ASTVผู้จัดการรายวัน - ป.ป.ช.รับคำร้องตรวจสอบประมูล 3จี ตั้งอนุกรรมการสอบ 5 กทค. ดู 2 ปม- พฤติกรรม และกระบวนการจัดประมูล ด้าน “กสทช.”แจง กมธ.สอบทุจริตวุฒิ ยันประมูลตามพรบ.ว่าด้วยการเสนอราคา “หมอลี่-สุภา” ย้ำปล่อยไปมีปัญหาในอนาคตแน่ “ไพบูลย์”ส่งศาลปค. ผ่านผู้ตรวจฯ ยับยั้ง ด้าน ปธ.กสทช.ไม่รู้ “สุภิญญา” ขอประชุมบอร์ดชุดใหญ่ด่วน! แต่คาดออกใบอนุญาตไม่เกิน 20 พ.ย.นี้
วานนี้ (25 ต.ค.55) มีการประชุมใหญ่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อพิจารณากรณีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G หลังจากที่ ป.ป.ช.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากหลายกลุ่ม เช่น กระทรวงการคลัง คณะกรรมาธิการวุฒิสภา กลุ่มของนายสุริยะใส กตะศิลา ที่ต้องการให้สอบสวนในประเด็นการจัดประมูลที่ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา การตั้งราคาประมูลที่ต่ำ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการฮั้วประมูล
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติรับคำร้องของผู้ร้องดังกล่าว โดย ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องทั้ง 5 คำร้อง มีข้อเท็จจริงในทำนองเดียวกัน จึงยึดคำร้องของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งขอให้พิจารณาว่า การประกวดราคา กสทช. มุ่งหมายไม่ให้เกิดการแข่งขัน หรือการเสนอราคาที่เป็นธรรม และพฤติกรรมของคณะกรรมาธิการ กสทช. ที่เร่งรีบในการลงมติเห็นชอบการประมูลดังกล่าวเป็นหลัก
ทั้งนี้ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องเข้าข่ายพระราชบัญญัติว่าด้วยการเสนอราคาต่อรัฐ พ.ศ.2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล ซึ่งตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ให้อำนาจกับ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และสามารถไต่สวนข้อเท็จจริง ได้ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชน
นายกล้านรงค์ กล่าวด้วยว่า กรรมการ ป.ป.ช. มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องนี้ โดยให้นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะร่วมเป็นกรรมการได้ในสัปดาห์หน้า
**กสทช.แจง กมธ.ยันประมูลตามกม.
เมื่อเวลา 10.30 น.คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งมี น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี เป็นประธาน ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงข้อมูล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการประมูล 3จี ว่าเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หรือเข้าข่ายการกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือฮั้วประมูลหรือไม่ ตามที่ประชาชนและองค์กรต่างๆ ได้ร้องเรียนมายังกรรมาธิการ
ทั้งนี้ มีตัวแทนจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. , กรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. , สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนผู้ประมูลทั้ง 3 บริษัท คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัทในเครือของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟว์ เซอร์วิส (AIS) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เข้าร่วมประมูลในนามของบริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ค จำกัด และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เข้าร่วมประมูลในนามของบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด รวมถึง นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ส่งหนังสือทักท้วงการประมูลไปยัง กสทช.เข้าชี้แจง
