ASTVผู้จัดการรายวัน- ส.อ.ท.แนะรัฐบาลปรับแผนกลยุทธ์ดันส่งออกไทยไปตลาดใหม่อย่างเป็นระบบ เหตุวิกฤตอียูซึมยาว มองส่งออกปีนี้เก่งสุดโตได้ 8% เลิกหวังเป้า 15% ผิดหวังกนง.คงดอกเบี้ยนโยบาย 3% ทั้งที่ศก.แย่ ขณะที่ “พาณิชย์”แจงตัวเลขส่งออก มิ.ย.คลาดเคลื่อน เหตุคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนผิด ชี้แก้ไขข้อมูลใหม่แล้ว ทำให้ มิ.ย.ส่งออกลด 4.2% ขาดดุลการค้า 546 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจำเป็นจะต้องปรับกลยุทธ์ในการทำตลาดส่งออกของไทยที่มุ่งเน้นตลาดใหม่ทั้ง อาเซียน อินเดีย รัสเซีย และตะวันออกกลางให้เป็นแบบแผนมากขึ้น โดยต้องกำหนดเป้าหมายหรือโฟกัสสินค้าที่ไทยมีศักยภาพแต่ละประเทศให้ชัดเจนเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้เอกชนได้รับทราบเพื่อที่จะรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจสหภาพยุโรปหรืออียูที่คาดว่าจะซึมยาว
“แหล่งข้อมูลสำคัญๆ อยู่ที่รัฐแต่ยังไม่เป็นระบบฐานข้อมูลที่ดีพอในการส่งสัญญาณไปยังเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี “นายสมมาตกล่าว
ทั้งนี้จากตัวเลขการส่งออกปีนี้ล่าสุดมิ.ย. 55 มีมูลค่า 2.01 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลง 2.5% ทำให้การส่งออกสะสม 6 เดือน(ม.ค.-มิ.ย.) ปีนี้มีมูลค่า 1.12 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง 1.66% เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจอียู และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไร้แววฟื้นตัวมีผลต่อการส่งออกไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมมาก ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องมองหาตลาดส่งออกใหม่ซึ่งอาจจะไม่เห็นผลในปีนี้แต่ก็จะช่วยในเรื่องการส่งออกในปี 2556 ได้
นายสมมาตกล่าวว่า พิจารณาจากตัวเลขส่งออก 6 เดือนแรกทำให้เป้าหมายส่งออกปีนี้จะขยายตัว 15% แทบเป็นไปไม่ได้ ส่วนตัวประเมินว่าโต 8% น่าจะเป็นอะไรที่มากสุดแล้ว
อย่างไรก็ตาม รู้สึกผิดหวังการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3% ทั้งที่น่าจะลดลงอย่างน้อย 0.25% เนื่องจากหากกังวลปัญหาวิกฤตอียูจริงก็ควรจะปรับลดเพื่อกระตุ้นแรงซื้อของประชาชนและลดต้นทุนให้กับภาคการผลิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท. กล่าวว่า อุตฯอาหารปีนี้ยังหวังที่จะโตตามเป้าหมายที่วางไว้ 6-7% จากปีก่อนเนื่องจากอาหารยังเป็นสินค้าจำเป็นและส่วนหนึ่งยังมีตลาดเอเชียเข้ามาเสริม อย่างไรก็ตามปัญหาวิกฤตอียูทำให้ลูกค้ามีคำสั่งซื้อ(ออร์เดอร์)เปลี่ยนเป็นระยะสั้น 1-2 เดือนแทนระยะยาว 6 เดือนถึง 1 ปี เนื่องจากลูกค้าวิตกปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อการประเมินทิศทางได้ยาก
***แจงส่งออกมิ.ย.เพี้ยนปรับใหม่ลบเพิ่ม4.2%
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือนมิ.ย.2555 ที่คลาดเคลื่อน เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนผิด โดยมีการนำอัตราแลกเปลี่ยนของเดือนพ.ค. มาคำนวณ โดยการส่งออกใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 30.6288 บาท/เหรียญสหรัฐ นำเข้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 31.0085 บาท/เหรียญสหรัฐ ทั้งๆ ที่ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดือน มิ.ย. มาคำนวณ คือ ส่งออกใช้ 31.1829 บาท/เหรียญสหรัฐ และนำเข้าใช้ 31.5606 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงจากที่แถลงเดิม คือ การส่งออกจะมีมูลค่า 1.97 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.2% นำเข้ามูลค่า 2.03 หมื่นเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.6% และขาดดุลการค้า 546.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกรวมในช่วง 6 เดือนปี 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) จะมีมูลค่า 1.12 แสนล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 1.22 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1.03 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ ยืนยันว่ากระทรวงฯ ไม่มีนัยสำคัญในการบิดเบือนตัวเลข เพราะถ้าปกปิดหรือบิดเบือนข้อมูล คงไม่มาแก้ไขตัวเลข เพราะไม่มีใครรู้อยู่แล้ว ดังนั้น จึงเป็นความผิดพลาดในเรื่องของการคำนวณ ซึ่งก็ขอน้อมรับ และจะไม่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือตัวเลขเศรษฐกิจที่กระทรวงพาณิชย์ดูแล
