โดย : สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์
https://www.facebook.com/suthipong.prachayapruit
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
เบน เบอร์นันเก้ เข้ารับตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนที่ 14 เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ในสมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) แห่งพรรครีพับลิกัน ต่อเนื่องมาถึงสมัยประธานาธิบดี บารัก โอบามา (Barack Obama) พรรคเดโมแครตในปัจจุบัน
ความเชื่อมั่นในสมัยเด็กๆ ชื่นชมว่า สหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ สันติภาพ ภราดรภาพ เสมอภาค บริสุทธิ์และยุติธรรม เป็นผู้นำพาโลกพันธมิตรชนะสงครามโลก เป็นไปได้ว่าตอนเด็กๆ ไม่ประสีประสา ฟังโฆษณาจากสื่อ รู้สึกว่าอเมริกาสวยงามไปทุกด้าน เคยชื่นชมว่า ลาสเวกัสเป็นเมืองน่าท่องเที่ยว เต็มไปด้วย Entertainment complexes ทุกรูปแบบ ทั้งการพนันและการแสดงโชว์ ปัจจุบันได้เรียนรู้จากคำสอนของพระพุทธเจ้า ตระหนักว่าลาสเวกัสเป็นเมืองแห่งอบายมุข ความรู้สึกบอกว่าทุกวันนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาเสื่อมลง
โลกมีการพัฒนาไปในทางที่เสื่อมลง 1) โลกเกษตรกรรมเป็นโลกที่พออยู่พอพอกิน 2) โลกอุตสาหกรรมรวมทั้งอุตสาหกรรมการเกษตรทำให้เกิดการผลิตที่เกินความพอเพียง 3) โลกของทุนที่มีตลาดหุ้นเป็นองค์ประกอบ ที่ไม่เกิดผลผลิตจริงต่อระบบ แต่เป็นการสร้างเครื่องมือมาเอารัดเอาเปรียบระบบ จะทำให้คนส่วนน้อยในตลาดทุนกลายเป็นเจ้าของทรัพยากรของทั้งโลก คนท้องถิ่นยากจนลง ที่อาเซียน ลาว กัมพูชาก็ถูกจูงนำให้มีตลาดหุ้นแล้ว ลาวมีหุ้น 2 ตัวซื้อขายในตลาด ขณะที่กัมพูชามีหุ้นตัวเดียวซื้อขายในตลาด
ที่จริงมันก็เป็นเรื่องธรรมดาของโลก โลกมีกิเลสของคนเป็นองค์ประกอบหลัก เป็นเช่นนี้มานับตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาบนโลกแล้ว “กิเลส” ของคนส่วนน้อยที่ทำให้ประเทศ ภูมิภาคและโลกเข้าสู่ความเดือดร้อนจลาจลและสงคราม “โลกของธรรมเป็นโลกของบุญ โลกของทุนเป็นโลกของบาป” พบเห็นทุกวันนี้โลกทุนนิยม ร้อนรนวุ่นวาย
ภาพที่เกิดขึ้นกับอเมริกาก็เป็นภาพเดิมๆ แบบเกินความพอเพียง ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต คือการล่าอาณานิคมของประเทศยุโรปตะวันตก ซึ่งรูปแบบการล่าแตกต่างไปจากเดิม
วินาศกรรม 11 กันยายน 2001 หรือ 9/11
ค่าใช้จ่ายงบประมาณของประเทศสหรัฐฯ นอกจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั่วไปแล้ว ได้มีการพิจารณาค่าใช้จ่ายด้านอวกาศ (Nasa fed outlay) และค่าใช้จ่ายด้านการทหาร (US Military Expenditure) เป็นพิเศษ
พบว่าค่าใช้จ่ายด้านอวกาศ ไม่ได้สูง และไม่ได้เพิ่มสูงอย่างผิดปกติแต่อย่างใด อยู่ในช่วง 13 – 19.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ช่วง 12 ปี ค่าใช้จ่ายด้านอวกาศเพิ่มขึ้น 41 เปอร์เซ็นต์
พบว่าค่าใช้จ่ายทางทหาร สูงและเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 หรือ 9/11 ปี 2003 (20 มีนาคม 2003) ที่สหรัฐฯ ยกกองทัพเรือไปโจมตีอิรัก พบว่าค่าใช้จ่ายทางทหารเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ
ประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มฐานทัพไปทั่วโลก ค่าใช้จ่ายทางทหารที่ปี 2001 ประมาณ 330 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงปี 2009 เพิ่มขึ้นมาเป็น 711 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือช่วง 8 ปี เพิ่มขึ้น 115 เปอร์เซ็นต์
งบประมาณทางทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดในโลก ปี 2009 สูงถึง 711 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมงบประมาณทางทหารของประเทศที่เห็น 27 ประเทศ ยังไม่เท่าของประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว
ข้อมูลข้างต้นเป็นการพิจารณาความเป็นไปทางด้านการทหาร ข้อมูลต่อไปนี้จะพิจารณาความเป็นไปทางด้านเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่จริง ได้มีการโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบอื่นก่อนเหตุการณ์การโจมตีตึกคู่แฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (WTC) แล้ว คือการโจมตีตลาดหุ้นแนสแดกระหว่างปี 1999-2002 ความรุนแรงของการโจมตีเกิดขึ้นระหว่างปลายสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน (Bill Clinton) และต้นสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อประเทศสหรัฐอเมริกาและชาวโลกมากเป็นประวัติการณ์
ปี 1999 ได้มีการปรับปรุงการคำนวณดัชนีแนสแดก คือเพิ่มหุ้นที่มีมูลค่าสูง(Market capitalization) เข้าไปคำนวณ ทำให้ดัชนีแนสแดกมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูง จึงอ่อนแอสูง ถูกสวมรอยลากขึ้นและลงแรง ดัชนีสูงขึ้น 245 เปอร์เซ็นต์ในต้นปี 2000 แล้วพังทลายลง 78 เปอร์เซ็นต์ในปลายปี 2002 เป็นการพังทลายที่รุนแรง ส่งผลรุนแรงถึงค่าเงินเหรียญและสภาพคล่องของประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ปี 2008 เหตุการณ์ Hamburger crisis ดัชนีแนสแดกตกลง 55 เปอร์เซ็นต์
ดัชนีดาวโจนส์เป็น 1/3 ของดัชนีชี้นำตลาดหุ้นประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาเดียวกัน สูงขึ้น 55 เปอร์เซ็นต์ และตกลง 33 เปอร์เซ็นต์ ปี 2008 เหตุการณ์ Hamburger crisis ดัชนีดาวโจนส์ตกลง 54 เปอร์เซ็นต์
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ก็เป็น 1/3 ของดัชนีชี้นำตลาดหุ้นประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาเดียวกัน สูงขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ และตกลง 49 เปอร์เซ็นต์ ปี 2008 เหตุการณ์ Hamburger crisis ดัชนีเอสแอนด์พี 57 เปอร์เซ็นต์
ผู้เขียนนำดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 มาแสดง เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าดัชนีแนสแดกหรือตลาดแนสแดกถูกโจมตีจริง ประเทศสหรัฐอเมริกามีตลาดหุ้น 2 แห่ง คือตลาดหุ้นนิวยอร์กกับตลาดหุ้นแนสแดก
การพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดก คือความเสียหายและความเดือดร้อนของชาวอเมริกาและของชาวโลก
ที่เห็นนี้คือข้อมูลจริง การพังทลายที่รุนแรงของตลาดหุ้นใด ทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นพังทลายตามลงมาด้วย พบว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายลงเมื่อเทียบกับของทุกสกุลเงินของโลก หลังการพังทลายของตลาดแนสแดกในปี 2000 ค่าเงินเหรียญสหรัฐก็พังทลายลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่เห็นในภาพคือค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรของยูโรโซน (EUR) เงินเยนของญี่ปุ่น (YEN) และเงินบาทของไทย (BAHT)
หรือกล่าวอีกด้าน คือเงินยูโร เงินเยนและเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ
นั่นคือ เงินเหรียญสหรัฐไม่ได้รับความเชื่อมั่นหลังการพังทลายของตลาดแนสแดคเมื่อปี 2000
การพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ หลังการพังทลายของตลาดแนสแดกในปี 2000 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ราคาสูงขึ้น ราคาน้ำมัน Brent สูงขึ้นจากระดับ 20 เหรียญต่อบาร์เรล ขึ้นไปถึงกว่า 140 เหรียญต่อบาร์เรล
ความเสียหายของเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้นักลงทุนไม่ถือเงินเหรียญสหรัฐ เงินไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ออกไปซื้อเงินสกุลต่างๆ ทั่วโลก ซื้อหุ้นประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เงินสกุลต่างๆ ของโลกสูงขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ สูงขึ้น รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันก็สูงขึ้นทำให้เงินเฟ้อของประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกสูงขึ้น คนอเมริกันและคนทั่วโลกเดือดร้อนด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น
เงินไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ปริมาณเงินในประเทศอเมริกา หรือสภาพคล่องของระบบในประเทศสหรัฐอเมริกาลดลง
สภาพคล่องของระบบในประเทศอเมริกาลดลง ทำให้เอกชนล้มลง
เมื่อเอกชนล้มลง ทำให้คนตกงานมากขึ้น ทำให้เกิดหนี้เสียของระบบสูงขึ้น
ยกตัวอย่างบริษัทเอกชนและกลุ่มบริษัทเอกชนที่ล้มลง หลังสภาพคล่องของระบบของสหรัฐฯ พังทลาย เช่น Enron, WorldCom, Subprime, Bear Sterns Bank, Fannie Mae, Freddie Mac (ประธานบริษัทฆ่าตัวตาย), Lehman Brother, Merrill Lynch, AIG รวมทั้งเอกชนขนาดกลางและขนาดเล็กก็ล้มลงทั่วประเทศ
สภาพคล่องเริ่มเสียหายหลังการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกในปี 2000
สหรัฐอเมริกาแก้ปัญหาโดยการนำเครื่องมือ Collateralized Debt Obligation (CDO) มาใช้ CDO เป็นตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน มีการค้ำประกันด้วยตราสาร CDS (Credit default swap) ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน สุดท้ายมีการผิดนัดชำระหนี้ คนซื้อตราสาร CDO ไม่ได้รับทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ทั้งบริษัทที่ออก CDO และบริษัทที่ให้ค้ำประกัน CDS ก็ลมลงด้วยกันทั้งคู่
ยกตัวอย่างเช่น AIG มีสัญญาค้ำประกัน (CDS) 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ฉีดเงินเข้าไปช่วยเหลือ แต่ก็ไปไม่รอด ได้ล้มลงในที่สุด ที่เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เพดานหนี้ของสหรัฐฯ สูงขึ้น และพิมพ์เงิน (QE) ออกมาใช้
ฟางเส้นสุดท้ายขาดผึง เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ Hamburger crisis ทั่วโลกรวมทั้งอเมริกาในปี 2008 สภาพคล่องของระบบยิ่งตกต่ำลงไปอีก ทำให้เอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกาล้มลงเป็นจำนวนมาก ดังที่แสดงข้อมูลไว้ข้างต้น ทำให้ตัวเลขคนตกงานปี 2009-2010 สูงถึง 10 เปอร์เซ็นต์
Hamburger crisis ต้นเหตุก็มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เงินที่ไหลออกจากอเมริกา ทำให้ตลาดหุ้นและค่าเงินของทั่วโลกสูงขึ้น รวมทั้งสวมรอยปั่นให้สูงขึ้น แล้วถล่มทุบลงมารุนแรงในปี 2008
เพดานหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกเมื่อปี 2000 ปี 2000 เพดานหนี้อยู่ที่ 5.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สิ้นเดือนสิงหาคม 2012 อยู่ที่ 16.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2.75 เท่า
