xs
xsm
sm
md
lg

ธรรมาธิปไตย “ธรรมบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่ในใจคุณ”(1)

เผยแพร่:   โดย: ดร.ป. เพชรอริยะ

“สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกขะ ธรรมะทั้งปวงเป็นอนัตตา”

1. การวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5 จะพบว่า เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ รูป หรือกายสังขาร ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ และธาตุลม แสดงให้เห็นความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม) ส่วนนาม 4 หรือจิตตสังขารได้แก่ เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณก็มีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม สัง แปลว่า ร่วม ประชุม พร้อม ผสม ปรุงแต่ง ขร,ขต แปลว่า สิ้นไป ดังนั้นสังขตธรรม คือธรรมที่มีเหตุปัจจัยให้ประชุมกัน ปรุงแต่งกันแล้วสิ้นไป สังขารทั้งปวงเกิดในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์)

จิตตสังขาร คือจิตปรุงแต่งเป็นอกุศล เช่น กลัว (อสุรกาย) โลภ (เปรต) โกรธ (สัตว์นรก) หลง (สัตว์เดรัจฉาน) นับตั้งแต่ทำลายตนเอง จนถึงทำลายระดับชาติ ระดับโลก ก็มีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

จิตตสังขารปรุงแต่งเป็นกุศล ก็มีความแตกต่างหลากหลาย เช่น มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม และนับแต่การสร้างกุศลให้แก่ตนเองไปจนถึงการทำกุศลสร้างสรรค์ประเทศชาติและโลก ก็มีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

นิพพาน คือ สภาวะพ้นจากการปรุงแต่ง สิ้นอุปาทานจากขันธ์ 5 เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งปวงแล้ว เมื่อจะคิด พูด ทำความดี แต่ไม่ติดยึดในความดีที่ตนทำ จึงเป็นสภาวะจิตอิสระที่เหนือการปรุงแต่ง จึงพ้นจากกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) การมีปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงแล้ว จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 อันมีลักษณะความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม) ก็จะสามารถทำให้เราอิสระเข้าถึงสภาวะนิพพาน อันเป็นลักษณะเอกภาพของสรรพสิ่ง ดังกล่าวนี้ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าขันธ์ 5 นั้นดำรงอยู่บนสัมพันธภาพระหว่างเอกภาพ (อสังขตธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตย) กับความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม) นั่นเอง

นอกจากนี้ จิตปรุงแต่งด้วยความยึดมั่นถือมั่นทั้งกุศล และอกุศลจะมีลักษณะรวมศูนย์ที่ตนเอง ส่วนจิตที่มีปัญญารู้แจ้งอิสระพ้นการปรุงแต่ง เป็นจิตที่มีคุณธรรม มีลักษณะแผ่คุณธรรมออกไป (แผ่เมตตากระจายคิดให้ก่อนรับ)

มีข้อสังเกตว่า จิตปุถุชนเป็นจิตปรุงแต่ง จะคิดเอาก่อน หรืออยากได้ก่อน (รวมศูนย์ที่ตน เป็นความเห็นผิด) แล้วจะให้ทีหลัง ลักษณะนี้จะเป็นทุกข์ เพราะตรงกับลักษณะของตัณหา (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)

ส่วนจิตอริยชน จะเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ คือ จิตจะคิดให้ก่อน หรือแผ่คุณธรรม แผ่เมตตาอารีออกไปก่อน แล้วรับปัจจัย 4 ในภายหลัง ตามเหตุตามผล ใช้ปัจจัย 4 เท่าที่จำเป็นไม่เก็บสะสม ท่านจึงไม่เป็นทุกข์ทางใจ เพราะรู้แจ้งในอรรถธรรม จึงดำรงตนเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะแผ่เมตตาโปรดสัตว์ แล้วก็จะได้รับการถวายปัจจัย 4 ทีหลัง (แผ่เมตตาสอนธรรมก่อน แล้วรับปัจจัย 4 ทีหลังตามแต่จะได้รับการถวาย และใช้ไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำแต่กุศลแต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศลที่ตนทำ)

ฉะนั้นจิตของผู้รู้แจ้งแล้ว จะดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ จึงสามารถนำกฎธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษยชาติได้

(2) ญาณทัสสนวิสุทธิ ปัญญาที่รู้แจ้งอรรถธรรมตามความเป็นจริงอย่างบริสุทธิ์ ทำให้รู้แจ้งต่อกฎธรรมชาติอย่างเป็นไปเอง กฎธรรมชาติดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรม (ด้านเอกภาพ) กับสังขตธรรม อันเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย เช่น ธาตุต่างๆ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ต่างก็มีความแตกต่างหลากหลาย สิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์ ก็มีความแตกต่างหลากหลาย

สภาวะอสังขตธรรมมีลักษณะแผ่กระจาย ส่วนสภาวะสังขตธรรม มีลักษณะรวมศูนย์ จะเห็นว่า ลักษณะแผ่กระจาย กับ ลักษณะรวมศูนย์เป็นปัจจัยก่อให้เกิดกฎธรรมชาติดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ

ดังนี้ก็แสดงให้เห็นชัดว่า สัมพันธภาพของกฎธรรมชาติกับขันธ์ 5 อยู่ภายใต้กฎเดียวกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน

(3) เมื่อเรานำกฎธรรมชาติดังกล่าวไปพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ กับดาวเคราะห์ ทำให้พบสัมพันธภาพ 2 ลักษณะ คือ

1) ดวงอาทิตย์ เป็นด้านเอกภาพ ดาวเคราะห์ เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย

2) ดวงอาทิตย์แผ่แสนยานุภาพโอบอุ้มดาวเคราะห์ ขณะเดียวกันดาวเคราะห์ทั้งหลาย ต่างก็ขึ้นต่อดวงอาทิตย์ หรือรวมศูนย์อยู่ที่ดวงอาทิตย์ จะเห็นได้ว่าลักษณะแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ ก่อให้เกิดระบบสุริยจักรวาลดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ

3) ร่วมกันพิสูจน์ให้เห็นว่า ขันธ์ 5, กฎธรรมชาติ, และจักรวาลดำรงอยู่ภายใต้กฎเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน คือดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ ระหว่างด้านเอกภาพ กับด้านความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งดำรงอยู่บนสัมพันธภาพในลักษณะพระธรรมจักรนั่นเอง

4) อีกนัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่า กฎธรรมชาติดำรงอยู่บนความสัมพันธภาพระหว่างด้านลักษณะทั่วไป (General) และด้านลักษณะเฉพาะ (Individual)

ลักษณะทั่วไป คือ ลักษณะที่แผ่กระจายครอบงำส่วนย่อยทั้งหมด อันเป็นลักษณะเฉพาะ ที่มีความแตกต่างหลากหลายอันสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด

ลักษณะเฉพาะ คือ ส่วนย่อยที่มีความแตกต่างหลากหลาย ดังกล่าวนี้ขยายความเพิ่มเติมว่า

- อสังขตธรรม เป็นด้านลักษณะทั่วไปของกฎธรรมชาติ ส่วน สังขตธรรมเป็นลักษณะเฉพาะของกฎธรรมชาติ หรือ อสังขตธรรม เป็นลักษณะทั่วไป ส่วนธาตุต่างๆ, สิ่งไม่มีชีวิต, และสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เป็นด้านลักษณะเฉพาะ

- บรมธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตยเป็นลักษณะทั่วไป ส่วนขันธ์ 5 เป็นลักษณะเฉพาะ และอีกความสัมพันธ์หนึ่ง นิพพานเป็นลักษณะทั่วไป ส่วนการปรุงแต่งจิต เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง และกลางๆ บ้าง เป็นลักษณะเฉพาะ

- ดวงอาทิตย์ เป็นลักษณะทั่วไป ส่วน ดาวเคราะห์ เป็นลักษณะเฉพาะ อีกนัยหนึ่ง ถ้าลักษณะทั่วไปเป็นธรรม ลักษณะเฉพาะก็จะพลอยเป็นธรรมไปด้วย อย่างเช่น เมื่อใจบริสุทธิ์ การคิด การพูด การกระทำ ก็จะดีไปด้วย หรือถ้าดวงอาทิตย์ดำรงอยู่ได้ ดาวเคราะห์ทั้งหลายก็ยังดำรงอยู่ได้

แต่ถ้าลักษณะทั่วไปเลว ลักษณะเฉพาะหรือส่วนย่อยที่ประกอบกันขึ้นก็จะเลว ย่ำแย่ตามไปด้วย เช่น ถ้ากิเลสครอบงำจิต การคิด, การพูด, การกระทำ ก็จะเป็นไปตามอำนาจกิเลส ย่อมนำมาซึ่งความทุกข์

ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายได้น้อมนำสภาวะกฎธรรมชาติไปประยุกต์ในการสร้างสรรค์ระบอบการเมืองโดยธรรมและการปกครองโดยธรรม เศรษฐกิจพอเพียง สังคม ฯลฯ ขอให้ท่านได้พิจารณาร่วมกันต่อไปเถิด

1) ประเทศชาติ เป็นลักษณะทั่วไปและเป็นด้านเอกภาพ ประชาชนเป็นลักษณะเฉพาะที่มีความแตกต่างหลากหลาย ประชาชนในชาติจะต้องขึ้นต่อชาติเสมอไป และเมื่อประชาชนบางส่วนคิดจะแยกประเทศ แสดงให้เห็นว่าการจัดความสัมพันธ์ทางการเมืองมีปัญหาอย่างแน่นอน นำไปคิดดู ปัญหาเกิดจากอะไร? ขอให้คิดไว้ก่อน ต่อมา

2) ระบอบการเมืองหรือหลักการปกครองเป็นลักษณะทั่วไป จะต้องแผ่กระจายครอบงำคนทั้งแผ่นดิน ประชาชนเป็นลักษณะเฉพาะอันแตกต่างหลากหลายก็ต้องขึ้นต่อระบอบการเมืองหรือหลักการปกครองโดยธรรม