โดย พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค.และรองประธาน กสทช.ชี้แจงว่า กสทช.ได้ดำเนินการจัดการประมูลโดยเป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของคณะอนุกรรมรองรับการใช้งานคลื่น 3จี 2.1 กิกกะเฮิร์ทซ ทั้งการกำหนดคลื่นความถี่และราคา ที่มีความเหมาะสมเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ทั้งนี้ ยืนยันว่า การดำเนินงานเป็นไปตาม พรบ.ว่าด้วยการเสนอราคา ซึ่งมีความเป็นธรรมและโปร่งใส เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก โดยไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใดหรือบริษัทใดๆ
**หมอลี่-สุภา ยันปล่อยไปมีปัญหาแน่
ด้านนายประวิทย์ สี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคม หนึ่งในเสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูลดังกล่าว ได้ให้ความเห็นว่า การกำหนดราคาแม้มีการตั้งราคาต่ำสุด แต่ควรมีการกำหนดราคาตั้งต้นที่สูง พอสมควร โดยค่าเฉลี่ยควรตั้งอยู่ที่ร้อยละ 82 จากต่ำสุดคือ ร้อยละ 67 และมีผู้ประกอบการอย่างน้อยหนึ่งรายที่มีพฤติกรรมไม่แข่งขัน โดยการรอช่องสัญญาณที่เหลือในระหว่างการประมูล
ขณะที่ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงถึงการทำหนังสือทักท้วงการประมูล ว่า เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมการประมูล ที่เข้าข่ายสมยอมไม่มีการแข่งขัน รวมถึงการกำหนดราคาไม่มีความสมเหตุสมผล จึงทำหนังสือทักท้วงว่าหน่วยงานต้นเรื่อง ควรจะมีการทบทวนการประมูลหรือไม่ ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วจำเป็นจะต้องมีการแข่งขัน แต่กลับมีการจัดสรรคลื่นความถี่ตรงกับจำนวนของผู้ประกอบการที่ร่วมประมูลพอดี ทั้งหมดนี้จึงทำให้ ผู้ประมูลทั้ง AIS/TRUE/DTAC ได้ประโยชน์ ประหยัดค่าใช้จ่ายรวมกว่า 419,000 ล้านบาท และทำให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขาดทุนทันที จึงไม่มีเหตุผลที่ต้องลดราคาลง ทั้งนี้ การทำหนังสือทักท้วงของตนไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองแต่อย่างใด หากปล่อยเรื่องนี้ไปอาจมีปัญหาในภายภาคหน้า
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ชี้แจงว่า ตอนนี้กระแสข่าวหลายเรื่องเกี่ยวกับการประมูลคลาดเคลื่อน ยืนยันว่า การประมูลมีการพิจารณาหลักการอย่างรอบครอบแล้ว ซึ่งการกำหนดราคาประมูลต้องพิจารณาเป็นสองเรื่องคือราคาตั้งต้นและราคามูลค่า ที่ในหลายประเทศมีการกำหนดราคาตั้งต้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของราคามูลค่าเท่านั้น อีกทั้งตอนแรกการประมูลจะมีทั้งสิ้น 4 บริษัท แต่สุดท้ายเหลือ 3 บริษัท เพราะสู้ราคาไม่ไหว
ในกรณีที่ทางรองปลัดกระทรวงการคลังส่งหนังสือให้ทบทวนการประมูลนั้น ยืนยันว่าการประมูลทำภายใต้กรอบของกฎหมายชัดเจน ไม่ได้ผิด พ.ร.บ.ฮั้วแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ กทค.สามารถกำหนดออกแบบเองได้ ไม่ได้มีการระบุไว้ว่า ต้องเป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักนายกรัฐมนตรี รวมถึงกระบวนการประมูล ข้อสรุปการออกใบอนุญาต กทค.มีอำนาจทางกฎหมายที่จะสรุปผลโดยไม่ต้องส่งผ่านให้ กสทช.พิจารณา ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายหลายท่าน ม.27 (4) ของ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ.2535 พร้อมตั้งข้อสงสัยจากการวิเคราะห์ว่ามีกระบวนการพยายามล้มการประมูล