สภาพคล่องเสียหายรุนแรง เอกชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ล้มลงจำนวนมาก เป็นที่มาของเพดานหนี้ที่สูงขึ้นและพิมพ์เงินออกมาใช้ (Quantitative Easing) ปี 2009 พิมพ์ออกมา 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2010 พิมพ์ออกมาอีก 0.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2012 จะพิมพ์ออกมาอีกเดือนละ 0.04 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่ยังไม่ทราบยอดรวมทั้งหมดว่าจะพิมพ์ออกมาเท่าใด
การโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกาจึงแยกออกเป็น 2 รูปแบบ
รูปแบบแรก คือการโจมตีตลาดหุ้นแนสแดก ตามข้อมูลที่นำเสนอ แสดงถึงความเสียหายที่รุนแรง เพียงแต่ไม่ทราบว่ามีการโจมตีตลาดแนสแดก จึงไม่ทราบค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหายเพราะอะไร ไม่ทราบว่าสภาพคล่องของอเมริกาเสียหายเพราะอะไร ไม่ทราบว่าเอกชนล้มลงเพราะอะไร ไม่ทราบว่าคนตกงานมากเพราะอะไร
สกุลเงินสหรัฐเป็นสกุลเงินเหรียญเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อไหลออกจากสหรัฐ ทำให้ค่าเงินและตลาดหุ้นสูงของทั่วโลกขึ้น และมีการสวมรอยปั่นให้สูงขึ้น แล้วก็พังทลายลงในปี 2008 ที่เรียกกันว่า Hamburger crisis ดังเช่นที่เกิดขึ้นในยูโรโซน ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจแบบเดียวกัน สภาพคล่องของระบบเสียหาย เอกชนล้มลง คนตกงานมาก และเกิดหนี้เสีย เรียกได้ว่าเกิดความเดือดร้อนไปทั้งโลก
รูปแบบที่ 2 คือการโจมตี WTC เห็นได้ง่ายด้วยสายตา เป็นที่เข้าใจได้ สหรัฐฯ ยกกองทัพเรือไปโจมตี เอาคืน ที่เข้าใจว่าเป็นประเทศผู้ก่อการร้าย สังหารหัวหน้าผู้ก่อการร้าย ก็ได้รับชัยชนะ ก็สามารถสังหารหัวหน้าผู้ก่อการร้าย
ตลาดทุนของประเทศสหรัฐอเมริกาคือสิ่งผิดปกติในระบบเศรษฐกิจของโลกทุนนิยม เรียกว่าเป็นแหล่งอบายมุขที่ใหญ่กว่าลาสเวกัสแบบเทียบกันไม่ได้ ที่ได้นำพาความเสื่อมและความเดือดร้อนมาสู่ประชาชนคนอเมริกันและประชาชนคนทั่วโลก
ประเทศสหรัฐอเมริกา ล้มเหลวทั้งด้านการเมืองการทหารระหว่างประเทศและด้านเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาคิดแบบง่ายๆ จนออกมาในรูปแบบ “มักง่าย” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประชาชนอเมริกันและประชาชนทั่วโลกเลย การมีฐานทัพไว้ทั่วโลก ก็ไมใช่เพื่อประชาชนคนอเมริกันส่วนใหญ่ แต่เพื่อเข้าไปปกป้องแหล่งพลังงานที่บรรดานายทุนอเมริกันไม่กี่คนที่ได้รับสัมปทานในประเทศต่างๆ
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบเพิ่มเพดานหนี้และพิมพ์เงินออกมาใช้ ก็ไม่ได้ช่วยให้คนอเมริกันส่วนใหญ่และคนทั่วโลกอยู่ดีมีสุขขึ้น ซ้ำยังซ้ำเติมพวกเขาให้เดือดร้อนมากขึ้น จะดีก็เฉพาะนักเก็งกำไรที่ชาญฉลาดในตลาดหุ้นเท่านั้น ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยหรือประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของระบบ เขาสามารถทำกำไรได้ทั้ง 2 ทิศทาง ผ่านตัวเลขอนุพันธ์ (Derivatives) มีแต่ได้กับได้ ตลาดหุ้นดีเท่าใดเขาก็ได้กำไรมากเท่านั้น ตลาดหุ้นย่อยยับมากเท่าใด เขาก็มีกำไรมากเท่านั้น
การเพิ่มเพดานหนี้ การพิมพ์เงินออกมาใช้ เป็นการรักษาโรคตามอาการ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา เมื่อไม่ได้รักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา จึงไม่เรียกว่าเป็นการแก้ปัญหา ปัญหาจะยังคงอยู่ และจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
ที่จริงการเพิ่มเพดานหนี้และการพิมพ์เงินออกมาใช้ ก็ว่าไปตามอาการ แต่ต้องแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาด้วย คือต้องยุติบทบาทของตลาดทุน คืนโลกสู่ความสามัญ โลกทั้งโลกก็จะสงบสุขได้
