วานนี้ (7 ส.ค.) เวลา 14.00 น. ศาลปกครองกลางได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาในคดีที่นางวไลลักษณ์ วิชชาบุญศิริ และพวกซึ่งเป็นเจ้าของรีสอร์ทบ้านทะเลหมอก ในอ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยสั่งให้กรมอุทยานแห่งชาติทับลานระงับการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในรีสอร์ท โดยในการไต่สวนครั้งนี้ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ซึ่ง นายสมชาย เพ็ญพัธนกุล หุ้นส่วนรีสอร์ท ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ ให้ถ้อยคำต่อศาลว่า แม้ศาลกบินทร์บุรีจะมีคำพิพากษาว่าทางรีสอร์ทมีควาผิดฐานบุกรุกที่อุทยานฯแล้วในปี 43 แต่ก็ได้มีการขอชะลอการบังคับคดี ประกอบกับทางรีสอร์ทได้มีการฟ้องคดีแพ่ง และมีการนำสิ่งปลูกสร้างไปขอขึ้นทะเบียนกับกรมธนารักษ์เพื่อจะได้ยังทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวได้โดยจ่ายเป็นค่าเช่า จึงทำให้รีสอร์ทยังคงสามารถประกอบกิจการได้ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน แม้ว่าล่าสุดกรมอุทยานฯจะมีการไปปักป้ายให้มีการรื้อถอน และห้ามทำประโยชน์ แต่ทางรีสอร์ทก็ยังไม่ได้มีการเตรียมตัว หรือเก็บของใด เพราะคิดว่า จะชนะในคดีแพ่งที่ศาลแพ่งได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 11 ก.ย. นี้ และยังเชื่อว่าจะได้รับการพิจารณาให้เช่าพื้นที่ต่อ รวมทั้งเห็นว่าในพื้นที่อุทยานเขาแหลมหญ้า (เกาะเสม็ด) จ.ระยองก็ยังอนุญาตให้เอกชนสามารถประกอบกิจการได้ แต่กรมอุทยานก็กลับสนธิกำลังเจ้าหน้าที่เข้ารื้อถอนทันที ทำให้เกิดความเสียหายกลับสิ่งปลูกสร้างบางส่วน ซึ่งถ้าหากศาลปกครองมีคำสั่งให้กรมอุทยานระงับการรื้อถอน ก็ยังเชื่อว่าจะสามารถฟื้นฟูและปรับปรุงอาคารต่างๆ ได้น่าจะใช้งบประมาณ 150 ล้านบาท
นายสมชาย ยังกล่าวด้วยว่า การเข้ารื้อถอนครั้งนี้มีข้อน่าสังเกตว่าอาจเป็นการออกคำสั่งไม่ชอบเพราะในคำสั่งรื้อถอนครั้งแรกกำหนดรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการรีสอร์ทรวม 38 ราย ไม่มีรายของบ้านทะเลหมอก แต่ต่อมามีคำสั่งลงวันที่ 23 ก.ค. 55 เข้ารื้อถอนรีสอร์ทจำนวน 9 ราย ในจำนวนนี้ 8 รายมีชื่ออยู่ในบัญชี 38 รายเดิม แต่อีก 1 รายคือบ้านทะเลหมอก ซึ่งไม่เคยมีชื่อใน 38 รายมาก่อน รวมทั้งในหนังสือคำสั่งสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ ยังระบุเหตุของการสนธิกำลังว่า เพื่อเข้าปราบปรามไม้กฤษณา และระบุว่าหากพบว่ามีการกระทำผิดเจ้าหน้าที่จะรื้อถอนต้องมีการแจ้งให้กับผู้ประกอบการรับทราบก่อน แต่สิ่งที่กรมอุทยานปฏิบัติคือกลับเข้ารื้อถอนทันทีไม่มีการแจ้งผู้ประกอบการ อีกทั้งกระทำในยามวิกาล
ขณะที่ฝ่ายกรมอุทยานฯได้มอบหมายนายจงเจริญ กิจสำราญกุล ผอ.กองนิติการ กรมอุทยาน และนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน ให้ถ้อยคำว่า การเข้ารื้อถอนดังกล่าวใช้อำนาจตามมาตรา 22 ของพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ปี 2504 แม้ศาลกบินทร์บุรีจะมีคำพิพากษาว่ารีสอร์ทมีความผิดตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 44 แต่เหตุที่กรมอุทยานเพิ่งจะออกคำสั่งและดำเนินการรื้อถอนในปี55 ก็เนื่องจากคำพิพากษาในขณะนั้นสั่งแค่จำเลยมีความผิดให้ออกจากพื้นที่ ไม่ได้สั่งให้รื้อถอน รวมทั้งผู้ประกอบการได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างตามคำขอทุเลาบังคับคดี ประกอบกับมีการขอยกสิ่งปลูกสร้างให้กรมธนารักษ์ รวมทั้งมีปัญหาระหว่างหน่วยงานวที่เกี่ยวข้องว่า ตกลงแล้วจะสามารถให้ผู้ประกอบการเช่าพื้นที่ทำประโยชน์ได้หรือไม่ การรื้อถอนจึงยังไม่ได้ดำเนินการตลอด 6 ปีหลังมีคำพิพากษา แต่เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยว่า กรมธนารักษ์ ไม่สามารถรับขึ้นทะเบียนราชพัสดุสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ดังกล่าวได้ และกรมธนารักษ์ มีคำสั่งเพิกถอนการรับทรัพย์สินเมื่อปี 54 ทางอุทยานฯจึงต้องเข้าดำเนินการรื้อถอน
ทั้งนี้การที่อุทยานเขาแหลมหญ้าสามารถให้เอกชนเข้าประกอบกิจการได้ต่างจากกรณีนี้ก็เนื่องจาก พื้นที่ดังกล่าวเป็นทั้งที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ และที่อุทยาน ซึ่ง 2 หน่วยงานจะพิจารณาร่วมกันโดยยึดตามระเบียบของกรมอุทยานที่ว่าหากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในโซนบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว สามารถอนุญาตได้หากไม่กระทบต่อการบริหารจัดการพื้นที่ของอุทยาน แต่ในส่วนอุทยานอื่นนั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีเพียงร้านสวัสดิการของเจ้าหน้าที่อุทยานขายสิ่งของจำเป็นแก่นักท่องเที่ยว และให้เอกชนเข้าใช้ประโยชน์ในบางกรณีเช่นการล่องแก่ง ล่องแพ เท่านั้น
นอกจากนี้เห็นว่าหากศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์โดยให้ระงับการรื้อถอน ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของกรมอุทยานเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าอนุรักษ์ ประชาชน และผู้ประกอบการรายอื่น ก็จะไม่เกรงกลัว หรือเห็นว่ากรมฯไม่เคร่งครัดในการอนุรักษ์และการบังคับใช้กฎหมายอีกทั้งทำให้อุทยานแห่งชาติทับลานถูกถอนออกจากการเป็นมรดกโลก เพราะตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการมรดกโลกในการประชุมครั้งล่าสุด ระบุว่ารีสอร์ทถือเป็นสิ่งแปลกปลอมซึ่งจะทำให้พื้นที่ดังกล่าวไม่เป็นพื้นที่ป่าอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตามหลังการไต่สวนแล้ว ศาลฯได้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่าศาลจะมีการพิจารณาว่าจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวตามที่มีการร้องขอหรือไม่และจะแจ้งคู่กรณีทราบโดยเร็ว
วันเดียวกัน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปฏิเสธถึงกระแสข่าวโยกย้ายนายธำรง พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติว่า ไม่มีคะ สำหรับอธิบดีฯ ทางครม.ให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเราได้รับการร้องเรียนมาด้วย วันนี้เป็นเพียงการตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้น ยังไม่มีคำสั่งในการโยกย้าย
ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา มีนางธันยรัศม์ อัฉฉริยะฉาย ส.ว.ภูเก็ต เป็นประธาน เชิญนายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เข้าชี้แจงถึงการบังคับใช้กฎหมายและการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยกรรมาธิการฯ ส่วนใหญ่ได้กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของนายดำรงค์ และเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ในประเด็นการรื้อถอนรีสอร์ทซึ่งปลูกสร้างในพื้นที่อุทยานฯ พร้อมระบุว่ากรรมาธิการฯจะร่วมในการตรวจสอบการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอาคาร ในพื้นที่อุทยาน
นายดำรงค์ กล่าวยืนยันต่อที่ประชุมกรรมาธิการฯ กรณีเอาผิด 10 รีสอร์ทในพื้นที่ จ.ภูเก็ต ว่า ขณะนี้ได้ตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบแล้ว และยืนยันว่าจะทำให้แล้วเสร็จก่อนที่ตนจะเกษียณ เบื้องต้นจะยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาล ส่วนกรณีที่มีบุคคลเสนอให้ยุบรวมกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ นั้นตนเห็นด้วย เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่การแบ่งแยกต่างคนต่างทำอย่างในปัจจุบันนี้ ทำให้เกิดปัญหาการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงกฎหมายผ่อนผันการเอาผิดผู้บุกรุกพื้นที่ป่าด้วย ที่ทำให้ทรัพยากรของเราป่นปี้
“สำหรับการต่ออายุราชการนั้น ผมมองว่า คนที่มีอำนาจแต่งตั้ง คงไม่อยากได้คนอย่างผมเข้าไปเป็นอธิบดีอีก ซึ่งการตั้งอธิบดีใหม่ หรือ การต่ออายุราชการ ผมไม่มีอำนาจตัดสินใจ” นายดำรงค์ กล่าว
นายดำรงค์ ให้สัมภาษณ์ ว่า ตนขอขอบคุณกลุ่มเอ็นจีโอดังกล่าว แต่ในประเด็นการตั้งกรรมการสอบนั้น ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อสร้างความกระจ่างให้กับประชาชน ว่าประเด็นการรื้อรีสอร์ทนั้นทำได้หรือไม่ มีอำนาจหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งจะถือเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต
"ผมขอบคุณเอ็นจีโอ ที่จริงไม่คิดอะไรนะ จะเกษียณแล้ว โดยระหว่างที่ไม่โดนย้าย ผมก็จะทำหน้าที่ไปจนกว่าจะเกษียณ" นายดำรงค์ กล่าว
นายดำรงค์ ได้กล่าวถึงกระแสการย้ายออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานว่า "เท่าที่คุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านบอกว่าจะไม่ย้าย ผมเชื่อว่าจะไม่มี แต่หากมีจริง ก็ไม่มีปัญหา ผมเป็นข้าราชการพร้อมน้อมรับคำสั่ง เขาสั่งให้หยุดราชการก็หยุด
นายสมชาย ยังกล่าวด้วยว่า การเข้ารื้อถอนครั้งนี้มีข้อน่าสังเกตว่าอาจเป็นการออกคำสั่งไม่ชอบเพราะในคำสั่งรื้อถอนครั้งแรกกำหนดรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการรีสอร์ทรวม 38 ราย ไม่มีรายของบ้านทะเลหมอก แต่ต่อมามีคำสั่งลงวันที่ 23 ก.ค. 55 เข้ารื้อถอนรีสอร์ทจำนวน 9 ราย ในจำนวนนี้ 8 รายมีชื่ออยู่ในบัญชี 38 รายเดิม แต่อีก 1 รายคือบ้านทะเลหมอก ซึ่งไม่เคยมีชื่อใน 38 รายมาก่อน รวมทั้งในหนังสือคำสั่งสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ ยังระบุเหตุของการสนธิกำลังว่า เพื่อเข้าปราบปรามไม้กฤษณา และระบุว่าหากพบว่ามีการกระทำผิดเจ้าหน้าที่จะรื้อถอนต้องมีการแจ้งให้กับผู้ประกอบการรับทราบก่อน แต่สิ่งที่กรมอุทยานปฏิบัติคือกลับเข้ารื้อถอนทันทีไม่มีการแจ้งผู้ประกอบการ อีกทั้งกระทำในยามวิกาล
ขณะที่ฝ่ายกรมอุทยานฯได้มอบหมายนายจงเจริญ กิจสำราญกุล ผอ.กองนิติการ กรมอุทยาน และนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน ให้ถ้อยคำว่า การเข้ารื้อถอนดังกล่าวใช้อำนาจตามมาตรา 22 ของพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ปี 2504 แม้ศาลกบินทร์บุรีจะมีคำพิพากษาว่ารีสอร์ทมีความผิดตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 44 แต่เหตุที่กรมอุทยานเพิ่งจะออกคำสั่งและดำเนินการรื้อถอนในปี55 ก็เนื่องจากคำพิพากษาในขณะนั้นสั่งแค่จำเลยมีความผิดให้ออกจากพื้นที่ ไม่ได้สั่งให้รื้อถอน รวมทั้งผู้ประกอบการได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างตามคำขอทุเลาบังคับคดี ประกอบกับมีการขอยกสิ่งปลูกสร้างให้กรมธนารักษ์ รวมทั้งมีปัญหาระหว่างหน่วยงานวที่เกี่ยวข้องว่า ตกลงแล้วจะสามารถให้ผู้ประกอบการเช่าพื้นที่ทำประโยชน์ได้หรือไม่ การรื้อถอนจึงยังไม่ได้ดำเนินการตลอด 6 ปีหลังมีคำพิพากษา แต่เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยว่า กรมธนารักษ์ ไม่สามารถรับขึ้นทะเบียนราชพัสดุสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ดังกล่าวได้ และกรมธนารักษ์ มีคำสั่งเพิกถอนการรับทรัพย์สินเมื่อปี 54 ทางอุทยานฯจึงต้องเข้าดำเนินการรื้อถอน
ทั้งนี้การที่อุทยานเขาแหลมหญ้าสามารถให้เอกชนเข้าประกอบกิจการได้ต่างจากกรณีนี้ก็เนื่องจาก พื้นที่ดังกล่าวเป็นทั้งที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ และที่อุทยาน ซึ่ง 2 หน่วยงานจะพิจารณาร่วมกันโดยยึดตามระเบียบของกรมอุทยานที่ว่าหากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในโซนบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว สามารถอนุญาตได้หากไม่กระทบต่อการบริหารจัดการพื้นที่ของอุทยาน แต่ในส่วนอุทยานอื่นนั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีเพียงร้านสวัสดิการของเจ้าหน้าที่อุทยานขายสิ่งของจำเป็นแก่นักท่องเที่ยว และให้เอกชนเข้าใช้ประโยชน์ในบางกรณีเช่นการล่องแก่ง ล่องแพ เท่านั้น
นอกจากนี้เห็นว่าหากศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์โดยให้ระงับการรื้อถอน ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของกรมอุทยานเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าอนุรักษ์ ประชาชน และผู้ประกอบการรายอื่น ก็จะไม่เกรงกลัว หรือเห็นว่ากรมฯไม่เคร่งครัดในการอนุรักษ์และการบังคับใช้กฎหมายอีกทั้งทำให้อุทยานแห่งชาติทับลานถูกถอนออกจากการเป็นมรดกโลก เพราะตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการมรดกโลกในการประชุมครั้งล่าสุด ระบุว่ารีสอร์ทถือเป็นสิ่งแปลกปลอมซึ่งจะทำให้พื้นที่ดังกล่าวไม่เป็นพื้นที่ป่าอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตามหลังการไต่สวนแล้ว ศาลฯได้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่าศาลจะมีการพิจารณาว่าจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวตามที่มีการร้องขอหรือไม่และจะแจ้งคู่กรณีทราบโดยเร็ว
วันเดียวกัน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปฏิเสธถึงกระแสข่าวโยกย้ายนายธำรง พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติว่า ไม่มีคะ สำหรับอธิบดีฯ ทางครม.ให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเราได้รับการร้องเรียนมาด้วย วันนี้เป็นเพียงการตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้น ยังไม่มีคำสั่งในการโยกย้าย
ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา มีนางธันยรัศม์ อัฉฉริยะฉาย ส.ว.ภูเก็ต เป็นประธาน เชิญนายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เข้าชี้แจงถึงการบังคับใช้กฎหมายและการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยกรรมาธิการฯ ส่วนใหญ่ได้กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของนายดำรงค์ และเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ในประเด็นการรื้อถอนรีสอร์ทซึ่งปลูกสร้างในพื้นที่อุทยานฯ พร้อมระบุว่ากรรมาธิการฯจะร่วมในการตรวจสอบการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอาคาร ในพื้นที่อุทยาน
นายดำรงค์ กล่าวยืนยันต่อที่ประชุมกรรมาธิการฯ กรณีเอาผิด 10 รีสอร์ทในพื้นที่ จ.ภูเก็ต ว่า ขณะนี้ได้ตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบแล้ว และยืนยันว่าจะทำให้แล้วเสร็จก่อนที่ตนจะเกษียณ เบื้องต้นจะยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาล ส่วนกรณีที่มีบุคคลเสนอให้ยุบรวมกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ นั้นตนเห็นด้วย เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่การแบ่งแยกต่างคนต่างทำอย่างในปัจจุบันนี้ ทำให้เกิดปัญหาการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงกฎหมายผ่อนผันการเอาผิดผู้บุกรุกพื้นที่ป่าด้วย ที่ทำให้ทรัพยากรของเราป่นปี้
“สำหรับการต่ออายุราชการนั้น ผมมองว่า คนที่มีอำนาจแต่งตั้ง คงไม่อยากได้คนอย่างผมเข้าไปเป็นอธิบดีอีก ซึ่งการตั้งอธิบดีใหม่ หรือ การต่ออายุราชการ ผมไม่มีอำนาจตัดสินใจ” นายดำรงค์ กล่าว
นายดำรงค์ ให้สัมภาษณ์ ว่า ตนขอขอบคุณกลุ่มเอ็นจีโอดังกล่าว แต่ในประเด็นการตั้งกรรมการสอบนั้น ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อสร้างความกระจ่างให้กับประชาชน ว่าประเด็นการรื้อรีสอร์ทนั้นทำได้หรือไม่ มีอำนาจหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งจะถือเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต
"ผมขอบคุณเอ็นจีโอ ที่จริงไม่คิดอะไรนะ จะเกษียณแล้ว โดยระหว่างที่ไม่โดนย้าย ผมก็จะทำหน้าที่ไปจนกว่าจะเกษียณ" นายดำรงค์ กล่าว
นายดำรงค์ ได้กล่าวถึงกระแสการย้ายออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานว่า "เท่าที่คุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านบอกว่าจะไม่ย้าย ผมเชื่อว่าจะไม่มี แต่หากมีจริง ก็ไม่มีปัญหา ผมเป็นข้าราชการพร้อมน้อมรับคำสั่ง เขาสั่งให้หยุดราชการก็หยุด