“วิทยา” เผยสถานการณ์โรคมือเท้าปากไทยจะพบผู้ป่วยได้ต่อไปอีก 1-2 เดือน เนื่องจากเป็นฤดูกาลระบาด และอยู่ในช่วงเปิดเทอม กำชับ สสจ.ทั่วประเทศ เข้มมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันร่วมกับโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก รวมทั้ง กทม.ขอความร่วมมือผู้ปกครอง หากพบเด็กป่วย ขอให้หยุดอยู่บ้าน 5-7 วัน หรือจนหายป่วย และไม่ควรพาไปนอกบ้านเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าของโรคมือเท้าปาก ว่า ขณะนี้ได้ให้ทีมผู้เชี่ยวชาญของกรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์ในภาพรวมทั่วประเทศทุกวัน จากการวิเคราะห์พบว่าแนวโน้มการป่วยจะมีต่อเนื่องไปอีก 1-2 เดือน มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายในหลายจังหวัด เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูฝนและเปิดเทอม เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุที่พบบ่อยมี 2 ตัว คือ คอกซากี่กลุ่มเอ, บี และเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) ซึ่งชอบอากาศเย็นชื้นอยู่แล้ว ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ จัดระบบการเฝ้าระวัง ร่วมกับพื้นที่เสี่ยงได้แก่ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนประถมศึกษา และประสาน กทม.และเมื่อพบเด็กป่วยโรคมือเท้าปาก 10 รายขึ้นไป หรือเป็นกลุ่มก้อนให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง และขอยืนยันว่า มาตรการปิดโรงเรียนเป็นระบบการควบคุมป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่เด็กเล็ก ซึ่งต่อจากนี้ไปอาจจะมีการปิดเรียนได้ตามความจำเป็น ขอให้ประชาชนไม่ต้องตกใจแต่อย่างใด
“สถานการณ์ของโรคมือเท้าปาก จนถึงวันที่ 11 ก.ค.2555 ทั่วประเทศมีรายงานทั้งหมด 12,581 ราย ไม่มีเสียชีวิต พบได้ทุกอายุ แต่ที่มากที่สุด คือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบภาคกลางมากที่สุด จำนวน 4,354 ราย รองลงมาคือภาคเหนือ 3,523 ราย ภาคใต้ 2,556 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,418 ราย อัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่ในปลายเดือนมิถุนายน เฉลี่ยวันละ 80-100 ราย เริ่มมีแนวโน้มชะลอในบางพื้นที่แต่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในเขตเมืองใหญ่ได้” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้านนายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว่า ขอความร่วมมือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนระดับประถมศึกษาทุกแห่ง ดูแลความสะอาดอุปกรณ์ภายในโรงเรียน สนามเด็กเล่น อุปกรณ์การเรียนการสอน และตรวจคัดกรองอาการเจ็บป่วยของเด็ก โดยเฉพาะไข้ ซึ่งเป็นสัญญาณแรกของอาการป่วยโรคนี้ รวมทั้งสังเกตตุ่มขึ้นที่มือ เท้า ในปากเด็กทุกวัน หากพบให้แยกเด็กและให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการควบคุมโรคทันที ในส่วนของผู้ปกครองขอให้ดูแลเด็กที่ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในช่วง 3-4 วันแรก หากไข้ไม่ลงและเด็กมีอาการซึม อาเจียน หรือหารยใจหอบ ขอให้รีบพาไปพบแพทย์ ขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่ง สามารถดูแลรักษาเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากได้ โรคนี้หากพบผู้ป่วยได้เร็ว รักษาเร็ว และถูกต้อง ก็จะป้องกันการเสียชีวิตได้
นายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก แม้ว่าส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงก็ตาม ขอให้เด็กหยุดพักอยู่บ้านจริงๆ เป็นเวลา 5-7 วัน หรือจนหายเป็นปกติ ไม่ควรให้เด็กไปคลุกคลี หรือใช้สิ่งของร่วมกับเด็กอื่น เช่น ของเล่น คอมพิวเตอร์ รวมทั้งผู้ปกครองไม่ควรพาเด็กป่วยไปตลาด แหล่งชุมชน สนามเด็กเล่น และห้ามลงไปเล่นน้ำที่สระว่ายน้ำเพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจาย และขอความร่วมมือผู้ประกอบการด้านสระว่ายน้ำ ซึ่งมักอยู่ในเขตพื้นที่เขตเมือง ขอให้ดูแลความสะอาดและตรวจวัดมาตรฐานคลอรีนให้ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือ อย่างน้อยต้องมีความเข้ม 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นปริมาณเพียงพอที่จะทำลายเชื้อได้
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าของโรคมือเท้าปาก ว่า ขณะนี้ได้ให้ทีมผู้เชี่ยวชาญของกรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์ในภาพรวมทั่วประเทศทุกวัน จากการวิเคราะห์พบว่าแนวโน้มการป่วยจะมีต่อเนื่องไปอีก 1-2 เดือน มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายในหลายจังหวัด เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูฝนและเปิดเทอม เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุที่พบบ่อยมี 2 ตัว คือ คอกซากี่กลุ่มเอ, บี และเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) ซึ่งชอบอากาศเย็นชื้นอยู่แล้ว ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ จัดระบบการเฝ้าระวัง ร่วมกับพื้นที่เสี่ยงได้แก่ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนประถมศึกษา และประสาน กทม.และเมื่อพบเด็กป่วยโรคมือเท้าปาก 10 รายขึ้นไป หรือเป็นกลุ่มก้อนให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง และขอยืนยันว่า มาตรการปิดโรงเรียนเป็นระบบการควบคุมป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่เด็กเล็ก ซึ่งต่อจากนี้ไปอาจจะมีการปิดเรียนได้ตามความจำเป็น ขอให้ประชาชนไม่ต้องตกใจแต่อย่างใด
“สถานการณ์ของโรคมือเท้าปาก จนถึงวันที่ 11 ก.ค.2555 ทั่วประเทศมีรายงานทั้งหมด 12,581 ราย ไม่มีเสียชีวิต พบได้ทุกอายุ แต่ที่มากที่สุด คือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบภาคกลางมากที่สุด จำนวน 4,354 ราย รองลงมาคือภาคเหนือ 3,523 ราย ภาคใต้ 2,556 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,418 ราย อัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่ในปลายเดือนมิถุนายน เฉลี่ยวันละ 80-100 ราย เริ่มมีแนวโน้มชะลอในบางพื้นที่แต่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในเขตเมืองใหญ่ได้” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้านนายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว่า ขอความร่วมมือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนระดับประถมศึกษาทุกแห่ง ดูแลความสะอาดอุปกรณ์ภายในโรงเรียน สนามเด็กเล่น อุปกรณ์การเรียนการสอน และตรวจคัดกรองอาการเจ็บป่วยของเด็ก โดยเฉพาะไข้ ซึ่งเป็นสัญญาณแรกของอาการป่วยโรคนี้ รวมทั้งสังเกตตุ่มขึ้นที่มือ เท้า ในปากเด็กทุกวัน หากพบให้แยกเด็กและให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการควบคุมโรคทันที ในส่วนของผู้ปกครองขอให้ดูแลเด็กที่ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในช่วง 3-4 วันแรก หากไข้ไม่ลงและเด็กมีอาการซึม อาเจียน หรือหารยใจหอบ ขอให้รีบพาไปพบแพทย์ ขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่ง สามารถดูแลรักษาเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากได้ โรคนี้หากพบผู้ป่วยได้เร็ว รักษาเร็ว และถูกต้อง ก็จะป้องกันการเสียชีวิตได้
นายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก แม้ว่าส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงก็ตาม ขอให้เด็กหยุดพักอยู่บ้านจริงๆ เป็นเวลา 5-7 วัน หรือจนหายเป็นปกติ ไม่ควรให้เด็กไปคลุกคลี หรือใช้สิ่งของร่วมกับเด็กอื่น เช่น ของเล่น คอมพิวเตอร์ รวมทั้งผู้ปกครองไม่ควรพาเด็กป่วยไปตลาด แหล่งชุมชน สนามเด็กเล่น และห้ามลงไปเล่นน้ำที่สระว่ายน้ำเพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจาย และขอความร่วมมือผู้ประกอบการด้านสระว่ายน้ำ ซึ่งมักอยู่ในเขตพื้นที่เขตเมือง ขอให้ดูแลความสะอาดและตรวจวัดมาตรฐานคลอรีนให้ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือ อย่างน้อยต้องมีความเข้ม 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นปริมาณเพียงพอที่จะทำลายเชื้อได้