วานนี้ ( 26 ส.ค.) ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม โดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง“ประกันสังคมถ้วนหน้า เพื่อคนทำงานทุกกลุ่ม อิสระ โปร่งใส และเป็นธรรม”
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่าขณะนี้มีกระแสข่าวว่านายจ้างกว่า 3 หมื่นสถานประกอบการ และรัฐบาลไม่นำเงินเข้ากองทุนประกันสังคม คิดเป็นเงินกว่า63,200 ล้านบาท โดยค้างจ่ายมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 รวมทั้งภาครัฐมีการนำเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาทให้ลูกจ้างและนายจ้างกู้ยืม เรื่องนี้ได้กระทบความเชื่อมั่นของลูกจ้างในเรื่องสวัสดิการต่างๆทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อนาคตอาจทำให้มีการนำเงินของลูกจ้างและนายจ้างมาจ่ายทดแทนในส่วนที่รัฐบาลต้องสนับสนุน และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มหาวิทยาลัยกว่า 40องค์กรจะถอนตัวออกจากกองทุนประกันสังคม เนื่องจากไม่มีสิทธิประโยชน์ที่จูงใจ
นางวิไลวรรณ กล่าวต่อว่าที่ผ่านมามีการตั้งคำถามเรื่องการใช้งบประมาณในกองทุนประกันสังคม เช่น นำเงินไปว่าจ้างทำการประชาสัมพันธ์ ในจำนวนหลายร้อยล้านบาท จ้างนักวิชาการทำงานวิจัย ทั้งๆที่มีงานวิจัยจำนวนมากแล้วแต่ไม่เคยมีการนำไปศึกษา จึงเห็นว่าควรที่จะมีการปฏิรูประบบประกันสังคมสู่รูปแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้แรงงาน
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า โครงสร้างการบริหารของกองทุนประกันสังคมถูกแทรกแซงโดยง่ายจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ ในอนาคตจะกระทบกับสิทธิการรักษาพยาบาลต่างๆ กองทุนชราภาพ ซึ่งจะกระทบกับลูกจ้างมาก ทั้งนี้เราจะสามารถทราบได้ว่านายจ้างไม่นำเงินเข้าสมทบในกองทุนประกันสังคมเมื่อมีการไปใช้สวัสดิการที่โรงพยาบาล เรื่องนี้น่าวิตกเป็นอย่างมาก
"อีกทั้งมีการนำเงินกองทุนฯจำนวนหลายร้อยล้านบาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ 23 ปีที่ผ่านมาสิทธิประโยชน์ยังล้าหลัง ทำให้ผู้ประกันตนอยากถอนตัวออกจากประกันสังคมมากขึ้น และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีสมาชิก 1.2 ล้านคน แต่มีผู้บริหารมืออาชีพที่มาจากการสรรหามืออาชีพเข้ามาบริหาร ต่างจากกองทุนประกันสังคมมีผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคนแต่ไม่มีผู้บริหารมืออาชีพเนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เป็นข้าราชการเข้ามาบริหาร" ขอเสนอแนะให้การบริหารในกองทุนฯมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน
ด้านนางสุจิน รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า เห็นด้วยที่สิทธิประโยชน์ของกองทุนฯจะสามารถเข้าถึงทุกภาคส่วน เป็นอิสระในการจัดการ เนื่องจากที่ผ่านมาเรารับรู้มาตลอดว่ามีการจัดการที่ไม่โปร่งใส ขณะเดียวกันแรงงานนอกระบบควรมีตัวแทนเข้ามาบริหารจัดการเงินกองทุนด้วย และเห็นว่าสิทธิประโยชน์ในส่วนของแรงงานนอกระบบมีสิทธิประโยชน์น้อยไม่มีแรงจูงใจ
"ที่ผ่านมาการเข้าถึงสวัสดิการประกันสังคมมีความยากลำบากมาก ส่งเงินประกันรายปี ปีละ3,600 บาท แต่มีสิทธิประโยชน์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือคลอดบุตร เสียชีวิต และทุพพลภาพเท่านั้น แรงงานนอกระบบยังไม่มีสิทธิประโยชน์เป็นที่น่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานในระบบ " น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
ด้านนายโกวิทย์ บุรพธานินทร์ นักวิชาการด้านแรงงานและกรรมการมูลนิธิคม จันทรวิทุร กล่าวว่า สุดท้ายแล้วเราต้องตั้งคำถามว่าเราต้องการอะไรจากประกันสังคม ที่ผ่านมาสามารถตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ใช้แรงงานหรือไม่ กองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนขนาดใหญ่มีงบประมาณกว่า 9 แสนล้านบาท แต่ที่ผ่านมามีสมาชิกเข้าไปมีส่วนในการบริหารหรือไม่ แม้จะปรับเปลี่ยนกองทุนประกันสังคมแบบดีที่สุดแต่เห็นว่าผู้ใช้แรงงานจะมีชีวิตที่ดีขึ้นหรือไม่ จึงเห็นว่าอย่ามองเห็นแค่องค์ประกอบเดียว
"ทั้งนี้ควรมีการผลักดันนโยบายด้านประชาสังคมที่ยั่งยืน ที่ไม่ใช่เป็นรูปแบบประชานิยมเพื่อร่วมกับพ.ร.บ.ประกันสังคม ทุกวันนี้มีสวัสดิการต่างๆในประเทศ แต่ไม่เชื่อมั่นว่านักการเมืองจะเข้าใจคำว่าสวัสดิการสังคม ซึ่งต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ระบบสวัสดิการไม่ใช่เป็นเรื่องฝ่ายซ้ายหรือขวา แต่เป็นเรื่องการกระจายทรัพยากรเข้าถึงประชาชน"นายโกวิทย์ กล่าว
