แม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมเป็นประธานในการแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้ของนายแวอาลีคอปเตอร์ วาจิ หรือ“เจ๊ะอาลี” และนำผู้หลงผิดจำนวน 100 คน มาเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย “เจ๊ะอาลี” ยื่นข้อเสนอ 3 ข้อ ด้าน ครม. ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 3 จว.ใต้ ปชป. จวกรัฐกำหนดทิศทางดับไฟใต้สับสน ทำประชาชนขาดความเชื่อมั่น
เมื่อเวลา 13.30 น.วานนี้ (11 ก.ย.55) ที่หอประชุมบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จ.นราธิวาส ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส พล.ท.อดุมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้เดินทางมาเป็นประธานการแสดงตัวยืนยันเพื่อยุติการต่อสู้ ของนายแวอาลีคอปเตอร์ วาจิ หรือชื่อจัดตั้ง เจ๊ะอาลี ซึ่งทางการเคยตั้งรางวัลนำจับ 1 ล้านบาท ที่เป็นตัวการใหญ่ร่วมวางแผนและสั่งการให้แกนนำระดับปฏิบัติการณ์นำกำลังบุกปล้นปืน ที่กองพันพัฒนา 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 4 นาย ได้นำผู้หลงผิด จำนวน 100 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเข้าร่วมเพื่อเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตามแผนพาคนกลับบ้าน ของโครงการประสานใจเพื่อสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยการแสดงตัวยืนยันเพื่อยุติการต่อสู้ของ นายแวอาลีคอปเตอร์ และพวกในครั้งนี้ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกในนาม Badan Penyelarasan Wawasan Baru Melayu Patani หรือ กลุ่มปลดปล่อยความขัดแย้งเขตปกครองใหม่มลายูปัตตานี มีข้อสรุปร่วมกัน 3 ข้อ เสนอต่อแม่ทัพภาค 4 คือ 1.เมื่อเข็มมุ่งทางยุทธศาสตร์การต่อสู้ล้ำหน้ามวลชนและยาวไกลเกินไป 2.การชี้นำแนวทางขององค์กรนำไม่สามารถให้คำอธิบายได้อย่างชัดเจนในทางยุทธวิธีเพื่อให้บรรลุทางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ และ 3.เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงรัฐกำหนดนโยบายที่เป็นการสร้างสรรค์มากขึ้น พวกเราจึงต้องกำหนดแนวทางใหม่เช่นกัน
พร้อมทั้งขอทราบทิศทางความชัดเจนแนวทางปฏิบัติต่อประเด็นข้อเรียกร้องในเบื้องต้นจำนวน 3 ข้อ คือ 1.รัฐมีมาตรการดำเนินการต่อสู้ผู้ที่ยุติบทบาทความรุนแรงต่อรัฐโดยเฉพาะผู้ที่มีหมายจับอย่างไร 2.รัฐจะจัดการความขัดแย้งให้เป็นรูปธรรมอย่างไรเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และ 3.รัฐมีหลักประกันเช่นไรในการกำหนดนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม
รายงานข่าวแจ้งว่า หากรัฐดูแลและให้ความเป็นธรรมต่อนายแวอาลีคอปเตอร์และพวกเป็นอย่างดีทราบว่าในอีกไม่นานนี้ นายสะแปอิง บาซอ และนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำคนสำคัญที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการประสานเพื่อออกมาแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้กับรัฐ ซึ่งเรื่องนี้มีแนวโน้มความเป็นไปได้สูง แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทัพและรัฐบาล ที่ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจน ในเรื่องของคดีความ เพื่อให้ผู้หลงผิดที่เหลือเข้ามามอบตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากหน่วยข่าวความมั่นคง ยังได้เปิดเผยอีกด้วยว่าการขอเจรจากับรัฐบาล เรื่องความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของนายคัสตูรี มะโกตา หัวหน้ากลุ่มพูโล ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่ประเทศสวีเดน ได้มีการประสานตรงไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 4 ก.ย.54 ที่ผ่านมา โดยผ่านทางเว็บไซด์ แต่เรื่องดังกล่าวเงียบหายไป ซึ่งเป็นข้อกังขาอย่างหนึ่งที่กลุ่มขบวนการโจรก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่กล้าออกมามอบตัว เนื่องจากตัวจักรสำคัญของรัฐบาลไม่เอาด้วย จึงทำให้ภาคใต้ร้อนระอุเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
