สธ.ยัน เชื้อไวรัสโรคมือเท้าปากไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ หรือการกลายพันธุ์ แต่เป็นเชื้อที่มีอยู่แล้ว และหมุนเวียนการระบาดไปทุกปี ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก โดยเฉพาะการพบเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีป่วย ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะยังไม่มีภูมิต้านทาน คาด อัตราการป่วยจะลดลงภายใน 4-6 สัปดาห์ แนะผู้ปกครองและโรงเรียนสังเกตอาการเด็กเสมอ และต้องดูแลสุุขอนามัยให้สะอาด
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีนักไวรัสวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ ปี 2555 พบการระบาดของโรคมือเท้าปากมากที่สุด และเชื้อมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงการกระจายช่วงอายุที่ได้รับเชื้อ จากปกติจะพบมากในกลุ่มเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ เป็นพบเด็กอายุไม่เกิน 12 ปีปะปนด้วย จนทำให้เกิดความวิตกกังวลถึงมาตรการป้องกัน ว่า ไม่อยากให้ตื่นตระหนก เพราะเชื้อนี้ไม่ใช่เชื้อใหม่ และไม่มีการกลายพันธุ์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเชื้อไวรัสมือเท้าปากในปีนี้ คือ ค็อกซากี A6 และ เอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ B5 เป็นเชื้อที่เคยพบอยู่ก่อน แม้แต่เอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ C4 ที่พบในเวียดนาม ก็เคยพบในไทย แต่ไม่รุนแรงเช่นกัน เพราะสามารถควบคุมได้ ดังนั้น สรุปคือ ในปีนี้เชื้อไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด ส่วนที่พบจำนวนมากในช่วง 1-2 เดือนนี้ เพราะเป็นช่วงก่อโรค เนื่องจากเป็นฤดูฝน มีความอับชื้น ระบายอากาศไม่ดี ทำให้ในแหล่งชุมชน หรือแหล่งคนจำนวนมาก โรงเรียน อนุบาล ศูนย์เด็กเล็กมีโอกาสติดเชื้อ และแพร่กระจายสูง
“สำหรับกรณีที่เชื้อมีการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การเปลี่ยนกลุ่มการรับเชื้อจากเด็กเล็กไปเป็นเด็กโตนั้น ข้อเท็จจริงต้องบอกว่า เชื้อไวรัสมือเท้าปากจะติดคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งในผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันแล้ว รวมทั้งคนที่เคยติดเชื้อแล้วก็จะไม่เป็นอีก แต่ในกรณีข่าวที่พบปิดโรงเรียนประถมวัย ต้องดูว่าเด็กกลุ่มดังกล่าวกลุ่มอายุเท่าใด ซึ่งหากต่ำกว่า 12 ปี ก็ถือว่าปกติ เพราะอยู่ในข่ายไม่มีภูมิต่อเชื้อ” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ส่วนมาตรการในการป้องกันนั้นไม่แตกต่างจากศูนย์เด็กเล็ก หรืออนุบาล โดยหากพบเด็กนักเรียนได้รับเชื้อในห้องเรียนเกิน 2 คน ให้ปิดห้องเรียน แต่หากพบป่วยในระดับชั้นเดียวกันเกิน 3 คนต้องปิดการสอนทั้งระดับชั้น และหากพบป่วยกระจายในระดับชั้นต่างๆ เกิน 5 ห้องเรียนต้องปิดโรงเรียนชั่วคราวประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อเป็นการตัดช่องทางการแพร่กระจายเชื้อทันที โดยมาตรการตรงนี้สามารถใช้ได้ทุกระดับทั้งศูนย์เด็กเล็ก อนุบาล ประถมวัย หรือระดับมัธยม นอกจากนี้ ตามสถานที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า พวกเครื่องเล่นต่างๆ ก็ต้องระวัง ช่วงนี้ไม่ควรให้บุตรหลานเล่นหรือสัมผัสของเล่นตามที่สาธารณะ เนื่องจากไม่แน่ใจว่ามีการทำความสะอาดอย่างเพียงพอหรือไม่ ซึ่งเร็วๆ นี้ คร.มีแผนจะหารือกับภาคส่วนต่างๆ ในการรณรงค์การทำความสะอาดเครื่องเล่น รวมทั้งพวกห้องน้ำสาธารณะให้มีความสะอาด น่าใช้ และปลอดโรคอีกด้วย
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคอุบัติใหม่ โฆษกกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การระบาดของโรคมือเท้าปากในกลุ่มเด็กขณะนี้ ยืนยันว่า เชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ หรือการกลายพันธุ์ เนื่องจากโรคมือเท้าปากที่พบเกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (EV71) และค็อกซากี เอ6 และ เอ16 ซึ่งตอนนี้พบค็อกซากี เอ6 มากที่สุด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเชื้อไวรัสเหล่านี้อยู่ในธรรมชาติและหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงการระบาดไปทุกปี และเชื้อค็อกซากี เอ6 ไม่ได้รุนแรงจนทำให้เสียชีวิต ส่วนที่พบเด็กชั้นประถมที่อายุต่ำกว่า 12 ปีป่วย ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะตามหลักเกณฑ์การป่วยจะพบในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และพบการระบาดมากสุดในกลุ่มเด็กต่ำกว่า 5 ปี
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า โรงเรียนที่พบเด็กป่วยและมีการปิดโรงเรียนเพื่อทำความสะอาดถือว่าน่าชื่นชม เพราะจะสกัดกั้นการระบาด ส่วนบางโรงเรียนที่เคยปิดทำความสะอาด แต่ยังพบเด็กป่วยอยู่ ก็ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของ สธ.และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ รวมถึงมาตรการที่ สธ.ทำร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คือการคัดกรองเด็กตรวจมือ และกระพุ้งแก้มเด็ก ก่อนเข้าเรียนว่ามีบาดแผล หรือมีไข้หรือไม่
“สถานการณ์ระบาดของโรค พบผู้ป่วย 13,918 คน ถือว่าอยู่ในช่วงระบาดสูงสุด เชื่อว่า จะระบาดต่อเนื่องอีก 4-6 สัปดาห์ อัตราการป่วยจะค่อยๆ ลดลง ขอประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนก อย่างไรก็ดี ขอให้ผู้ปกครองหมั่นสังเกตบุตรหลาน หากมีไข้สูงเกิน 3 วัน คลื่นไส้ มีตุ่มน้ำตามฝ่ามือ เท้า ควรพบแพทย์ทันที สิ่งสำคัญต้องดูแลสุขอนามัยของเด็กที่ต้องสะอาดและปลอดภัย” ผอ.สำนักโรคอุบัติใหม่ กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีนักไวรัสวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ ปี 2555 พบการระบาดของโรคมือเท้าปากมากที่สุด และเชื้อมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงการกระจายช่วงอายุที่ได้รับเชื้อ จากปกติจะพบมากในกลุ่มเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ เป็นพบเด็กอายุไม่เกิน 12 ปีปะปนด้วย จนทำให้เกิดความวิตกกังวลถึงมาตรการป้องกัน ว่า ไม่อยากให้ตื่นตระหนก เพราะเชื้อนี้ไม่ใช่เชื้อใหม่ และไม่มีการกลายพันธุ์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเชื้อไวรัสมือเท้าปากในปีนี้ คือ ค็อกซากี A6 และ เอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ B5 เป็นเชื้อที่เคยพบอยู่ก่อน แม้แต่เอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ C4 ที่พบในเวียดนาม ก็เคยพบในไทย แต่ไม่รุนแรงเช่นกัน เพราะสามารถควบคุมได้ ดังนั้น สรุปคือ ในปีนี้เชื้อไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด ส่วนที่พบจำนวนมากในช่วง 1-2 เดือนนี้ เพราะเป็นช่วงก่อโรค เนื่องจากเป็นฤดูฝน มีความอับชื้น ระบายอากาศไม่ดี ทำให้ในแหล่งชุมชน หรือแหล่งคนจำนวนมาก โรงเรียน อนุบาล ศูนย์เด็กเล็กมีโอกาสติดเชื้อ และแพร่กระจายสูง
