กรมควบคุมโรคเตือน ประชาชน ระวัง “โรคติดต่อทางอาหาร-โรคจากสัตว์สู่คน” ช่วงฤดูร้อน พร้อมเฝ้าระวังพิเศษในโรคอุจจาระร่วงและโรคพิษสุนัขบ้า
วันนี้ (4 มี.ค.) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงหน้าร้อนแล้วสทางกรมฯ ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการเจ็บป่วยจากโรคซึ่งมักพบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน 2 กลุ่มโรค ตามประกาศกรมควบคุมโรค ได้แก่ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ มี 5 โรค คือ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในเดือนแรกของปี 2555 นี้ มีรายงานผู้ป่วยทั้ง 5 โรค รวม 63,152 ราย เสียชีวิต 2 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง 57,592 ราย มีรายงานเสียชีวิต 2 ราย ซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมา คือ โรคอาหารเป็นพิษ 4,815 ราย โรคบิด 453 ราย ไทฟอยด์ 63 ราย และโรคอหิวาตกโรค 2 ราย ตามลำดับ อีกโรคหนึ่งที่สำคัญ คือ โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำในปี 2554 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย กลุ่มที่ถูกกัดมากที่สุด คือ กลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี และ อายุ 1-4 ปี ตามลำดับ
“ในช่วงฤดูร้อนปีนี้ กรมควบคุมโรคได้จัดทำประกาศแจ้งเตือนให้ระวังโรคที่เกิดในฤดูร้อนไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดแล้วเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมเตรียมภารกิจหลักในการดูแลประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ได้แก่ 1.การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคในพื้นที่ประสบภัยแล้ง 2.การควบคุมโรคในกรณีถ้ามีการระบาดของโรคติดต่อ กรมควบคุมโรคมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เข้าไปดำเนินการสอบสวน ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ และ 3.การสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชนให้รู้จักอาการของโรคและการปฏิบัติตัวที่จะไม่ให้ป่วย” ดร.นพ.พรเทพ กล่าว
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปอีกว่า จาก 2 กลุ่มโรคข้างต้นที่มักพบในฤดูร้อน มีโรคที่น่าจับตาเป็นพิเศษ 2 โรค คือ โรคอุจจาระร่วงและโรคพิษสุนัขบ้า จากข้อมูลจะเห็นว่าเพียงเดือนแรกของปี 2555 มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเกือบ 6 หมื่นราย เสียชีวิต 2 ราย โรคอุจจาระร่วงเกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป อาการของโรค คือ ถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง โรคนี้เป็นได้กับคนทุกวัยและพบได้ตลอดทั้งปี โรคนี้ทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับอุจจาระจำนวนมาก จนอาจทำให้ช็อกหมดสติและอาจเสียชีวิต คำแนะนำสำหรับประชาชน ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องน้ำ แยกอาหารสดออกจากอาหารที่ปรุงสุกแล้วเสมอ ควรปรุงอาหารให้สุกทั่วถึง หากผู้ที่มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคคั่งค้างในร่างกาย จะเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น ขอให้ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารเหลวมากๆ และดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หรือโออาร์เอสแทนน้ำ โดยใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง ผสมกับน้ำต้มสุกเย็น 1 แก้ว ประมาณ 250 ซีซี หากไม่มีผงเกลือแร่สำเร็จ สามารถปรุงเองได้ โดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลม ประมาณ 750 ซีซี ให้ผู้ป่วยดื่มบ่อยๆ เพื่อทดแทนการเสียน้ำและเกลือแร่ หลังดื่มแล้วอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้น แต่หากยังไม่หยุดถ่ายและมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมากขึ้น อุจจาระมีกลิ่นเหม็นเน่าคล้ายหัวกุ้งเน่า ปวดบิด มีไข้สูงขึ้นหรือชัก ควรพาไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า โรคพิษสุนัขบ้าในช่วงนี้ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะจำนวนสุนัขจรจัดอาจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งที่ผ่านมา จึงควรระวังในการเก็บสุนัขมาเลี้ยง เพราะสุนัขอาจรับเชื้อจากสุนัขที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าและเชื้อนี้สามารถอยู่ในน้ำลายได้ ที่สำคัญโรคนี้เป็นแล้วตายทุกราย ไม่มียารักษา แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีน พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำ 5ย เพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด ได้แก่ “อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง” มีรายละเอียด ดังนี้ อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัข (หาง, ตัว, ขา) หรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ หากถูกสุนัขกัดให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจนครบตามที่แพทย์แนะนำ ต้องจำสัตว์ที่กัดให้ได้เพื่อสืบหาเจ้าของและสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าติดตามดูอาการสุนัข 10 วัน และถ้าพบสุนัขตายลงก่อนตาย 10 วัน และมีประวัติกัดคน หรือสัตว์อื่น ควรนำหัวส่งตรวจโดยประสานกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์พื้นที่ใกล้บ้าน
อนึ่ง กรมฯ ได้ดำเนินกิจกรรมในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยร่วมโครงการรณรงค์การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมวกับกรมปศุสัตว์ รวมถึงการประชุมร่วมระหว่างผู้บริหารระดับสูงของกรมควบคุมโรคและกรมปศุสัตว์ เพื่อประสานความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดหน่วยงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าดีเด่น (MoPH-MoAC Rabies Award) เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทั้ง อบต. และเทศบาล โดยสัปดาห์หน้ากรมฯ จะจัดประชุมความร่วมมือการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2555 ขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ เพื่อประสานความร่วมมือในด้านนโยบาย ด้านวิชาการ ด้านพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ด้วยการระดมทรัพยากรทั้งบุคลากรและงบประมาณที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ สุดท้ายหากประชาชนเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที และถ้ามีข้อสงสัยถึงอาการของโรคและวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333” ดร.นายแพทย์ พรเทพ กล่าวทิ้งท้าย
วันนี้ (4 มี.ค.) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงหน้าร้อนแล้วสทางกรมฯ ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการเจ็บป่วยจากโรคซึ่งมักพบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน 2 กลุ่มโรค ตามประกาศกรมควบคุมโรค ได้แก่ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ มี 5 โรค คือ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในเดือนแรกของปี 2555 นี้ มีรายงานผู้ป่วยทั้ง 5 โรค รวม 63,152 ราย เสียชีวิต 2 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง 57,592 ราย มีรายงานเสียชีวิต 2 ราย ซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมา คือ โรคอาหารเป็นพิษ 4,815 ราย โรคบิด 453 ราย ไทฟอยด์ 63 ราย และโรคอหิวาตกโรค 2 ราย ตามลำดับ อีกโรคหนึ่งที่สำคัญ คือ โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำในปี 2554 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย กลุ่มที่ถูกกัดมากที่สุด คือ กลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี และ อายุ 1-4 ปี ตามลำดับ
“ในช่วงฤดูร้อนปีนี้ กรมควบคุมโรคได้จัดทำประกาศแจ้งเตือนให้ระวังโรคที่เกิดในฤดูร้อนไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดแล้วเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมเตรียมภารกิจหลักในการดูแลประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ได้แก่ 1.การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคในพื้นที่ประสบภัยแล้ง 2.การควบคุมโรคในกรณีถ้ามีการระบาดของโรคติดต่อ กรมควบคุมโรคมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เข้าไปดำเนินการสอบสวน ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ และ 3.การสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชนให้รู้จักอาการของโรคและการปฏิบัติตัวที่จะไม่ให้ป่วย” ดร.นพ.พรเทพ กล่าว
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปอีกว่า จาก 2 กลุ่มโรคข้างต้นที่มักพบในฤดูร้อน มีโรคที่น่าจับตาเป็นพิเศษ 2 โรค คือ โรคอุจจาระร่วงและโรคพิษสุนัขบ้า จากข้อมูลจะเห็นว่าเพียงเดือนแรกของปี 2555 มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเกือบ 6 หมื่นราย เสียชีวิต 2 ราย โรคอุจจาระร่วงเกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป อาการของโรค คือ ถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง โรคนี้เป็นได้กับคนทุกวัยและพบได้ตลอดทั้งปี โรคนี้ทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับอุจจาระจำนวนมาก จนอาจทำให้ช็อกหมดสติและอาจเสียชีวิต คำแนะนำสำหรับประชาชน ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องน้ำ แยกอาหารสดออกจากอาหารที่ปรุงสุกแล้วเสมอ ควรปรุงอาหารให้สุกทั่วถึง หากผู้ที่มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคคั่งค้างในร่างกาย จะเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น ขอให้ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารเหลวมากๆ และดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หรือโออาร์เอสแทนน้ำ โดยใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง ผสมกับน้ำต้มสุกเย็น 1 แก้ว ประมาณ 250 ซีซี หากไม่มีผงเกลือแร่สำเร็จ สามารถปรุงเองได้ โดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลม ประมาณ 750 ซีซี ให้ผู้ป่วยดื่มบ่อยๆ เพื่อทดแทนการเสียน้ำและเกลือแร่ หลังดื่มแล้วอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้น แต่หากยังไม่หยุดถ่ายและมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมากขึ้น อุจจาระมีกลิ่นเหม็นเน่าคล้ายหัวกุ้งเน่า ปวดบิด มีไข้สูงขึ้นหรือชัก ควรพาไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า โรคพิษสุนัขบ้าในช่วงนี้ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะจำนวนสุนัขจรจัดอาจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งที่ผ่านมา จึงควรระวังในการเก็บสุนัขมาเลี้ยง เพราะสุนัขอาจรับเชื้อจากสุนัขที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าและเชื้อนี้สามารถอยู่ในน้ำลายได้ ที่สำคัญโรคนี้เป็นแล้วตายทุกราย ไม่มียารักษา แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีน พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำ 5ย เพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด ได้แก่ “อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง” มีรายละเอียด ดังนี้ อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัข (หาง, ตัว, ขา) หรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ หากถูกสุนัขกัดให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจนครบตามที่แพทย์แนะนำ ต้องจำสัตว์ที่กัดให้ได้เพื่อสืบหาเจ้าของและสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าติดตามดูอาการสุนัข 10 วัน และถ้าพบสุนัขตายลงก่อนตาย 10 วัน และมีประวัติกัดคน หรือสัตว์อื่น ควรนำหัวส่งตรวจโดยประสานกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์พื้นที่ใกล้บ้าน
อนึ่ง กรมฯ ได้ดำเนินกิจกรรมในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยร่วมโครงการรณรงค์การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมวกับกรมปศุสัตว์ รวมถึงการประชุมร่วมระหว่างผู้บริหารระดับสูงของกรมควบคุมโรคและกรมปศุสัตว์ เพื่อประสานความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดหน่วยงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าดีเด่น (MoPH-MoAC Rabies Award) เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทั้ง อบต. และเทศบาล โดยสัปดาห์หน้ากรมฯ จะจัดประชุมความร่วมมือการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2555 ขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ เพื่อประสานความร่วมมือในด้านนโยบาย ด้านวิชาการ ด้านพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ด้วยการระดมทรัพยากรทั้งบุคลากรและงบประมาณที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ สุดท้ายหากประชาชนเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที และถ้ามีข้อสงสัยถึงอาการของโรคและวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333” ดร.นายแพทย์ พรเทพ กล่าวทิ้งท้าย