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่าขณะนี้มีกระแสข่าวว่านายจ้างกว่า 3 หมื่นสถานประกอบการ และรัฐบาลไม่นำเงินเข้ากองทุนประกันสังคม คิดเป็นเงินกว่า63,200 ล้านบาท โดยค้างจ่ายมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 รวมทั้งภาครัฐมีการนำเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาทให้ลูกจ้างและนายจ้างกู้ยืม เรื่องนี้ได้กระทบความเชื่อมั่นของลูกจ้างในเรื่องสวัสดิการต่างๆทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อนาคตอาจทำให้มีการนำเงินของลูกจ้างและนายจ้างมาจ่ายทดแทนในส่วนที่รัฐบาลต้องสนับสนุน และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มหาวิทยาลัยกว่า 40องค์กรจะถอนตัวออกจากกองทุนประกันสังคม เนื่องจากไม่มีสิทธิประโยชน์ที่จูงใจ
นางวิไลวรรณ กล่าวต่อว่าที่ผ่านมามีการตั้งคำถามเรื่องการใช้งบประมาณในกองทุนประกันสังคม เช่น นำเงินไปว่าจ้างทำการประชาสัมพันธ์ ในจำนวนหลายร้อยล้านบาท จ้างนักวิชาการทำงานวิจัย ทั้งๆที่มีงานวิจัยจำนวนมากแล้วแต่ไม่เคยมีการนำไปศึกษา จึงเห็นว่าควรที่จะมีการปฏิรูประบบประกันสังคมสู่รูปแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้แรงงาน
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า โครงสร้างการบริหารของกองทุนประกันสังคมถูกแทรกแซงโดยง่ายจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ ในอนาคตจะกระทบกับสิทธิการรักษาพยาบาลต่างๆ กองทุนชราภาพ ซึ่งจะกระทบกับลูกจ้างมาก ทั้งนี้เราจะสามารถทราบได้ว่านายจ้างไม่นำเงินเข้าสมทบในกองทุนประกันสังคมเมื่อมีการไปใช้สวัสดิการที่โรงพยาบาล เรื่องนี้น่าวิตกเป็นอย่างมาก
"อีกทั้งมีการนำเงินกองทุนฯจำนวนหลายร้อยล้านบาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ 23 ปีที่ผ่านมาสิทธิประโยชน์ยังล้าหลัง ทำให้ผู้ประกันตนอยากถอนตัวออกจากประกันสังคมมากขึ้น และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีสมาชิก 1.2 ล้านคน แต่มีผู้บริหารมืออาชีพที่มาจากการสรรหามืออาชีพเข้ามาบริหาร ต่างจากกองทุนประกันสังคมมีผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคนแต่ไม่มีผู้บริหารมืออาชีพเนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เป็นข้าราชการเข้ามาบริหาร" ขอเสนอแนะให้การบริหารในกองทุนฯมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน
ด้านนางสุจิน รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า เห็นด้วยที่สิทธิประโยชน์ของกองทุนฯจะสามารถเข้าถึงทุกภาคส่วน เป็นอิสระในการจัดการ เนื่องจากที่ผ่านมาเรารับรู้มาตลอดว่ามีการจัดการที่ไม่โปร่งใส ขณะเดียวกันแรงงานนอกระบบควรมีตัวแทนเข้ามาบริหารจัดการเงินกองทุนด้วย และเห็นว่าสิทธิประโยชน์ในส่วนของแรงงานนอกระบบมีสิทธิประโยชน์น้อยไม่มีแรงจูงใจ
"ที่ผ่านมาการเข้าถึงสวัสดิการประกันสังคมมีความยากลำบากมาก ส่งเงินประกันรายปี ปีละ3,600 บาท แต่มีสิทธิประโยชน์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือคลอดบุตร เสียชีวิต และทุพพลภาพเท่านั้น แรงงานนอกระบบยังไม่มีสิทธิประโยชน์เป็นที่น่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานในระบบ " น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
ด้านนายโกวิทย์ บุรพธานินทร์ นักวิชาการด้านแรงงานและกรรมการมูลนิธิคม จันทรวิทุร กล่าวว่า สุดท้ายแล้วเราต้องตั้งคำถามว่าเราต้องการอะไรจากประกันสังคม ที่ผ่านมาสามารถตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ใช้แรงงานหรือไม่ กองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนขนาดใหญ่มีงบประมาณกว่า 9 แสนล้านบาท แต่ที่ผ่านมามีสมาชิกเข้าไปมีส่วนในการบริหารหรือไม่ แม้จะปรับเปลี่ยนกองทุนประกันสังคมแบบดีที่สุดแต่เห็นว่าผู้ใช้แรงงานจะมีชีวิตที่ดีขึ้นหรือไม่ จึงเห็นว่าอย่ามองเห็นแค่องค์ประกอบเดียว
"ทั้งนี้ควรมีการผลักดันนโยบายด้านประชาสังคมที่ยั่งยืน ที่ไม่ใช่เป็นรูปแบบประชานิยมเพื่อร่วมกับพ.ร.บ.ประกันสังคม ทุกวันนี้มีสวัสดิการต่างๆในประเทศ แต่ไม่เชื่อมั่นว่านักการเมืองจะเข้าใจคำว่าสวัสดิการสังคม ซึ่งต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ระบบสวัสดิการไม่ใช่เป็นเรื่องฝ่ายซ้ายหรือขวา แต่เป็นเรื่องการกระจายทรัพยากรเข้าถึงประชาชน"นายโกวิทย์ กล่าว