ASTVผู้จัดการรายวัน-ครั้งแรกของโลก"ศิริราช" เจ๋ง! คิดวิธีแยกสเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำรักษาโรคการเสื่อมถอยของเซลล์ร่างกาย เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์คินสัน โรคเบาหวาน เล็งทำธนาคารสเต็มเซลล์สำรองวิจัยและใช้ปลูกถ่ายรักษาในอนาคต
วานนี้ (18 ต.ค.) ที่ รพ.ศิริราช ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดแถลงข่าว “ครั้งแรกของโลก ศิริราชคิดค้นการแยกสเต็มเซลล์บริสุทธิ์จากน้ำคร่ำ เพื่อใช้รักษาโรคในอนาคต” กล่าวว่า หลังจากคิดค้นพัฒนาชุดตรวจและวิธีการเตรียมเซลล์เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกด้วยราคาตรวจที่ถูกและคุณภาพดีทัดเทียมกับต่างประเทศ มาสู่การรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก ด้วยการส่องกล้องโดยไม่ตัดมดลูก ช่วยให้สตรีไทยสามารถมีโอกาสตั้งครรภ์และมีรอบเดือนได้ และครั้งนี้เป็นครั้งแรกของโลกที่คิดค้นแยกสเต็มเซลล์บริสุทธิ์จากน้ำคร่ำเป็นผลสำเร็จ
ศ.คลินิก นพ.ชาญชัย วันทนาศิริ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา กล่าวเสริมว่า การใช้สเต็มเซลล์บำบัด (Stem Cell Therapy) เป็นทางเลือกในการรักษาโรคในอนาคต โดยมีรายงานทางวิชาการว่า สายสะดือ รก มีสเต็มเซลล์อยู่ด้วย จึงสนับสนุนพัฒนาและวิจัยด้านสเต็มเซลล์ในเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์ต่อไป
รศ.นพ.สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาทางการแพทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้สเต็มเซลล์บำบัดเป็นความหวังทางการแพทย์ที่จะนำมารักษาโรคที่มีสาเหตุจากการเสื่อมถอยของเซลล์ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์คินสัน โรคเบาหวาน และ โรคเลือด เป็นต้น ซึ่งสเต็มเซลล์มีคุณสมบัติพิเศษ 2 ประการ คือ 1.สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ไม่จำกัด และ 2.สามารถถูกเหนี่ยวนำให้เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ร่างกายชนิดต่างๆ ภายในห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เห็นจุดเด่นนี้ หากนำสเต็มเซลล์มาเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ร่างกายที่เสื่อมสภาพไปเพื่อปลูกถ่ายทดแทนให้แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพพลภาพจะเป็นวิธีการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพมาก
ด้าน ดร.ทัศนีย์ เพิ่มไทย หัวหน้าโครงการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดฯ ในฐานะผู้คิดค้นผลงานวิจัยนี้ กล่าวว่า สเต็มเซลล์ที่มาจากน้ำคร่ำนั้นมีที่มาจากทารกในครรภ์ เซลล์จึงมีศักยภาพอยู่ระหว่างสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนและสเต็มเซลล์ตัวเต็มวัย ทำให้สเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำมีคุณสมบัติเป็นมีเซนไคม์เหมือนสเต็มเซลล์ตัวเต็มวัย และมีคุณสมบัติพิเศษของสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนอยู่ด้วย สเต็มเซลล์ชนิดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ร่างกายชนิดต่างๆ ได้มากชนิด โดยไม่ก่อให้เกิดก้อนเนื้องอกภายหลังการปลูกถ่าย
“หลังจากที่เราได้คิดค้นวิธีที่จะนำสเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์คุณภาพสูงจากน้ำคร่ำมาใช้ได้อย่างไม่จำกัดแล้ว ขณะนี้โครงการ วิจัยสเต็มเซลล์กำลังวิจัยพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ในน้ำคร่ำให้ปลอดจากโปรตีนสัตว์ เพราะการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์โดย ทั่วไปในปัจจุบันยังต้องใช้โปรตีนจากสัตว์ในอาหารเพาะเลี้ยง ซึ่งอาจทำให้มีการแพร่เชื้อโรคจากสัตว์สู่คนได้ภายหลังการปลูกถ่ายเพื่อรักษาโรค และยังมีรายงานถึงปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อปลูกถ่ายเซลล์ให้แก่ผู้ป่วย โดยมีผลมาจากการต่อต้านโปรตีนสัตว์ที่มากับเซลล์ นอกจากนี้ เรากำลังทำการวิจัยพัฒนาต่อยอดที่จะนำสเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำมาใช้รักษาในโรคข้อเข่าเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และภาวะบาดเจ็บไขสันหลังด้วย” ดร.ทัศนีย์ กล่าว
รศ.นพ.สุภักดี กล่าวว่า นอกจากโครงการวิจัยในการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดและการทดสอบปลูกถ่ายเพื่อรักษาโรคต่างๆ แล้ว ทางหน่วยวิจัยและพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาทางการแพทย์ของเรามีโครงการจัดสร้างธนาคารสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ได้มาจากการตั้งครรภ์ เช่น น้ำคร่ำ รก และสายสะดือขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เนื่องจากเนื้อเยื่อเหล่านี้เป็นแหล่งที่มีสเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์ที่มีศักยภาพสูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งธนาคารสเต็มเซลล์นี้ จะทำให้ประเทศไทยมีแหล่งเก็บสำรองสเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์ไว้สำหรับทำการวิจัยและสามารถนำมาใช้สำหรับการปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยในโรคต่างๆ ได้อย่างไม่จำกัดในอนาคต ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ในทศวรรษหน้า
