xs
xsm
sm
md
lg

ปตทสผ.รักษาแชมป์มูลค่าแบรนด์สูงสุด4แสนล.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTV ผู้จัดการรายวัน – “ปตทสผ.”นำโด่งมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดในกลุ่มทรัพยากร และในตลาดหุ้น ที่ระดับ 4 แสนล้าน ด้าน “ซีพีเอฟ”ที่1 กลุ่มเกษตรและอาหาร มูลค่า 1.1 แสนล้านบาท จากการจัดอันดับของ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Manger Online
วานนี้(12ก.ย.) เว็บไซต์ Manger Online ได้ร่วมมือกับภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “สุดยอดแบรนด์องค์กรไทย 2555” Thailand ‘s Top Corporate Brand Values 2012 ขึ้น ณ ห้องประชุมอาจารย์สังเวียน อินทรชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อมอบรางวัล แก่ 8 สุดยอดบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุด (จากการคำนวณ โดยภาควิชาการตลาดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ผ่านเครื่องมือ Corporate Brand Success Valuation หรือ CBS Valuation วัดมูลค่าแบรนด์บริษัทจดทะเบียนทั้ง 432 บริษัท ใน 8 หมวด
โดย ปรากฏว่า 1.กลุ่มเกษตรและอาหาร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 110,498 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 40,211 ล้านบาท อันดับ 2.บมจ. ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์(TUF) มีมูลค่า 31,074 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 16,647 ล้านบาท อันดับ3.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล(MINT) มีมูลค่า 26,808 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากก่อนที่อยู่ในระดับ 24,323 ล้านบาท อันดับ4.บมจ.น้ำมันพืชไทย มีมูลค่า 13,715 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ระดับ 11,396 ล้านบาท และ5.บมจ.โออิชิ กรุ๊ป (OISHI) มีมูลค่าแบรนด์ 12,531 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีอยู่ 10,636 ล้านบาท
2.กลุ่มการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มีมูลค่า200,346 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 54 ซึ่งมีมูลค่า 154,118 ล้านบาท อันดับ2.ธนาคารกสิกรไทย มูลค่า 130,555 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54ที่มี 78,944 ล้านบาท อันดับ3.ธนาคารกรุงเทพ (BBL) มูลค่า 50,017 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54ที่มี 16,948ล้านบาท อันดับ4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY) มูลค่า 49,073ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี54 ที่มี 26,291 ล้านบาท อันดับ5 ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มูลค่า41,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มี30,251 ล้านบาท
3.กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อันดับ1.บมจ.ซาบีน่า มีมูลค่า 6,411 ล้านบาท จากปีก่อน 5,311ล้านบาท อันดับ2.บมจ.ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) (DSGT) มูลค่า 1,434 ล้านบาทจาก 602 ล้านบาทในปี54 อันดับ3 .บมจ. กันยงอีเลคทริก (KYE) มีมูลค่า1,243 ล้านบาทจากปี54 ที่ระดับ 470 ล้านบาท อันดับ4. บมจ.โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป(MODERN) 1,110 ล้านบาท จาก 432 ล้านบาท และอันดับ5.บมจ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ (S&J) มูลค่า 529 ล้านบาท จากเดิม 44 ล้านบาท
4.กลุ่มทรัพยกร นำโดย บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ซึ่งมีมูลค่าแบรนด์สูงสุดในกลุ่มและสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 401,875 ล้านบาท จากเดิม 339,944 ล้านบาทในปี 54 อันดับ2. บมจ.ปตท (PTT) มีมูลค่า 327,902 ล้านบาท จากเดิม 228,705 ล้านบาท อันดับ3. บมจ.บ้านปู (BANPU) จากเดิม 106,060ล้านบาท จาก 88,381 ล้านบาท อันดับ4.บมจ.ไทยออยล์ (TOP) 49,176 ล้านบาท จาก 29,674 ล้านบาท และอันดับ5.บมจ.โกลว์ พลังงาน(GLOW) 32,361 ล้านบาท จาก 18,154 ล้านบาท
5.กลุ่มเทคโนโลยี อันดับ1.บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) มีมูลค่า 258,746 ล้านบาทจากเดิม 172,798ล้านบาทในปี54 อันดับ2.บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (INTUCH) มีมูลค่า69,277 ล้านบาท จาก 31,563 ล้านบาท อันดับ3.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) 38,735 ล้านบาท จาก 26,705ล้านบาท อันดับ4.บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(DTAC) 34,692 ล้านบาท จาก 25,280 ล้านบาท และอันดับ5. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)(DELTA) มูลค่า 13,650ล้านบาท จาก 3,738 ล้านบาท
6.กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม นำมาโดย 1. บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล(PTTGC)มูลค่า 44,432 ล้านบาท จาก 27,511 ล้านบาทในปีก่อน อันดับ2. บมจ.โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย)(PTC) 10,111 ล้านบาท อันดับ3.ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (TPC) 9,477 ล้านบาท จาก 8,143 ล้านบาท อันดับ4.ไทยเซ็นทรัลเคมี (TCCC) มูลค่า 5,125 ล้านบาท จาก3,494ล้านบาท อันดับ.5 เอ.เจ.พลาสท์ (AJ) 4,577ล้านบาทจาก 3,738 ล้านบาท
7.กลุ่มบริการ อันดับ1.ซีพี ออลล์ (CPALL) มูลค่า161,601ล้านบาท จาก 108,871ล้านบาทในปีก่อน อันดับ2.บีอีซี เวิลด์(BEC) 67,578 ล้านบาท จาก 49,338 ล้านบาท อันดับ3.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (BIGC) 61,332ล้านบาทจาก 29,653 ล้านบาท อันดับ4.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) 58,657 ล้านบาท จาก24,923ล้านบาท และอันดับ5.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) 36,739 ล้านบาท จาก 16,753 ล้านบาท
8.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง อันดับ 1.บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย (SCC) มีมูลค่า 238,536 ล้านบาท จาก 164,995 ล้านบาทในปี54 อันดับ2. เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) 45,890 ล้านบาท จาก 30,030 ล้านบาท อันดับ3.ปูนซีเมนต์นครหลวง (SCCC) 40,824 ล้านบาทจาก 31,868 ล้านบาท อันดับ4.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) 36,838 ล้านบาท จาก 29,076 ล้านบาท และอันดับ5. พฤกษา เรียลเอสเตท (PS) 23,251 ล้านบาท จาก 20,327 ล้านบาท
รองศาสตราจารย์ ดร. กุณฑลี รื่นรมย์ กล่าวว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้ทำวิจัยในเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดค่าแบรนด์องค์กรเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือแรกในประเทศไทย โดยใช้หลักการตลาด การเงิน และการบัญชี มาบูรณาการเพื่อสร้างเครื่องมือ CBS Valuation ทำการประเมินค่าแบรนด์องค์กรเป็นตัวเลขทางการเงิน และทำการจัดอันดับ ซึ่งมีราคาถูกกว่าการจ้างผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ และอนุญาตให้บริษัทต่างๆนำไปใช้ได้ฟรี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัยด้านแบรนด์องค์กรในไทย และกระตุ้นองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบรนด์องค์กรอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจไทยในอนาคต
กำลังโหลดความคิดเห็น