https://www.facebook.com/suthipong.prachayapruit
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
เบน เบอร์นันเก้ เข้ารับตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนที่ 14 เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 ต่อจากนายอลัน กรีนสแปน ในสมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) แห่งพรรครีพับลิกัน ต่อเนื่องมาถึงสมัยประธานาธิบดี บารัก โอบามา (Barack Obama) พรรคเดโมแครตในปัจจุบัน
ความเชื่อมั่นในสมัยเด็กๆ ชื่นชมว่า สหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ สันติภาพ ภราดรภาพ เสมอภาค บริสุทธิ์และยุติธรรม เป็นผู้นำพาโลกพันธมิตรชนะสงครามโลก เป็นไปได้ว่าตอนเด็กๆ ไม่ประสีประสา ฟังโฆษณาจากสื่อ รู้สึกว่าอเมริกาสวยงามไปทุกด้าน เคยชื่นชมว่า ลาสเวกัสเป็นเมืองน่าท่องเที่ยว เต็มไปด้วย Entertainment complexes ทุกรูปแบบ ทั้งการพนันและการแสดงโชว์ ปัจจุบันได้เรียนรู้จากคำสอนของพระพุทธเจ้า ตระหนักว่าลาสเวกัสเป็นเมืองแห่งอบายมุข ความรู้สึกบอกว่าทุกวันนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาเสื่อมลง
โลกมีการพัฒนาไปในทางที่เสื่อมลง 1) โลกเกษตรกรรมเป็นโลกที่พออยู่พอพอกิน 2) โลกอุตสาหกรรมรวมทั้งอุตสาหกรรมการเกษตรทำให้เกิดการผลิตที่เกินความพอเพียง 3) โลกของทุนที่มีตลาดหุ้นเป็นองค์ประกอบ ที่ไม่เกิดผลผลิตจริงต่อระบบ แต่เป็นการสร้างเครื่องมือมาเอารัดเอาเปรียบระบบ จะทำให้คนส่วนน้อยในตลาดทุนกลายเป็นเจ้าของทรัพยากรของทั้งโลก คนท้องถิ่นยากจนลง ที่อาเซียน ลาว กัมพูชาก็ถูกจูงนำให้มีตลาดหุ้นแล้ว ลาวมีหุ้น 2 ตัวซื้อขายในตลาด ขณะที่กัมพูชามีหุ้นตัวเดียวซื้อขายในตลาด
ที่จริงมันก็เป็นเรื่องธรรมดาของโลก โลกมีกิเลสของคนเป็นองค์ประกอบหลัก เป็นเช่นนี้มานับตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาบนโลกแล้ว “กิเลส” ของคนส่วนน้อยที่ทำให้ประเทศ ภูมิภาคและโลกเข้าสู่ความเดือดร้อนจลาจลและสงคราม “โลกของธรรมเป็นโลกของบุญ โลกของทุนเป็นโลกของบาป” พบเห็นทุกวันนี้โลกทุนนิยม ร้อนรนวุ่นวาย
ภาพที่เกิดขึ้นกับอเมริกาก็เป็นภาพเดิมๆ แบบเกินความพอเพียง ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต คือการล่าอาณานิคมของประเทศยุโรปตะวันตก ซึ่งรูปแบบการล่าแตกต่างไปจากเดิม
วินาศกรรม 11 กันยายน 2001 หรือ 9/11
ค่าใช้จ่ายงบประมาณของประเทศสหรัฐฯ นอกจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั่วไปแล้ว ได้มีการพิจารณาค่าใช้จ่ายด้านอวกาศ (Nasa fed outlay) และค่าใช้จ่ายด้านการทหาร (US Military Expenditure) เป็นพิเศษ
พบว่าค่าใช้จ่ายด้านอวกาศ ไม่ได้สูง และไม่ได้เพิ่มสูงอย่างผิดปกติแต่อย่างใด อยู่ในช่วง 13 – 19.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ช่วง 12 ปี ค่าใช้จ่ายด้านอวกาศเพิ่มขึ้น 41 เปอร์เซ็นต์
พบว่าค่าใช้จ่ายทางทหาร สูงและเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 หรือ 9/11 ปี 2003 (20 มีนาคม 2003) ที่สหรัฐฯ ยกกองทัพเรือไปโจมตีอิรัก พบว่าค่าใช้จ่ายทางทหารเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ
ประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มฐานทัพไปทั่วโลก ค่าใช้จ่ายทางทหารที่ปี 2001 ประมาณ 330 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงปี 2009 เพิ่มขึ้นมาเป็น 711 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือช่วง 8 ปี เพิ่มขึ้น 115 เปอร์เซ็นต์
งบประมาณทางทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดในโลก ปี 2009 สูงถึง 711 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมงบประมาณทางทหารของประเทศที่เห็น 27 ประเทศ ยังไม่เท่าของประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว
ข้อมูลข้างต้นเป็นการพิจารณาความเป็นไปทางด้านการทหาร ข้อมูลต่อไปนี้จะพิจารณาความเป็นไปทางด้านเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่จริง ได้มีการโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบอื่นก่อนเหตุการณ์การโจมตีตึกคู่แฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (WTC) แล้ว คือการโจมตีตลาดหุ้นแนสแดกระหว่างปี 1999-2002 ความรุนแรงของการโจมตีเกิดขึ้นระหว่างปลายสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน (Bill Clinton) และต้นสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อประเทศสหรัฐอเมริกาและชาวโลกมากเป็นประวัติการณ์
ปี 1999 ได้มีการปรับปรุงการคำนวณดัชนีแนสแดก คือเพิ่มหุ้นที่มีมูลค่าสูง(Market capitalization) เข้าไปคำนวณ ทำให้ดัชนีแนสแดกมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูง จึงอ่อนแอสูง ถูกสวมรอยลากขึ้นและลงแรง ดัชนีสูงขึ้น 245 เปอร์เซ็นต์ในต้นปี 2000 แล้วพังทลายลง 78 เปอร์เซ็นต์ในปลายปี 2002 เป็นการพังทลายที่รุนแรง ส่งผลรุนแรงถึงค่าเงินเหรียญและสภาพคล่องของประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ปี 2008 เหตุการณ์ Hamburger crisis ดัชนีแนสแดกตกลง 55 เปอร์เซ็นต์
ดัชนีดาวโจนส์เป็น 1/3 ของดัชนีชี้นำตลาดหุ้นประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาเดียวกัน สูงขึ้น 55 เปอร์เซ็นต์ และตกลง 33 เปอร์เซ็นต์ ปี 2008 เหตุการณ์ Hamburger crisis ดัชนีดาวโจนส์ตกลง 54 เปอร์เซ็นต์
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ก็เป็น 1/3 ของดัชนีชี้นำตลาดหุ้นประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาเดียวกัน สูงขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ และตกลง 49 เปอร์เซ็นต์ ปี 2008 เหตุการณ์ Hamburger crisis ดัชนีเอสแอนด์พี 57 เปอร์เซ็นต์
ผู้เขียนนำดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 มาแสดง เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าดัชนีแนสแดกหรือตลาดแนสแดกถูกโจมตีจริง ประเทศสหรัฐอเมริกามีตลาดหุ้น 2 แห่ง คือตลาดหุ้นนิวยอร์กกับตลาดหุ้นแนสแดก
การพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดก คือความเสียหายและความเดือดร้อนของชาวอเมริกาและของชาวโลก
ที่เห็นนี้คือข้อมูลจริง การพังทลายที่รุนแรงของตลาดหุ้นใด ทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นพังทลายตามลงมาด้วย พบว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายลงเมื่อเทียบกับของทุกสกุลเงินของโลก หลังการพังทลายของตลาดแนสแดกในปี 2000 ค่าเงินเหรียญสหรัฐก็พังทลายลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่เห็นในภาพคือค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรของยูโรโซน (EUR) เงินเยนของญี่ปุ่น (YEN) และเงินบาทของไทย (BAHT)
หรือกล่าวอีกด้าน คือเงินยูโร เงินเยนและเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ
นั่นคือ เงินเหรียญสหรัฐไม่ได้รับความเชื่อมั่นหลังการพังทลายของตลาดแนสแดคเมื่อปี 2000
การพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ หลังการพังทลายของตลาดแนสแดกในปี 2000 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ราคาสูงขึ้น ราคาน้ำมัน Brent สูงขึ้นจากระดับ 20 เหรียญต่อบาร์เรล ขึ้นไปถึงกว่า 140 เหรียญต่อบาร์เรล
ความเสียหายของเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้นักลงทุนไม่ถือเงินเหรียญสหรัฐ เงินไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ออกไปซื้อเงินสกุลต่างๆ ทั่วโลก ซื้อหุ้นประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เงินสกุลต่างๆ ของโลกสูงขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ สูงขึ้น รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันก็สูงขึ้นทำให้เงินเฟ้อของประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกสูงขึ้น คนอเมริกันและคนทั่วโลกเดือดร้อนด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น
เงินไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ปริมาณเงินในประเทศอเมริกา หรือสภาพคล่องของระบบในประเทศสหรัฐอเมริกาลดลง
สภาพคล่องของระบบในประเทศอเมริกาลดลง ทำให้เอกชนล้มลง
เมื่อเอกชนล้มลง ทำให้คนตกงานมากขึ้น ทำให้เกิดหนี้เสียของระบบสูงขึ้น
ยกตัวอย่างบริษัทเอกชนและกลุ่มบริษัทเอกชนที่ล้มลง หลังสภาพคล่องของระบบของสหรัฐฯ พังทลาย เช่น Enron, WorldCom, Subprime, Bear Sterns Bank, Fannie Mae, Freddie Mac (ประธานบริษัทฆ่าตัวตาย), Lehman Brother, Merrill Lynch, AIG รวมทั้งเอกชนขนาดกลางและขนาดเล็กก็ล้มลงทั่วประเทศ
สภาพคล่องเริ่มเสียหายหลังการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกในปี 2000
สหรัฐอเมริกาแก้ปัญหาโดยการนำเครื่องมือ Collateralized Debt Obligation (CDO) มาใช้ CDO เป็นตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน มีการค้ำประกันด้วยตราสาร CDS (Credit default swap) ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน สุดท้ายมีการผิดนัดชำระหนี้ คนซื้อตราสาร CDO ไม่ได้รับทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ทั้งบริษัทที่ออก CDO และบริษัทที่ให้ค้ำประกัน CDS ก็ลมลงด้วยกันทั้งคู่
ยกตัวอย่างเช่น AIG มีสัญญาค้ำประกัน (CDS) 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ฉีดเงินเข้าไปช่วยเหลือ แต่ก็ไปไม่รอด ได้ล้มลงในที่สุด ที่เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เพดานหนี้ของสหรัฐฯ สูงขึ้น และพิมพ์เงิน (QE) ออกมาใช้
ฟางเส้นสุดท้ายขาดผึง เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ Hamburger crisis ทั่วโลกรวมทั้งอเมริกาในปี 2008 สภาพคล่องของระบบยิ่งตกต่ำลงไปอีก ทำให้เอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกาล้มลงเป็นจำนวนมาก ดังที่แสดงข้อมูลไว้ข้างต้น ทำให้ตัวเลขคนตกงานปี 2009-2010 สูงถึง 10 เปอร์เซ็นต์
Hamburger crisis ต้นเหตุก็มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เงินที่ไหลออกจากอเมริกา ทำให้ตลาดหุ้นและค่าเงินของทั่วโลกสูงขึ้น รวมทั้งสวมรอยปั่นให้สูงขึ้น แล้วถล่มทุบลงมารุนแรงในปี 2008
เพดานหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกเมื่อปี 2000 ปี 2000 เพดานหนี้อยู่ที่ 5.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สิ้นเดือนสิงหาคม 2012 อยู่ที่ 16.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2.75 เท่า