**กมธ.ยันมีอำนาจตรวจสอบ
นายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การชี้แจงที่มีเรื่องกระบวนการล้มการประมูลนั้น ยืนยันว่ากระบวนการกรรมาธิการไม่ได้มีการดำเนินทางการเมือง แต่เป็นการตรวจสอบองค์กรอิสระตามอำนาจที่มี ด้าน น.ส.สุมน สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาธิบาล วุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องนี้มีการส่งให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และที่มีการเรียกมาชี้แจงในครั้งนี้ก็เพื่อดูการทำงานที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การประมูลเอกชนมีเจตนาที่จะไม่เพิ่มราคาประมูล และจากนั้นก็มีการเร่งรีบตัดสินให้ทั้ง 3 บริษัท ได้การประมูลครั้งนี้ ทั้งที่รัฐเสียประโยชน์แต่ก็ยังเร่งรีบเดินหน้า
ส่วน นายพัชรสุทธี สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการตลาดและการประมูล กล่าวว่า จากประสบการทราบมาว่าการประมูลคลื่นสัญญาณมีสองแบบคือ การประมูลเพื่อเน้นประสิทธิภาพ และการประมูลเพื่อรายได้ของรัฐ ซึ่งการประมูลของไทยเป็นรูปแบบที่สากลใช้ตั้งแต่ปี 2537 ทั้งประเทศโปรตุเกส สิงคโปร์ ก็มีการประมูลคลื่นสัญญาณที่ใช้ราคาต่ำสุด เพื่อประสิทธิภาพให้มีการบริการสัญญาณอย่างทั่วถึง หากสร้างการแข่งขันปลอมเพื่อรายได้ของรัฐอาจเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดได้
**ส่งศาลปค.ผ่านผู้ตรวจฯยับยั้ง
นายไพบูลย์ เปิดเผยว่า ตนเตรียมทำหนังสือเพื่อส่งถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ส่งเรื่องต่อให้ศาลปกครองพิจารณาว่าคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) มีอำนาจที่จะรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ 3 จีหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (2) หลังจากที่พบข้อมูลว่า กทค. ได้ใช้อำนาจที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 47, มาตรา 305 (1), พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศฯ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และประกาศ กสทช. ว่าด้วยการจัดสรรคลื่นความถี่
"เบื้องต้นแล้วตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่กล่าวมา ชี้ชัดว่า กทค. ไม่มีอำนาจในการรับรองผลการประมูล 3 จี เพราะต้องเป็นอำนาจเต็มของ กสทช. ชุดใหญ่ ดังนั้นผมจะยื่นเรื่องนี้ต่อศาลปกครองผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้พิจารณาต่อไป เบื้องต้นจะยื่นโดยเร็วที่สุด วันศุกร์ช่วงบ่าย แต่หากทำหนังสือไม่ทัน ก็จะส่งไปในวันจันทร์ ที่ 29 ต.ค." นายไพบูลย์ กล่าว
**ปธ.กสทช.ไม่รู้สุภิญญา ขอประชุมด่วน
ด้านพลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี ประธานกสทช.เปิดเผยว่า การประมูล 3 จี ที่ผ่านมา บอร์ดกทค. ได้ชี้แจงอย่างเรียบร้อยดี พร้อมทั้งกระบวนการประมูล 3 จี เปิดเผยให้สื่อมวลชนซักถามโดยตลอด นอกจากนี้ยังเปิดให้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ก่อนการประมูลจริง ส่วนกรณีน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์(กสท.) ได้ยื่นหนังสือขอเรียกประชุม กรรมการ กสทช.ทั้ง 11 คน เห็นว่า ต้องดูเหตุผลประกอบว่ามีความจำเป็นมากน้อย แค่ไหน นอกจากนี้การกำหนดประชุมได้กำหนดไว้แน่นอน และบอร์ดแต่ละก็มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ
** คาดออกใบอนุญาตไม่เกิน 20 พ.ย.นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ส่วนตัวไม่ขอพูดถึงเรื่องการประมูล 3 จี เพราะเรื่องนี้ได้ชี้แจง และยืนยันถึงความโปร่งใสในการจัดประมูล 3 จี ต่อ 4 หน่วยงาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งยอมรับว่า 3 จี ไม่ควรที่จะถูกชะลอให้ล่าช้าออกไป เพราะจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจในเรื่องค่าบริการ 3 จี ด้วยว่า จะต้องถูกลงไม่น้อยกว่า 15-20 เปอร์เซ็นต์
นายฐากร กล่าวต่อไปว่า หากกระบวนการตรวจสอบการประมูล 3 จีไม่พบสิ่งผิดปกติ คาดว่าไม่เกินวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ จะมีการออกใบอนุญาต และจากนั้นภายใน 3 เดือน ประชาชนจะมี 3 จีใช้