**มทภ.4 เปิดโต๊ะคุยกับกลุ่มนักรบจชต.
ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานเปิดโครงการประสานใจเพื่อสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พล.ต.กัปนาถ รุดดิษฐ์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส นายประดิษฐ์ สุคนธสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และนายซาฟีอี เจ๊ะเลาะ ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส ร่วมเป็นเกียรติในโครงการ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย กลุ่มนักรบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากเจ้าหน้าที่เข้าร่วมโครงการ รวม 80 คน อาทิ นายแวอาลีคอปเตอร์ วาจิ แกนนำคนสำคัญ ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีความมั่นคง และ นายอับดุลรอซัค หะเดย์
ด้านนายมุคตาร์ ซีกะจิ ในนาม Badan Penyeelarasan Wawasan Baru Melayu Patani (องค์กรความร่วมมือเพื่อวิสัยทัศน์ใหม่มาลายูปัตตานี) กล่าวว่า การเข้ามาพูดคุยกับคณะแม่ทัพภาคที่ 4 ครั้งนี้เป็นการแสดงเจตจำนงของกลุ่มคนที่มีความเห็นแตกต่างกับรัฐเพื่อให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุขและมีความสันติ
ทั้งกลุ่มที่มาพบปะขอให้รัฐบาลร่วมกันคิดเพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่ประสงค์ยุติการต่อสู้ด้วยความรุนแรงต่อรัฐ โดยเฉพาะผู้ที่มีหมายจับ หมายเรียก หมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หมายจับตาม ป.วิอาญา เพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ รวมถึงความมั่นใจในการที่จะดูแลความปลอดภัยให้
ด้าน พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า กลุ่มที่มาร่วมพูดคุยครั้งนี้ถือเป็นผู้กล้าที่เป็นนักรบซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐ โดยการพูดคุยครั้งนี้ไม่มีการต่อรองแต่เป็นการพูดคุยเพื่อสร้างความสันติภาพมาสู่พื้นที่ ซึ่งหลังจากมีการพูดคุยครั้งนี้แล้วหากพื้นที่มีความสงบสุข อาจจะมีการยกเลิกใช้กฎหมาย พ.ร.ก. ผู้ที่ถูกออกหมายจับก็จะถูกยกเลิกไปด้วย
**โจรใต้เผากล้อง CCTVปัตตานี7ตัว
เมื่อเวลา 07.00 น. วานนี้ (11 ก.ย.) พ.ต.อ.ต่วนเดร์ จุฑานันท์ ผกก.สภ.ยะรัง จ.ปัตตานี ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร เข้าไปทำการปิดล้อมตรวจค้นโรงเรียนปอเนาะแห่งหนึ่งในพื้นที่ ต.ประจัน หลังจากได้รับแจ้งว่า มีผู้ต้องสงสัยเข้าไปหลบซ่อนตัวหลังจากได้ก่อเหตุเผา และทุบทำลายกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่บนเสาไฟฟ้าริมถนนสายปัตตานี-ยะลา และบนเสาไฟฟ้าริมถนนภายในหมู่บ้าน ต.ประจัน ได้รับความเสียหายจำนวน 7 ตัว เหตุเกิดเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 4 รายจึงนำตัวไปสอบสวนที่หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 21
*** ครม.ต่อพรก.ฉุกเฉินฯอีก3เดือน
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.มีมติต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ 20 ก.ย.-19 ธ.ค. ซึ่งแม้การก่อสถานการณ์จะลดน้อยลง แต่ยังมีเหตุการณ์ที่รุนแรง ทั้ง กอ.รมน. และเจ้าหน้าที่ทุกคนก็ขอร้องให้มีการดำเนินต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 3 เดือน แต่หากสถานการณ์ดีขึ้น รวมถึงการเจรจาระหว่างแม่ทัพภาคที่ 4 และตัวแทน บีอาร์เอ็น ในบ่ายวันที่ 11 ก.ย.นี้ ดีขึ้น ก็สามารถที่จะยกเลิกได้
