วานนี้ (30 ก.ค.) น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ถึงกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ให้ นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รายงานต่อที่ประชุม ซึ่งระบุว่าหลังจากที่ได้อ่านพร้อมกันทั้งคำวินิจฉัยกลาง และคำวินิจฉัยส่วนตนแล้ว พบว่ายังมีบางส่วนที่ไม่เหมือนกัน และทางครม.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน จึงมอบให้กฤษฎีกาไปศึกษาและพิจารณาเพื่อหาข้อยุติของความหมายข้อวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนที่สุด
ทั้งนี้ในระหว่างรอผลได้มอบหมาย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ไปศึกษาหากลไกในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างเสริมความสมดุลของทั้ง 3 อำนาจในรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การบริหารแผ่นดินเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และให้ประชาชนเข้าใจในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
**ผู้สั่งเคลียร์คำวินิจฉัยส่วนตัว
รายงานข่าวจากที่ประชุม ครม.เปิดเผยว่า นายกฯ กำชับว่า หากมีประเด็นไหนที่สงสัยในทุกข้อทุกเรื่อง ให้ทำหนังสือไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอคำอธิบายเพื่อให้เกิดความกระจ่างในทุกข้อที่สงสัย เพราะในคำวินิจฉัยของแต่ละคนก็มีความเห็นแตกต่างกันไปยังไม่ค่อยชัดเจนทำให้ยากต่อการเข้าใจ เพราะจริงๆการเปิดคำวินิจฉัยควรจะนำคำวินิจฉัยส่วนตนมาเปิดเผยก่อนแล้วค่อยนำคำวินิจฉัยกลางมาเปิดที่หลังแต่นี่กลับตรงข้ามกันทำให้เกิดความสับสนว่าเกิดอะไรขึ้น
ซึ่งนายกรัฐมนตรี มอบให้ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้แจงในเรื่องนี้ ซึ่งร.ต.อ.เฉลิมเห็นด้วยว่าหากจุดไหนของคำวินิจฉัยส่วนตนมีความสงสัยก็ให้ทำหนังสือไปถามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อความกระจ่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ไปตีความกันผิดๆให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปชี้ชัดเลยว่าอะไรคืออะไร
เวลา 13.30 น. ที่โรงทอผ้าไหมยกทอง บ้านท่าสว่าง จ.สุรินทร์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้กฤษฎีกากลับไปศึกษาอย่างครบถ้วนเรียบร้อย ทั้งคำวินิจฉัยส่วนตนและคำวินิจฉัยกลาง
ขณะเดียวกัน ครม.ก็เห็นว่าในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนก็ไม่ควรรอ จึงมีมติเห็นชอบให้นายยงยุทธ ไปหากระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน
อย่างไรก็ตามไม่ใช่การทำประชามติ เป็นเพียงการสอบถามความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม เพราะขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปในข้อกฎหมาย และเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ ประชาชนเองก็คงอยากทราบเนื้อหา ซึ่งวันนี้ไม่ควรพูดรายละเอียดเป็นมาตรา แต่ควรจะคุยถึงหลักว่าจะให้เป็นรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และอยู่ภายใต้กรอบนิติรัฐ นิติธรรม และเกิดความเสมอภาคได้อย่างไร แล้วถึงค่อยมาคุยเรื่องข้อกฎหมาย
ส่วนกระบวนการมีส่วนร่วมจะทำในรูปแบบใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยังไม่มีข้อสรุป แต่อาจให้นักวิชาการหรือกลไกของกระทรวงมหาดไทยในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยต้องฟังความเห็นกันในหลักใหญ่ก่อน ทั้งนี้ไม่ได้ตั้งกรอบเวลาในการทำงาน ทุกอย่างเราอาศัยบนหลักความเข้าใจ ดีกว่าจะเร่งบนกรอบเวลา แต่ไม่เข้าใจกัน
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุจะให้นายอดิศร เพียงเกษ และนายสุธรรม แสงประทุม คนพรรคเพื่อไทยจากบ้าน 111 มาร่วมเปิดเวทีชี้แจงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียด เพราะเราจะให้นายยงยุทธไปหารือก่อน
**1พันล้าน ตั้งส.ส.ร.3
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนเคยให้สัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเมื่อวันศุกร์ที่ 13 ก.ค.ว่า เห็นว่าแนวทางที่น่าจะไม่มีปัญหา คือ การแก้รายมาตรา เพราะไม่ต้องไปตีความให้ยุ่งยาก
เมื่อถามว่า ส่วนการเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เสนองบประมาณจากคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 เพื่อใช้กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.)จำนวน 1,000 ล้านบาท นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อน เพราะถ้าถึงเวลาแล้วอาจจะไม่ทันการ และเป็นไปตามขั้นตอน เพราะตอนนี้ถึงการลงมติวาระ 3 จึงต้องมีการของบประมาณตรงนี้ไว้รองรับ และสมมติว่ามีการถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ออกไปตรงนี้งบประมาณก็ต้องถอนออกไปด้วย ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเป็นการเตรียมการเท่านั้นเอง
