วานนี้(24 ก.ย.55) นายโภคิน พลกุล ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 แถลงภายหลังการประชุม ซึ่งได้เชิญนักวิชาการ อาทิ นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, นายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และ นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าร่วมประชุม ว่า ที่ประชุมเห็นตรงใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1. รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับของประชาชน โดยมีกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ จากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) และเมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ต้องจัดให้มีการทำประชามติเพื่อให้ประชาชนเห็นชอบ
2. ต้องมีการเดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ เพิ่มเติม ซึ่งคงค้างการพิจารณาของรัฐสภา ในวาระที่สาม ซึ่งในการประชุมนายดิเรกให้ความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไข ที่ค้างอยู่ในการพิจารณา มีกระบวนการลงประชามติโดยประชาชน หลังจากที่ ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่แล้วเสร็จ ซึ่งจะตรงกับความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาในคำวินิจฉัยส่วนตน พบว่ามีเพียงตุลาการ 1 คนที่ให้ความเห็นแนะนำว่าต้องผ่านการลงประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนจะเป็นการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระสามเมื่อใด นั้นต้องให้ทางพรรคร่วมรัฐบาลตัดสินใจ
3.ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องแก้ไขต้องตอบโจทย์ 3 ข้อ ได้แก่ ความเป็นประชาธิปไตยต่อการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การดำเนินการให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม และ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
“คณะทำงานจะมีการสรุปความเห็นทั้งหมด ภายในเดือนพฤศจิกายน เพื่อเสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ในการประชุมรอบนี้ไม่ได้มีการพูดถึงของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ทางคณะทำงานได้เปิดช่องทางรับฟังความเห็นของประชาชน ผ่านทางเวปไซต์ www.thaipeopleconsituion.com และ ตู้ปณ.291 ราชเทวี ทั้งนี้ทางคณะทำงานจะนำความเห็นดังกล่าวมาสรุปในรายงาน เพื่อดำเนินการเสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป ส่วนการประชุมนัดต่อไปของคณะทำงาน จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม ที่ พรรคเพื่อไทย โดยจะเชิญ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น” นายโภคิน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าข้อเสนอที่ให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระสาม จะใช้ข้อกฎหมายใดมารองรับการกระทำ ในเมื่อรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่าคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันต่อทุกองค์กร นายโภคิน กล่าวว่า ผลผูกพันของศาลรัฐธรรมนูญ มีเพียงแค่มาตรา 68 ที่มีความเห็นว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดหรือไม่ เท่านั้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้การลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระสามเป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 291 โดยถือว่าเป็นกระบวนการปกติที่ต้องเดินหน้าต่อไป
อย่างไรก็ตามตามการเดินหน้าทันทีในช่วงที่ความเข้าใจยังแตกต่างกันอยู่อาจมีปัญหา รวมถึงประเด็นนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้แนะนำเรื่องการทำประชามติ ดังนั้นต้องมาทำความเข้าใจว่าจะทำประชามติในตอนไหน
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า คณะทำงานได้เชิญนักวิชาการและตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมาให้ความเห็น และความเห็นส่วนใหญ่ของนักวิชาการที่เราเชิญมานั้น ได้แสดงความเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการจัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 รวมถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 ซึ่งคณะกรรมการจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เพื่อนำมาเป็นแนวทางการทำงานต่อไป
ทั้งนี้การทำงานของคณะกรรมการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องไม่มีการถ่วงเวลา แต่จะเสนอสภาพิจารณาเมื่อไหร่นั้น ต้องรอให้ผ่านการแถลงผลงานของรัฐบาลครบ 1 ปี จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ตามตารางเวลา เมื่อเรื่องการแถลงผลงานของรัฐบาล และการอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วเสร็จ จึงจะรวบรวมความเห็นต่างๆมาสรุปว่าจะทำอย่างไรต่อไป ควบคู่ไปการเดินสายทำความเข้าใจกับประชาชนในเวทีต่างๆควบคู่กันไป โดยคาดว่ากระบวนการทำงานจะจบได้ภายในสมัยประชุมสภานี้..
2. ต้องมีการเดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ เพิ่มเติม ซึ่งคงค้างการพิจารณาของรัฐสภา ในวาระที่สาม ซึ่งในการประชุมนายดิเรกให้ความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไข ที่ค้างอยู่ในการพิจารณา มีกระบวนการลงประชามติโดยประชาชน หลังจากที่ ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่แล้วเสร็จ ซึ่งจะตรงกับความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาในคำวินิจฉัยส่วนตน พบว่ามีเพียงตุลาการ 1 คนที่ให้ความเห็นแนะนำว่าต้องผ่านการลงประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนจะเป็นการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระสามเมื่อใด นั้นต้องให้ทางพรรคร่วมรัฐบาลตัดสินใจ
3.ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องแก้ไขต้องตอบโจทย์ 3 ข้อ ได้แก่ ความเป็นประชาธิปไตยต่อการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การดำเนินการให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม และ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
“คณะทำงานจะมีการสรุปความเห็นทั้งหมด ภายในเดือนพฤศจิกายน เพื่อเสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ในการประชุมรอบนี้ไม่ได้มีการพูดถึงของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ทางคณะทำงานได้เปิดช่องทางรับฟังความเห็นของประชาชน ผ่านทางเวปไซต์ www.thaipeopleconsituion.com และ ตู้ปณ.291 ราชเทวี ทั้งนี้ทางคณะทำงานจะนำความเห็นดังกล่าวมาสรุปในรายงาน เพื่อดำเนินการเสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป ส่วนการประชุมนัดต่อไปของคณะทำงาน จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม ที่ พรรคเพื่อไทย โดยจะเชิญ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น” นายโภคิน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าข้อเสนอที่ให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระสาม จะใช้ข้อกฎหมายใดมารองรับการกระทำ ในเมื่อรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่าคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันต่อทุกองค์กร นายโภคิน กล่าวว่า ผลผูกพันของศาลรัฐธรรมนูญ มีเพียงแค่มาตรา 68 ที่มีความเห็นว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดหรือไม่ เท่านั้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้การลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระสามเป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 291 โดยถือว่าเป็นกระบวนการปกติที่ต้องเดินหน้าต่อไป
อย่างไรก็ตามตามการเดินหน้าทันทีในช่วงที่ความเข้าใจยังแตกต่างกันอยู่อาจมีปัญหา รวมถึงประเด็นนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้แนะนำเรื่องการทำประชามติ ดังนั้นต้องมาทำความเข้าใจว่าจะทำประชามติในตอนไหน
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า คณะทำงานได้เชิญนักวิชาการและตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมาให้ความเห็น และความเห็นส่วนใหญ่ของนักวิชาการที่เราเชิญมานั้น ได้แสดงความเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการจัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 รวมถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 ซึ่งคณะกรรมการจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เพื่อนำมาเป็นแนวทางการทำงานต่อไป
ทั้งนี้การทำงานของคณะกรรมการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องไม่มีการถ่วงเวลา แต่จะเสนอสภาพิจารณาเมื่อไหร่นั้น ต้องรอให้ผ่านการแถลงผลงานของรัฐบาลครบ 1 ปี จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ตามตารางเวลา เมื่อเรื่องการแถลงผลงานของรัฐบาล และการอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วเสร็จ จึงจะรวบรวมความเห็นต่างๆมาสรุปว่าจะทำอย่างไรต่อไป ควบคู่ไปการเดินสายทำความเข้าใจกับประชาชนในเวทีต่างๆควบคู่กันไป โดยคาดว่ากระบวนการทำงานจะจบได้ภายในสมัยประชุมสภานี้..