"วันนี้(11ก.ย.) ที่แม่ทัพภาค 4 ไป พบกับตัวแทน บีอาร์เอ็น นั้นไม่ใช่เป็นการเจรจา แต่เป็นการแสดงตัวของกลุ่มที่มีความเป็นกลาง จำนวน 80 คน ส่วนที่เป็นพวกที่หัวรุนแรงนั้น ยังไม่ออกมา โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานประสานงานเพื่อสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินโครงการพาคนกลับบ้าน ซึ่งกลุ่มบีอาร์เอ็นที่มอบตัว มองว่า กลุ่มเด็กใหม่ที่เข้ามานั้น มีความรุนแรง ไม่มองในเรื่องของศาสนา เรื่องของโลกที่กำลังพัฒนาไป และความรุนแรงทีเกิด ไม่ได้เกิดกับเจ้าหน้าที่ แต่ไปเกิดกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งใน 80 คน ส่วนหนึ่งมีคดีอาญาตาม พ.ร.ก. อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนเหล่านี้ได้มีการเรียกร้องความปลอดภัยในชีวิต และทางกฎหมาย โดยให้แม่ทัพภาค 4 ประสานไปยังรัฐบาล และขอให้ดูเรื่องของการประกอบอาชีพด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ที่จะแยกพลเรือนที่ดีออกมา
** "เหลิม"อ้างสื่อเชียร์เลือกผู้ว่า 3จว.ใต้
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กลุ่มอาร์เคเค 80 คน ติดต่อขอมอบตัวกับทางแม่ทัพภาค 4 ส่วนหน้าว่า ไม่ทราบ เพราะตนไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายขนาดนั้น เป็นเรื่องของทางฝ่ายทหาร ตนดูแลในส่วนของตำรวจ แต่ตนก็เคยได้รับการติดต่อขอมอบตัวจากแนวร่วม 42 คน แต่คนเหล่านี้มีเงื่อนไข ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เรารับไม่ได้ อย่างเช่น ถูกจับตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากไปฆ่าคน และจะมาขอมอบตัว และขอสิทธิพิเศษไม่ต้องติดคุก ซึ่งอย่างนี้คงเป็นไปไม่ได้
“สำหรับแนวคิดผมต้องเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดใน 3 จังหวัด ถ้ากระดาก ก็เลือกผู้ว่าฯ จ.ภูเก็ต อีกจังหวัดหนึ่งก็ได้ " ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า จะมีการพูดคุยกับแกนนำแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เป็นเรื่องของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ตนไม่ก้าวล่วง ทางกอ.รมน.ส่วนหน้า จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้
** "ปู"ปิดปากเรื่องโจรใต้ขอมอบตัว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาล ในกรณีที่แม่ทัพภาค 4 จะคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น 80 คน ว่า ขอไม่ให้สัมภาษณ์ในตอนนี้จะดีกว่า ให้พื้นที่ทำงานก่อน การทำงานแก้ไขปัญหาทุกอย่าง เราจะดำเนินการด้วยวิธีสันติ ส่วนเรื่องความปลอดภัยเราก็จะดูแลความปลอดภัย
** ผบ.ทบ.ยังกั๊กเลือกผู้ว่าฯ 3จว.ใต้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ว่า เป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ตนไม่ได้ว่าถูกหรือผิด ทั้งนี้ตนไม่ได้ไปขัดแย้งกับรัฐบาล ท่านเป็นฝ่ายบริหาร ก็คิดขึ้นมา แต่เราต้องมีทุกมาตรการในการป้องกันเหตุการณ์ที่ลุกลาม และบานปลายไปในอนาคตให้ได้ ซึ่งต้องทำทุกวิถีทางไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว
เมื่อถามว่า 80 คนที่จะมอบตัว เป็นตัวจริงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ได้มีการตรวจสอบแล้ว ซึ่งทั้ง 80คน มีรายชื่อใน ป.วิอาญา และรายชื่อในทำเนียบกำลังรบผู้ก่อความไม่สงบ ที่กองทัพได้จัดทำขึ้น 4
เมื่อถามว่า หากมีการเปลี่ยนตัวแม่ทัพภาคที่ 4 ขณะนี้ จะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาภาคใต้ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา การทำงานของกองทัพบกทำงานกันด้วยระบบ ไม่ได้ทำงานด้วยตัวบุคคล ตัวบุคคลเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน
**ปชป.จวกรัฐกำหนดทิศทางดับไฟใต้สับสน
นายประเสริฐ พงศ์สุวรรณศิริ นายอับดุลการิม เด็งระกีนา ส.ส.ยะลา และ นายสุรเชษฐ แวอาแซ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันแถลงตำหนิรัฐบาลว่า กำหนดทิศทางการแก้ปัญหาไม่ชัดเจน สร้างความสับสนให้ประชาชนในพื้นที่ ทำให้เป็นกังวล ขาดความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาภาคใต้
