ผมได้เขียนบทความไว้หลากหลายในช่วง ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา (รวมทั้งในผจก.ออนไลน์) ที่ได้นำเสนอว่า ระบบ ปชต.ไทยเราที่ไปลอกระบบฝรั่งมาใช้นั้นจะนำชาติไทยไปสู่การถดถอยลงไปเรื่อยๆ โดยมีตัวชี้วัดให้เราเห็นตำตาอยู่มากมาย เช่น คุณภาพชีวิตของคนไทยโดยรวม ถดถอยลงเรื่อยๆ ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เป็นต้นมา
ผมได้เสนอว่า ปชต. ปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะนิสัยของสังคมไทย และได้เสนอทางเลือกให้ปรับ ปชต.เสียใหม่ไว้หลายแนวทาง ในบทความนี้จะลองเสนอทางเลือกอีกบางประการ
ก่อนอื่นขอทวนสาระสำคัญเดิมเล็กน้อย ที่ผมเห็นว่าข้อด้อยสำคัญที่สุดของ ปชต.ไทยคือ การขาดระบบ “คานอำนาจ” (ยกเว้นในตัวหนังสือ) เพราะฝ่ายชนะเลือกตั้งรวบทั้งอำนาจบริหารและนิติบัญญัติไว้ในกำมือ ซึ่งทำให้มีเอกภาพ “มากเกินไป” แม้จะเป็นรัฐบาลผสมก็ตามที
ลักษณะสังคมไทยเรานั้นเป็นสังคมที่มีเอกภาพโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะสังคมเราเป็นระบบ “อิงนาย” ต่างจากสังคมฝรั่งที่เป็นระบบ “อิงตน” (individualism) ซึ่งนาย (เช่นนายใหญ่ที่รวยมากๆ ) สามารถสั่งการทุกอย่างได้อย่างมีเอกภาพ ดังนั้นการไปทำการเมืองให้มีเอกภาพยิ่งเป็นการสร้างเอกภาพแบบยกกำลังสอง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
การมีเอกภาพมากเกินไปทำให้รัฐบาลสามารถต้มยำทำแกงประเทศไทยอย่างไรก็ได้ ในขณะที่ประชาชนที่ไม่มีนิสัยอิงตนแบบฝรั่งก็ได้แต่ทำตาปริบๆ หรือทำใจว่า ประเทศไม่ได้เป็นของข้าคนเดียว
รธน. ๒๕๔๐ (และ ๒๕๕๐ ด้วย) พยายามปรับ ปชต.ให้เข้ากับสังคมไทยด้วยการทำให้เกิด “เอกภาพ” โดยการส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองใหญ่ที่สามารถครองเสียงข้างมากได้เพียงพรรคเดียว ซึ่งคิดให้ดีๆ แล้วผมว่ามันขัดต่อหลัก ปชต. ด้วยซ้ำไป
เพราะ ปชต.นั้นชื่อก็บอกแล้วว่าอำนาจเป็นของประชาชน (ที่หลากหลาย) ไม่ใช่เอาไปมอบให้ไว้กับพรรคใหญ่เพียงสองพรรค ที่สามารถถูกซื้อได้ (จากนายทุนใหญ่) ทั้งสองพรรคพร้อมกัน ดังเช่น ในสหรัฐฯ มีสองพรรค นายทุนมันก็ให้เงินสนับสนุนทั้งสองพรรคนั่นแหละ ยิ่งมีน้อยพรรคเท่าไรก็ยิ่งซื้อง่ายเท่านั้น ทั้งที่ซื้อโดยตรง และโดยอ้อม
วันนี้ผมเลยขอเสนอทางเลือกใหม่แบบสุดโต่งที่ตรงข้ามกับแนวคิด “เอกภาพ” ด้วยการปรับ ปชต.ไทยให้ “ขาดเอกภาพ” ให้มากที่สุด
วิธีการ “คานเอกภาพ” คือ การห้ามมีพรรคการเมือง ซึ่งหมายความว่าผู้สมัครทุกคนต้องเป็นผู้สมัครอิสระ
