ข้อเท็จจริงนับแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ประเทศไทยและประชาชนไทยตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ และต้องสูญเสียประโยชน์อันมหาศาล จึงเป็นความจริงที่มิอาจปฏิเสธได้ว่า พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ยังมีปัญหา และข้อบกพร่องที่สมควรจะได้รับการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของชาติมากกว่าที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่บริษัทต่างชาติ ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงมาแล้ว ประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนเห็นว่า สมควรจะได้รับการแก้ไข มีดังนี้
1. มาตรา 15 เกี่ยวกับ “คณะกรรมการการปิโตรเลียม” ซึ่งถือเป็นคณะกรรมการที่มีความสำคัญ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 16 คือ (1) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีตามมาตรา 22 (2) ให้ความเห็นชอบแก่อธิบดีตามมาตรา 22/1 (3) ทำความตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักรตามมาตรา 58 (4) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามมาตรา 65 (5) มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 69 (6) มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 70 (7) ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการชุดนี้มีบทบาทสำคัญ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างยิ่ง เป็นกรรมการที่พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์อันสำคัญ และมีมูลค่ามหาศาลของชาติ ทั้งบนบกและในทะเล แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าว ล้วนแต่เป็นข้าราชการประจำทั้งสิ้น แม้จะมีผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ก็มีเพียง 5 คน ส่วนข้าราชการประจำ มี 10 คน โดยมีอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคนที่อธิบดีแต่งตั้งอีกไม่เกิน 2 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวไม่น่าจะเหมาะสมกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับกิจการเกี่ยวกับพลังงานของชาติ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องได้คณะบุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญ และความเข้าใจเป็นอย่างดี เกี่ยวกับเรื่องการปิโตรเลียมของชาติ ทั้งต้องมีความรู้เท่าทัน บริษัทธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั้งหลายในวงการปิโตรเลียม และมีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ ในการปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ
2. มาตรา 22 กำหนดให้รัฐมนตรี โดยคำแนะนำของคณะกรรมการตามมาตรา 15 มีอำนาจมากเกินไป อันเป็นอำนาจเฉพาะตัว ดังปรากฏรายละเอียดตามมาตรา 22 คือ (1) ให้สัมปทานตามมาตรา 23 (2) ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา 25 (3) ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา 26 (4) อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงปริมาณงานตามมาตรา 30 (5) อนุมัติให้โอนข้อผูกพันระหว่างแปลงสำรวจตามมาตรา 33 (6) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 47 (7) อนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา 50 (8) เพิกถอนสัมปทานตามมาตรา 51 มาตรา 52 และมาตรา 53 (9) แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา 52 ทวิ (10) สั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา 60
(11) ประกาศห้ามส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 61 (12) สั่งให้ผู้รับสัมปทานร่วมกันผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา 72 (13) สั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมตามมาตรา 83 (14) อนุมัติให้ชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศตามมาตรา 87 (15) ลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมตามมาตรา 99 ทวิ และมาตรา 99 ตรี (16) กำหนดค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตามมาตรา 100 ฉ การดำเนินการตาม (1) (3) (7) หรือ (15) ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
แม้ว่าการใช้อำนาจของรัฐมนตรีบางเรื่อง ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก็ตาม การใช้อำนาจหน้าที่ทั้งหมดตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็ขาดการยึดโยง หรือการมีส่วนร่วมจากประชาชน คงเป็นเพียงอำนาจโดยลำพังของฝ่ายข้าราชการประจำ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับจากนักการเมือง ที่ไม่อาจไว้วางใจได้ โดยพิจารณาจากมาตรฐานและคุณภาพของนักการเมืองไทยในอดีตและปัจจุบัน
3. ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามสัมปทานมีกำหนดถึง 6 ปี สามารถต่อและขยายเวลาได้อีก 3 ปี (มาตรา 25) ส่วนระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานก็มีกำหนดถึง 20 ปี และยังต่อระยะเวลาการผลิตได้อีกถึง 10 ปี โดยนับระยะเวลาตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมเป็นต้นไป (มาตรา 26) สรุปแล้วเป็นระยะเวลาเกือบ 40 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไป ไม่สอดคล้องกับสภาพการลงทุน และต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน ทั้งนี้ ภายใต้การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามอัตราที่เป็นอยู่ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
4. ยังมีบทบังคับไม่ให้รัฐบังคับโอนทรัพย์สินและสิทธิ ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานมาเป็นของรัฐ และต้องไม่จำกัดการส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรอีกด้วย (มาตรา 64)
5. การกำหนดอัตราค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ อันเป็นสิทธิประโยชน์ที่รัฐพึงจะได้รับจากการให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนรวมแล้วมีอัตราไม่ถึงร้อยละ 30 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ประเทศต่างๆ เรียกเก็บจากบริษัทต่างชาติเป็นอย่างมาก
ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐในต่างประเทศ
โบลิเวียจัดเก็บ 82% ของรายได้จากก๊าซธรรมชาติ ผลิตก๊าซและน้ำมันอันดับ 33 และ 61 ของโลก
คาซัคสถานจัดเก็บ 80% ของปริมาณน้ำมันที่ขุดเจาะได้
อาบูดาบีจัดเก็บแบ่งกำไรให้บริษัทขุดเจาะไม่เกิน $1 ต่อบาร์เรล
รัสเซียจัดเก็บ 90% ของรายได้ในส่วนที่ราคาน้ำมันสูงกว่า $25 ต่อบาร์เรล
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ที่ประเทศไทยใช้บังคับเกี่ยวกับกิจการพลังงานของชาติดังกล่าว มาเป็นระยะเวลา 41 ปีแล้ว จึงถึงเวลาที่ควรจะได้ปรับปรุงแก้ไข และปฏิรูปกฎหมายฉบับนี้เสียใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ เมื่อนักการเมืองและพรรคการเมืองต่างๆ ไม่เคยให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ จึงเป็นภาระของประชาชน ที่จะต้องร่วมกันระดมความคิดและหาแนวทางเสนอกฎหมายนี้โดยภาคประชาชน เพราะปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรของชาติที่นับวันแต่จะหายากและหมดไปในที่สุด มีเพียงประชาชนเท่านั้นที่จะร่วมมือสามัคคีกัน จึงจะแก้ปัญหานี้ได้
1. มาตรา 15 เกี่ยวกับ “คณะกรรมการการปิโตรเลียม” ซึ่งถือเป็นคณะกรรมการที่มีความสำคัญ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 16 คือ (1) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีตามมาตรา 22 (2) ให้ความเห็นชอบแก่อธิบดีตามมาตรา 22/1 (3) ทำความตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักรตามมาตรา 58 (4) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามมาตรา 65 (5) มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 69 (6) มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 70 (7) ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการชุดนี้มีบทบาทสำคัญ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างยิ่ง เป็นกรรมการที่พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์อันสำคัญ และมีมูลค่ามหาศาลของชาติ ทั้งบนบกและในทะเล แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าว ล้วนแต่เป็นข้าราชการประจำทั้งสิ้น แม้จะมีผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ก็มีเพียง 5 คน ส่วนข้าราชการประจำ มี 10 คน โดยมีอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคนที่อธิบดีแต่งตั้งอีกไม่เกิน 2 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวไม่น่าจะเหมาะสมกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับกิจการเกี่ยวกับพลังงานของชาติ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องได้คณะบุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญ และความเข้าใจเป็นอย่างดี เกี่ยวกับเรื่องการปิโตรเลียมของชาติ ทั้งต้องมีความรู้เท่าทัน บริษัทธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั้งหลายในวงการปิโตรเลียม และมีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ ในการปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ
2. มาตรา 22 กำหนดให้รัฐมนตรี โดยคำแนะนำของคณะกรรมการตามมาตรา 15 มีอำนาจมากเกินไป อันเป็นอำนาจเฉพาะตัว ดังปรากฏรายละเอียดตามมาตรา 22 คือ (1) ให้สัมปทานตามมาตรา 23 (2) ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา 25 (3) ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา 26 (4) อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงปริมาณงานตามมาตรา 30 (5) อนุมัติให้โอนข้อผูกพันระหว่างแปลงสำรวจตามมาตรา 33 (6) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 47 (7) อนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา 50 (8) เพิกถอนสัมปทานตามมาตรา 51 มาตรา 52 และมาตรา 53 (9) แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา 52 ทวิ (10) สั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา 60
(11) ประกาศห้ามส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 61 (12) สั่งให้ผู้รับสัมปทานร่วมกันผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา 72 (13) สั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมตามมาตรา 83 (14) อนุมัติให้ชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศตามมาตรา 87 (15) ลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมตามมาตรา 99 ทวิ และมาตรา 99 ตรี (16) กำหนดค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตามมาตรา 100 ฉ การดำเนินการตาม (1) (3) (7) หรือ (15) ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
แม้ว่าการใช้อำนาจของรัฐมนตรีบางเรื่อง ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก็ตาม การใช้อำนาจหน้าที่ทั้งหมดตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็ขาดการยึดโยง หรือการมีส่วนร่วมจากประชาชน คงเป็นเพียงอำนาจโดยลำพังของฝ่ายข้าราชการประจำ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับจากนักการเมือง ที่ไม่อาจไว้วางใจได้ โดยพิจารณาจากมาตรฐานและคุณภาพของนักการเมืองไทยในอดีตและปัจจุบัน
3. ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามสัมปทานมีกำหนดถึง 6 ปี สามารถต่อและขยายเวลาได้อีก 3 ปี (มาตรา 25) ส่วนระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานก็มีกำหนดถึง 20 ปี และยังต่อระยะเวลาการผลิตได้อีกถึง 10 ปี โดยนับระยะเวลาตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมเป็นต้นไป (มาตรา 26) สรุปแล้วเป็นระยะเวลาเกือบ 40 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไป ไม่สอดคล้องกับสภาพการลงทุน และต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน ทั้งนี้ ภายใต้การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามอัตราที่เป็นอยู่ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
4. ยังมีบทบังคับไม่ให้รัฐบังคับโอนทรัพย์สินและสิทธิ ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานมาเป็นของรัฐ และต้องไม่จำกัดการส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรอีกด้วย (มาตรา 64)
5. การกำหนดอัตราค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ อันเป็นสิทธิประโยชน์ที่รัฐพึงจะได้รับจากการให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนรวมแล้วมีอัตราไม่ถึงร้อยละ 30 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ประเทศต่างๆ เรียกเก็บจากบริษัทต่างชาติเป็นอย่างมาก
ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐในต่างประเทศ
โบลิเวียจัดเก็บ 82% ของรายได้จากก๊าซธรรมชาติ ผลิตก๊าซและน้ำมันอันดับ 33 และ 61 ของโลก
คาซัคสถานจัดเก็บ 80% ของปริมาณน้ำมันที่ขุดเจาะได้
อาบูดาบีจัดเก็บแบ่งกำไรให้บริษัทขุดเจาะไม่เกิน $1 ต่อบาร์เรล
รัสเซียจัดเก็บ 90% ของรายได้ในส่วนที่ราคาน้ำมันสูงกว่า $25 ต่อบาร์เรล
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ที่ประเทศไทยใช้บังคับเกี่ยวกับกิจการพลังงานของชาติดังกล่าว มาเป็นระยะเวลา 41 ปีแล้ว จึงถึงเวลาที่ควรจะได้ปรับปรุงแก้ไข และปฏิรูปกฎหมายฉบับนี้เสียใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ เมื่อนักการเมืองและพรรคการเมืองต่างๆ ไม่เคยให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ จึงเป็นภาระของประชาชน ที่จะต้องร่วมกันระดมความคิดและหาแนวทางเสนอกฎหมายนี้โดยภาคประชาชน เพราะปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรของชาติที่นับวันแต่จะหายากและหมดไปในที่สุด มีเพียงประชาชนเท่านั้นที่จะร่วมมือสามัคคีกัน จึงจะแก้ปัญหานี้ได้