นายสุรเชษฐ กล่าวว่า ข่าวที่เกิดขึ้นสร้างความสับสนกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมาก โดยเฉพาะความเห็นของร.ต.อ.เฉลิม ที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯในพื้นที่ 3 จังหวัด ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในแนวทางแก้ปัญหา เพราะเสนอรายวันจนประชาชนขาดความมั่นใจ
ส่วนการตั้งกองทุนซื้อที่ดินตามข่าวที่ว่า มีการขับไล่ชาวพุทธโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดน เพื่อบังคับซื้อที่ดินนั้น เป็นเรื่องที่ประชาชนสับสน เพราะไม่รู้เกิดในพื้นที่ใด โดยเฉพาะพี่น้องที่อยู่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ส่วนกรณีที่นายเจะ อามิง โต๊ะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า มีชื่ออักษรย่อว่า ว.แหวน กว้านซื้อที่ดินนั้น คิดว่าน่าจะเป็นการซื้อขายปกติ รวมถึงมีกลุ่มค้ายาเสพติดที่ใช้การซื้อที่ดินมาฟอกเงินด้วย
ทั้งนี้ยังได้รับการยืนยันจาก พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขา ป.ป.ง. ว่า ไม่เคยระบุว่า มีเส้นทางการเงินที่อายัดจากโรงเรียนอิสลามบูรพา โยงใยถึงกลุ่มตาลีบันแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เกิดควาเสียหายต่อโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่ ที่ดำเนินการอย่างถูกต้องให้รับความเสียหาย เพราะก่อนหน้านี้มีการระบุว่า เชื่อมโยงไปถึงกลุ่มก่อการร้ายต่างประเทศ
ส่วนกรณีที่รัฐบาลจะเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบนั้น นายสุรเชษฐ กล่าวว่า เดิมมี 6 กลุ่ม อาทิ พูโล บีอาร์เอ็น เบอร์ซาตู เป็นต้น แต่กลุ่มเหล่านี้ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบ หลังมีการก่อเหตุ หากจะเจรจาต้องทำทุกกลุ่ม และต้องได้รับการยอมรับของทุกกลุ่มด้วย ทั้งนี้หากเจรจาผิดกลุ่มปัญหาก็จะไม่ยุติ ซึ่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขา ศอ.บต. ได้ใช้ข้อมูลจาก กอ.รมน. พูดถึงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ 3 จังหวัด มีเพียง 15 % นราธิวาส พื้นที่ได้รับผลกระทบ 12 % ยะลา 12-14 % ส่วนปัตตานีไม่เกิน 20 % ดังนั้นถ้ารัฐบาลศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด จะไม่ส่งผลกระทบภาพรวมให้ระบุเป็นพื้นที่อย่างชัดเจน
นายประเสริฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเสวนาทางวิชาการในพื้นที่ก็มีการหารือกันว่า ถ้า ร.ต.อ.เฉลิม ต้องการเลือกผู้ว่าฯ ให้แก้กฎหมาย ศอ.บต. ให้ดูแลเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น สะบ้าย้อย เนื่องตำรวจส่วนหน้าทำงานไม่ได้ เพราะเป็นพื้นที่ตำรวจภูธร ภาค 9 แต่กว่าตำรวจภูธรภาค 9 จะเดินทางมาถึง ก็ใช้เวลานานไม่ทันต่อเหตุการณ์ จึงเสนอให้เอา 4 อำเภอของ จ.สงขลา ตั้งใหม่เป็น จังหวัดนาทวี และแก้กฎหมาย ศอ.บต. ไม่ใช่ 5 จังหวัด แต่เป็น 3 บวก 1 แทน ทั้งนี้ยังเป็นห่วงว่า ข้าราชการมีความสับสน เพราะรัฐบาลไม่ให้นโยบายที่ชัดเจน
ส่วนการตั้งกองทุน 1,200 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินนั้น ยืนยันว่า ส.ส.ในพื้นที่ไม่ได้คัดค้าน เพราะถ้ามีกลุ่มมีอิทธิพลจริง และแก้ปัญหาได้ก็ดี แต่ต้องตั้งคำถามว่า เงินพอหรือไม่ต่อการข่มขู่ มีระเบียบมาตรการอะไรที่ซื้อที่ดินแล้วไม่เกิดการทุจริต ซื้อของพวกตัวเองในราคาสูงหรือเปล่า และจะซื้อตรงกับความเดือดร้อนจริงหรือไม่ อีกทั้งหากนำเงินดังกล่าวมาซื้อ มีมาตรการที่จะให้เจ้าของที่ดินได้อยู่ในพื้นที่ต่อไปหรือไม่ เพราะถ้าซื้อที่ดินแล้วคนออกนอกพื้นที่ ก็ไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา
เมื่อเวลา 13.30 น.วานนี้ (11 ก.ย.55) ที่หอประชุมบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จ.นราธิวาส ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส พล.ท.อดุมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้เดินทางมาเป็นประธานการแสดงตัวยืนยันเพื่อยุติการต่อสู้ ของนายแวอาลีคอปเตอร์ วาจิ หรือชื่อจัดตั้ง เจ๊ะอาลี ซึ่งทางการเคยตั้งรางวัลนำจับ 1 ล้านบาท ที่เป็นตัวการใหญ่ร่วมวางแผนและสั่งการให้แกนนำระดับปฏิบัติการณ์นำกำลังบุกปล้นปืน ที่กองพันพัฒนา 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 4 นาย ได้นำผู้หลงผิด จำนวน 100 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเข้าร่วมเพื่อเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตามแผนพาคนกลับบ้าน ของโครงการประสานใจเพื่อสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยการแสดงตัวยืนยันเพื่อยุติการต่อสู้ของ นายแวอาลีคอปเตอร์ และพวกในครั้งนี้ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกในนาม Badan Penyelarasan Wawasan Baru Melayu Patani หรือ กลุ่มปลดปล่อยความขัดแย้งเขตปกครองใหม่มลายูปัตตานี มีข้อสรุปร่วมกัน 3 ข้อ เสนอต่อแม่ทัพภาค 4 คือ 1.เมื่อเข็มมุ่งทางยุทธศาสตร์การต่อสู้ล้ำหน้ามวลชนและยาวไกลเกินไป 2.การชี้นำแนวทางขององค์กรนำไม่สามารถให้คำอธิบายได้อย่างชัดเจนในทางยุทธวิธีเพื่อให้บรรลุทางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ และ 3.เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงรัฐกำหนดนโยบายที่เป็นการสร้างสรรค์มากขึ้น พวกเราจึงต้องกำหนดแนวทางใหม่เช่นกัน
พร้อมทั้งขอทราบทิศทางความชัดเจนแนวทางปฏิบัติต่อประเด็นข้อเรียกร้องในเบื้องต้นจำนวน 3 ข้อ คือ 1.รัฐมีมาตรการดำเนินการต่อสู้ผู้ที่ยุติบทบาทความรุนแรงต่อรัฐโดยเฉพาะผู้ที่มีหมายจับอย่างไร 2.รัฐจะจัดการความขัดแย้งให้เป็นรูปธรรมอย่างไรเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และ 3.รัฐมีหลักประกันเช่นไรในการกำหนดนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม
รายงานข่าวแจ้งว่า หากรัฐดูแลและให้ความเป็นธรรมต่อนายแวอาลีคอปเตอร์และพวกเป็นอย่างดีทราบว่าในอีกไม่นานนี้ นายสะแปอิง บาซอ และนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำคนสำคัญที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการประสานเพื่อออกมาแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้กับรัฐ ซึ่งเรื่องนี้มีแนวโน้มความเป็นไปได้สูง แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทัพและรัฐบาล ที่ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจน ในเรื่องของคดีความ เพื่อให้ผู้หลงผิดที่เหลือเข้ามามอบตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากหน่วยข่าวความมั่นคง ยังได้เปิดเผยอีกด้วยว่าการขอเจรจากับรัฐบาล เรื่องความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของนายคัสตูรี มะโกตา หัวหน้ากลุ่มพูโล ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่ประเทศสวีเดน ได้มีการประสานตรงไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 4 ก.ย.54 ที่ผ่านมา โดยผ่านทางเว็บไซด์ แต่เรื่องดังกล่าวเงียบหายไป ซึ่งเป็นข้อกังขาอย่างหนึ่งที่กลุ่มขบวนการโจรก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่กล้าออกมามอบตัว เนื่องจากตัวจักรสำคัญของรัฐบาลไม่เอาด้วย จึงทำให้ภาคใต้ร้อนระอุเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
**มทภ.4 เปิดโต๊ะคุยกับกลุ่มนักรบจชต.
ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานเปิดโครงการประสานใจเพื่อสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พล.ต.กัปนาถ รุดดิษฐ์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส นายประดิษฐ์ สุคนธสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และนายซาฟีอี เจ๊ะเลาะ ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส ร่วมเป็นเกียรติในโครงการ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย กลุ่มนักรบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากเจ้าหน้าที่เข้าร่วมโครงการ รวม 80 คน อาทิ นายแวอาลีคอปเตอร์ วาจิ แกนนำคนสำคัญ ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีความมั่นคง และ นายอับดุลรอซัค หะเดย์
ด้านนายมุคตาร์ ซีกะจิ ในนาม Badan Penyeelarasan Wawasan Baru Melayu Patani (องค์กรความร่วมมือเพื่อวิสัยทัศน์ใหม่มาลายูปัตตานี) กล่าวว่า การเข้ามาพูดคุยกับคณะแม่ทัพภาคที่ 4 ครั้งนี้เป็นการแสดงเจตจำนงของกลุ่มคนที่มีความเห็นแตกต่างกับรัฐเพื่อให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุขและมีความสันติ
ทั้งกลุ่มที่มาพบปะขอให้รัฐบาลร่วมกันคิดเพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่ประสงค์ยุติการต่อสู้ด้วยความรุนแรงต่อรัฐ โดยเฉพาะผู้ที่มีหมายจับ หมายเรียก หมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หมายจับตาม ป.วิอาญา เพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ รวมถึงความมั่นใจในการที่จะดูแลความปลอดภัยให้
ด้าน พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า กลุ่มที่มาร่วมพูดคุยครั้งนี้ถือเป็นผู้กล้าที่เป็นนักรบซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐ โดยการพูดคุยครั้งนี้ไม่มีการต่อรองแต่เป็นการพูดคุยเพื่อสร้างความสันติภาพมาสู่พื้นที่ ซึ่งหลังจากมีการพูดคุยครั้งนี้แล้วหากพื้นที่มีความสงบสุข อาจจะมีการยกเลิกใช้กฎหมาย พ.ร.ก. ผู้ที่ถูกออกหมายจับก็จะถูกยกเลิกไปด้วย
**โจรใต้เผากล้อง CCTVปัตตานี7ตัว
เมื่อเวลา 07.00 น. วานนี้ (11 ก.ย.) พ.ต.อ.ต่วนเดร์ จุฑานันท์ ผกก.สภ.ยะรัง จ.ปัตตานี ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร เข้าไปทำการปิดล้อมตรวจค้นโรงเรียนปอเนาะแห่งหนึ่งในพื้นที่ ต.ประจัน หลังจากได้รับแจ้งว่า มีผู้ต้องสงสัยเข้าไปหลบซ่อนตัวหลังจากได้ก่อเหตุเผา และทุบทำลายกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่บนเสาไฟฟ้าริมถนนสายปัตตานี-ยะลา และบนเสาไฟฟ้าริมถนนภายในหมู่บ้าน ต.ประจัน ได้รับความเสียหายจำนวน 7 ตัว เหตุเกิดเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 4 รายจึงนำตัวไปสอบสวนที่หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 21
*** ครม.ต่อพรก.ฉุกเฉินฯอีก3เดือน
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.มีมติต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ 20 ก.ย.-19 ธ.ค. ซึ่งแม้การก่อสถานการณ์จะลดน้อยลง แต่ยังมีเหตุการณ์ที่รุนแรง ทั้ง กอ.รมน. และเจ้าหน้าที่ทุกคนก็ขอร้องให้มีการดำเนินต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 3 เดือน แต่หากสถานการณ์ดีขึ้น รวมถึงการเจรจาระหว่างแม่ทัพภาคที่ 4 และตัวแทน บีอาร์เอ็น ในบ่ายวันที่ 11 ก.ย.นี้ ดีขึ้น ก็สามารถที่จะยกเลิกได้