พอเลือกตั้งเสร็จแล้ว ก็ให้ ส.ส.ทั้งหมดมาประชุมกันเพื่อเลือกนายกฯ (นรม.) โดย ส.ส.ทุกคนมีสิทธิเสนอชื่อ จากนั้นให้สภาโหวตเลือก นรม.จากนั้นให้ว่าที่ นรม.สามคนแรก มาแสดงวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศ จากนั้นโต้วาทีกันในสภาเป็นเวลา ๑ เดือน และให้ทีวีทุกช่องถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ จากนั้นให้โหวตเลือก นรม.รอบสุดท้าย
หรืออาจกำหนดให้ประชาชนทั้งประเทศเลือกกันอีกครั้งว่าจะเอาใครเป็น นรม.ซึ่งอาจมีการพลิกโผเพราะ ปชช.ที่ดูฟังข่าวอยู่หนึ่งเดือนเต็มอาจได้ความรู้ความคิดใหม่ๆ ที่ทำให้เปลี่ยนใจ
อาจมีข้อแย้งว่า แบบนี้พวก ส.ส.ก็จะรวมกลุ่มก๊วนกันแบบลับๆ อยู่ดี ก็ไม่ต่างอะไรกับระบบพรรคการเมือง แต่ผมว่าต่างมาก เพราะอย่างมากก็เป็นการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ที่แต่ละคนมีสิทธิแหกคอกได้ง่าย ไม่เหมือนระบบพรรคการเมืองที่ “มัดมือโหวต” กันตลอดมา
นอกจากนั้น รธน.ก็ต้องกำหนดด้วยว่าห้าม ส.ส.ประชุมกันเฉพาะกลุ่มพวกตั้งแต่สองคนขึ้นไป ยกเว้นประชุมกันแบบเปิดเผยที่เชิญ ส.ส.ทุกคนเข้าร่วมได้ (เช่น เลี้ยงวันเกิด แต่งงานลูกสาว) ใครทำผิดมาก็ให้ใบเหลืองใบแดงกันไป
ระบบที่นำเสนอนี้จะทำให้ไม่มีพรรครัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้าน หรือพรรคฝ่าย “เสียบเสมอ” จะเกิดการคานอำนาจกันในระดับย่อยอย่างเข้มข้น ถ้ามีวิธีการในรายละเอียดที่ดี อาจกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่นำไทยไปสู่อารยะก็เป็นได้ เช่น รมว.นั้นอาจใช้วิธีเสนอชื่อกลางสภาเหมือนกัน แต่พอโต้วาทีกันเสร็จแล้ว ก็เอาสามคนมาโหวตเลือกกันในสภา โดยไม่ต้องไปให้ ปชช.ทั้งประเทศโหวตเหมือนกรณี นรม.
อีกทั้งการเลือก นรม. และรมว.นั้นอาจกำหนดว่า ต้องไมเป็นญาติกับ ส.ส.คนใด ห่างกันกี่ชั่วโคตรก็ตามแต่จะกำหนด
แบบนี้ นรม. และ รมว.ก็เป็นคนปัจเจกที่ไม่เกี่ยวข้องกันในระบบเครือญาติ แต่ต้องมาทำงานร่วมกัน โดย นรม.ต้องมีอำนาจในการไล่ รมว.ออกจากงานได้ (เพื่อเอกภาพในการทำงาน) แต่การไล่ออกนั้นต้องมีการอภิปรายและต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาด้วย (ระบบคานอำนาจ)
สำหรับการโหวตไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะสามารถกระทำได้แม้เพียง ส.ส.คนเดียวเป็นผู้ยื่นญัตติ แต่ญัตตินั้นต้องได้รับเสียงโหวตสนับสนุนด้วยเสียงในปริมาณตามที่กำหนด (เช่น ๑ ใน ๕ ของสมาชิก) ถ้านรม.สอบตก ก็ไม่ต้องยุบสภาให้เปลืองเงินเลือกตั้งใหม่ แต่ให้เสนอชื่อ นรม.ใหม่ โดยอาจเสนอชื่อเดิมด้วยก็ได้
