xs
xsm
sm
md
lg

ขอเชิญร่วมกันพิสูจน์ความเป็นมาของธรรมาธิปไตย หลักที่ 1

เผยแพร่:   โดย: ดร.ป. เพชรอริยะ

ประเทศไทยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการการเมืองการปกครอง พ. ศ. 2475เป็นต้นมา ใช้รัฐธรรมนูญมากถึง 18 ฉบับ เป็นเวลายาวนานกว่า80 ปีแล้ว ยังไม่เคยมีหลักการปกครองโดยธรรม (ระบอบ) และรัฐธรรมนูญก็เป็นเพียงวิธีการปกครองหรือเครื่องมือในการปกครองเท่านั้น นี่คือเหตุแห่งเผด็จการรัฐธรรมนูญและเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งและความหายนะของชาติในทุกทาง

80 ปีแห่งความเห็นผิดและความหายนะของชาติ จึงได้เสนอหลักการปกครอง หลักที่ 1 เพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของปวงชน ดังนี้

1. หลักธรรมาธิปไตยธรรมาธิปไตยเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้า ตรัสให้ภิกษุทั้งหลายฟังเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมืองให้เป็นธรรม หรือวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิอันประเสริฐ (จักรวรรดิวัตร 12) หรือหน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่โดยให้ถือธรรมาธิปไตย เป็นอันดับแรก (ที.ปา. 11/34) ความย่อดังนี้ธรรมาธิปไตย หมายถึง (1) จงอาศัยธรรมเท่านั้น (2) สักการะธรรม (3) ทำความเคารพธรรม (4) นับถือธรรม (5) บูชาธรรม (6) ยำเกรงธรรม (7) มีธรรมเป็นธงชัย (8) มีธรรมเป็นยอด 9) มีธรรมเป็นใหญ่... (บรมธรรม, ธรรมาธิปไตย) เป็นศูนย์กลางของสิ่งทั้งปวง ความว่า...ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิตฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมาพระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต...

2. การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้เกิดความเข้าใจในพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจสภาวะจิตขณะปรุงแต่งหรือจิตตสังขาร ที่ถูกครอบงำด้วยอวิชชา, กิเลส, ตัณหา, อุปาทาน เป็นสภาวะอกุศล เช่น ความกลัว, โลภ, โกรธ, หลง จะแสดงด้วยภาพลักษณะ Dynamic เป็นสัญลักษณ์ ดังนี้

อธิบายจากรูป “จิตนี้ผุดผ่อง” (แสดงแทนด้วยสัญลักษณ์ “วงกลม”) “แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา” (แสดงแทนด้วยสัญลักษณ์ “สี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะ”) เมื่อผัสสะด้วยอวิชชา เกิดการปรุงแต่งทางจิตก่อให้เกิดภาวะอกุศล เช่น ความกลัว ความโลภ ความโกรธ ความหลง และเมื่อเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลางและดับไปในที่สุดตามกฎไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้, อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน (แสดงด้วยลูกศร)

ผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นความเป็นไปภายในจิตใจขณะเกิดการปรุงแต่งทางจิต ด้วยอวิชชา, กิเลส, ตัณหา, อุปาทาน, ความยึดมั่นในความเป็นตัวตน จากนั้นก็จะแสดงพฤติกรรมออกมาทางใจ, การกระทำทางวาจา, และทางกาย

จากภาพ เป็นการปรุงแต่งจิตในแต่ละครั้ง อธิบายว่าหมายเลข (1) ธรรมะน้อย กิเลสมาก (2) เมื่อเวลาผ่านไป ธรรมะมากกิเลสน้อย (3) เมื่อธรรมะเต็มร้อย การปรุงแต่งก็ดับลงแสดงให้เห็นว่าธรรมะ ย่อมชนะอธรรม (กิเลสมาร) เสมอไป

สมดังพระพุทธพจน์ ที่ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาวะสลาย และภาวะไม่สลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นภาวะสลาย อะไรเป็นภาวะไม่สลาย? รูปเป็นภาวะสลาย ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูปนั้น นี้เป็นภาวะไม่สลาย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นภาวะสลาย ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งเวทนา สัญญา สังขารวิญญาณนั้น นี้เป็นภาวะไม่สลาย (17/70/31)