"วันนี้(11ก.ย.) ที่แม่ทัพภาค 4 ไป พบกับตัวแทน บีอาร์เอ็น นั้นไม่ใช่เป็นการเจรจา แต่เป็นการแสดงตัวของกลุ่มที่มีความเป็นกลาง จำนวน 80 คน ส่วนที่เป็นพวกที่หัวรุนแรงนั้น ยังไม่ออกมา โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานประสานงานเพื่อสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินโครงการพาคนกลับบ้าน ซึ่งกลุ่มบีอาร์เอ็นที่มอบตัว มองว่า กลุ่มเด็กใหม่ที่เข้ามานั้น มีความรุนแรง ไม่มองในเรื่องของศาสนา เรื่องของโลกที่กำลังพัฒนาไป และความรุนแรงทีเกิด ไม่ได้เกิดกับเจ้าหน้าที่ แต่ไปเกิดกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งใน 80 คน ส่วนหนึ่งมีคดีอาญาตาม พ.ร.ก. อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนเหล่านี้ได้มีการเรียกร้องความปลอดภัยในชีวิต และทางกฎหมาย โดยให้แม่ทัพภาค 4 ประสานไปยังรัฐบาล และขอให้ดูเรื่องของการประกอบอาชีพด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ที่จะแยกพลเรือนที่ดีออกมา
** "เหลิม"อ้างสื่อเชียร์เลือกผู้ว่า 3จว.ใต้
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กลุ่มอาร์เคเค 80 คน ติดต่อขอมอบตัวกับทางแม่ทัพภาค 4 ส่วนหน้าว่า ไม่ทราบ เพราะตนไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายขนาดนั้น เป็นเรื่องของทางฝ่ายทหาร ตนดูแลในส่วนของตำรวจ แต่ตนก็เคยได้รับการติดต่อขอมอบตัวจากแนวร่วม 42 คน แต่คนเหล่านี้มีเงื่อนไข ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เรารับไม่ได้ อย่างเช่น ถูกจับตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากไปฆ่าคน และจะมาขอมอบตัว และขอสิทธิพิเศษไม่ต้องติดคุก ซึ่งอย่างนี้คงเป็นไปไม่ได้
“สำหรับแนวคิดผมต้องเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดใน 3 จังหวัด ถ้ากระดาก ก็เลือกผู้ว่าฯ จ.ภูเก็ต อีกจังหวัดหนึ่งก็ได้ " ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า จะมีการพูดคุยกับแกนนำแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เป็นเรื่องของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ตนไม่ก้าวล่วง ทางกอ.รมน.ส่วนหน้า จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้
** "ปู"ปิดปากเรื่องโจรใต้ขอมอบตัว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาล ในกรณีที่แม่ทัพภาค 4 จะคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น 80 คน ว่า ขอไม่ให้สัมภาษณ์ในตอนนี้จะดีกว่า ให้พื้นที่ทำงานก่อน การทำงานแก้ไขปัญหาทุกอย่าง เราจะดำเนินการด้วยวิธีสันติ ส่วนเรื่องความปลอดภัยเราก็จะดูแลความปลอดภัย
** ผบ.ทบ.ยังกั๊กเลือกผู้ว่าฯ 3จว.ใต้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ว่า เป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ตนไม่ได้ว่าถูกหรือผิด ทั้งนี้ตนไม่ได้ไปขัดแย้งกับรัฐบาล ท่านเป็นฝ่ายบริหาร ก็คิดขึ้นมา แต่เราต้องมีทุกมาตรการในการป้องกันเหตุการณ์ที่ลุกลาม และบานปลายไปในอนาคตให้ได้ ซึ่งต้องทำทุกวิถีทางไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว
เมื่อถามว่า 80 คนที่จะมอบตัว เป็นตัวจริงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ได้มีการตรวจสอบแล้ว ซึ่งทั้ง 80คน มีรายชื่อใน ป.วิอาญา และรายชื่อในทำเนียบกำลังรบผู้ก่อความไม่สงบ ที่กองทัพได้จัดทำขึ้น 4
เมื่อถามว่า หากมีการเปลี่ยนตัวแม่ทัพภาคที่ 4 ขณะนี้ จะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาภาคใต้ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา การทำงานของกองทัพบกทำงานกันด้วยระบบ ไม่ได้ทำงานด้วยตัวบุคคล ตัวบุคคลเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน
**ปชป.จวกรัฐกำหนดทิศทางดับไฟใต้สับสน
นายประเสริฐ พงศ์สุวรรณศิริ นายอับดุลการิม เด็งระกีนา ส.ส.ยะลา และ นายสุรเชษฐ แวอาแซ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันแถลงตำหนิรัฐบาลว่า กำหนดทิศทางการแก้ปัญหาไม่ชัดเจน สร้างความสับสนให้ประชาชนในพื้นที่ ทำให้เป็นกังวล ขาดความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาภาคใต้