อ้าว...ชักลงรายละเอียดมากเกินไปแล้ว ตอนต่อไปจะนำความคิดสุดโต่งอื่นๆ มาเสนอให้กระตุกอารมณ์กันเล่นเพื่อคลายเหงาอีก
ผมได้เสนอว่า ปชต. ปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะนิสัยของสังคมไทย และได้เสนอทางเลือกให้ปรับ ปชต.เสียใหม่ไว้หลายแนวทาง ในบทความนี้จะลองเสนอทางเลือกอีกบางประการ
ก่อนอื่นขอทวนสาระสำคัญเดิมเล็กน้อย ที่ผมเห็นว่าข้อด้อยสำคัญที่สุดของ ปชต.ไทยคือ การขาดระบบ “คานอำนาจ” (ยกเว้นในตัวหนังสือ) เพราะฝ่ายชนะเลือกตั้งรวบทั้งอำนาจบริหารและนิติบัญญัติไว้ในกำมือ ซึ่งทำให้มีเอกภาพ “มากเกินไป” แม้จะเป็นรัฐบาลผสมก็ตามที
ลักษณะสังคมไทยเรานั้นเป็นสังคมที่มีเอกภาพโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะสังคมเราเป็นระบบ “อิงนาย” ต่างจากสังคมฝรั่งที่เป็นระบบ “อิงตน” (individualism) ซึ่งนาย (เช่นนายใหญ่ที่รวยมากๆ ) สามารถสั่งการทุกอย่างได้อย่างมีเอกภาพ ดังนั้นการไปทำการเมืองให้มีเอกภาพยิ่งเป็นการสร้างเอกภาพแบบยกกำลังสอง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
การมีเอกภาพมากเกินไปทำให้รัฐบาลสามารถต้มยำทำแกงประเทศไทยอย่างไรก็ได้ ในขณะที่ประชาชนที่ไม่มีนิสัยอิงตนแบบฝรั่งก็ได้แต่ทำตาปริบๆ หรือทำใจว่า ประเทศไม่ได้เป็นของข้าคนเดียว
รธน. ๒๕๔๐ (และ ๒๕๕๐ ด้วย) พยายามปรับ ปชต.ให้เข้ากับสังคมไทยด้วยการทำให้เกิด “เอกภาพ” โดยการส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองใหญ่ที่สามารถครองเสียงข้างมากได้เพียงพรรคเดียว ซึ่งคิดให้ดีๆ แล้วผมว่ามันขัดต่อหลัก ปชต. ด้วยซ้ำไป
เพราะ ปชต.นั้นชื่อก็บอกแล้วว่าอำนาจเป็นของประชาชน (ที่หลากหลาย) ไม่ใช่เอาไปมอบให้ไว้กับพรรคใหญ่เพียงสองพรรค ที่สามารถถูกซื้อได้ (จากนายทุนใหญ่) ทั้งสองพรรคพร้อมกัน ดังเช่น ในสหรัฐฯ มีสองพรรค นายทุนมันก็ให้เงินสนับสนุนทั้งสองพรรคนั่นแหละ ยิ่งมีน้อยพรรคเท่าไรก็ยิ่งซื้อง่ายเท่านั้น ทั้งที่ซื้อโดยตรง และโดยอ้อม
วันนี้ผมเลยขอเสนอทางเลือกใหม่แบบสุดโต่งที่ตรงข้ามกับแนวคิด “เอกภาพ” ด้วยการปรับ ปชต.ไทยให้ “ขาดเอกภาพ” ให้มากที่สุด
วิธีการ “คานเอกภาพ” คือ การห้ามมีพรรคการเมือง ซึ่งหมายความว่าผู้สมัครทุกคนต้องเป็นผู้สมัครอิสระ