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจำเป็นจะต้องปรับกลยุทธ์ในการทำตลาดส่งออกของไทยที่มุ่งเน้นตลาดใหม่ทั้ง อาเซียน อินเดีย รัสเซีย และตะวันออกกลางให้เป็นแบบแผนมากขึ้น โดยต้องกำหนดเป้าหมายหรือโฟกัสสินค้าที่ไทยมีศักยภาพแต่ละประเทศให้ชัดเจนเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้เอกชนได้รับทราบเพื่อที่จะรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจสหภาพยุโรปหรืออียูที่คาดว่าจะซึมยาว
“แหล่งข้อมูลสำคัญๆ อยู่ที่รัฐแต่ยังไม่เป็นระบบฐานข้อมูลที่ดีพอในการส่งสัญญาณไปยังเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี “นายสมมาตกล่าว
ทั้งนี้จากตัวเลขการส่งออกปีนี้ล่าสุดมิ.ย. 55 มีมูลค่า 2.01 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลง 2.5% ทำให้การส่งออกสะสม 6 เดือน(ม.ค.-มิ.ย.) ปีนี้มีมูลค่า 1.12 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง 1.66% เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจอียู และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไร้แววฟื้นตัวมีผลต่อการส่งออกไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมมาก ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องมองหาตลาดส่งออกใหม่ซึ่งอาจจะไม่เห็นผลในปีนี้แต่ก็จะช่วยในเรื่องการส่งออกในปี 2556 ได้
นายสมมาตกล่าวว่า พิจารณาจากตัวเลขส่งออก 6 เดือนแรกทำให้เป้าหมายส่งออกปีนี้จะขยายตัว 15% แทบเป็นไปไม่ได้ ส่วนตัวประเมินว่าโต 8% น่าจะเป็นอะไรที่มากสุดแล้ว
อย่างไรก็ตาม รู้สึกผิดหวังการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3% ทั้งที่น่าจะลดลงอย่างน้อย 0.25% เนื่องจากหากกังวลปัญหาวิกฤตอียูจริงก็ควรจะปรับลดเพื่อกระตุ้นแรงซื้อของประชาชนและลดต้นทุนให้กับภาคการผลิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท. กล่าวว่า อุตฯอาหารปีนี้ยังหวังที่จะโตตามเป้าหมายที่วางไว้ 6-7% จากปีก่อนเนื่องจากอาหารยังเป็นสินค้าจำเป็นและส่วนหนึ่งยังมีตลาดเอเชียเข้ามาเสริม อย่างไรก็ตามปัญหาวิกฤตอียูทำให้ลูกค้ามีคำสั่งซื้อ(ออร์เดอร์)เปลี่ยนเป็นระยะสั้น 1-2 เดือนแทนระยะยาว 6 เดือนถึง 1 ปี เนื่องจากลูกค้าวิตกปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อการประเมินทิศทางได้ยาก
***แจงส่งออกมิ.ย.เพี้ยนปรับใหม่ลบเพิ่ม4.2%
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือนมิ.ย.2555 ที่คลาดเคลื่อน เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนผิด โดยมีการนำอัตราแลกเปลี่ยนของเดือนพ.ค. มาคำนวณ โดยการส่งออกใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 30.6288 บาท/เหรียญสหรัฐ นำเข้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 31.0085 บาท/เหรียญสหรัฐ ทั้งๆ ที่ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดือน มิ.ย. มาคำนวณ คือ ส่งออกใช้ 31.1829 บาท/เหรียญสหรัฐ และนำเข้าใช้ 31.5606 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงจากที่แถลงเดิม คือ การส่งออกจะมีมูลค่า 1.97 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.2% นำเข้ามูลค่า 2.03 หมื่นเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.6% และขาดดุลการค้า 546.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกรวมในช่วง 6 เดือนปี 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) จะมีมูลค่า 1.12 แสนล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 1.22 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1.03 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ ยืนยันว่ากระทรวงฯ ไม่มีนัยสำคัญในการบิดเบือนตัวเลข เพราะถ้าปกปิดหรือบิดเบือนข้อมูล คงไม่มาแก้ไขตัวเลข เพราะไม่มีใครรู้อยู่แล้ว ดังนั้น จึงเป็นความผิดพลาดในเรื่องของการคำนวณ ซึ่งก็ขอน้อมรับ และจะไม่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือตัวเลขเศรษฐกิจที่กระทรวงพาณิชย์ดูแล