วานนี้(6 ส.ค.55) ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “กฎหมายไทย” เนื่องในวันรพี ซึ่งตรงกับวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปี สำรวจระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2555 โดยสำรวจจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,265 หน่วยตัวอย่าง ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
เมื่อถามว่า ท่านคิดว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายหรือไม่ ร้อยละ 85.85 บอกว่ามีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของไทย ร้อยละ 14.15 บอกไม่มี
เมื่อถามว่า ท่านคิดว่าสาเหตุใดที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไทยไม่ประสบความสำเร็จ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)ร้อยละ 46.09 บอกว่า การปกครองของไทยยังคงเป็นแบบเล่นพวกพ้อง (ระบบอุปถัมภ์) , การติดสินบนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 44.19 ,ประชาชนไม่รู้กฎหมาย ร้อยละ 38.50 ,การเลือกปฏิบัติ ความไม่เสมอภาค สองมาตรฐานของเจ้าหน้าที่ 37.36 ,เจ้าหน้าที่รัฐเผิกเฉยต่อการใช้กฎหมาย 27.51 ,กฎหมายมีผลบังคับใช้แต่ไม่เกิดผล 26.72 , อื่นๆ เช่น กฎหมายของไทยยังมีช่องว่างอยู่ 2.29
เมื่อถามว่า สิ่งที่ท่านอยากบอกกับ “ผู้มีอำนาจใช้กฎหมาย” คือ ไม่เอาเปรียบประชาชน ทำหน้าที่อย่างสุจริต ร้อยละ 38.58 ,มีบทลงโทษที่จริงจัง มีความเด็ดขาดกับผู้ที่กระทำความผิด ร้อยละ 33.58 และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสมอภาค ตรงไปตรงมา และไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 27.84
**ปปช.จี้รัฐเปิดราคากลางโปร่งใส
วันเดียวกัน นายปานเทพ กล้านรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวระหว่างการปาฐกถาเรื่อง "ความโปร่งใสกับการพัฒนาสังคมไทย" ที่โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ว่า หลักความโปร่งใสถูกบรรจุไว้ในหมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ หมายความว่าขณะนี้ที่รัฐบาลกำลังมีโครงการขนาดใหญ่จำนวนมาก ดังนั้นเวลาจะดำเนินการโครงการดังกล่าวรัฐบาลต้องทำให้ประชาชนรับทราบถึงกระบวนการก่อนการดำเนินการของรัฐบาล
"การทำโครงการเชิงนโยบายใช้งบประมาณจำนวนมากไม่ใช่ความผิดเป็นไปตามอำนาจของรัฐบาลแต่รัฐบาลมีหน้าต้องบอกประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศให้ทราบทั้งหมดโดยเฉพาะกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉบับใหม่ได้กำหนดให้รัฐบาลต้องเปิดเผยราคากลางและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนรับรู้และมีส่วนร่วม โดยป.ป.ช.ได้เสนอระเบียบไปให้คณะรัฐมนตรีลงนามให้ความเห็นชอบแล้วแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า" นายปานเทพ กล่าว
แนวคิดเรื่องความโปร่งใสเป็นหลักที่เน้นไปยังการบริหารงานของภาครัฐที่จะต้องมีความชัดเจนให้สังคมโดยเฉพาะเมื่อภาครัฐจะทำกิจกรรมเกี่ยวกับสาธารณะก็ต้องบอกประชาชนว่าจะดำเนินการอะไรอย่างมีเหตุผล เช่น วัตถุประสงค์ กฎเกณฑ์ ใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์ งบประมาณจะมาจากไหนและมีการป้องกันความเสี่ยงต่อการคอรัปชั่นอย่างไร