วานนี้ (25 ต.ค.55) มีการประชุมใหญ่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อพิจารณากรณีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G หลังจากที่ ป.ป.ช.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากหลายกลุ่ม เช่น กระทรวงการคลัง คณะกรรมาธิการวุฒิสภา กลุ่มของนายสุริยะใส กตะศิลา ที่ต้องการให้สอบสวนในประเด็นการจัดประมูลที่ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา การตั้งราคาประมูลที่ต่ำ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการฮั้วประมูล
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติรับคำร้องของผู้ร้องดังกล่าว โดย ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องทั้ง 5 คำร้อง มีข้อเท็จจริงในทำนองเดียวกัน จึงยึดคำร้องของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งขอให้พิจารณาว่า การประกวดราคา กสทช. มุ่งหมายไม่ให้เกิดการแข่งขัน หรือการเสนอราคาที่เป็นธรรม และพฤติกรรมของคณะกรรมาธิการ กสทช. ที่เร่งรีบในการลงมติเห็นชอบการประมูลดังกล่าวเป็นหลัก
ทั้งนี้ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องเข้าข่ายพระราชบัญญัติว่าด้วยการเสนอราคาต่อรัฐ พ.ศ.2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล ซึ่งตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ให้อำนาจกับ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และสามารถไต่สวนข้อเท็จจริง ได้ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชน
นายกล้านรงค์ กล่าวด้วยว่า กรรมการ ป.ป.ช. มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องนี้ โดยให้นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะร่วมเป็นกรรมการได้ในสัปดาห์หน้า
**กสทช.แจง กมธ.ยันประมูลตามกม.
เมื่อเวลา 10.30 น.คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งมี น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี เป็นประธาน ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงข้อมูล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการประมูล 3จี ว่าเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หรือเข้าข่ายการกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือฮั้วประมูลหรือไม่ ตามที่ประชาชนและองค์กรต่างๆ ได้ร้องเรียนมายังกรรมาธิการ
ทั้งนี้ มีตัวแทนจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. , กรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. , สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนผู้ประมูลทั้ง 3 บริษัท คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัทในเครือของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟว์ เซอร์วิส (AIS) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เข้าร่วมประมูลในนามของบริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ค จำกัด และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เข้าร่วมประมูลในนามของบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด รวมถึง นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ส่งหนังสือทักท้วงการประมูลไปยัง กสทช.เข้าชี้แจง
