แพทย์ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ครอบครัวถูกกระต่ายบ้ากัด ยืนยันปลอดภัย
วันนี้ (6 ส.ค.) นางศิริพร ภุมรินทร์ พร้อมด้วยครอบครัว เดินทางมาเข้าพบ น.สพ.ชาญณรงค์ มิตรมูลพิทักษ์ สัตวแพทย์ประจำฝ่ายชันสูตรสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ที่สถานเสาวภาฯ ถนนพระราม 4 แขวงและเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อขอคำแนะนำจากทางแพทย์ เนื่องจากครอบครัวถูกกระต่ายกัด แล้วเกิดความกังวลในความปลอดภัย
นางศิริพร เปิดเผยว่า วันนี้ตนและครอบครัวเดินทางมาขอคำแนะนำจากทางแพทย์ เนื่องจากภายหลังจากถูกกระต่ายที่ตนเลี้ยงไว้กัด จากนั้นได้เดินทางไปฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว แต่คนในครอบครัวมีอาการเป็นไข้เล็กน้อย จึงอยากให้ทางแพทย์ชี้แจงว่าเป็นเพราะเหตุใดถึงมีอาการดังกล่าวขึ้นได้ และอยากทราบสาเหตุของการเป็นโรคเชื้อพิษสุนัขบ้าในกระต่ายที่ตนเลี้ยงไว้อีกด้วย ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ตนและครอบครัวเข้าพบแพทย์ ได้ให้คำตอบกับตน ว่า ทางครอบครัวตนได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าไปครบแล้ว ภายหลังจากที่ถูกกัด ซึ่งหมอคาดว่า จะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน แต่เพื่อความสบายใจ ทางแพทย์ก็จะให้ทางตนและครอบครัวได้รับการฉีดวัคซีนใหม่อีกครั้ง จึงสร้างความสบายใจให้กับตนและครอบครัวเป็นอย่างมาก
ด้าน น.สพ.ชาญณรงค์ เปิดเผยว่า เบื้องต้นคนไข้ได้รับการฉีดวัคซีนไปครบเรียบร้อยแล้ว จึงไม่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตแน่นอน ส่วนสาเหตุของการมีเชื้อพิษสุนัขบ้าในตัวกระต่ายนั้น ทางแพทย์ได้สันนิษฐานไป 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากหนูที่มาเสียชีวิตใกล้กับกรงเลี้ยงกระต่าย และสาเหตุจากกระต่ายตัวที่สองที่เพิ่งซื้อมาจากสนามหลวง 2 ได้เป็นเวลา 2-3 เดือน เบื้องต้นได้มีการประสานไปทางกรมปศุสัตว์ และ กทม.ลงพื้นที่ตรวจสอบหนูท่อที่อยู่ในบริเวณชุมชนดังกล่าว เพื่อนำมาตรวจสอบว่าพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ส่วนกระต่ายตัวที่ 2 ยังต้องขอตรวจสอบก่อนสรุปผลว่าเกิดด้วยสาเหตุใด นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณะสุข กรมควบคุมโรคติดต่อ จะมีการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพประชาชนในชุมชนละแวกดังกล่าวว่ามีใครได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ เพื่อทำการป้องกัน
ด้าน สพ.ญ.ปราณี พาณิชย์พงษ์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยโรคพิษสุนัขบ้าจะไปเกิดอยู่ในตัวกระต่ายเป็นไปได้น้อยมาก ซึ่งตอนนี้ทางเราได้มีการตั้งชุดตรวจสอบสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าว และตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้หลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากการเลี้ยงกระต่ายไว้ในกรง ทำให้เกิดอาการดุร้าย หรือได้รับการสัมผัสจากหนูท่อที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และการมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในร่างกายอยู่แล้วเนื่องจากเป็นกระต่ายป่า ก็เป็นได้หลายเหตุผลด้วยกันเบื้องต้นต้องทำการตรวจสอบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนสรุปผลว่าเกิดด้วยเหตุใด
“นอกจากนี้ อยากจะให้ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะสุนัข แมว กระรอก กระแต ฯลฯ ต้องขอให้นำสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เพราะคนเลี้ยงส่วนใหญ่ประมาทว่าเลี้ยงไว้ภายในบ้านแล้วจะปลอดภัย แต่เชื้อโรคเหล่านี้มันเกิดได้หลากหลายรูปแบบ ส่วนวิธีการสังเกตุสัตว์เลี้ยงภายในบ้านว่ามีอาการ>เป็นพิษสุนัขบ้านั้นสัตว์เลี้ยงจะมีอาการสมองบวม ระบบประสาทผิดปกติมีความดุร้ายกว่าปกติ สุดท้ายมีอาการอัมพาต แล้วเสียชีวิตในที่สุดซึ่งถ้าผู้ใดถูกกัดต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน พร้อมทั้งนำซากสัตว์เหล่านั้นมาตรวจสอบด้วย ทั้งนี้ทางกรมปศุสัตว์ได้ทำการประสานทางกทม.เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบหนูท่อในบริเวณชุมชนดังกล่าวว่าพบเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่” สพ.ญ.ปราณี กล่าว
ทางด้าน ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถานเสาวภาสภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าและเข้ารับการรักษากว่า 4 แสน คนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุถูกสุนัข และแมวกัด
ทั้งนี้ ทางสถานเสาวภาฯ อยากจะใคร่ขอประชาสัมพันธ์ ว่า ถ้าผู้ใดถูกสัตว์เลี้ยงกัดจะต้องล้างแผลด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนไปพบแพทย์ ซึ่งปัจจุบันนี้สถานพยาบาลทุกแห่งมีวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้าอยู่แล้ว ซึ่งวัคซีนมีอยู่อยู่ 2 ชนิดคือชนิดฉีดก่อนถูกกัดส่วนใหญ่จะใช้สำหรับผู้ที่ต้องสัมผัสสัตว์โดยตรงพวกสัตวแพทย์ คนเลี้ยงสัตว์ ส่วนชนิดฉีดภายหลังถูกกัดก็คือประชาชนทั่วที่ที่ถูกกัดหรือถูกสัตว์ใช้เล็บข่วน หรือสัมผัสเชื้อโดยตรง
วันนี้ (6 ส.ค.) นางศิริพร ภุมรินทร์ พร้อมด้วยครอบครัว เดินทางมาเข้าพบ น.สพ.ชาญณรงค์ มิตรมูลพิทักษ์ สัตวแพทย์ประจำฝ่ายชันสูตรสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ที่สถานเสาวภาฯ ถนนพระราม 4 แขวงและเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อขอคำแนะนำจากทางแพทย์ เนื่องจากครอบครัวถูกกระต่ายกัด แล้วเกิดความกังวลในความปลอดภัย
นางศิริพร เปิดเผยว่า วันนี้ตนและครอบครัวเดินทางมาขอคำแนะนำจากทางแพทย์ เนื่องจากภายหลังจากถูกกระต่ายที่ตนเลี้ยงไว้กัด จากนั้นได้เดินทางไปฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว แต่คนในครอบครัวมีอาการเป็นไข้เล็กน้อย จึงอยากให้ทางแพทย์ชี้แจงว่าเป็นเพราะเหตุใดถึงมีอาการดังกล่าวขึ้นได้ และอยากทราบสาเหตุของการเป็นโรคเชื้อพิษสุนัขบ้าในกระต่ายที่ตนเลี้ยงไว้อีกด้วย ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ตนและครอบครัวเข้าพบแพทย์ ได้ให้คำตอบกับตน ว่า ทางครอบครัวตนได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าไปครบแล้ว ภายหลังจากที่ถูกกัด ซึ่งหมอคาดว่า จะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน แต่เพื่อความสบายใจ ทางแพทย์ก็จะให้ทางตนและครอบครัวได้รับการฉีดวัคซีนใหม่อีกครั้ง จึงสร้างความสบายใจให้กับตนและครอบครัวเป็นอย่างมาก
