ก.ล.ต.เผย ซีจีตลาดทุนไทยดีขึ้นอยู่ที่อันดับ 3 ของตลาดหุ้นเอเซีย แม้จะสอบตกเรื่องการบังคับใช้กฎหมายได้คะแนนเพียง 44% เหตุกระบวนการพิจารณาทางศาลยังขาดไม่มีประสิทธิภาพ ระบุตั้งแต่ปี 35-54 ก.ล.ต.กล่าวโทษทั้งสิ้น 93 คดี แต่มีการตัดสินลงโทษเพียง 11 คดีเท่านั้น ด้าน "ชาลี" ชี้ มีการปรับปรุงกระบวนการทางศาลให้ดีขึ้นส่งผลดีต่อประเทศไทยให้มีCG มากขึ้น
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า Asian Corporate Governance Association (ACGA) และ CLSA Asia-Pacific Markets ได้มีการรายงาน CG Watch ซึ่งเป็นการประเมินการกำกับดูแลกิจการของตลาดทุนในเอเชีย จำนวน 11 ประเทศ ซึ่งจัดทำ 2 ปี ครั้ง โดยปี 2555 ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3 จากปี 2553 อยู่ที่อันดับ 4 โดยรองจากสิงคโปร์และฮ่องกง
การประเมินครั้งนี้ ไทยได้คะแนนดีขึ้น 4 หมวด จาก 5 หมวด ประกอบด้วย 1 หมวดหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการและการปฏิบัติ ได้คะแนน 62% จาก เดิม 56% เนื่องจากบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ส่วนใหญ่สามารถเปิดเผยงบการเงินประจำปีได้ภายใน 60 วัน ซึ่งในหลายประเทศทำไม่ได้ รวมถึงการสอบทานงบการเงินอย่างเข้มงวดโดย ก.ล.ต. ที่นำไปสู่การทำ special audit หรือการแก้ไขงบการเงินให้ถูกต้อง สำหรับการจัดประชุมประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนยังคงโดดเด่นทั้งการเตรียมวาระ การโหวตโดยใช้บัตรลงคะแนน และการจัดทำรายงานการประชุมที่มีเนื้อหาครบถ้วนและทันกาล ส่วนที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นคือ การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน (MD&A) รายงานด้าน CG และรายงาน CSR เป็นต้น
หมวดที่ 2 เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไทยได้คะแนน 44% จากเดิมที่ 42% โดยดีขึ้นเล็กน้อย จากการที่ก.ล.ต.ได้มีการออกเกณฑ์กำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของผู้บริหารบจ. การกระตุ้นให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยไปใช้สิทธิในวาระที่อาจมีความขัดแย้งทางประโยชน์ และการที่สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในการประเมินคุณภาพการจัดประชุมประจำปีผู้ถือหุ้น และการเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นในการตั้งคำถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่ในขณะเดียวกันในส่วนของภาครัฐ ผู้ประเมินยังคงมีข้อสังเกตเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากจำนวนคดีที่เสร็จสิ้นในชั้นศาลมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษไป ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุง
หมวดที่ 3.เรื่องบรรยากาศด้านการเมืองและกฎหมาย ซึ่งไทย 54% เท่าเดิม โดยผู้ประเมินมีความเห็นว่าช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาการแก้ไขกฎหมายไม่มีความคืบหน้า และแนะนำให้ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ควรปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ให้ค้นหาได้สะดวกยิ่งขึ้น หมวดที่ 4 เรื่องการจัดทำบัญชีและการตรวจสอบ ได้คะแนน 80% จาก เดิม 73% ซึ่งเป็นหมวดที่ไทยได้คะแนนดีขึ้นมาก จากการที่ ก.ล.ต. แสดงบทบาทด้านการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดในการยกระดับการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีจนเป็นที่ยอมรับในหลายภูมิภาคทั้งอเมริกาและยุโรป รวมทั้งได้ทำการประเมินคุณภาพสำนักงานสอบบัญชีตามมาตรฐานสากลเสร็จแล้วเป็นส่วนใหญ่