**ยันไม่ถกปรองดอง-แก้รธน.
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ทั้ง 2 เรื่องยังไม่มีข้อสรุปว่าจะเอายังไง ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปของสมาชิกว่าจะมีมติในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 8 ส.ค.นี้
ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเลื่อนไปวันไหน ก็พร้อมที่จะมาชุมนุมทันทีหากมีการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.... นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนก็ทำได้ดีที่สุด คือแค่เลื่อนออกไปเท่านั้น ข้อสรุปต้องขึ้นกับสมาชิก
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 ส.ค.นี้ ตนได้เรียกประชุมนัดพิเศษ ซึ่งไม่มีญัตติเรื่อง พรบ.ปรองดองฯ และไม่มีการหารือในประเด็นนี้ เพื่อที่จะได้รอคำตอบจากพรรคร่วมรัฐบาลว่าเห็นอย่างไร
“ผมเป็นเพียงแค่ผู้ดำเนินรายการไม่มีอำนาจไปทำอะไร หรือไปสั่งใคร ซึ่งจุดยืนของผมยืนยันว่าให้ยื้อออกไปไม่ใช่ให้ถอนร่าง ส่วนจะยื้อในรูปแบบไหนก็ไปว่ากันอีกที ขอยืนยันว่าไม่ได้ทำเพื่อคนๆเดียวแน่นอน มองผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก” นายสมศักดิ์ กล่าว
**อ้าง แค่ให้ยืดไม่ได้ถอน
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรถอนร่าง พรบ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ... จำนวน 4 ฉบับ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนขอยืนยันว่าไม่เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะให้มีการถอนร่าง พรบ.ปรองดองฯ มีแต่ให้สัมภาษณ์บอกว่าเห็นควรให้ยื้อออกไปก่อน เพื่อที่จะให้มีการทำประชาเสวนา และตนเคยให้สัมภาษณ์อีกว่าไม่เคยไปพูดกับเจ้าของญัตติให้ถอนร่างฯออกไป เพราะไม่ใช่หน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องไปคุยกับผู้เสนอ เรื่องนี้เป็นอำนาจของที่ประชุม เป็นเรื่องของสมาชิกและคำตอบสุดท้ายที่จะถอนก็ต้องเป็นมติของสมาชิก ซึ่งในความเห็นของตนยืนยันว่าต้องยื้อร่าง พรบ.ปรองดองฯออกไปก่อนและทำประชาเสวนาเท่านั้น
**วิปรัฐโยนพรรคร่วมตัดสินวันนี้
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย เป็นประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือถึงกรณีร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 ทั้งแนวทางแก้ไขแบบรายมาตรา การทำประชามติ และการเดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญ วาระ3 ซึ่งบางส่วนมีความเห็นว่าควรแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่บางส่วนกังวลต่อการใช้ดุลยพินิจขององค์กรอิสระโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลรัฐธรรมนูญว่าแม้คำวินิจฉัยออกมาชัดเจนแล้วว่าสามารถดำเนินการลงมติในวาระ 3 ได้ เพราะเป็นอำนาจของรัฐสภา แต่อาจจะมีการยื่นคำร้องในทำนองนี้อีกต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญอาจรับคำร้องได้เรื่อยๆ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เมื่อใดที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ดุลยพินิจตัดสินให้ผู้ที่ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีความผิดมาเมื่อใดหรือวาระใด ก็อาจส่งผลเสียได้ ซึ่งทำให้จำนวนเสียงของส.ส.และส.ว.ในการลงมติวาระ 3 มีไม่เท่ากับการลงมติในวาระแรกที่มี 399 เสียง จึงต้องมีการพิจารณากันก่อนเดินหน้าลงมติวาระ 3ว่าข้อกังวลดังกล่าวจะทำให้มีคนลงมติเหลือเท่าใด
“วันนี้ยังไม่ได้สรุป แต่จะนำสิ่งที่พูดคุยกันวันนี้ไปหารือในการประชุมของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 31 ก.ค.นี้ เวลา 16.00 น. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เพื่อให้พิจารณาและตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ”นายอุดมเดชกล่าว