ด้าน น.สพ.ชาญณรงค์ เปิดเผยว่า เบื้องต้นคนไข้ได้รับการฉีดวัคซีนไปครบเรียบร้อยแล้ว จึงไม่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตแน่นอน ส่วนสาเหตุของการมีเชื้อพิษสุนัขบ้าในตัวกระต่ายนั้น ทางแพทย์ได้สันนิษฐานไป 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากหนูที่มาเสียชีวิตใกล้กับกรงเลี้ยงกระต่าย และสาเหตุจากกระต่ายตัวที่สองที่เพิ่งซื้อมาจากสนามหลวง 2 ได้เป็นเวลา 2-3 เดือน เบื้องต้นได้มีการประสานไปทางกรมปศุสัตว์ และ กทม.ลงพื้นที่ตรวจสอบหนูท่อที่อยู่ในบริเวณชุมชนดังกล่าว เพื่อนำมาตรวจสอบว่าพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ส่วนกระต่ายตัวที่ 2 ยังต้องขอตรวจสอบก่อนสรุปผลว่าเกิดด้วยสาเหตุใด นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณะสุข กรมควบคุมโรคติดต่อ จะมีการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพประชาชนในชุมชนละแวกดังกล่าวว่ามีใครได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ เพื่อทำการป้องกัน
ด้าน สพ.ญ.ปราณี พาณิชย์พงษ์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยโรคพิษสุนัขบ้าจะไปเกิดอยู่ในตัวกระต่ายเป็นไปได้น้อยมาก ซึ่งตอนนี้ทางเราได้มีการตั้งชุดตรวจสอบสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าว และตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้หลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากการเลี้ยงกระต่ายไว้ในกรง ทำให้เกิดอาการดุร้าย หรือได้รับการสัมผัสจากหนูท่อที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และการมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในร่างกายอยู่แล้วเนื่องจากเป็นกระต่ายป่า ก็เป็นได้หลายเหตุผลด้วยกันเบื้องต้นต้องทำการตรวจสอบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนสรุปผลว่าเกิดด้วยเหตุใด
“นอกจากนี้ อยากจะให้ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะสุนัข แมว กระรอก กระแต ฯลฯ ต้องขอให้นำสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เพราะคนเลี้ยงส่วนใหญ่ประมาทว่าเลี้ยงไว้ภายในบ้านแล้วจะปลอดภัย แต่เชื้อโรคเหล่านี้มันเกิดได้หลากหลายรูปแบบ ส่วนวิธีการสังเกตุสัตว์เลี้ยงภายในบ้านว่ามีอาการ>เป็นพิษสุนัขบ้านั้นสัตว์เลี้ยงจะมีอาการสมองบวม ระบบประสาทผิดปกติมีความดุร้ายกว่าปกติ สุดท้ายมีอาการอัมพาต แล้วเสียชีวิตในที่สุดซึ่งถ้าผู้ใดถูกกัดต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน พร้อมทั้งนำซากสัตว์เหล่านั้นมาตรวจสอบด้วย ทั้งนี้ทางกรมปศุสัตว์ได้ทำการประสานทางกทม.เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบหนูท่อในบริเวณชุมชนดังกล่าวว่าพบเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่” สพ.ญ.ปราณี กล่าว
ทางด้าน ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถานเสาวภาสภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าและเข้ารับการรักษากว่า 4 แสน คนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุถูกสุนัข และแมวกัด
ทั้งนี้ ทางสถานเสาวภาฯ อยากจะใคร่ขอประชาสัมพันธ์ ว่า ถ้าผู้ใดถูกสัตว์เลี้ยงกัดจะต้องล้างแผลด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนไปพบแพทย์ ซึ่งปัจจุบันนี้สถานพยาบาลทุกแห่งมีวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้าอยู่แล้ว ซึ่งวัคซีนมีอยู่อยู่ 2 ชนิดคือชนิดฉีดก่อนถูกกัดส่วนใหญ่จะใช้สำหรับผู้ที่ต้องสัมผัสสัตว์โดยตรงพวกสัตวแพทย์ คนเลี้ยงสัตว์ ส่วนชนิดฉีดภายหลังถูกกัดก็คือประชาชนทั่วที่ที่ถูกกัดหรือถูกสัตว์ใช้เล็บข่วน หรือสัมผัสเชื้อโดยตรง