"ความโปร่งใสเป็นเครื่องมือป้องกันคอรัปชั่นเพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ เรื่องนี้มีความสำคัญต่อการทำงานทั้งหมด ถ้ารัฐบาลทำให้เกิดความโปร่งใสประชาชนจะเกิดความศรัทธา ความไว้วางใจและการให้ความร่วมมือกัน จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศและสังคม" นายปานเทพ กล่าว
การทุจริตยังเป็นปัญหาและตัวลิดรอนความเจริญของประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้เกิดความโปร่งใสโดยอาศัยความจริงใจจากภาครัฐเพราะไทยกำลังเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยืนหยัดในเวทีนานาชาติอย่างมีความสง่างาม โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีชี้วัดปัญหาคอรัปชั่นและความโปร่งใสของไทยยังไม่มีทิศทางที่ดีขึ้นมาจาการขาดความร่วมมือจากภาคการเมือง
จากนั้นได้มีการออกคำประกาศเจตนารมณ์ของเครือข่ายป.ป.ช.จำนวน 3 ข้อได้แก่ 1.พวกเราจะส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการของภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน และทุกภาคส่วนให้ใช้หลักธรรมาภิบาล บรรษัทภิบาล ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะความโปร่งใสและความซื่อสัตย์สุจริต 2.พวกเราจะกล้ายืนหยัดที่จะเฝ้าระวังตรวจสอบการใช้อำนาจหรือการดำเนินงานของภาครัฐ ชอบธรรม รวมทั้งแจ้งข้อมูลเบาะแส อันจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 3.พวกเราจะถือว่าการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต เป็นภารกิจของทุกคนในชาติและเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ตลอดจนสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งและยั่งยืนเพื่อขยายผลเจตนารมณ์ให้กว้างขวางครอบคลุมทั่วทั้งแผ่นดินไทย
**คอรัปชัน ฉุดไทย อยู่อันดับ 80 โลก
นายปานเทพ กล่าวในตอนหนึ่งว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทย ยังเป็นปัญหาใหญ่และแก้ไขได้ยาก ลิดรอนความเจริญในการพัฒนาของประเทศ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการช่วยกันผลักดันให้เกิดความโปร่งใสขึ้น ซึ่งเราจะทำให้เกิดความโปร่งใส ก็คือความจริงใจของภาครัฐ และพวกเราต้องคอยตรวจสอบ ช่วยกันให้ประเทศไทยยืนหยัดอยู่ได้ในประเทศ และนานาชาติ และเพื่อให้ประเทศชาติสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
จากข้อมูลดัชนีความโปร่งใสขององค์กรความโปร่งใสนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2554 เปรียบเทียบกันจำนวน 185 ประเทศ พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 80 ของโลก และเป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งดูแล้วเป็นลำดับที่ไม่ดีเลย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ประเทศสิงคโปร์ อยู่ในอันดับที่ 5 ของโลกซึ่งนับว่าแตกต่างกันมาก
**ระบบอุปถัมย์ทำไทยล้าหลัง
ด้านนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. บรรยายพิเศษเรื่องเทคนิคการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยาน ว่า ไม่ว่าจะเป็นอำมาตย์หรือไพร่ต้องผนึกกำลังกัน ป.ป.ช.ไม่ใช่พระนารายณ์ไม่ใช่คนที่มีอำนาจแล้วจะแสดงอำนาจอิทธิฤทธิ์พิเศษได้อะไรนอกนอกจากริดสีดวง ต้องผนึกกำลังกันทุกภาคส่วนและทุกฝ่าย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำสงครามใหญ่ การทุจริตเป็นการประกาศสงครามครั้งใหญ่กับผู้มีอำนาจมากที่สุด 5 ปีมาแล้วที่เราสะสมมา ต้องขอบคุณรัฐสภาที่แม้ไม่ชอบหน้าป.ป.ช.เท่าไหร่ แต่ที่แล้วกฎหมายก็ผ่านมาจนได้ โดยเฉพาะกฎหมายที่ส่งเสริมให้ประชาชนที่มีส่วนร่วม ส่วนจะไปยกเลิกอะไรในภายภาคหน้าก็ช่างมัน ถ้าไม่มีคนร่วมพลังกันมันจะไปมีความหมายอะไร มันจะสำเร็จได้อย่างไรคนเท่านั่นที่จะทำให้อะไรเกิดขึ้นและปฏิบัติได้จริง
“ขงจื๊อได้เขียนมาไว้พันปี ทุจริตเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุด เท่าที่สังคมต้องเผชิญและแก้ปัญหามากที่สุด ถ้าเทียบกับการก่อการร้ายแล้วเปรียบได้แค่เด็กที่ซนเท่านั้น ไม่เท่ากับการทุจริตที่เป็นยักษ์ใหญ่ เพราะมันเข้าไปซึมลึกในจิตใจผู้คน ทุกคนมีซาตานอยู่ในตัวที่มีความชั่วร้าย โลภโกรธ หลง ทันทีที่มีคนเสนอเงินให้คุณ ถ้าถามว่าจะให้เท่าไหร่ อันนี้ก็คือบาปทันที ในสังคมเรามีทุจริตแทรกซึมไปหมด ถ้าท่านไม่รู้แรงของเราที่จะดำเนินการไม่รู้ทุนของพรรคพวกที่เราต้องการจะแก้ไข เราก็จะไม่มีทางที่จะต่อต้านหรือต่อสู้ได้เลย งานนี้ไม่ใช่งานเฉพาะตัวแต่จะเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ เราต้องสร้างคลื่นลูกใหม่ให้เกิดขึ้น”
นายวิชา กล่าว กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวต่อไปว่า ระบบที่เพาะโรคร้ายอย่างร้ายรองลงมาก็คือระบบอุปถัมที่มีอยู่ในสังคมมานานมาก การที่เรารักษาระบบนี้ไว้ก็เพราะรักษาผลประโยชน์ของเราเอง เหมือนกับที่บอกว่าโกงไม่เป็นไรให้ได้ประโยชน์ก็แล้วกัน เป็นการทำลายทัศนคติมันจะหมายถึงความพินาศของบ้านเมือง เพราะมันจะเกิดลัทธิยอมจำนน ต้องไม่ยอมจำนนต่อทุจริตเป็นอันขาด กฎหมายที่จะทำขึ้นมาใหม่ก็จะทำลายเครือข่ายที่จะเกิดขึ้น เป็นเหมือนมะเร็งที่จะเป็นเชื้อของการทุจริต คนที่อยู่ในกระบวนการโกง ก็ย่อมที่เกรงกลัวและเกรงใจอำนาจเงินและอำนาจอิทธิพลต่างๆ เพราะจะต้องมีการข่มขู่
**ออกฎคุ้มครองพยานแฉข้อมูลทุจริต
นายวิชา กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ก่อนนั้นคนที่จะเป็นพยานจะต้องมีหน้าที่เป็นพลเมืองดี บังคับให้เขามาเป็นพลเมืองดี และทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องที่อาจจะต้องมีความเสี่ยงต่อชีวิต แสดงให้เห็นถึงความใจร้ายมาก เราไม่ได้คิดถึงหัวอกพยานเลย มาตรการในการคุ้มครองช่วยเหลือคุ้มครอง ในต่างประเทศไม่ใช่หมายถึงเพราะพยานบุคคลเพียงอย่างเดียว คำว่าพยานในที่นี้ไม่ต่างจากกฎหมายดั้งเดิม ป.ป.ช.จะมีหน่วยงานรองรับในต่างจังหวัด เราเรียกกระบวนการนี้ว่าเป็นการตรวจสอบเบื้องต้น เรามีหน่วยที่จะลงไปดู ป.ป.ช.ไม่ใช่เป็นหน่วยที่ต้องอยู่กับที่ ซึ่งเป็นการทำงานในเชิงรุก ถ้าเราจะตั้งเรื่องไต่สวนก็เพราะมีน้ำหนักเพียงพอจะทำงานได้ ต้องรู้เขารู้เราไม่ต่อยสะเปะสะปะ ตอนมายื่นข้อมูลก็ต้องมีเบาะแสพอสมควร และมีพยานที่จะพอบอกเราได้ว่าเป็นเรื่องอะไร กระบวนการนี้ก็สามารถที่จะร้องขอคุ้มครองพยานกับเราได้ และหน่วยงานอื่นได้
เมื่อเข้าสู่การคุ้มครองพยานแล้วนั้น เราจะมีมาตรการเร่งด่วนในการคุ้มครองโดยทันที เราจะสามารถให้การคุ้มครองไปก่อนได้ ไม่ใช่รอให้ป.ป.ช.มีมติ ซึ่งต่อไปจะต้องขยายให้เขตพื้นที่ให้การช่วยเหลือเร่งด่วน โดยรวมไปถึงครอบครัวผู้เสียหายด้วย ไม่ใช่เข้าแทรกแซงชีวิตจนไม่เหมาะสม ปกปิดไม่เปิดเผยให้ข้อมูล เราเข้าใจดีว่าการที่มาเป็นพยานเพราะต้องบริสุทธิ์ในไม่ต้องการอะไร เราจึงมีระเบียบอีกอันในเรื่องการที่ท่านให้รับรางวัลตอบแทน มันเป็นการยืนยันว่ากรรมดีเห็นได้ในชาตินี้ เราะไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือระบบของกรรม การทุจริตคือสิ่งชั่วร้ายที่ต้องกำจัด ถ้าเขาต้องติดคุกมันก็คือกรรมของเขาที่ต้องจัดการ
“กฎหมายเราไม่ใช่กฎหมายขี้ไก่เหมือนสมัยก่อนแล้ว แต่เป็นกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและจะจัดการพวกทุจริตได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกเรื่องคือเรื่องการจ่ายสินบนที่มีคนมาแจ้ง ก็เป็นกรณียึดทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดิน ขืนเป็นแบบนี้เราไม่สามรถยึดได้เลย หากคนมาแจ้งเบาะแสแบบนี้มาบอกเรา ถ้าหากเอาผิดและยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดินก็จะได้รางวัลไม่เกินร้อยละ 10 และไม่เกิน 10 ล้านบาท” นายวิชา กล่าว
เมื่อถามว่า ท่านคิดว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายหรือไม่ ร้อยละ 85.85 บอกว่ามีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของไทย ร้อยละ 14.15 บอกไม่มี
เมื่อถามว่า ท่านคิดว่าสาเหตุใดที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไทยไม่ประสบความสำเร็จ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)ร้อยละ 46.09 บอกว่า การปกครองของไทยยังคงเป็นแบบเล่นพวกพ้อง (ระบบอุปถัมภ์) , การติดสินบนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 44.19 ,ประชาชนไม่รู้กฎหมาย ร้อยละ 38.50 ,การเลือกปฏิบัติ ความไม่เสมอภาค สองมาตรฐานของเจ้าหน้าที่ 37.36 ,เจ้าหน้าที่รัฐเผิกเฉยต่อการใช้กฎหมาย 27.51 ,กฎหมายมีผลบังคับใช้แต่ไม่เกิดผล 26.72 , อื่นๆ เช่น กฎหมายของไทยยังมีช่องว่างอยู่ 2.29
เมื่อถามว่า สิ่งที่ท่านอยากบอกกับ “ผู้มีอำนาจใช้กฎหมาย” คือ ไม่เอาเปรียบประชาชน ทำหน้าที่อย่างสุจริต ร้อยละ 38.58 ,มีบทลงโทษที่จริงจัง มีความเด็ดขาดกับผู้ที่กระทำความผิด ร้อยละ 33.58 และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสมอภาค ตรงไปตรงมา และไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 27.84
**ปปช.จี้รัฐเปิดราคากลางโปร่งใส
วันเดียวกัน นายปานเทพ กล้านรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวระหว่างการปาฐกถาเรื่อง "ความโปร่งใสกับการพัฒนาสังคมไทย" ที่โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ว่า หลักความโปร่งใสถูกบรรจุไว้ในหมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ หมายความว่าขณะนี้ที่รัฐบาลกำลังมีโครงการขนาดใหญ่จำนวนมาก ดังนั้นเวลาจะดำเนินการโครงการดังกล่าวรัฐบาลต้องทำให้ประชาชนรับทราบถึงกระบวนการก่อนการดำเนินการของรัฐบาล
"การทำโครงการเชิงนโยบายใช้งบประมาณจำนวนมากไม่ใช่ความผิดเป็นไปตามอำนาจของรัฐบาลแต่รัฐบาลมีหน้าต้องบอกประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศให้ทราบทั้งหมดโดยเฉพาะกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉบับใหม่ได้กำหนดให้รัฐบาลต้องเปิดเผยราคากลางและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนรับรู้และมีส่วนร่วม โดยป.ป.ช.ได้เสนอระเบียบไปให้คณะรัฐมนตรีลงนามให้ความเห็นชอบแล้วแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า" นายปานเทพ กล่าว
แนวคิดเรื่องความโปร่งใสเป็นหลักที่เน้นไปยังการบริหารงานของภาครัฐที่จะต้องมีความชัดเจนให้สังคมโดยเฉพาะเมื่อภาครัฐจะทำกิจกรรมเกี่ยวกับสาธารณะก็ต้องบอกประชาชนว่าจะดำเนินการอะไรอย่างมีเหตุผล เช่น วัตถุประสงค์ กฎเกณฑ์ ใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์ งบประมาณจะมาจากไหนและมีการป้องกันความเสี่ยงต่อการคอรัปชั่นอย่างไร
"ความโปร่งใสเป็นเครื่องมือป้องกันคอรัปชั่นเพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ เรื่องนี้มีความสำคัญต่อการทำงานทั้งหมด ถ้ารัฐบาลทำให้เกิดความโปร่งใสประชาชนจะเกิดความศรัทธา ความไว้วางใจและการให้ความร่วมมือกัน จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศและสังคม" นายปานเทพ กล่าว
การทุจริตยังเป็นปัญหาและตัวลิดรอนความเจริญของประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้เกิดความโปร่งใสโดยอาศัยความจริงใจจากภาครัฐเพราะไทยกำลังเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยืนหยัดในเวทีนานาชาติอย่างมีความสง่างาม โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีชี้วัดปัญหาคอรัปชั่นและความโปร่งใสของไทยยังไม่มีทิศทางที่ดีขึ้นมาจาการขาดความร่วมมือจากภาคการเมือง
จากนั้นได้มีการออกคำประกาศเจตนารมณ์ของเครือข่ายป.ป.ช.จำนวน 3 ข้อได้แก่ 1.พวกเราจะส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการของภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน และทุกภาคส่วนให้ใช้หลักธรรมาภิบาล บรรษัทภิบาล ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะความโปร่งใสและความซื่อสัตย์สุจริต 2.พวกเราจะกล้ายืนหยัดที่จะเฝ้าระวังตรวจสอบการใช้อำนาจหรือการดำเนินงานของภาครัฐ ชอบธรรม รวมทั้งแจ้งข้อมูลเบาะแส อันจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 3.พวกเราจะถือว่าการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต เป็นภารกิจของทุกคนในชาติและเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ตลอดจนสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งและยั่งยืนเพื่อขยายผลเจตนารมณ์ให้กว้างขวางครอบคลุมทั่วทั้งแผ่นดินไทย
**คอรัปชัน ฉุดไทย อยู่อันดับ 80 โลก
นายปานเทพ กล่าวในตอนหนึ่งว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทย ยังเป็นปัญหาใหญ่และแก้ไขได้ยาก ลิดรอนความเจริญในการพัฒนาของประเทศ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการช่วยกันผลักดันให้เกิดความโปร่งใสขึ้น ซึ่งเราจะทำให้เกิดความโปร่งใส ก็คือความจริงใจของภาครัฐ และพวกเราต้องคอยตรวจสอบ ช่วยกันให้ประเทศไทยยืนหยัดอยู่ได้ในประเทศ และนานาชาติ และเพื่อให้ประเทศชาติสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
จากข้อมูลดัชนีความโปร่งใสขององค์กรความโปร่งใสนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2554 เปรียบเทียบกันจำนวน 185 ประเทศ พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 80 ของโลก และเป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งดูแล้วเป็นลำดับที่ไม่ดีเลย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ประเทศสิงคโปร์ อยู่ในอันดับที่ 5 ของโลกซึ่งนับว่าแตกต่างกันมาก
**ระบบอุปถัมย์ทำไทยล้าหลัง
ด้านนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. บรรยายพิเศษเรื่องเทคนิคการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยาน ว่า ไม่ว่าจะเป็นอำมาตย์หรือไพร่ต้องผนึกกำลังกัน ป.ป.ช.ไม่ใช่พระนารายณ์ไม่ใช่คนที่มีอำนาจแล้วจะแสดงอำนาจอิทธิฤทธิ์พิเศษได้อะไรนอกนอกจากริดสีดวง ต้องผนึกกำลังกันทุกภาคส่วนและทุกฝ่าย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำสงครามใหญ่ การทุจริตเป็นการประกาศสงครามครั้งใหญ่กับผู้มีอำนาจมากที่สุด 5 ปีมาแล้วที่เราสะสมมา ต้องขอบคุณรัฐสภาที่แม้ไม่ชอบหน้าป.ป.ช.เท่าไหร่ แต่ที่แล้วกฎหมายก็ผ่านมาจนได้ โดยเฉพาะกฎหมายที่ส่งเสริมให้ประชาชนที่มีส่วนร่วม ส่วนจะไปยกเลิกอะไรในภายภาคหน้าก็ช่างมัน ถ้าไม่มีคนร่วมพลังกันมันจะไปมีความหมายอะไร มันจะสำเร็จได้อย่างไรคนเท่านั่นที่จะทำให้อะไรเกิดขึ้นและปฏิบัติได้จริง
“ขงจื๊อได้เขียนมาไว้พันปี ทุจริตเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุด เท่าที่สังคมต้องเผชิญและแก้ปัญหามากที่สุด ถ้าเทียบกับการก่อการร้ายแล้วเปรียบได้แค่เด็กที่ซนเท่านั้น ไม่เท่ากับการทุจริตที่เป็นยักษ์ใหญ่ เพราะมันเข้าไปซึมลึกในจิตใจผู้คน ทุกคนมีซาตานอยู่ในตัวที่มีความชั่วร้าย โลภโกรธ หลง ทันทีที่มีคนเสนอเงินให้คุณ ถ้าถามว่าจะให้เท่าไหร่ อันนี้ก็คือบาปทันที ในสังคมเรามีทุจริตแทรกซึมไปหมด ถ้าท่านไม่รู้แรงของเราที่จะดำเนินการไม่รู้ทุนของพรรคพวกที่เราต้องการจะแก้ไข เราก็จะไม่มีทางที่จะต่อต้านหรือต่อสู้ได้เลย งานนี้ไม่ใช่งานเฉพาะตัวแต่จะเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ เราต้องสร้างคลื่นลูกใหม่ให้เกิดขึ้น”