นายสุรเชษฐ กล่าวว่า ข่าวที่เกิดขึ้นสร้างความสับสนกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมาก โดยเฉพาะความเห็นของร.ต.อ.เฉลิม ที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯในพื้นที่ 3 จังหวัด ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในแนวทางแก้ปัญหา เพราะเสนอรายวันจนประชาชนขาดความมั่นใจ
ส่วนการตั้งกองทุนซื้อที่ดินตามข่าวที่ว่า มีการขับไล่ชาวพุทธโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดน เพื่อบังคับซื้อที่ดินนั้น เป็นเรื่องที่ประชาชนสับสน เพราะไม่รู้เกิดในพื้นที่ใด โดยเฉพาะพี่น้องที่อยู่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ส่วนกรณีที่นายเจะ อามิง โต๊ะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า มีชื่ออักษรย่อว่า ว.แหวน กว้านซื้อที่ดินนั้น คิดว่าน่าจะเป็นการซื้อขายปกติ รวมถึงมีกลุ่มค้ายาเสพติดที่ใช้การซื้อที่ดินมาฟอกเงินด้วย
ทั้งนี้ยังได้รับการยืนยันจาก พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขา ป.ป.ง. ว่า ไม่เคยระบุว่า มีเส้นทางการเงินที่อายัดจากโรงเรียนอิสลามบูรพา โยงใยถึงกลุ่มตาลีบันแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เกิดควาเสียหายต่อโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่ ที่ดำเนินการอย่างถูกต้องให้รับความเสียหาย เพราะก่อนหน้านี้มีการระบุว่า เชื่อมโยงไปถึงกลุ่มก่อการร้ายต่างประเทศ
ส่วนกรณีที่รัฐบาลจะเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบนั้น นายสุรเชษฐ กล่าวว่า เดิมมี 6 กลุ่ม อาทิ พูโล บีอาร์เอ็น เบอร์ซาตู เป็นต้น แต่กลุ่มเหล่านี้ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบ หลังมีการก่อเหตุ หากจะเจรจาต้องทำทุกกลุ่ม และต้องได้รับการยอมรับของทุกกลุ่มด้วย ทั้งนี้หากเจรจาผิดกลุ่มปัญหาก็จะไม่ยุติ ซึ่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขา ศอ.บต. ได้ใช้ข้อมูลจาก กอ.รมน. พูดถึงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ 3 จังหวัด มีเพียง 15 % นราธิวาส พื้นที่ได้รับผลกระทบ 12 % ยะลา 12-14 % ส่วนปัตตานีไม่เกิน 20 % ดังนั้นถ้ารัฐบาลศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด จะไม่ส่งผลกระทบภาพรวมให้ระบุเป็นพื้นที่อย่างชัดเจน
นายประเสริฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเสวนาทางวิชาการในพื้นที่ก็มีการหารือกันว่า ถ้า ร.ต.อ.เฉลิม ต้องการเลือกผู้ว่าฯ ให้แก้กฎหมาย ศอ.บต. ให้ดูแลเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น สะบ้าย้อย เนื่องตำรวจส่วนหน้าทำงานไม่ได้ เพราะเป็นพื้นที่ตำรวจภูธร ภาค 9 แต่กว่าตำรวจภูธรภาค 9 จะเดินทางมาถึง ก็ใช้เวลานานไม่ทันต่อเหตุการณ์ จึงเสนอให้เอา 4 อำเภอของ จ.สงขลา ตั้งใหม่เป็น จังหวัดนาทวี และแก้กฎหมาย ศอ.บต. ไม่ใช่ 5 จังหวัด แต่เป็น 3 บวก 1 แทน ทั้งนี้ยังเป็นห่วงว่า ข้าราชการมีความสับสน เพราะรัฐบาลไม่ให้นโยบายที่ชัดเจน
ส่วนการตั้งกองทุน 1,200 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินนั้น ยืนยันว่า ส.ส.ในพื้นที่ไม่ได้คัดค้าน เพราะถ้ามีกลุ่มมีอิทธิพลจริง และแก้ปัญหาได้ก็ดี แต่ต้องตั้งคำถามว่า เงินพอหรือไม่ต่อการข่มขู่ มีระเบียบมาตรการอะไรที่ซื้อที่ดินแล้วไม่เกิดการทุจริต ซื้อของพวกตัวเองในราคาสูงหรือเปล่า และจะซื้อตรงกับความเดือดร้อนจริงหรือไม่ อีกทั้งหากนำเงินดังกล่าวมาซื้อ มีมาตรการที่จะให้เจ้าของที่ดินได้อยู่ในพื้นที่ต่อไปหรือไม่ เพราะถ้าซื้อที่ดินแล้วคนออกนอกพื้นที่ ก็ไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา