ASTVผู้จัดการรายวัน - ครอบครัวถูก “กระต่ายบ้า” กัดกังวลโร่พบสัตวแพทย์ เผยฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าปลอดภัยทุกคน ด้านกทม. ประชุมวางมาตรการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าหลังพบเชื้อในกระต่าย เผยเตรียมสุ่มตรวจพื้นที่ขายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบปี54 พบตายจากโรคพิษสุนัขบ้า 9 ราย โดย 7ใน 9 ติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงของตัวเอง ล่าสุดปี55ตายแล้ว3ราย
วานนี้(6 ส.ค.) นางศิริพร ภุมรินทร์ พร้อมด้วยครอบครัว ซึ่งถูกกระต่ายกัด ได้เดินทางมาเข้าพบ น.สพ.ชาญณรงค์ มิตรมูลพิทักษ์ สัตวแพทย์ประจำฝ่ายชันสูตรสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ที่สถานเสาวภาฯ ถนนพระราม 4 แขวงและเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อขอคำแนะนำจากทางแพทย์ เนื่องจากครอบถูกกระต่ายกัดแล้วเกิดความกังวลในความปลอดภัย
นางศิริพร เปิดเผยว่า ตนและครอบครัวเดินทางมาขอคำแนะนำจากทางแพทย์เนื่องจากภายหลังจากถูกกระต่ายที่ตนเลี้ยงไว้กัด จากนั้นได้เดินทางไปฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว โดยมีอาการเป็นไข้เล็กน้อย ซึ่งภายหลังจากที่ตนและครอบครัวเข้าพบ แพทย์ได้ให้คำตอบกับตนว่าทางครอบครัวตนได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าไปครบแล้วภายหลังจากที่ถูกกัด ซึ่งหมอคาดว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน
**ประสานสธ.ตรวจสุขภาพชุมชนใกล้เคียง
ด้าน น.สพ.ชาญณรงค์ กล่าวว่า เบื้องต้นคนไข้ได้รับการฉีดวัคซีนไปครบเรียบร้อยแล้วจึงไม่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตแน่นอน ส่วนสาเหตุของการมีเชื้อพิษสุนัขบ้าในตัวกระต่ายนั้นทางแพทย์ได้สันนิษฐานไว้ 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากหนูที่เสียชีวิตใกล้กับกรงเลี้ยงกระต่าย และสาเหตุจากกระต่ายตัวที่สองที่เพิ่งซื้อมาจากสนามหลวง 2 ได้เป็นเวลา 2-3 เดือน เบื้องต้นได้มีการประสานไปทางกรมปศุสัตว์และกทม.ลงพื้นที่ตรวจสอบหนูท่อที่อยู่ในบริเวณชุมชนดังกล่าว เพื่อนำมาตรวจสอบว่าพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ส่วนกระต่ายตัวที่ 2 ยังต้องขอตรวจสอบก่อนสรุปผลว่าเกิดด้วยสาเหตุใด นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณะสุข กรมควบคุมโรคติดต่อ จะมีการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพประชาชนในชุมชนละแวกดังกล่าวว่ามีใครได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่เพื่อทำการป้องกัน
**ไม่ชัดติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากหนูท่อหรือไม่
ด้าน สพ.ญ.ปราณี พาณิชย์พงษ์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยโรคพิษสุนัขบ้าจะไปเกิดอยู่ในตัวกระต่ายเป็นไปได้น้อยมาก ซึ่งตอนนี้ทางเราได้มีการตั้งชุดตรวจสอบสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าว และตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้หลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากการเลี้ยงกระต่ายไว้ในกรง ทำให้เกิดอาการดุร้าย หรือได้รับการสัมผัสจากหนูท่อที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และการมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในร่างกายอยู่แล้วเนื่องจากเป็นกระต่ายป่า ก็เป็นได้หลายเหตุผลด้วยกันเบื้องต้นต้องทำการตรวจสอบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนสรุปผลว่าเกิดด้วยเหตุใด
**กทม.วางมาตรการป้องกันเตรียมสั่งสุ่มตรวจร้านขายสัตว์
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า ทางกทม.จะทำการสุ่มตรวจพื้นที่ที่มีการจำหน่ายสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะสัตว์เหล่านี้มีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้สูง พร้อมทั้งให้ความรู้ถึงการป้องกัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการจัดระเบียบการจำหน่ายสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้น
**เผย7 ใน 9 ราย ติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงของตัวเอง
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า 7 เดือนแรกของปี2555 มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 3 ราย อย่างไร แต่เมื่อปี 2554 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 9 ราย โดย 7 ใน 9 ราย ติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงของตัวเอง ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้แก่สัตว์เลี้ยงสามารถรวมกลุ่มกันประมาณ 10 ตัวแล้วติดต่อมายังกรมคร.ที่สายด่วน 1422 จะดำเนินการประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าฉีดวัคซีนให้ในหมู่บ้าน
***เกิดโรคพิเศษสุนัขบ้าในกระต่ายน้อยมาก
น.สพ.ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมปศุสัตว์ร่วมกับ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการสอบสวนหาที่มาของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าของกระต่ายในครั้งนี้ เพื่อจะได้ควบคุมและกำจัดแหล่งที่มาของโรค ต่อไป และจากสถิติในประเทศไทยพบว่าโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 95 เปอร์เซ็นต์พบในสุนัข และประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ พบในแมวที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สุนัขและแมวจรจัดมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคนี้ การเกิดโรคในกระต่ายที่เลี้ยงนั้นโอกาสที่จะพบได้น้อยมาก เพราะโอกาสที่จะสัมผัสโรคต่ำ อาจเกิดจากถูกสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู หรือแมว หรือสุนัข ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด.
วานนี้(6 ส.ค.) นางศิริพร ภุมรินทร์ พร้อมด้วยครอบครัว ซึ่งถูกกระต่ายกัด ได้เดินทางมาเข้าพบ น.สพ.ชาญณรงค์ มิตรมูลพิทักษ์ สัตวแพทย์ประจำฝ่ายชันสูตรสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ที่สถานเสาวภาฯ ถนนพระราม 4 แขวงและเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อขอคำแนะนำจากทางแพทย์ เนื่องจากครอบถูกกระต่ายกัดแล้วเกิดความกังวลในความปลอดภัย
นางศิริพร เปิดเผยว่า ตนและครอบครัวเดินทางมาขอคำแนะนำจากทางแพทย์เนื่องจากภายหลังจากถูกกระต่ายที่ตนเลี้ยงไว้กัด จากนั้นได้เดินทางไปฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว โดยมีอาการเป็นไข้เล็กน้อย ซึ่งภายหลังจากที่ตนและครอบครัวเข้าพบ แพทย์ได้ให้คำตอบกับตนว่าทางครอบครัวตนได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าไปครบแล้วภายหลังจากที่ถูกกัด ซึ่งหมอคาดว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน
**ประสานสธ.ตรวจสุขภาพชุมชนใกล้เคียง
ด้าน น.สพ.ชาญณรงค์ กล่าวว่า เบื้องต้นคนไข้ได้รับการฉีดวัคซีนไปครบเรียบร้อยแล้วจึงไม่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตแน่นอน ส่วนสาเหตุของการมีเชื้อพิษสุนัขบ้าในตัวกระต่ายนั้นทางแพทย์ได้สันนิษฐานไว้ 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากหนูที่เสียชีวิตใกล้กับกรงเลี้ยงกระต่าย และสาเหตุจากกระต่ายตัวที่สองที่เพิ่งซื้อมาจากสนามหลวง 2 ได้เป็นเวลา 2-3 เดือน เบื้องต้นได้มีการประสานไปทางกรมปศุสัตว์และกทม.ลงพื้นที่ตรวจสอบหนูท่อที่อยู่ในบริเวณชุมชนดังกล่าว เพื่อนำมาตรวจสอบว่าพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ส่วนกระต่ายตัวที่ 2 ยังต้องขอตรวจสอบก่อนสรุปผลว่าเกิดด้วยสาเหตุใด นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณะสุข กรมควบคุมโรคติดต่อ จะมีการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพประชาชนในชุมชนละแวกดังกล่าวว่ามีใครได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่เพื่อทำการป้องกัน
**ไม่ชัดติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากหนูท่อหรือไม่
ด้าน สพ.ญ.ปราณี พาณิชย์พงษ์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยโรคพิษสุนัขบ้าจะไปเกิดอยู่ในตัวกระต่ายเป็นไปได้น้อยมาก ซึ่งตอนนี้ทางเราได้มีการตั้งชุดตรวจสอบสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าว และตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้หลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากการเลี้ยงกระต่ายไว้ในกรง ทำให้เกิดอาการดุร้าย หรือได้รับการสัมผัสจากหนูท่อที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และการมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในร่างกายอยู่แล้วเนื่องจากเป็นกระต่ายป่า ก็เป็นได้หลายเหตุผลด้วยกันเบื้องต้นต้องทำการตรวจสอบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนสรุปผลว่าเกิดด้วยเหตุใด
**กทม.วางมาตรการป้องกันเตรียมสั่งสุ่มตรวจร้านขายสัตว์
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า ทางกทม.จะทำการสุ่มตรวจพื้นที่ที่มีการจำหน่ายสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะสัตว์เหล่านี้มีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้สูง พร้อมทั้งให้ความรู้ถึงการป้องกัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการจัดระเบียบการจำหน่ายสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้น
**เผย7 ใน 9 ราย ติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงของตัวเอง
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า 7 เดือนแรกของปี2555 มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 3 ราย อย่างไร แต่เมื่อปี 2554 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 9 ราย โดย 7 ใน 9 ราย ติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงของตัวเอง ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้แก่สัตว์เลี้ยงสามารถรวมกลุ่มกันประมาณ 10 ตัวแล้วติดต่อมายังกรมคร.ที่สายด่วน 1422 จะดำเนินการประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าฉีดวัคซีนให้ในหมู่บ้าน
***เกิดโรคพิเศษสุนัขบ้าในกระต่ายน้อยมาก
น.สพ.ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมปศุสัตว์ร่วมกับ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการสอบสวนหาที่มาของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าของกระต่ายในครั้งนี้ เพื่อจะได้ควบคุมและกำจัดแหล่งที่มาของโรค ต่อไป และจากสถิติในประเทศไทยพบว่าโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 95 เปอร์เซ็นต์พบในสุนัข และประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ พบในแมวที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สุนัขและแมวจรจัดมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคนี้ การเกิดโรคในกระต่ายที่เลี้ยงนั้นโอกาสที่จะพบได้น้อยมาก เพราะโอกาสที่จะสัมผัสโรคต่ำ อาจเกิดจากถูกสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู หรือแมว หรือสุนัข ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด.