ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.ไฟเขียว ตั้งวอร์รูม หากพบเด็กป่วยโรคมือเท้าปาก 10 รายต่อวัน ด้าน สาธิตจุฬาลงกรณ์ พบเด็กนักเรียนป่วย22ราย ด้านผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา ชี้ไม่ใช่สายพันธุ์รุนแรงเหมือนกัมพูชา-เวียดนาม ส่วน ร.ร.วัฒนาวิทยาลัย เด็กป่วย 4 ราย สั่งปิด 3 วัน สำหรับ กทม.เผยโรงเรียนทุกสังกัด 29 แห่ง ประกาศปิดเรียนหลังเด็กป่วย
วานนี้ (17 ก.ค.) รศ.สุปราณี จิราณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายประถมโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เปิดแถลงข่าวชี้แจงกรณีพบเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เป็นโรค มือ เท้า ปาก ทั้งหมด 22 ราย จึงสั่งปิดโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. โดยจะทำการเปิดเรียนวันที่ 23 ก.ค.นี้ โดยวันนี้สำนักงานสิ่งแวดล้อม กทม.มาทำการฉีดยาฆ่าเชื้อตามอาคารเรียนห้องน้ำและอุปกรณ์ต่างๆแล้ว พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมาได้มีการสั่งทำความสะอาดโรงเรียนเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งหลังจากที่มีการพบโรคดังกล่าวเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน ก็ได้สั่งการให้ทำความสะอาดภายในบริเวณโรงเรียนเข้มงวดมากขึ้น
ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคดังกล่าวแพร่ระบาดสูงสุดในรอบ 30 ปี โดยสายพันธุ์ที่พบว่ามีการแพร่ระบาดในไทยนั้น ไม่ใช่สายพันธุ์ที่รุนแรง เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาหรือเวียดนาม โดยสายพันธุ์ที่พบมี2สายพันธุ์ คือ เอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์B5 ซึ่งพบน้อยมากหรือประมาณร้อยละ20 ส่วนที่เป็นกันมาก คือสายพันธุ์คอกชากีA6 พบมีการระบาดสูงร้อยละ80
นพ.วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ว่า ในพื้นที่ กทม.ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 16 ก.ค. พบผู้ป่วย 2,322 คน สูงกว่าปีก่อน แต่ไม่พบผู้เสียชีวิต โดยผู้ป่วยพบมากในเด็กแรกเกิด-4 ปี ถึงร้อยละ 87 ในช่วง 5-9 ปี ร้อยละ 10.9 อายุ 10-14 ปี ร้อยละ 1 โดยขณะนี้มีโรงเรียนในพื้นที่ กทม.ทุกสังกัดปิดเรียนไปแล้ว 29 แห่ง ปิดทั้งโรงเรียน 18 แห่ง อีก 11 แห่ง ปิดบางห้องเรียน
นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พบว่ามีเด็กนักเรียนระดับอนุบาล ของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วว.) ป่วยจำนวน 4 คน โดยเบื้องต้นเด็ก 4คน หยุดพักรักษาอาการที่บ้านแล้ว
ขณะนี้ทางโรงเรียนได้ประกาศให้นักเรียนระดับอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปิดการเรียนการสอนเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 18-20 ก.ค. เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด
วันเดียวกันที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าในการติดตามการระบาดของเชื้อเอนเทอโร ไวรัส 71 หรือโรคเมือท้าปากเปื่อย หลังมีการระบาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ว่า ที่ประชุมครม. ได้เห็นชอบในหลักการที่ให้ทั้ง 3 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ทำงานร่วมกันในการดูแลและป้องกันโรคดังกล่าว และนายกรัฐมนตรี ได้กำชับเรื่องนี้มาแล้ว ทั้งนี้หากพบเด็กป่วยเกิน 10 รายในหนึ่งวัน จะมีการตั้งวอร์รูม หรือศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
วานนี้ (17 ก.ค.) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดน่านต้องเร่งออกตรวจและให้ความรู้การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ตามศูนย์เด็กเล็กต่างๆ หลังพบว่ายังคงมีเด็กเล็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปากในพื้นที่จังหวัดน่าน สะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันจำนวน 193 ราย กระจายอยู่ใน 3-4 อำเภอ โดยพบเด็กป่วยมากที่สุดในอำเภอที่อยู่ติดแนวชายแดนไทย-ลาว ได้แก่ อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งมีเด็กจากประเทศลาวเข้ามารักษาถี่ขึ้น นอกจากนั้นพบในอำเภอนาหมื่น เชียงกลาง บ้านหลวง และอำเภอทุ่งช้าง ล้วนเป็นอำเภออยู่ห่างไกลและติดชายแดน โดยแพทย์ให้แยกเด็กที่ป่วยไปพักรักษาตัวที่บ้านรออาการหายดีถึงจะให้กลับมาเรียนได้
นพ.ศิริชัย ภัทรนุภาพร นายแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า จากการเก็บสถิติผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ประชากรทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ ม.ค.-11 ก.ค.55 พบมีผู้ป่วยจำนวน 186 ราย โดยพบมากที่สุดในพื้นที่อำเภอแจ้ห่มถึง 37 ราย รองลงมาเป็นอำเภอเมือง 34 ราย อำเภอวังเหนือ 22 ราย อำเภอแม่เมาะ 21 ราย เกาะคา 20 ราย ทั้งยังพบกระจายเกือบทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอแม่พริกเพียงอำเภอเดียวที่ไม่มีผู้ป่วย
ทั้งนี้ โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไว้รัสลำไส้ หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบบ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โรคเกิดตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝน โรคนี้อาการไม่รุนแรง อาการของโรคหลังรับเชื้อ 3-5 วันจะเริ่มแสดงอาการป่วย มีไข้ต่ำๆ เจ็บปากและไม่ยอมรับประทานอาหาร มีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม มีตุ่มที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และพบที่ก้นด้วย แต่อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน
วานนี้ (17 ก.ค.) รศ.สุปราณี จิราณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายประถมโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เปิดแถลงข่าวชี้แจงกรณีพบเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เป็นโรค มือ เท้า ปาก ทั้งหมด 22 ราย จึงสั่งปิดโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. โดยจะทำการเปิดเรียนวันที่ 23 ก.ค.นี้ โดยวันนี้สำนักงานสิ่งแวดล้อม กทม.มาทำการฉีดยาฆ่าเชื้อตามอาคารเรียนห้องน้ำและอุปกรณ์ต่างๆแล้ว พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมาได้มีการสั่งทำความสะอาดโรงเรียนเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งหลังจากที่มีการพบโรคดังกล่าวเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน ก็ได้สั่งการให้ทำความสะอาดภายในบริเวณโรงเรียนเข้มงวดมากขึ้น
ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคดังกล่าวแพร่ระบาดสูงสุดในรอบ 30 ปี โดยสายพันธุ์ที่พบว่ามีการแพร่ระบาดในไทยนั้น ไม่ใช่สายพันธุ์ที่รุนแรง เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาหรือเวียดนาม โดยสายพันธุ์ที่พบมี2สายพันธุ์ คือ เอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์B5 ซึ่งพบน้อยมากหรือประมาณร้อยละ20 ส่วนที่เป็นกันมาก คือสายพันธุ์คอกชากีA6 พบมีการระบาดสูงร้อยละ80
นพ.วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ว่า ในพื้นที่ กทม.ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 16 ก.ค. พบผู้ป่วย 2,322 คน สูงกว่าปีก่อน แต่ไม่พบผู้เสียชีวิต โดยผู้ป่วยพบมากในเด็กแรกเกิด-4 ปี ถึงร้อยละ 87 ในช่วง 5-9 ปี ร้อยละ 10.9 อายุ 10-14 ปี ร้อยละ 1 โดยขณะนี้มีโรงเรียนในพื้นที่ กทม.ทุกสังกัดปิดเรียนไปแล้ว 29 แห่ง ปิดทั้งโรงเรียน 18 แห่ง อีก 11 แห่ง ปิดบางห้องเรียน
นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พบว่ามีเด็กนักเรียนระดับอนุบาล ของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วว.) ป่วยจำนวน 4 คน โดยเบื้องต้นเด็ก 4คน หยุดพักรักษาอาการที่บ้านแล้ว
ขณะนี้ทางโรงเรียนได้ประกาศให้นักเรียนระดับอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปิดการเรียนการสอนเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 18-20 ก.ค. เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด
วันเดียวกันที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าในการติดตามการระบาดของเชื้อเอนเทอโร ไวรัส 71 หรือโรคเมือท้าปากเปื่อย หลังมีการระบาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ว่า ที่ประชุมครม. ได้เห็นชอบในหลักการที่ให้ทั้ง 3 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ทำงานร่วมกันในการดูแลและป้องกันโรคดังกล่าว และนายกรัฐมนตรี ได้กำชับเรื่องนี้มาแล้ว ทั้งนี้หากพบเด็กป่วยเกิน 10 รายในหนึ่งวัน จะมีการตั้งวอร์รูม หรือศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
วานนี้ (17 ก.ค.) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดน่านต้องเร่งออกตรวจและให้ความรู้การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ตามศูนย์เด็กเล็กต่างๆ หลังพบว่ายังคงมีเด็กเล็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปากในพื้นที่จังหวัดน่าน สะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันจำนวน 193 ราย กระจายอยู่ใน 3-4 อำเภอ โดยพบเด็กป่วยมากที่สุดในอำเภอที่อยู่ติดแนวชายแดนไทย-ลาว ได้แก่ อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งมีเด็กจากประเทศลาวเข้ามารักษาถี่ขึ้น นอกจากนั้นพบในอำเภอนาหมื่น เชียงกลาง บ้านหลวง และอำเภอทุ่งช้าง ล้วนเป็นอำเภออยู่ห่างไกลและติดชายแดน โดยแพทย์ให้แยกเด็กที่ป่วยไปพักรักษาตัวที่บ้านรออาการหายดีถึงจะให้กลับมาเรียนได้
นพ.ศิริชัย ภัทรนุภาพร นายแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า จากการเก็บสถิติผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ประชากรทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ ม.ค.-11 ก.ค.55 พบมีผู้ป่วยจำนวน 186 ราย โดยพบมากที่สุดในพื้นที่อำเภอแจ้ห่มถึง 37 ราย รองลงมาเป็นอำเภอเมือง 34 ราย อำเภอวังเหนือ 22 ราย อำเภอแม่เมาะ 21 ราย เกาะคา 20 ราย ทั้งยังพบกระจายเกือบทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอแม่พริกเพียงอำเภอเดียวที่ไม่มีผู้ป่วย
ทั้งนี้ โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไว้รัสลำไส้ หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบบ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โรคเกิดตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝน โรคนี้อาการไม่รุนแรง อาการของโรคหลังรับเชื้อ 3-5 วันจะเริ่มแสดงอาการป่วย มีไข้ต่ำๆ เจ็บปากและไม่ยอมรับประทานอาหาร มีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม มีตุ่มที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และพบที่ก้นด้วย แต่อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน