รฟม.ชงผลเจรจาสัญญา 4 สายสีม่วงจ้าง BMCL บริหารการเดินรถต่อคมนาคมภายในสัปดาห์นี้ พร้อมเสนอผลศึกษากรณีเดินรถเองประกบ เผยต้นทุนต่ำกว่าจ้างเอกชน ลุ้นครม.ตัดสินใจ “ผู้ว่าฯรฟม.”เผยรื้อสัมปทานรถไฟใต้ดินของBMCL ให้เหมือนสีม่วงไม่คุ้ม เตรียมสรุปผลศึกษาเสนอบอร์ดเร็วๆนี้
นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 4 การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) ระยะทาง 23 กิโลเมตร รวม 16 สถานี ในรูปแบบ PPP Gross Cost ว่า ภายในสัปดาห์นี้จะเสนอผลการเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ต่อกระทรวงคมนาคมได้ โดยในส่วนของ รฟม.ได้มีการศึกษาข้อมูลและตัวเลขกรณีที่จะบริหารการเดินรถเองเพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปพร้อมกันด้วย
แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า คณะกรรมการมาตรา 13 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ) ที่มีนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม. เป็นประธานได้ยุติการเจรจาต่อรองกับ BMCL แล้วที่วงเงินประมาณ 84,000 ล้านบาท จากที่ BMCL เสนอ 93,475 ล้านบาทตลอดอายุสัญญา 30 ปี ในขณะที่ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หากรฟม.บริหารการเดินรถเอง พบว่ามีต้นทุนดำเนินการต่ำกว่าแน่นอน แต่เนื่องจากการพิจารณาการบริหารเดินรถนั้นเป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ดังนั้นที่ประชุมครม.จะเป็นผู้พิจารณาราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง ว่าจะเห็นด้วยกับผลการเจรจาดังกล่าวหรือไม่
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้ทำรายงานถึงกระทรวงการคลังว่าค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงสามารถปรับลดราคาลงได้อีก 10,000-15,000 ล้านบาทจากที่ BMCL เสนอมา และเชื่อว่าจะเป็นข้อหารือสำคัญที่จะต้องมีการชี้แจงต่อที่ประชุมครม.เนื่องจากค่าจ้างเดินรถจะมีผลโดยตรงต่อการกำหนดอัตราค่าโดยสารและทำให้กระทบต่อการดำเนินนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลได้ในขณะที่ก่อนหน้านี้ นางสาวรัชนีเคยระบุว่า หากรฟม.เดินรถเองจะมีต้นทุนต่ำกว่าจ้างเอกชนแน่นอน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของหน่วยงานรัฐจะต่ำกว่าการกู้เงินของเอกชนประมาณ 1-2%
ด้านนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า ภายในเดือนกันยายนนี้จะเสนอที่ประชุมครม.พิจารณาผลการเจรจาการบริหารเดินรถสายสีม่วงได้แน่นอน ส่วนครม.จะเห็นด้วยหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุม ส่วนรฟม.จะมีการเสนอผลศึกษาการเดินรถเองไปด้วย แต่กรณีดังกล่าว ครม.อาจจะเห็นว่า รฟม.ไม่มีประสบการณ์ในการเดินรถเอง และความเสี่ยงอื่นๆ มากกว่าก็ได้
ส่วนกรณีที่รัฐบาลชุดที่แล้วมีมติให้รฟม.ศึกษาการนำสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่ง BMCL รับสัมปทานในรูปแบบ PPP Net Cost (รูปแบบการให้สัมปทานเอกชนลงทุนและเดินรถ) ปรับมาเป็นแบบ PPP Gross Cost1 (รูปแบบรัฐจะเก็บค่าโดยสารเอง และจ้างเอกชนมาเดินรถและซ่อมบำรุง) เหมือนสายสีม่วงนั้น คาดว่าใน 1-2 เดือนนี้ จะสรุปผลศึกษาเสนอที่ประชุมบอร์ด รฟม.ได้ โดยเบื้องต้นพบว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื่องจากไม่คุ้มค่า .
นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 4 การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) ระยะทาง 23 กิโลเมตร รวม 16 สถานี ในรูปแบบ PPP Gross Cost ว่า ภายในสัปดาห์นี้จะเสนอผลการเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ต่อกระทรวงคมนาคมได้ โดยในส่วนของ รฟม.ได้มีการศึกษาข้อมูลและตัวเลขกรณีที่จะบริหารการเดินรถเองเพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปพร้อมกันด้วย
แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า คณะกรรมการมาตรา 13 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ) ที่มีนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม. เป็นประธานได้ยุติการเจรจาต่อรองกับ BMCL แล้วที่วงเงินประมาณ 84,000 ล้านบาท จากที่ BMCL เสนอ 93,475 ล้านบาทตลอดอายุสัญญา 30 ปี ในขณะที่ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หากรฟม.บริหารการเดินรถเอง พบว่ามีต้นทุนดำเนินการต่ำกว่าแน่นอน แต่เนื่องจากการพิจารณาการบริหารเดินรถนั้นเป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ดังนั้นที่ประชุมครม.จะเป็นผู้พิจารณาราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง ว่าจะเห็นด้วยกับผลการเจรจาดังกล่าวหรือไม่
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้ทำรายงานถึงกระทรวงการคลังว่าค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงสามารถปรับลดราคาลงได้อีก 10,000-15,000 ล้านบาทจากที่ BMCL เสนอมา และเชื่อว่าจะเป็นข้อหารือสำคัญที่จะต้องมีการชี้แจงต่อที่ประชุมครม.เนื่องจากค่าจ้างเดินรถจะมีผลโดยตรงต่อการกำหนดอัตราค่าโดยสารและทำให้กระทบต่อการดำเนินนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลได้ในขณะที่ก่อนหน้านี้ นางสาวรัชนีเคยระบุว่า หากรฟม.เดินรถเองจะมีต้นทุนต่ำกว่าจ้างเอกชนแน่นอน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของหน่วยงานรัฐจะต่ำกว่าการกู้เงินของเอกชนประมาณ 1-2%
ด้านนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า ภายในเดือนกันยายนนี้จะเสนอที่ประชุมครม.พิจารณาผลการเจรจาการบริหารเดินรถสายสีม่วงได้แน่นอน ส่วนครม.จะเห็นด้วยหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุม ส่วนรฟม.จะมีการเสนอผลศึกษาการเดินรถเองไปด้วย แต่กรณีดังกล่าว ครม.อาจจะเห็นว่า รฟม.ไม่มีประสบการณ์ในการเดินรถเอง และความเสี่ยงอื่นๆ มากกว่าก็ได้
ส่วนกรณีที่รัฐบาลชุดที่แล้วมีมติให้รฟม.ศึกษาการนำสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่ง BMCL รับสัมปทานในรูปแบบ PPP Net Cost (รูปแบบการให้สัมปทานเอกชนลงทุนและเดินรถ) ปรับมาเป็นแบบ PPP Gross Cost1 (รูปแบบรัฐจะเก็บค่าโดยสารเอง และจ้างเอกชนมาเดินรถและซ่อมบำรุง) เหมือนสายสีม่วงนั้น คาดว่าใน 1-2 เดือนนี้ จะสรุปผลศึกษาเสนอที่ประชุมบอร์ด รฟม.ได้ โดยเบื้องต้นพบว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื่องจากไม่คุ้มค่า .