หมวดที่ 5 เรื่องวัฒนธรรมธรรมาภิบาล ไทยได้คะแนน 50% จากเดิม 49% โดย ผู้ประเมินมีความเห็นว่าวัฒนธรรมหรือบรรยากาศธรรมาภิบาลของไทยดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการทำงานของหลายภาคส่วน เช่น สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่ได้จัดอบรมความรู้ให้แก่กรรมการบริษัทอย่างต่อเนื่องและโดดเด่น สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รณรงค์ให้บริษัทจดทะเบียนมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในหมวดนี้ที่ผู้ประเมินเห็นความก้าวหน้ามากที่สุดคือ การรวมตัวของภาคเอกชนจัดตั้งเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแนวคิดนี้จำนวนมาก อย่างไรก็ดี ผู้ประเมินยังคงไม่มั่นใจว่าการดำเนินการของภาคเอกชนจะแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นได้จริง
“จากการที่ตลาดทุนไทยมีซีจีดีขึ้นนั้นก็จะทำให้ตลาดทุนไทยเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนมากขึ้น และในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ ตลาดหุ้นไทยจะมีการเชื่อมโยงการซื้อขายหลักทรัพย์ (อาเซียนลิ้งคเกจ)กับตลาดหุ้นสิงคโปร์ และ มาเลเซีย ซึ่งจะสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอาเซียน” นายวรพล กล่าว
นายชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) กล่าวว่า จากการประเมินของ ACGA ใน 5 หมวด นั้นมีหมวดเพียง 1 หมวดที่คะแนนที่ต่ำกว่า 50% จากคะแนนเต็ม100% หรือถือว่าสอบตก คือ เรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่ทาง ACGA มองว่ากระบวนการทางศาลยังไม่มีประสิทธิภาพ จากจำนวนคดีที่ก.ล.ต.กล่าวโทษตั้งแต่ปี 2535 ถึง 2554 มีจำนวน 93 คดี แต่ ได้มีการตัดสินลงโทษเพียง 11 คดี เท่านั้น โดยหากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการปรับปรุงในเรื่องสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม น่าจะทำให้คะแนนประเมินในหมวดการบังคับใช้กฏหมายเพิ่มขึ้นอีก 16 คะแนน โดยจะส่งผลให้ภาพรวมคะนนของไทยมีการปรับตัวดีขึ้น
นายเจมมี่ อันเลน (Jamie Allen)เลขาธิการ สมาคมกำกับดูแลกิจการเอเชีย ได้ประเมิน CG Watch ว่า ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายของไทย พบกระบวนการทางศาลยังไม่มีประสิทธิภาพจากที่ใช้เวลาในการพิจารณาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ปี 2535 ถึง 2554 ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษผู้กระทำผิดรวมทั้งสิ้น 93 คดี แต่มีการตัดสินลงโทษเพียง 11 คดีเท่านั้น
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า Asian Corporate Governance Association (ACGA) และ CLSA Asia-Pacific Markets ได้มีการรายงาน CG Watch ซึ่งเป็นการประเมินการกำกับดูแลกิจการของตลาดทุนในเอเชีย จำนวน 11 ประเทศ ซึ่งจัดทำ 2 ปี ครั้ง โดยปี 2555 ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3 จากปี 2553 อยู่ที่อันดับ 4 โดยรองจากสิงคโปร์และฮ่องกง
การประเมินครั้งนี้ ไทยได้คะแนนดีขึ้น 4 หมวด จาก 5 หมวด ประกอบด้วย 1 หมวดหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการและการปฏิบัติ ได้คะแนน 62% จาก เดิม 56% เนื่องจากบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ส่วนใหญ่สามารถเปิดเผยงบการเงินประจำปีได้ภายใน 60 วัน ซึ่งในหลายประเทศทำไม่ได้ รวมถึงการสอบทานงบการเงินอย่างเข้มงวดโดย ก.ล.ต. ที่นำไปสู่การทำ special audit หรือการแก้ไขงบการเงินให้ถูกต้อง สำหรับการจัดประชุมประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนยังคงโดดเด่นทั้งการเตรียมวาระ การโหวตโดยใช้บัตรลงคะแนน และการจัดทำรายงานการประชุมที่มีเนื้อหาครบถ้วนและทันกาล ส่วนที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นคือ การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน (MD&A) รายงานด้าน CG และรายงาน CSR เป็นต้น
