ก.พลังงานเดินหน้ายกเลิกเบนซิน 91 ในวันที่ 1 ม.ค.56 ชงกพช.อนุมัติ ยันผลกระทบไม่มาก แต่ช่วยดันยอดการใช้แก๊ซโซฮอล์เพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านลิตร/วัน จี้กรมเชื้อเพลิงหาช่องทางแก้ไขสัญญาเพื่อนำน้ำมันดิบจากแหล่งสัมปทานในประเทศมาใช้เองทั้งหมดแทนการส่งออก คาดแล้วเสร็จปี 56
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)วันที่4 ต.ค.55 มีวาระพิจารณายกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ในวันที่ 1 ม.ค. 2556 รวมทั้งหามาตรการรองรับผลกระทบจากการยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 เชื่อว่ามีผลกระทบคงไม่มาก เพราะมีรถที่ใช้ในภาคการเกษตรและรถจักรยานยนต์ 2
จังหวะจำนวนไม่มากอาจจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อประหยัดพลังงานหรือหันไปใช้เบนซิน 95 แทน
นอกจากนี้การยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 จะส่งผลให้มีการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ใช้อยู่ 1.2-1.3 ล้านลิตร/วัน ขณะที่ไทยมีกำลังการผลิตเอทานอลรวม 3.27 ล้านลิตร/วัน มีส่วนช่วยให้ราคาพืชผลการเกษตรทั้งอ้อยและมันสำปะหลังมีเสถียรภาพและราคาดีขึ้น รวมทั้ง ทำให้สถานีบริการน้ำมันมีหัวจ่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น เดิมกระทรวงฯมีแผนที่จะยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 ในวันที่ 1 ม.ค. 55 แต่ก็เลื่อนไปเป็น 1 ต.ค. 55 แทนเพราะโรงกลั่นบางโรงไม่พร้อม แต่ก็ต้องเลื่อนอีกครั้งเนื่องจากโรงกลั่นของบางจากมีอุบัติเหตุหอกลั่นเกิดเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา รัฐจึงตัดสินใจชะลอการยกเลิกเบนซิน 91 ไป 3 เดือน อย่างไรก็ตามนับจากนี้กระทรวงพลังงานจะเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในการยกเลิกเบนซิน 91 ขณะที่ผู้ประกอบการทั้งโรงกลั่นน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันเองก็มีความพร้อมและอยากให้รัฐยกเลิกการขายเบนซิน 91 อยู่แล้ว เพราะจะช่วยดันยอดขายแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันมียอดขายแก๊สโซฮอล์อยู่ที่ 12 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านลิตร/วัน ทำให้ยอดการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านลิตร/วัน
นายอารักษ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาการนำน้ำมันดิบที่ขุดได้จากแหล่งสัมปทานในประเทศมาใช้ทั้งหมดแทนการส่งออก แม้ว่าคุณภาพน้ำมันดิบที่ผลิตได้ไม่เหมาะโรงกลั่นของไทย จำเป็นต้องลงทุนปรับปรุงโรงกลั่นบ้างก็ตาม โดยอาจจะต้องมีการพิจารณาแก้ไขสัญญาต่างๆ คาดว่าจะดำเนินการให้เสร็จภายในปี 2556
ก่อนหน้านี้กระทรวงฯถูกโจมตีอย่างหนักว่าไทยเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันแพงติดอันดับโลกทั้งๆที่มีบ่อน้ำมันเป็นของตนเอง โดยน้ำมันที่ผลิตได้ถูกส่งออกหมด โดยรัฐได้ค่าภาคหลวงน้อยนิด ล่าสุด ทางกรมเชื้อเพลิงฯ ออกมาชี้แจงว่า ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบรวมก๊าซธรรมชาติเหลว(คอนเดนเสท)ประมาณ 400 ล้านบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า0.02%ของปริมาณสำรองทั่วโลก
ขณะที่ไทยสามารถผลิตน้ำมันดิบรวมก๊าซธรรมชาติเหลวได้วันละ 2 แสนบาร์เรล แต่บริโภค 1 ล้านบาร์เรล/วัน ทำให้ต้องนำเข้าเพิ่มอีก 8 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่ส่งออกไปทั้งหมด ส่วนก๊าซธรรมชาติมีการผลิตได้ 3.3 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน หรือร้อยละ 1 ของอัตราการผลิตทั่วโลก แต่บริโภค 4.5 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วันโดยไทยมีปริมาณสำรองก๊าซฯที่พิสูจน์แล้ว 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเหลือใช้ได้ไม่ถึง 10ปี
*** ปัดข้อเสนอปตท.ดึงรัฐลงทุนแหล่งปิโตรเลียม
นายอารักษ์ กล่าวถึงกรณีที่ปตท.เสนอให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในต่างประเทศว่า กรมฯคงไม่เข้าไปลงทุนในแหล่งปิโตรเลียม เนื่องจากใช้เงินลงทุนสูงและเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะให้กับประเทศด้วย ที่ผ่านมาการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นหน้าที่ของบมจ.ปตท. หากมีแหล่งปิโตรเลียที่ดี แต่ปตท.ไม่มีเงินก็คงต้องไปกู้หรือระดมทุน ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่รัฐแปรรูปปตท.ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