โดย พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค.และรองประธาน กสทช.ชี้แจงว่า กสทช.ได้ดำเนินการจัดการประมูลโดยเป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของคณะอนุกรรมรองรับการใช้งานคลื่น 3จี 2.1 กิกกะเฮิร์ทซ ทั้งการกำหนดคลื่นความถี่และราคา ที่มีความเหมาะสมเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ทั้งนี้ ยืนยันว่า การดำเนินงานเป็นไปตาม พรบ.ว่าด้วยการเสนอราคา ซึ่งมีความเป็นธรรมและโปร่งใส เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก โดยไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใดหรือบริษัทใดๆ
**หมอลี่-สุภา ยันปล่อยไปมีปัญหาแน่
ด้านนายประวิทย์ สี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคม หนึ่งในเสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูลดังกล่าว ได้ให้ความเห็นว่า การกำหนดราคาแม้มีการตั้งราคาต่ำสุด แต่ควรมีการกำหนดราคาตั้งต้นที่สูง พอสมควร โดยค่าเฉลี่ยควรตั้งอยู่ที่ร้อยละ 82 จากต่ำสุดคือ ร้อยละ 67 และมีผู้ประกอบการอย่างน้อยหนึ่งรายที่มีพฤติกรรมไม่แข่งขัน โดยการรอช่องสัญญาณที่เหลือในระหว่างการประมูล
ขณะที่ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงถึงการทำหนังสือทักท้วงการประมูล ว่า เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมการประมูล ที่เข้าข่ายสมยอมไม่มีการแข่งขัน รวมถึงการกำหนดราคาไม่มีความสมเหตุสมผล จึงทำหนังสือทักท้วงว่าหน่วยงานต้นเรื่อง ควรจะมีการทบทวนการประมูลหรือไม่ ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วจำเป็นจะต้องมีการแข่งขัน แต่กลับมีการจัดสรรคลื่นความถี่ตรงกับจำนวนของผู้ประกอบการที่ร่วมประมูลพอดี ทั้งหมดนี้จึงทำให้ ผู้ประมูลทั้ง AIS/TRUE/DTAC ได้ประโยชน์ ประหยัดค่าใช้จ่ายรวมกว่า 419,000 ล้านบาท และทำให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขาดทุนทันที จึงไม่มีเหตุผลที่ต้องลดราคาลง ทั้งนี้ การทำหนังสือทักท้วงของตนไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองแต่อย่างใด หากปล่อยเรื่องนี้ไปอาจมีปัญหาในภายภาคหน้า
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ชี้แจงว่า ตอนนี้กระแสข่าวหลายเรื่องเกี่ยวกับการประมูลคลาดเคลื่อน ยืนยันว่า การประมูลมีการพิจารณาหลักการอย่างรอบครอบแล้ว ซึ่งการกำหนดราคาประมูลต้องพิจารณาเป็นสองเรื่องคือราคาตั้งต้นและราคามูลค่า ที่ในหลายประเทศมีการกำหนดราคาตั้งต้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของราคามูลค่าเท่านั้น อีกทั้งตอนแรกการประมูลจะมีทั้งสิ้น 4 บริษัท แต่สุดท้ายเหลือ 3 บริษัท เพราะสู้ราคาไม่ไหว
ในกรณีที่ทางรองปลัดกระทรวงการคลังส่งหนังสือให้ทบทวนการประมูลนั้น ยืนยันว่าการประมูลทำภายใต้กรอบของกฎหมายชัดเจน ไม่ได้ผิด พ.ร.บ.ฮั้วแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ กทค.สามารถกำหนดออกแบบเองได้ ไม่ได้มีการระบุไว้ว่า ต้องเป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักนายกรัฐมนตรี รวมถึงกระบวนการประมูล ข้อสรุปการออกใบอนุญาต กทค.มีอำนาจทางกฎหมายที่จะสรุปผลโดยไม่ต้องส่งผ่านให้ กสทช.พิจารณา ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายหลายท่าน ม.27 (4) ของ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ.2535 พร้อมตั้งข้อสงสัยจากการวิเคราะห์ว่ามีกระบวนการพยายามล้มการประมูล
**กมธ.ยันมีอำนาจตรวจสอบ
นายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การชี้แจงที่มีเรื่องกระบวนการล้มการประมูลนั้น ยืนยันว่ากระบวนการกรรมาธิการไม่ได้มีการดำเนินทางการเมือง แต่เป็นการตรวจสอบองค์กรอิสระตามอำนาจที่มี ด้าน น.ส.สุมน สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาธิบาล วุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องนี้มีการส่งให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และที่มีการเรียกมาชี้แจงในครั้งนี้ก็เพื่อดูการทำงานที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การประมูลเอกชนมีเจตนาที่จะไม่เพิ่มราคาประมูล และจากนั้นก็มีการเร่งรีบตัดสินให้ทั้ง 3 บริษัท ได้การประมูลครั้งนี้ ทั้งที่รัฐเสียประโยชน์แต่ก็ยังเร่งรีบเดินหน้า
ส่วน นายพัชรสุทธี สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการตลาดและการประมูล กล่าวว่า จากประสบการทราบมาว่าการประมูลคลื่นสัญญาณมีสองแบบคือ การประมูลเพื่อเน้นประสิทธิภาพ และการประมูลเพื่อรายได้ของรัฐ ซึ่งการประมูลของไทยเป็นรูปแบบที่สากลใช้ตั้งแต่ปี 2537 ทั้งประเทศโปรตุเกส สิงคโปร์ ก็มีการประมูลคลื่นสัญญาณที่ใช้ราคาต่ำสุด เพื่อประสิทธิภาพให้มีการบริการสัญญาณอย่างทั่วถึง หากสร้างการแข่งขันปลอมเพื่อรายได้ของรัฐอาจเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดได้
**ส่งศาลปค.ผ่านผู้ตรวจฯยับยั้ง
นายไพบูลย์ เปิดเผยว่า ตนเตรียมทำหนังสือเพื่อส่งถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ส่งเรื่องต่อให้ศาลปกครองพิจารณาว่าคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) มีอำนาจที่จะรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ 3 จีหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (2) หลังจากที่พบข้อมูลว่า กทค. ได้ใช้อำนาจที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 47, มาตรา 305 (1), พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศฯ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และประกาศ กสทช. ว่าด้วยการจัดสรรคลื่นความถี่
"เบื้องต้นแล้วตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่กล่าวมา ชี้ชัดว่า กทค. ไม่มีอำนาจในการรับรองผลการประมูล 3 จี เพราะต้องเป็นอำนาจเต็มของ กสทช. ชุดใหญ่ ดังนั้นผมจะยื่นเรื่องนี้ต่อศาลปกครองผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้พิจารณาต่อไป เบื้องต้นจะยื่นโดยเร็วที่สุด วันศุกร์ช่วงบ่าย แต่หากทำหนังสือไม่ทัน ก็จะส่งไปในวันจันทร์ ที่ 29 ต.ค." นายไพบูลย์ กล่าว
**ปธ.กสทช.ไม่รู้สุภิญญา ขอประชุมด่วน
ด้านพลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี ประธานกสทช.เปิดเผยว่า การประมูล 3 จี ที่ผ่านมา บอร์ดกทค. ได้ชี้แจงอย่างเรียบร้อยดี พร้อมทั้งกระบวนการประมูล 3 จี เปิดเผยให้สื่อมวลชนซักถามโดยตลอด นอกจากนี้ยังเปิดให้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ก่อนการประมูลจริง ส่วนกรณีน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์(กสท.) ได้ยื่นหนังสือขอเรียกประชุม กรรมการ กสทช.ทั้ง 11 คน เห็นว่า ต้องดูเหตุผลประกอบว่ามีความจำเป็นมากน้อย แค่ไหน นอกจากนี้การกำหนดประชุมได้กำหนดไว้แน่นอน และบอร์ดแต่ละก็มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ
** คาดออกใบอนุญาตไม่เกิน 20 พ.ย.นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ส่วนตัวไม่ขอพูดถึงเรื่องการประมูล 3 จี เพราะเรื่องนี้ได้ชี้แจง และยืนยันถึงความโปร่งใสในการจัดประมูล 3 จี ต่อ 4 หน่วยงาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งยอมรับว่า 3 จี ไม่ควรที่จะถูกชะลอให้ล่าช้าออกไป เพราะจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจในเรื่องค่าบริการ 3 จี ด้วยว่า จะต้องถูกลงไม่น้อยกว่า 15-20 เปอร์เซ็นต์
นายฐากร กล่าวต่อไปว่า หากกระบวนการตรวจสอบการประมูล 3 จีไม่พบสิ่งผิดปกติ คาดว่าไม่เกินวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ จะมีการออกใบอนุญาต และจากนั้นภายใน 3 เดือน ประชาชนจะมี 3 จีใช้