หมวดที่ 2 เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไทยได้คะแนน 44% จากเดิมที่ 42% โดยดีขึ้นเล็กน้อย จากการที่ก.ล.ต.ได้มีการออกเกณฑ์กำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของผู้บริหารบจ. การกระตุ้นให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยไปใช้สิทธิในวาระที่อาจมีความขัดแย้งทางประโยชน์ และการที่สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในการประเมินคุณภาพการจัดประชุมประจำปีผู้ถือหุ้น และการเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นในการตั้งคำถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่ในขณะเดียวกันในส่วนของภาครัฐ ผู้ประเมินยังคงมีข้อสังเกตเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากจำนวนคดีที่เสร็จสิ้นในชั้นศาลมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษไป ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุง
หมวดที่ 3.เรื่องบรรยากาศด้านการเมืองและกฎหมาย ซึ่งไทย 54% เท่าเดิม โดยผู้ประเมินมีความเห็นว่าช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาการแก้ไขกฎหมายไม่มีความคืบหน้า และแนะนำให้ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ควรปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ให้ค้นหาได้สะดวกยิ่งขึ้น หมวดที่ 4 เรื่องการจัดทำบัญชีและการตรวจสอบ ได้คะแนน 80% จาก เดิม 73% ซึ่งเป็นหมวดที่ไทยได้คะแนนดีขึ้นมาก จากการที่ ก.ล.ต. แสดงบทบาทด้านการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดในการยกระดับการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีจนเป็นที่ยอมรับในหลายภูมิภาคทั้งอเมริกาและยุโรป รวมทั้งได้ทำการประเมินคุณภาพสำนักงานสอบบัญชีตามมาตรฐานสากลเสร็จแล้วเป็นส่วนใหญ่
หมวดที่ 5 เรื่องวัฒนธรรมธรรมาภิบาล ไทยได้คะแนน 50% จากเดิม 49% โดย ผู้ประเมินมีความเห็นว่าวัฒนธรรมหรือบรรยากาศธรรมาภิบาลของไทยดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการทำงานของหลายภาคส่วน เช่น สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่ได้จัดอบรมความรู้ให้แก่กรรมการบริษัทอย่างต่อเนื่องและโดดเด่น สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รณรงค์ให้บริษัทจดทะเบียนมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในหมวดนี้ที่ผู้ประเมินเห็นความก้าวหน้ามากที่สุดคือ การรวมตัวของภาคเอกชนจัดตั้งเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแนวคิดนี้จำนวนมาก อย่างไรก็ดี ผู้ประเมินยังคงไม่มั่นใจว่าการดำเนินการของภาคเอกชนจะแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นได้จริง
“จากการที่ตลาดทุนไทยมีซีจีดีขึ้นนั้นก็จะทำให้ตลาดทุนไทยเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนมากขึ้น และในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ ตลาดหุ้นไทยจะมีการเชื่อมโยงการซื้อขายหลักทรัพย์ (อาเซียนลิ้งคเกจ)กับตลาดหุ้นสิงคโปร์ และ มาเลเซีย ซึ่งจะสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอาเซียน” นายวรพล กล่าว
นายชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) กล่าวว่า จากการประเมินของ ACGA ใน 5 หมวด นั้นมีหมวดเพียง 1 หมวดที่คะแนนที่ต่ำกว่า 50% จากคะแนนเต็ม100% หรือถือว่าสอบตก คือ เรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่ทาง ACGA มองว่ากระบวนการทางศาลยังไม่มีประสิทธิภาพ จากจำนวนคดีที่ก.ล.ต.กล่าวโทษตั้งแต่ปี 2535 ถึง 2554 มีจำนวน 93 คดี แต่ ได้มีการตัดสินลงโทษเพียง 11 คดี เท่านั้น โดยหากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการปรับปรุงในเรื่องสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม น่าจะทำให้คะแนนประเมินในหมวดการบังคับใช้กฏหมายเพิ่มขึ้นอีก 16 คะแนน โดยจะส่งผลให้ภาพรวมคะนนของไทยมีการปรับตัวดีขึ้น
นายเจมมี่ อันเลน (Jamie Allen)เลขาธิการ สมาคมกำกับดูแลกิจการเอเชีย ได้ประเมิน CG Watch ว่า ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายของไทย พบกระบวนการทางศาลยังไม่มีประสิทธิภาพจากที่ใช้เวลาในการพิจารณาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ปี 2535 ถึง 2554 ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษผู้กระทำผิดรวมทั้งสิ้น 93 คดี แต่มีการตัดสินลงโทษเพียง 11 คดีเท่านั้น