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวได้” นายสุริยะใส กล่าว
ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวต่อว่า ในคำสั่งศาลปกครองเองก็ระบุชัดว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินมีสิทธิและหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีโดยปกติทั่วไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ที่สำคัญในคำสั่งศาลปกครองแม้จะไม่รับฟ้องกรณีที่องค์กรประชาชนไปฟ้องเพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงก็ตาม แต่ศาลปกครองได้ชี้ชัดเจนว่าเหตุแห่งการฟ้องมีข้อเท็จจริงพอสมควรที่จะตรวจสอบการใช้ดุลพินิจและประกาศ กสทช.เรื่องเกณฑ์การประมูลว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
“ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเป็นความหวังเดียวของสังคมที่จะทำให้คำประกาศ กสทช.ว่าด้วยเกณฑ์การประมูล ในฐานะที่เป็นคำสั่งทางปกครองถูกตรวจสอบและไต่สวนโดยศาลปกครองว่าชอบด้วยกฎหมายและกระทบกับผลประโยชน์ของสาธารณะและประชาชนหรือไม่ เพราะเราคงไม่สามารถคาดหวังหรือรอให้เอกชนผู้เข้าร่วมประมูลในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ เพราะการประมูลครั้งนี้ถูกมองว่ามีการออกแบบจัดฉากมาตั้งแต่ต้น” นายสุริยะใส ระบุ