พอเลือกตั้งเสร็จแล้ว ก็ให้ ส.ส.ทั้งหมดมาประชุมกันเพื่อเลือกนายกฯ (นรม.) โดย ส.ส.ทุกคนมีสิทธิเสนอชื่อ จากนั้นให้สภาโหวตเลือก นรม.จากนั้นให้ว่าที่ นรม.สามคนแรก มาแสดงวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศ จากนั้นโต้วาทีกันในสภาเป็นเวลา ๑ เดือน และให้ทีวีทุกช่องถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ จากนั้นให้โหวตเลือก นรม.รอบสุดท้าย
หรืออาจกำหนดให้ประชาชนทั้งประเทศเลือกกันอีกครั้งว่าจะเอาใครเป็น นรม.ซึ่งอาจมีการพลิกโผเพราะ ปชช.ที่ดูฟังข่าวอยู่หนึ่งเดือนเต็มอาจได้ความรู้ความคิดใหม่ๆ ที่ทำให้เปลี่ยนใจ
อาจมีข้อแย้งว่า แบบนี้พวก ส.ส.ก็จะรวมกลุ่มก๊วนกันแบบลับๆ อยู่ดี ก็ไม่ต่างอะไรกับระบบพรรคการเมือง แต่ผมว่าต่างมาก เพราะอย่างมากก็เป็นการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ที่แต่ละคนมีสิทธิแหกคอกได้ง่าย ไม่เหมือนระบบพรรคการเมืองที่ “มัดมือโหวต” กันตลอดมา
นอกจากนั้น รธน.ก็ต้องกำหนดด้วยว่าห้าม ส.ส.ประชุมกันเฉพาะกลุ่มพวกตั้งแต่สองคนขึ้นไป ยกเว้นประชุมกันแบบเปิดเผยที่เชิญ ส.ส.ทุกคนเข้าร่วมได้ (เช่น เลี้ยงวันเกิด แต่งงานลูกสาว) ใครทำผิดมาก็ให้ใบเหลืองใบแดงกันไป
ระบบที่นำเสนอนี้จะทำให้ไม่มีพรรครัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้าน หรือพรรคฝ่าย “เสียบเสมอ” จะเกิดการคานอำนาจกันในระดับย่อยอย่างเข้มข้น ถ้ามีวิธีการในรายละเอียดที่ดี อาจกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่นำไทยไปสู่อารยะก็เป็นได้ เช่น รมว.นั้นอาจใช้วิธีเสนอชื่อกลางสภาเหมือนกัน แต่พอโต้วาทีกันเสร็จแล้ว ก็เอาสามคนมาโหวตเลือกกันในสภา โดยไม่ต้องไปให้ ปชช.ทั้งประเทศโหวตเหมือนกรณี นรม.
อีกทั้งการเลือก นรม. และรมว.นั้นอาจกำหนดว่า ต้องไมเป็นญาติกับ ส.ส.คนใด ห่างกันกี่ชั่วโคตรก็ตามแต่จะกำหนด
แบบนี้ นรม. และ รมว.ก็เป็นคนปัจเจกที่ไม่เกี่ยวข้องกันในระบบเครือญาติ แต่ต้องมาทำงานร่วมกัน โดย นรม.ต้องมีอำนาจในการไล่ รมว.ออกจากงานได้ (เพื่อเอกภาพในการทำงาน) แต่การไล่ออกนั้นต้องมีการอภิปรายและต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาด้วย (ระบบคานอำนาจ)
สำหรับการโหวตไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะสามารถกระทำได้แม้เพียง ส.ส.คนเดียวเป็นผู้ยื่นญัตติ แต่ญัตตินั้นต้องได้รับเสียงโหวตสนับสนุนด้วยเสียงในปริมาณตามที่กำหนด (เช่น ๑ ใน ๕ ของสมาชิก) ถ้านรม.สอบตก ก็ไม่ต้องยุบสภาให้เปลืองเงินเลือกตั้งใหม่ แต่ให้เสนอชื่อ นรม.ใหม่ โดยอาจเสนอชื่อเดิมด้วยก็ได้
อ้าว...ชักลงรายละเอียดมากเกินไปแล้ว ตอนต่อไปจะนำความคิดสุดโต่งอื่นๆ มาเสนอให้กระตุกอารมณ์กันเล่นเพื่อคลายเหงาอีก