สมดังอุทานธรรมที่ว่า “ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตยไม่สลายจากใจมนุษยชาติ” พิสูจน์ว่า สภาวะธรรมาธิปไตยไม่สลาย เพราะเป็นสภาวะที่พ้นจากกฎไตรลักษณ์ ส่วนจิตปรุงแต่งเป็นกุศลบาง และอกุศลบ้าง เช่น ความกลัว ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสภาวะสลาย คือเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เกิดขึ้นเท่าไร ก็จะดับไปเท่านั้น ตามกฎไตรลักษณ์ จึงพบว่าสภาวะธรรมาธิปไตย เป็นศูนย์กลางของสิ่งทั้งปวง

3. เห็นกฎธรรมชาติในภาพรวม

อธิบายหมายเลข

(1) แสดงลักษณะวิวัฒนาการทางนามธรรม (ธาตุรู้) อย่างค่อยเป็นค่อยไป ของสัตว์เล็กที่สุด “เอกโวการภพ” อันไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า

(2) จุดก้าวกระโดดไปสู่ภพใหม่ที่ก้าวหน้ากว่าทั้งปริมาณและคุณภาพ

(3) แสดงขอบเขตของความสูงต่ำในภูมิต่างๆ ของสัตว์เดรัจฉานภูมิ

(4) มนุษย์ภูมิ (จะขยายภาพให้เห็นชัดในรูปต่อไป)

(5) กรอบ สังขตธรรม ตกอยู่ในกฎเวียนว่ายตายเกิด และตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์

(6) อสังขตธรรม คือ สภาวนิพพาน หรือธรรมาธิปไตย อยู่เหนือกฎไตรลักษณ์จะเห็นภาพรวมมีลักษณะพระธรรมจักรดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างอสังขตธรรมกับ สังขตธรรม หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย หรือจุดมุ่งหมายกับมรรคา หรือระหว่างความไม่เปลี่ยนแปลง กับความเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงและสูงสุดของมนุษยชาติมีลักษณะอมตธรรม นั่นเอง

“วิชฺชา อุปฺปตตํเสฏฺฐา บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด”

อธิบายรูป รูปนี้ได้ขยายความสูง-ต่ำ ของมนุษย์ภูมิ และแสดงการวิวัฒนาการทางจิต จะเกิดขึ้นได้จากการวิปัสสนาภาวนา เกิดปัญญารู้แจ้งขึ้นเป็นลำดับ ด้วยการละสังโยชน์ 10 ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ สู่พระนิพพาน หรือบรมธรรม หรือธรรมาธิปไตย และในท้ายที่สุด จะเข้าใจพุทธพจน์ที่ว่า“สพฺเพธมฺมานาลํอภินิเวสายาติ”คือความไม่ยึดมั่น ถือมั่น (อิสระ) ในธรรมทั้งปวงแล้ว (ดุจหยดน้ำบนใบบัว) เป็นปัญญาวิมุตติ รู้แจ้งธรรมทั้งองค์รวม (ดุจดังดอกบัวจากโคลนตมผ่านพ้นสู่ผิวน้ำปราศจากมลทิน) จึงเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะธรรมาธิปไตย

ภาพรวมความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติ

4. ได้ประยุกต์เป็นหลักการปกครองอย่างยั่งยืนและก้าวหน้าที่สุดในโลก

ในยุคปัจจุบันหมายถึงการนำหลักพุทธธรรมอันสูงสุดคือธรรมาธิปไตย และหลักในการจัดความสัมพันธ์อันเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาตินำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติ ทั้งเป็นสัจธรรมคำสอนที่สอดคล้องกับลักษณะและวิถีชีวิตของชนชาติไทยอันชนชาติไทยรับมาเป็นศาสนาประจำชาติมาแต่โบราณกาล และนำสร้างสันติภาพโลกได้ในที่สุด

ดังกล่าวนี้ การนำหลักธรรมาธิปไตยมาเป็นหลักการปกครอง นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่ยิ่งใหญ่ของชาวไทยและมนุษยชาติ เหนือกว่าลัทธิประชาธิปไตย และจะเป็นเหตุปัจจัยให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางอารยธรรมใหม่ของโลกต่อไป (สงสัยถามมาได้ที่ drpor2009@hotmail.com)
กำลังโหลดความคิดเห็น