\
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)วันที่4 ต.ค.55 มีวาระพิจารณายกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ในวันที่ 1 ม.ค. 2556 รวมทั้งหามาตรการรองรับผลกระทบจากการยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 เชื่อว่ามีผลกระทบคงไม่มาก เพราะมีรถที่ใช้ในภาคการเกษตรและรถจักรยานยนต์ 2
จังหวะจำนวนไม่มากอาจจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อประหยัดพลังงานหรือหันไปใช้เบนซิน 95 แทน
นอกจากนี้การยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 จะส่งผลให้มีการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ใช้อยู่ 1.2-1.3 ล้านลิตร/วัน ขณะที่ไทยมีกำลังการผลิตเอทานอลรวม 3.27 ล้านลิตร/วัน มีส่วนช่วยให้ราคาพืชผลการเกษตรทั้งอ้อยและมันสำปะหลังมีเสถียรภาพและราคาดีขึ้น รวมทั้ง ทำให้สถานีบริการน้ำมันมีหัวจ่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น เดิมกระทรวงฯมีแผนที่จะยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 ในวันที่ 1 ม.ค. 55 แต่ก็เลื่อนไปเป็น 1 ต.ค. 55 แทนเพราะโรงกลั่นบางโรงไม่พร้อม แต่ก็ต้องเลื่อนอีกครั้งเนื่องจากโรงกลั่นของบางจากมีอุบัติเหตุหอกลั่นเกิดเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา รัฐจึงตัดสินใจชะลอการยกเลิกเบนซิน 91 ไป 3 เดือน อย่างไรก็ตามนับจากนี้กระทรวงพลังงานจะเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในการยกเลิกเบนซิน 91 ขณะที่ผู้ประกอบการทั้งโรงกลั่นน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันเองก็มีความพร้อมและอยากให้รัฐยกเลิกการขายเบนซิน 91 อยู่แล้ว เพราะจะช่วยดันยอดขายแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันมียอดขายแก๊สโซฮอล์อยู่ที่ 12 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านลิตร/วัน ทำให้ยอดการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านลิตร/วัน
นายอารักษ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาการนำน้ำมันดิบที่ขุดได้จากแหล่งสัมปทานในประเทศมาใช้ทั้งหมดแทนการส่งออก แม้ว่าคุณภาพน้ำมันดิบที่ผลิตได้ไม่เหมาะโรงกลั่นของไทย จำเป็นต้องลงทุนปรับปรุงโรงกลั่นบ้างก็ตาม โดยอาจจะต้องมีการพิจารณาแก้ไขสัญญาต่างๆ คาดว่าจะดำเนินการให้เสร็จภายในปี 2556
ก่อนหน้านี้กระทรวงฯถูกโจมตีอย่างหนักว่าไทยเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันแพงติดอันดับโลกทั้งๆที่มีบ่อน้ำมันเป็นของตนเอง โดยน้ำมันที่ผลิตได้ถูกส่งออกหมด โดยรัฐได้ค่าภาคหลวงน้อยนิด ล่าสุด ทางกรมเชื้อเพลิงฯ ออกมาชี้แจงว่า ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบรวมก๊าซธรรมชาติเหลว(คอนเดนเสท)ประมาณ 400 ล้านบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า0.02%ของปริมาณสำรองทั่วโลก
ขณะที่ไทยสามารถผลิตน้ำมันดิบรวมก๊าซธรรมชาติเหลวได้วันละ 2 แสนบาร์เรล แต่บริโภค 1 ล้านบาร์เรล/วัน ทำให้ต้องนำเข้าเพิ่มอีก 8 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่ส่งออกไปทั้งหมด ส่วนก๊าซธรรมชาติมีการผลิตได้ 3.3 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน หรือร้อยละ 1 ของอัตราการผลิตทั่วโลก แต่บริโภค 4.5 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วันโดยไทยมีปริมาณสำรองก๊าซฯที่พิสูจน์แล้ว 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเหลือใช้ได้ไม่ถึง 10ปี
*** ปัดข้อเสนอปตท.ดึงรัฐลงทุนแหล่งปิโตรเลียม
นายอารักษ์ กล่าวถึงกรณีที่ปตท.เสนอให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในต่างประเทศว่า กรมฯคงไม่เข้าไปลงทุนในแหล่งปิโตรเลียม เนื่องจากใช้เงินลงทุนสูงและเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะให้กับประเทศด้วย ที่ผ่านมาการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นหน้าที่ของบมจ.ปตท. หากมีแหล่งปิโตรเลียที่ดี แต่ปตท.ไม่มีเงินก็คงต้องไปกู้หรือระดมทุน ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่รัฐแปรรูปปตท.ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
\