“สำหรับกรณีที่เชื้อมีการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การเปลี่ยนกลุ่มการรับเชื้อจากเด็กเล็กไปเป็นเด็กโตนั้น ข้อเท็จจริงต้องบอกว่า เชื้อไวรัสมือเท้าปากจะติดคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งในผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันแล้ว รวมทั้งคนที่เคยติดเชื้อแล้วก็จะไม่เป็นอีก แต่ในกรณีข่าวที่พบปิดโรงเรียนประถมวัย ต้องดูว่าเด็กกลุ่มดังกล่าวกลุ่มอายุเท่าใด ซึ่งหากต่ำกว่า 12 ปี ก็ถือว่าปกติ เพราะอยู่ในข่ายไม่มีภูมิต่อเชื้อ” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ส่วนมาตรการในการป้องกันนั้นไม่แตกต่างจากศูนย์เด็กเล็ก หรืออนุบาล โดยหากพบเด็กนักเรียนได้รับเชื้อในห้องเรียนเกิน 2 คน ให้ปิดห้องเรียน แต่หากพบป่วยในระดับชั้นเดียวกันเกิน 3 คนต้องปิดการสอนทั้งระดับชั้น และหากพบป่วยกระจายในระดับชั้นต่างๆ เกิน 5 ห้องเรียนต้องปิดโรงเรียนชั่วคราวประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อเป็นการตัดช่องทางการแพร่กระจายเชื้อทันที โดยมาตรการตรงนี้สามารถใช้ได้ทุกระดับทั้งศูนย์เด็กเล็ก อนุบาล ประถมวัย หรือระดับมัธยม นอกจากนี้ ตามสถานที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า พวกเครื่องเล่นต่างๆ ก็ต้องระวัง ช่วงนี้ไม่ควรให้บุตรหลานเล่นหรือสัมผัสของเล่นตามที่สาธารณะ เนื่องจากไม่แน่ใจว่ามีการทำความสะอาดอย่างเพียงพอหรือไม่ ซึ่งเร็วๆ นี้ คร.มีแผนจะหารือกับภาคส่วนต่างๆ ในการรณรงค์การทำความสะอาดเครื่องเล่น รวมทั้งพวกห้องน้ำสาธารณะให้มีความสะอาด น่าใช้ และปลอดโรคอีกด้วย
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคอุบัติใหม่ โฆษกกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การระบาดของโรคมือเท้าปากในกลุ่มเด็กขณะนี้ ยืนยันว่า เชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ หรือการกลายพันธุ์ เนื่องจากโรคมือเท้าปากที่พบเกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (EV71) และค็อกซากี เอ6 และ เอ16 ซึ่งตอนนี้พบค็อกซากี เอ6 มากที่สุด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเชื้อไวรัสเหล่านี้อยู่ในธรรมชาติและหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงการระบาดไปทุกปี และเชื้อค็อกซากี เอ6 ไม่ได้รุนแรงจนทำให้เสียชีวิต ส่วนที่พบเด็กชั้นประถมที่อายุต่ำกว่า 12 ปีป่วย ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะตามหลักเกณฑ์การป่วยจะพบในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และพบการระบาดมากสุดในกลุ่มเด็กต่ำกว่า 5 ปี
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า โรงเรียนที่พบเด็กป่วยและมีการปิดโรงเรียนเพื่อทำความสะอาดถือว่าน่าชื่นชม เพราะจะสกัดกั้นการระบาด ส่วนบางโรงเรียนที่เคยปิดทำความสะอาด แต่ยังพบเด็กป่วยอยู่ ก็ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของ สธ.และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ รวมถึงมาตรการที่ สธ.ทำร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คือการคัดกรองเด็กตรวจมือ และกระพุ้งแก้มเด็ก ก่อนเข้าเรียนว่ามีบาดแผล หรือมีไข้หรือไม่
“สถานการณ์ระบาดของโรค พบผู้ป่วย 13,918 คน ถือว่าอยู่ในช่วงระบาดสูงสุด เชื่อว่า จะระบาดต่อเนื่องอีก 4-6 สัปดาห์ อัตราการป่วยจะค่อยๆ ลดลง ขอประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนก อย่างไรก็ดี ขอให้ผู้ปกครองหมั่นสังเกตบุตรหลาน หากมีไข้สูงเกิน 3 วัน คลื่นไส้ มีตุ่มน้ำตามฝ่ามือ เท้า ควรพบแพทย์ทันที สิ่งสำคัญต้องดูแลสุขอนามัยของเด็กที่ต้องสะอาดและปลอดภัย” ผอ.สำนักโรคอุบัติใหม่ กล่าว