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น ต้องมาคุยกันว่ามีมาตราใดบ้าง ซึ่งตนเห็นว่าควรแก้ไขบางมาตรา เพราะถ้าแก้ไขมากมาตรา ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกินเวลาออกไป สำหรับการลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนเห็นว่าจะลงประชามติก่อนหรือหลังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมา หลังมีการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็มีการลงประชามติอยู่แล้ว แต่หากทำประชามติก่อน ประชาชนก็ไม่รู้ว่าแก้ไขเรื่องใดประเด็นใด
ทั้งนี้ที่ประชุมไม่ได้หารือถึงการจะถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดองออกไปหรือไม่ เพราะต้องถามพรรคร่วมรัฐบาลและผู้เสนอร่าง ขณะเดียวกันอยากเรียกร้องให้ฝ่ายค้านเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาด้วย เพื่อสร้างบรรยากาศปรองดองขึ้นมาและร่วมกันพิจารณาว่าแนวทางใดจะเป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
**' พท.ตกผลึกรายมาตรา เล็งเดินสาย
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ข้อสรุปจริงๆแล้วเหลือเพียงแนวทางเดียวในการแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้กันในวงในลึกๆที่ยังเปิดเผยไม่ได้ แม้ว่าตนจะยังไม่ได้รับมอบหมายในการทำความเข้าใจกับประชาชน แต่ส่วนตัวก็ได้ทำหน้าที่อยู่แล้วร่วมกับนายสุธรรม แสงประทุม และนายอดิศร เพียงเกษ ที่เตรียมการว่าในวันพฤหัสบดี-อาทิตย์ของทุกสัปดาห์ จะตระเวนเปิดเวทีสร้างเข้าใจ โดยเน้นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเป็นหลัก รวมไปถึงการเปิดเวทีปราศรัยที่ลานคนเมือง กทม.ด้วย ส่วนในพื้นที่ภาคใต้นั้นอาจจะไปที่ จ.ภูเก็ต และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
**ชี้ “สมศักดิ์” ไม่รู้เรื่อง
สำหรับกรณีที่ นายสมศักดิ์ เสนอให้ถอนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.... ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ความเห็นดังกล่าวไม่ใช่จุดยืนของพรรคเพื่อไทย เพราะนายสมศักดิ์ไม่เคยเข้าประชุมพรรค ซึ่งที่ประชุมก็มีการยืนยันแล้วว่าไม่ถอนวาระ ส่วนภาคประชาชนโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเสนอให้ถอนวาระนี้ออกจากสภาฯนั้น ก็เชื่อว่าจะไม่เป็นกดดันนายสมศักดิ์ และคงไม่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในห้องประชุมเหมือนที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถึงเวลาที่ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯฉบับที่ร่างโดย ร.ต.อ.เฉลิมจะออกมาเปิดเผยหรือยัง รองนายกฯกล่าวว่า ไม่ขอพูดเรื่องนี้ เกรงว่าจะถูกตำหนิ แต่ในความเห็นตนคิดว่า สิ่งใดที่ทำแล้วไม่สำเร็จ ก็ไม่ควรลองผิดลองถูก แต่ควรที่จะศึกษาสิ่งแวดล้อมสถานการณ์รอบด้านมากกว่า ที่สำคัญต้องยอมรับว่า พรรคเราไม่มีตัวช่วย และเขากำลังจะสหบาทา จึงไม่ควรเปิดช่อง ต้องรัดกุม เชื่อว่าจากนี้ต่อไปคงดีขึ้น เมื่อถามถึงความมั่นใจในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า “อย่าไปเอา 4.6 หมื่นล้านก็จบ”
**ติ๊งเหล่ ด่าค้อนจุ้นทำเกินหน้าที่
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงว่า การถอนหรือไม่ถอนร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติออกจากวาระการพิจารณาของรัฐสภานั้น เป็นเรื่องของผู้ยื่นเสนอร่างกฎหมาย ดังนั้นไม่ใช่หน้าที่ของนายสมศักดิ์ ที่จะไปคุยกับบุคคลอื่นให้ถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯ ออกไป แต่ควรทำหน้าที่เป็นกลางและทำเฉพาะในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตนเองเท่านั้น ยืนยันว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯ ไม่ใช่ระเบิดเวลา ดังนั้นจะไม่มีการถอนร่างออกจากสภาแน่นอน เพราะแม้ว่ายังคงอยู่ในวาระการพิจารณาก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด โดยระหว่างที่ร่างยังค้างอยู่นั้น รัฐบาลก็ควรจะดำเนินการสานเสวนาและทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน เมื่อตกผลึกแล้วก็สามารถนำมาพิจารณาได้ การคาร่างไว้ไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกแยก และหากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยก็สามารถแปรญัตติได้เมื่อมีการหยิบร่างขึ้นมาพิจารณา
**เหน็บ“เหลิม”รู้ดีถึงกระบวนการ
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า การเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางก่อนคำวินิจฉัยส่วนตน แสดงว่ามีความไม่โปร่งใส ว่า การแสดงความคิดเห็นดังกล่าว อาจจะทำให้ประชาชนและสังคมเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐ ธรรมนูญ ซึ่ง กระบวนการเกี่ยวกับการทำคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการฯนั้น เมื่อองค์คณะตุลาการฯ ได้นัดประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจาก่อนการลงมติ ตุลาการฯ ทุกคนต้องจัดทำคำวินิจฉัยส่วนตนมาก่อนแล้ว และเมื่อลงมติเสร็จเรียบร้อยทุกคน ตุลาการฯก็จะต้องส่งคำวินิจฉัยส่วนตนให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทันที เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม โดยการตรวจสอบดังกล่าวทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องของคำวินิจฉัยทั้งถ้อยคำ รูปแบบ วรรคตอน คำผิดคำถูก และตัวบทกฎหมาย ดังนั้น คณะทำงานต้องใช้เวลาพอสมควรในการตรวจสอบ และหลังจากการตรวจสอบแล้วต้องเสนอคำวินิจฉัยกลางให้องค์คณะพิจารณา ส่วนคำวินิจฉัยส่วนตนจะนำเสนอตุลาการฯแต่คนพิจารณา ซึ่งตุลาการฯแต่ละคนจะเห็นด้วยกับการเสนอขอแก้ไขของคณะทำงานหรือไม่ก็ได้ หรือตุลาการฯอาจจะปรับปรุงความเห็นเพิ่มเติมที่ไม่ใช่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระ สำคัญของคำวินิจฉัยส่วนตนให้สมบูรณ์ก็ได้ ทั้งนี้เมื่อเสร็จแล้วก็จะส่งให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบความถูกต้อง อีกครั้ง ก่อนที่จะส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่มีคำวินิจฉัย
“การตรวจสอบความถูกต้องของคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาล รัฐธรรมนูญเป็นไปในลักษณะเดียวกับศาลอื่นๆ ที่จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องก่อน ซึ่งในอดีต ร.ต.อ.เฉลิม ก็เคยดำรงตำแหน่งรมว.ยุติธรรม จึงคิดว่าน่าจะเข้าใจความถูกต้องของคำพิพากษาศาลยุติธรรมเป็นอย่างดี และก่อนหน้านี้ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการฯแต่ละคนก็ออกมาภายหลังคำวินิจฉัยกลางเช่นกัน ” นายพิมล กล่าวและว่า การเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการฯ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดให้เผยแพร่คำวินิจฉัยลงในเว็บไซด์ของสำนักงานฯ แต่ตุลาการฯเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ กระทบต่อการเมืองการปกครองของประเทศ และอยู่ในความสนใจของประชาชน ก็ควรที่จะมีการเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการฯให้ทราบโดยทั่วกัน
ทั้งนี้ในระหว่างรอผลได้มอบหมาย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ไปศึกษาหากลไกในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างเสริมความสมดุลของทั้ง 3 อำนาจในรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การบริหารแผ่นดินเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และให้ประชาชนเข้าใจในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
**ผู้สั่งเคลียร์คำวินิจฉัยส่วนตัว
รายงานข่าวจากที่ประชุม ครม.เปิดเผยว่า นายกฯ กำชับว่า หากมีประเด็นไหนที่สงสัยในทุกข้อทุกเรื่อง ให้ทำหนังสือไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอคำอธิบายเพื่อให้เกิดความกระจ่างในทุกข้อที่สงสัย เพราะในคำวินิจฉัยของแต่ละคนก็มีความเห็นแตกต่างกันไปยังไม่ค่อยชัดเจนทำให้ยากต่อการเข้าใจ เพราะจริงๆการเปิดคำวินิจฉัยควรจะนำคำวินิจฉัยส่วนตนมาเปิดเผยก่อนแล้วค่อยนำคำวินิจฉัยกลางมาเปิดที่หลังแต่นี่กลับตรงข้ามกันทำให้เกิดความสับสนว่าเกิดอะไรขึ้น
ซึ่งนายกรัฐมนตรี มอบให้ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้แจงในเรื่องนี้ ซึ่งร.ต.อ.เฉลิมเห็นด้วยว่าหากจุดไหนของคำวินิจฉัยส่วนตนมีความสงสัยก็ให้ทำหนังสือไปถามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อความกระจ่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ไปตีความกันผิดๆให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปชี้ชัดเลยว่าอะไรคืออะไร
เวลา 13.30 น. ที่โรงทอผ้าไหมยกทอง บ้านท่าสว่าง จ.สุรินทร์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้กฤษฎีกากลับไปศึกษาอย่างครบถ้วนเรียบร้อย ทั้งคำวินิจฉัยส่วนตนและคำวินิจฉัยกลาง
ขณะเดียวกัน ครม.ก็เห็นว่าในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนก็ไม่ควรรอ จึงมีมติเห็นชอบให้นายยงยุทธ ไปหากระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน
อย่างไรก็ตามไม่ใช่การทำประชามติ เป็นเพียงการสอบถามความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม เพราะขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปในข้อกฎหมาย และเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ ประชาชนเองก็คงอยากทราบเนื้อหา ซึ่งวันนี้ไม่ควรพูดรายละเอียดเป็นมาตรา แต่ควรจะคุยถึงหลักว่าจะให้เป็นรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และอยู่ภายใต้กรอบนิติรัฐ นิติธรรม และเกิดความเสมอภาคได้อย่างไร แล้วถึงค่อยมาคุยเรื่องข้อกฎหมาย
ส่วนกระบวนการมีส่วนร่วมจะทำในรูปแบบใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยังไม่มีข้อสรุป แต่อาจให้นักวิชาการหรือกลไกของกระทรวงมหาดไทยในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยต้องฟังความเห็นกันในหลักใหญ่ก่อน ทั้งนี้ไม่ได้ตั้งกรอบเวลาในการทำงาน ทุกอย่างเราอาศัยบนหลักความเข้าใจ ดีกว่าจะเร่งบนกรอบเวลา แต่ไม่เข้าใจกัน
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุจะให้นายอดิศร เพียงเกษ และนายสุธรรม แสงประทุม คนพรรคเพื่อไทยจากบ้าน 111 มาร่วมเปิดเวทีชี้แจงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียด เพราะเราจะให้นายยงยุทธไปหารือก่อน
**1พันล้าน ตั้งส.ส.ร.3
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนเคยให้สัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเมื่อวันศุกร์ที่ 13 ก.ค.ว่า เห็นว่าแนวทางที่น่าจะไม่มีปัญหา คือ การแก้รายมาตรา เพราะไม่ต้องไปตีความให้ยุ่งยาก
เมื่อถามว่า ส่วนการเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เสนองบประมาณจากคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 เพื่อใช้กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.)จำนวน 1,000 ล้านบาท นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อน เพราะถ้าถึงเวลาแล้วอาจจะไม่ทันการ และเป็นไปตามขั้นตอน เพราะตอนนี้ถึงการลงมติวาระ 3 จึงต้องมีการของบประมาณตรงนี้ไว้รองรับ และสมมติว่ามีการถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ออกไปตรงนี้งบประมาณก็ต้องถอนออกไปด้วย ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเป็นการเตรียมการเท่านั้นเอง
**ยันไม่ถกปรองดอง-แก้รธน.
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ทั้ง 2 เรื่องยังไม่มีข้อสรุปว่าจะเอายังไง ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปของสมาชิกว่าจะมีมติในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 8 ส.ค.นี้
ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเลื่อนไปวันไหน ก็พร้อมที่จะมาชุมนุมทันทีหากมีการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.... นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนก็ทำได้ดีที่สุด คือแค่เลื่อนออกไปเท่านั้น ข้อสรุปต้องขึ้นกับสมาชิก
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 ส.ค.นี้ ตนได้เรียกประชุมนัดพิเศษ ซึ่งไม่มีญัตติเรื่อง พรบ.ปรองดองฯ และไม่มีการหารือในประเด็นนี้ เพื่อที่จะได้รอคำตอบจากพรรคร่วมรัฐบาลว่าเห็นอย่างไร
“ผมเป็นเพียงแค่ผู้ดำเนินรายการไม่มีอำนาจไปทำอะไร หรือไปสั่งใคร ซึ่งจุดยืนของผมยืนยันว่าให้ยื้อออกไปไม่ใช่ให้ถอนร่าง ส่วนจะยื้อในรูปแบบไหนก็ไปว่ากันอีกที ขอยืนยันว่าไม่ได้ทำเพื่อคนๆเดียวแน่นอน มองผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก” นายสมศักดิ์ กล่าว
**อ้าง แค่ให้ยืดไม่ได้ถอน
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรถอนร่าง พรบ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ... จำนวน 4 ฉบับ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนขอยืนยันว่าไม่เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะให้มีการถอนร่าง พรบ.ปรองดองฯ มีแต่ให้สัมภาษณ์บอกว่าเห็นควรให้ยื้อออกไปก่อน เพื่อที่จะให้มีการทำประชาเสวนา และตนเคยให้สัมภาษณ์อีกว่าไม่เคยไปพูดกับเจ้าของญัตติให้ถอนร่างฯออกไป เพราะไม่ใช่หน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องไปคุยกับผู้เสนอ เรื่องนี้เป็นอำนาจของที่ประชุม เป็นเรื่องของสมาชิกและคำตอบสุดท้ายที่จะถอนก็ต้องเป็นมติของสมาชิก ซึ่งในความเห็นของตนยืนยันว่าต้องยื้อร่าง พรบ.ปรองดองฯออกไปก่อนและทำประชาเสวนาเท่านั้น
**วิปรัฐโยนพรรคร่วมตัดสินวันนี้
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย เป็นประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือถึงกรณีร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 ทั้งแนวทางแก้ไขแบบรายมาตรา การทำประชามติ และการเดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญ วาระ3 ซึ่งบางส่วนมีความเห็นว่าควรแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่บางส่วนกังวลต่อการใช้ดุลยพินิจขององค์กรอิสระโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลรัฐธรรมนูญว่าแม้คำวินิจฉัยออกมาชัดเจนแล้วว่าสามารถดำเนินการลงมติในวาระ 3 ได้ เพราะเป็นอำนาจของรัฐสภา แต่อาจจะมีการยื่นคำร้องในทำนองนี้อีกต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญอาจรับคำร้องได้เรื่อยๆ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เมื่อใดที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ดุลยพินิจตัดสินให้ผู้ที่ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีความผิดมาเมื่อใดหรือวาระใด ก็อาจส่งผลเสียได้ ซึ่งทำให้จำนวนเสียงของส.ส.และส.ว.ในการลงมติวาระ 3 มีไม่เท่ากับการลงมติในวาระแรกที่มี 399 เสียง จึงต้องมีการพิจารณากันก่อนเดินหน้าลงมติวาระ 3ว่าข้อกังวลดังกล่าวจะทำให้มีคนลงมติเหลือเท่าใด
“วันนี้ยังไม่ได้สรุป แต่จะนำสิ่งที่พูดคุยกันวันนี้ไปหารือในการประชุมของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 31 ก.ค.นี้ เวลา 16.00 น. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เพื่อให้พิจารณาและตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ”นายอุดมเดชกล่าว
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น ต้องมาคุยกันว่ามีมาตราใดบ้าง ซึ่งตนเห็นว่าควรแก้ไขบางมาตรา เพราะถ้าแก้ไขมากมาตรา ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกินเวลาออกไป สำหรับการลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนเห็นว่าจะลงประชามติก่อนหรือหลังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมา หลังมีการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็มีการลงประชามติอยู่แล้ว แต่หากทำประชามติก่อน ประชาชนก็ไม่รู้ว่าแก้ไขเรื่องใดประเด็นใด
ทั้งนี้ที่ประชุมไม่ได้หารือถึงการจะถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดองออกไปหรือไม่ เพราะต้องถามพรรคร่วมรัฐบาลและผู้เสนอร่าง ขณะเดียวกันอยากเรียกร้องให้ฝ่ายค้านเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาด้วย เพื่อสร้างบรรยากาศปรองดองขึ้นมาและร่วมกันพิจารณาว่าแนวทางใดจะเป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
**' พท.ตกผลึกรายมาตรา เล็งเดินสาย
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ข้อสรุปจริงๆแล้วเหลือเพียงแนวทางเดียวในการแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้กันในวงในลึกๆที่ยังเปิดเผยไม่ได้ แม้ว่าตนจะยังไม่ได้รับมอบหมายในการทำความเข้าใจกับประชาชน แต่ส่วนตัวก็ได้ทำหน้าที่อยู่แล้วร่วมกับนายสุธรรม แสงประทุม และนายอดิศร เพียงเกษ ที่เตรียมการว่าในวันพฤหัสบดี-อาทิตย์ของทุกสัปดาห์ จะตระเวนเปิดเวทีสร้างเข้าใจ โดยเน้นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเป็นหลัก รวมไปถึงการเปิดเวทีปราศรัยที่ลานคนเมือง กทม.ด้วย ส่วนในพื้นที่ภาคใต้นั้นอาจจะไปที่ จ.ภูเก็ต และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
**ชี้ “สมศักดิ์” ไม่รู้เรื่อง
สำหรับกรณีที่ นายสมศักดิ์ เสนอให้ถอนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.... ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ความเห็นดังกล่าวไม่ใช่จุดยืนของพรรคเพื่อไทย เพราะนายสมศักดิ์ไม่เคยเข้าประชุมพรรค ซึ่งที่ประชุมก็มีการยืนยันแล้วว่าไม่ถอนวาระ ส่วนภาคประชาชนโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเสนอให้ถอนวาระนี้ออกจากสภาฯนั้น ก็เชื่อว่าจะไม่เป็นกดดันนายสมศักดิ์ และคงไม่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในห้องประชุมเหมือนที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถึงเวลาที่ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯฉบับที่ร่างโดย ร.ต.อ.เฉลิมจะออกมาเปิดเผยหรือยัง รองนายกฯกล่าวว่า ไม่ขอพูดเรื่องนี้ เกรงว่าจะถูกตำหนิ แต่ในความเห็นตนคิดว่า สิ่งใดที่ทำแล้วไม่สำเร็จ ก็ไม่ควรลองผิดลองถูก แต่ควรที่จะศึกษาสิ่งแวดล้อมสถานการณ์รอบด้านมากกว่า ที่สำคัญต้องยอมรับว่า พรรคเราไม่มีตัวช่วย และเขากำลังจะสหบาทา จึงไม่ควรเปิดช่อง ต้องรัดกุม เชื่อว่าจากนี้ต่อไปคงดีขึ้น เมื่อถามถึงความมั่นใจในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า “อย่าไปเอา 4.6 หมื่นล้านก็จบ”
**ติ๊งเหล่ ด่าค้อนจุ้นทำเกินหน้าที่
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงว่า การถอนหรือไม่ถอนร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติออกจากวาระการพิจารณาของรัฐสภานั้น เป็นเรื่องของผู้ยื่นเสนอร่างกฎหมาย ดังนั้นไม่ใช่หน้าที่ของนายสมศักดิ์ ที่จะไปคุยกับบุคคลอื่นให้ถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯ ออกไป แต่ควรทำหน้าที่เป็นกลางและทำเฉพาะในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตนเองเท่านั้น ยืนยันว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯ ไม่ใช่ระเบิดเวลา ดังนั้นจะไม่มีการถอนร่างออกจากสภาแน่นอน เพราะแม้ว่ายังคงอยู่ในวาระการพิจารณาก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด โดยระหว่างที่ร่างยังค้างอยู่นั้น รัฐบาลก็ควรจะดำเนินการสานเสวนาและทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน เมื่อตกผลึกแล้วก็สามารถนำมาพิจารณาได้ การคาร่างไว้ไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกแยก และหากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยก็สามารถแปรญัตติได้เมื่อมีการหยิบร่างขึ้นมาพิจารณา
**เหน็บ“เหลิม”รู้ดีถึงกระบวนการ
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า การเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางก่อนคำวินิจฉัยส่วนตน แสดงว่ามีความไม่โปร่งใส ว่า การแสดงความคิดเห็นดังกล่าว อาจจะทำให้ประชาชนและสังคมเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐ ธรรมนูญ ซึ่ง กระบวนการเกี่ยวกับการทำคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการฯนั้น เมื่อองค์คณะตุลาการฯ ได้นัดประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจาก่อนการลงมติ ตุลาการฯ ทุกคนต้องจัดทำคำวินิจฉัยส่วนตนมาก่อนแล้ว และเมื่อลงมติเสร็จเรียบร้อยทุกคน ตุลาการฯก็จะต้องส่งคำวินิจฉัยส่วนตนให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทันที เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม โดยการตรวจสอบดังกล่าวทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องของคำวินิจฉัยทั้งถ้อยคำ รูปแบบ วรรคตอน คำผิดคำถูก และตัวบทกฎหมาย ดังนั้น คณะทำงานต้องใช้เวลาพอสมควรในการตรวจสอบ และหลังจากการตรวจสอบแล้วต้องเสนอคำวินิจฉัยกลางให้องค์คณะพิจารณา ส่วนคำวินิจฉัยส่วนตนจะนำเสนอตุลาการฯแต่คนพิจารณา ซึ่งตุลาการฯแต่ละคนจะเห็นด้วยกับการเสนอขอแก้ไขของคณะทำงานหรือไม่ก็ได้ หรือตุลาการฯอาจจะปรับปรุงความเห็นเพิ่มเติมที่ไม่ใช่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระ สำคัญของคำวินิจฉัยส่วนตนให้สมบูรณ์ก็ได้ ทั้งนี้เมื่อเสร็จแล้วก็จะส่งให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบความถูกต้อง อีกครั้ง ก่อนที่จะส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่มีคำวินิจฉัย
“การตรวจสอบความถูกต้องของคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาล รัฐธรรมนูญเป็นไปในลักษณะเดียวกับศาลอื่นๆ ที่จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องก่อน ซึ่งในอดีต ร.ต.อ.เฉลิม ก็เคยดำรงตำแหน่งรมว.ยุติธรรม จึงคิดว่าน่าจะเข้าใจความถูกต้องของคำพิพากษาศาลยุติธรรมเป็นอย่างดี และก่อนหน้านี้ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการฯแต่ละคนก็ออกมาภายหลังคำวินิจฉัยกลางเช่นกัน ” นายพิมล กล่าวและว่า การเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการฯ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดให้เผยแพร่คำวินิจฉัยลงในเว็บไซด์ของสำนักงานฯ แต่ตุลาการฯเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ กระทบต่อการเมืองการปกครองของประเทศ และอยู่ในความสนใจของประชาชน ก็ควรที่จะมีการเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการฯให้ทราบโดยทั่วกัน