วานนี้ (18 ต.ค.) ที่ รพ.ศิริราช ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดแถลงข่าว “ครั้งแรกของโลก ศิริราชคิดค้นการแยกสเต็มเซลล์บริสุทธิ์จากน้ำคร่ำ เพื่อใช้รักษาโรคในอนาคต” กล่าวว่า หลังจากคิดค้นพัฒนาชุดตรวจและวิธีการเตรียมเซลล์เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกด้วยราคาตรวจที่ถูกและคุณภาพดีทัดเทียมกับต่างประเทศ มาสู่การรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก ด้วยการส่องกล้องโดยไม่ตัดมดลูก ช่วยให้สตรีไทยสามารถมีโอกาสตั้งครรภ์และมีรอบเดือนได้ และครั้งนี้เป็นครั้งแรกของโลกที่คิดค้นแยกสเต็มเซลล์บริสุทธิ์จากน้ำคร่ำเป็นผลสำเร็จ
ศ.คลินิก นพ.ชาญชัย วันทนาศิริ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา กล่าวเสริมว่า การใช้สเต็มเซลล์บำบัด (Stem Cell Therapy) เป็นทางเลือกในการรักษาโรคในอนาคต โดยมีรายงานทางวิชาการว่า สายสะดือ รก มีสเต็มเซลล์อยู่ด้วย จึงสนับสนุนพัฒนาและวิจัยด้านสเต็มเซลล์ในเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์ต่อไป
รศ.นพ.สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาทางการแพทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้สเต็มเซลล์บำบัดเป็นความหวังทางการแพทย์ที่จะนำมารักษาโรคที่มีสาเหตุจากการเสื่อมถอยของเซลล์ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์คินสัน โรคเบาหวาน และ โรคเลือด เป็นต้น ซึ่งสเต็มเซลล์มีคุณสมบัติพิเศษ 2 ประการ คือ 1.สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ไม่จำกัด และ 2.สามารถถูกเหนี่ยวนำให้เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ร่างกายชนิดต่างๆ ภายในห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เห็นจุดเด่นนี้ หากนำสเต็มเซลล์มาเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ร่างกายที่เสื่อมสภาพไปเพื่อปลูกถ่ายทดแทนให้แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพพลภาพจะเป็นวิธีการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพมาก
ด้าน ดร.ทัศนีย์ เพิ่มไทย หัวหน้าโครงการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดฯ ในฐานะผู้คิดค้นผลงานวิจัยนี้ กล่าวว่า สเต็มเซลล์ที่มาจากน้ำคร่ำนั้นมีที่มาจากทารกในครรภ์ เซลล์จึงมีศักยภาพอยู่ระหว่างสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนและสเต็มเซลล์ตัวเต็มวัย ทำให้สเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำมีคุณสมบัติเป็นมีเซนไคม์เหมือนสเต็มเซลล์ตัวเต็มวัย และมีคุณสมบัติพิเศษของสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนอยู่ด้วย สเต็มเซลล์ชนิดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ร่างกายชนิดต่างๆ ได้มากชนิด โดยไม่ก่อให้เกิดก้อนเนื้องอกภายหลังการปลูกถ่าย
“หลังจากที่เราได้คิดค้นวิธีที่จะนำสเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์คุณภาพสูงจากน้ำคร่ำมาใช้ได้อย่างไม่จำกัดแล้ว ขณะนี้โครงการ วิจัยสเต็มเซลล์กำลังวิจัยพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ในน้ำคร่ำให้ปลอดจากโปรตีนสัตว์ เพราะการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์โดย ทั่วไปในปัจจุบันยังต้องใช้โปรตีนจากสัตว์ในอาหารเพาะเลี้ยง ซึ่งอาจทำให้มีการแพร่เชื้อโรคจากสัตว์สู่คนได้ภายหลังการปลูกถ่ายเพื่อรักษาโรค และยังมีรายงานถึงปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อปลูกถ่ายเซลล์ให้แก่ผู้ป่วย โดยมีผลมาจากการต่อต้านโปรตีนสัตว์ที่มากับเซลล์ นอกจากนี้ เรากำลังทำการวิจัยพัฒนาต่อยอดที่จะนำสเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำมาใช้รักษาในโรคข้อเข่าเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และภาวะบาดเจ็บไขสันหลังด้วย” ดร.ทัศนีย์ กล่าว
รศ.นพ.สุภักดี กล่าวว่า นอกจากโครงการวิจัยในการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดและการทดสอบปลูกถ่ายเพื่อรักษาโรคต่างๆ แล้ว ทางหน่วยวิจัยและพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาทางการแพทย์ของเรามีโครงการจัดสร้างธนาคารสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ได้มาจากการตั้งครรภ์ เช่น น้ำคร่ำ รก และสายสะดือขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เนื่องจากเนื้อเยื่อเหล่านี้เป็นแหล่งที่มีสเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์ที่มีศักยภาพสูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งธนาคารสเต็มเซลล์นี้ จะทำให้ประเทศไทยมีแหล่งเก็บสำรองสเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์ไว้สำหรับทำการวิจัยและสามารถนำมาใช้สำหรับการปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยในโรคต่างๆ ได้อย่างไม่จำกัดในอนาคต ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ในทศวรรษหน้า