แต่...ระบอบการเมืองไทย ครอบงำเฉพาะคนที่อยากเป็นนักการเมืองไม่เกิน 3,000 คน และระบอบการเมืองไทยเป็นระบอบมิจฉาทิฐิ ถูกสร้างขึ้นจากคนที่ไม่มีความรู้ที่แท้จริง พวกเขาสร้างระบอบการเมืองปัจจุบันขึ้นมาทำลายประเทศชาติของตนเอง และก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย จนยากที่แก้ไข

รัฐบาลเป็นผู้ออกและใช้กฎหมายภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญอันเป็นมิจฉาทิฐิ นำไปสู่ความผิดพลาดซ้ำซาก อ่อนแอ และขัดแย้งในส่วนต่างๆ เช่น ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันสงฆ์ สถาบันครู ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และก่อให้เกิดความเลวร้ายทางอบายมุข อาชญากรรมต่างๆ ท่วมทับแผ่นดิน

สภาพการณ์ปัจจุบันประชาชนไม่ยอมรับการปกครองจากรัฐบาล และรัฐบาลก็ไม่สามารถปกครองประชาชนได้ แสดงให้เห็นเด่นชัดขึ้นทุกวันๆ ว่าผู้ปกครองไทยขาดปัญญาโดยธรรม ตกอยู่ในกรอบของระบอบการเมืองรวมศูนย์ (เผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา) การปกครองก็รวมศูนย์ จึงก่อให้เกิดปัญหาที่ยากจะแก้ไข นี่คือเหตุแห่งปัญหา ปมเงื่อนของความเลวร้ายทั้งปวงของชาติไทยเรา

ระบอบการเมืองโดยธรรมหรือหลักการปกครองโดยธรรมเป็นศูนย์กลาง เป็นเอกภาพของปวงชนในชาติ และเป็นลักษณะทั่วไป คือ ระบอบจะแผ่กระจายความถูกต้องดีงาม ความเสมอภาคทางโอกาส ความยุติธรรม ฯลฯ สู่ปวงชน

ส่วนการปกครองนั้นจะต้องรวมศูนย์ แผ่กระจายกับรวมศูนย์จะเป็นปัจจัยก่อให้เกิดดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ (มั่นคง) และก่อให้เกิดพลังความร่วมมือของปวงชนอย่างมหาศาลในการสร้างสรรค์ชาติ

อีกนัยหนึ่ง ระบอบการเมืองต้องแผ่กระจายอำนาจอธิปไตยของปวงชน แต่พวกผู้ปกครองกลับทำให้รวมศูนย์ ส่วนการปกครองต้องรวมศูนย์ เขากลับไปกระจาย เช่น การปกครองส่วนท้องถิ่น มีรูปธรรม คือเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือพยายามที่จะให้มีการแยกตัวออกจากการปกครองส่วนกลาง เป็นการเสริมให้ผู้คนในจังหวัดนั้นเกิดอัตตาตัวตนขึ้นรู้สึกรักจังหวัดตนแต่ไม่รักชาติ ไม่รักคนจังหวัดอื่นๆ หรือรักแต่คนในศาสนาของตน แต่ไม่รักคนในศาสนาอื่น จนก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตชายแดนใต้, มันจึงผิดไปจากสามัญสำนึกที่ถูกต้องโดยธรรม และเป็นการลดบทบาทผู้ว่าราชการจังหวัด อันเป็นข้าราชการใต้พระบารมี นัยนี้เป็นการรุกไล่ ท้าทายพระบรมเดชานุภาพอำนาจราชอาณาจักร เพื่อมุ่งไปสู่สาธารณรัฐ (Republic) นั่นเอง

การปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักที่ถูกต้อง จะต้องกึ่งรวมศูนย์กึ่งกระจาย กึ่งรวมศูนย์ คือจะต้องขึ้นต่ออำนาจส่วนกลาง ส่วนกึ่งกระจายเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ

ระบอบการเมืองเป็นลักษณะทั่วไป จะต้องเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นศูนย์กลางของปวงชน แต่เมื่อผู้ปกครองได้สร้างระบอบการเมืองขึ้นมาอย่างมิจฉาทิฐิ ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุนอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว จะเสียเวลาและสูญเปล่า ทั้งยิ่งทำให้ปัญหาลักษณะเฉพาะขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ส่วนแนวทางทางแก้ไขมีเพียงทางเอกทางเดียวเท่านั้น คือ พระเจ้าแผ่นดิน ทรงมีพระราชกรณียกิจสถาปนาหลักการปกครองแบบธรรมาธิปไตย

“การสถาปนาหลักธรรมาธิปไตยเป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญยิ่งยวดที่สุดของประเทศชาติดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งยังเป็นภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ก็ด้วยพระราชกรณียกิจนี้เท่านั้น”สู้ สู้
กำลังโหลดความคิดเห็น