สภาพคล่องเสียหายรุนแรง เอกชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ล้มลงจำนวนมาก เป็นที่มาของเพดานหนี้ที่สูงขึ้นและพิมพ์เงินออกมาใช้ (Quantitative Easing) ปี 2009 พิมพ์ออกมา 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2010 พิมพ์ออกมาอีก 0.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2012 จะพิมพ์ออกมาอีกเดือนละ 0.04 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่ยังไม่ทราบยอดรวมทั้งหมดว่าจะพิมพ์ออกมาเท่าใด
การโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกาจึงแยกออกเป็น 2 รูปแบบ
รูปแบบแรก คือการโจมตีตลาดหุ้นแนสแดก ตามข้อมูลที่นำเสนอ แสดงถึงความเสียหายที่รุนแรง เพียงแต่ไม่ทราบว่ามีการโจมตีตลาดแนสแดก จึงไม่ทราบค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหายเพราะอะไร ไม่ทราบว่าสภาพคล่องของอเมริกาเสียหายเพราะอะไร ไม่ทราบว่าเอกชนล้มลงเพราะอะไร ไม่ทราบว่าคนตกงานมากเพราะอะไร
สกุลเงินสหรัฐเป็นสกุลเงินเหรียญเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อไหลออกจากสหรัฐ ทำให้ค่าเงินและตลาดหุ้นสูงของทั่วโลกขึ้น และมีการสวมรอยปั่นให้สูงขึ้น แล้วก็พังทลายลงในปี 2008 ที่เรียกกันว่า Hamburger crisis ดังเช่นที่เกิดขึ้นในยูโรโซน ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจแบบเดียวกัน สภาพคล่องของระบบเสียหาย เอกชนล้มลง คนตกงานมาก และเกิดหนี้เสีย เรียกได้ว่าเกิดความเดือดร้อนไปทั้งโลก
รูปแบบที่ 2 คือการโจมตี WTC เห็นได้ง่ายด้วยสายตา เป็นที่เข้าใจได้ สหรัฐฯ ยกกองทัพเรือไปโจมตี เอาคืน ที่เข้าใจว่าเป็นประเทศผู้ก่อการร้าย สังหารหัวหน้าผู้ก่อการร้าย ก็ได้รับชัยชนะ ก็สามารถสังหารหัวหน้าผู้ก่อการร้าย
ตลาดทุนของประเทศสหรัฐอเมริกาคือสิ่งผิดปกติในระบบเศรษฐกิจของโลกทุนนิยม เรียกว่าเป็นแหล่งอบายมุขที่ใหญ่กว่าลาสเวกัสแบบเทียบกันไม่ได้ ที่ได้นำพาความเสื่อมและความเดือดร้อนมาสู่ประชาชนคนอเมริกันและประชาชนคนทั่วโลก
ประเทศสหรัฐอเมริกา ล้มเหลวทั้งด้านการเมืองการทหารระหว่างประเทศและด้านเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาคิดแบบง่ายๆ จนออกมาในรูปแบบ “มักง่าย” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประชาชนอเมริกันและประชาชนทั่วโลกเลย การมีฐานทัพไว้ทั่วโลก ก็ไมใช่เพื่อประชาชนคนอเมริกันส่วนใหญ่ แต่เพื่อเข้าไปปกป้องแหล่งพลังงานที่บรรดานายทุนอเมริกันไม่กี่คนที่ได้รับสัมปทานในประเทศต่างๆ
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบเพิ่มเพดานหนี้และพิมพ์เงินออกมาใช้ ก็ไม่ได้ช่วยให้คนอเมริกันส่วนใหญ่และคนทั่วโลกอยู่ดีมีสุขขึ้น ซ้ำยังซ้ำเติมพวกเขาให้เดือดร้อนมากขึ้น จะดีก็เฉพาะนักเก็งกำไรที่ชาญฉลาดในตลาดหุ้นเท่านั้น ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยหรือประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของระบบ เขาสามารถทำกำไรได้ทั้ง 2 ทิศทาง ผ่านตัวเลขอนุพันธ์ (Derivatives) มีแต่ได้กับได้ ตลาดหุ้นดีเท่าใดเขาก็ได้กำไรมากเท่านั้น ตลาดหุ้นย่อยยับมากเท่าใด เขาก็มีกำไรมากเท่านั้น
การเพิ่มเพดานหนี้ การพิมพ์เงินออกมาใช้ เป็นการรักษาโรคตามอาการ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา เมื่อไม่ได้รักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา จึงไม่เรียกว่าเป็นการแก้ปัญหา ปัญหาจะยังคงอยู่ และจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
ที่จริงการเพิ่มเพดานหนี้และการพิมพ์เงินออกมาใช้ ก็ว่าไปตามอาการ แต่ต้องแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาด้วย คือต้องยุติบทบาทของตลาดทุน คืนโลกสู่ความสามัญ โลกทั้งโลกก็จะสงบสุขได้