นายวิชา กล่าว กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวต่อไปว่า ระบบที่เพาะโรคร้ายอย่างร้ายรองลงมาก็คือระบบอุปถัมที่มีอยู่ในสังคมมานานมาก การที่เรารักษาระบบนี้ไว้ก็เพราะรักษาผลประโยชน์ของเราเอง เหมือนกับที่บอกว่าโกงไม่เป็นไรให้ได้ประโยชน์ก็แล้วกัน เป็นการทำลายทัศนคติมันจะหมายถึงความพินาศของบ้านเมือง เพราะมันจะเกิดลัทธิยอมจำนน ต้องไม่ยอมจำนนต่อทุจริตเป็นอันขาด กฎหมายที่จะทำขึ้นมาใหม่ก็จะทำลายเครือข่ายที่จะเกิดขึ้น เป็นเหมือนมะเร็งที่จะเป็นเชื้อของการทุจริต คนที่อยู่ในกระบวนการโกง ก็ย่อมที่เกรงกลัวและเกรงใจอำนาจเงินและอำนาจอิทธิพลต่างๆ เพราะจะต้องมีการข่มขู่
**ออกฎคุ้มครองพยานแฉข้อมูลทุจริต
นายวิชา กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ก่อนนั้นคนที่จะเป็นพยานจะต้องมีหน้าที่เป็นพลเมืองดี บังคับให้เขามาเป็นพลเมืองดี และทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องที่อาจจะต้องมีความเสี่ยงต่อชีวิต แสดงให้เห็นถึงความใจร้ายมาก เราไม่ได้คิดถึงหัวอกพยานเลย มาตรการในการคุ้มครองช่วยเหลือคุ้มครอง ในต่างประเทศไม่ใช่หมายถึงเพราะพยานบุคคลเพียงอย่างเดียว คำว่าพยานในที่นี้ไม่ต่างจากกฎหมายดั้งเดิม ป.ป.ช.จะมีหน่วยงานรองรับในต่างจังหวัด เราเรียกกระบวนการนี้ว่าเป็นการตรวจสอบเบื้องต้น เรามีหน่วยที่จะลงไปดู ป.ป.ช.ไม่ใช่เป็นหน่วยที่ต้องอยู่กับที่ ซึ่งเป็นการทำงานในเชิงรุก ถ้าเราจะตั้งเรื่องไต่สวนก็เพราะมีน้ำหนักเพียงพอจะทำงานได้ ต้องรู้เขารู้เราไม่ต่อยสะเปะสะปะ ตอนมายื่นข้อมูลก็ต้องมีเบาะแสพอสมควร และมีพยานที่จะพอบอกเราได้ว่าเป็นเรื่องอะไร กระบวนการนี้ก็สามารถที่จะร้องขอคุ้มครองพยานกับเราได้ และหน่วยงานอื่นได้
เมื่อเข้าสู่การคุ้มครองพยานแล้วนั้น เราจะมีมาตรการเร่งด่วนในการคุ้มครองโดยทันที เราจะสามารถให้การคุ้มครองไปก่อนได้ ไม่ใช่รอให้ป.ป.ช.มีมติ ซึ่งต่อไปจะต้องขยายให้เขตพื้นที่ให้การช่วยเหลือเร่งด่วน โดยรวมไปถึงครอบครัวผู้เสียหายด้วย ไม่ใช่เข้าแทรกแซงชีวิตจนไม่เหมาะสม ปกปิดไม่เปิดเผยให้ข้อมูล เราเข้าใจดีว่าการที่มาเป็นพยานเพราะต้องบริสุทธิ์ในไม่ต้องการอะไร เราจึงมีระเบียบอีกอันในเรื่องการที่ท่านให้รับรางวัลตอบแทน มันเป็นการยืนยันว่ากรรมดีเห็นได้ในชาตินี้ เราะไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือระบบของกรรม การทุจริตคือสิ่งชั่วร้ายที่ต้องกำจัด ถ้าเขาต้องติดคุกมันก็คือกรรมของเขาที่ต้องจัดการ
“กฎหมายเราไม่ใช่กฎหมายขี้ไก่เหมือนสมัยก่อนแล้ว แต่เป็นกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและจะจัดการพวกทุจริตได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกเรื่องคือเรื่องการจ่ายสินบนที่มีคนมาแจ้ง ก็เป็นกรณียึดทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดิน ขืนเป็นแบบนี้เราไม่สามรถยึดได้เลย หากคนมาแจ้งเบาะแสแบบนี้มาบอกเรา ถ้าหากเอาผิดและยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดินก็จะได้รางวัลไม่เกินร้อยละ 10 และไม่เกิน 10 ล้านบาท” นายวิชา กล่าว