ASTV ผู้จัดการรายวัน - โบรกฯประเมิน ศาลฯยกคำร้องหนุนดัชนีบวกแค่ระยะสั้น เหตุปัจจัยลบในต่างประเทศไม่นิ่งและยังลากยาวต่อ คาดเม็ดเงินต่างประเทศทะลักเข้า แต่หวั่นถ้าเยอะมากเกินไปอาจกดเงินบาทแข็งค่ากระทบส่งออกไม่ถึงเป้า15% ภาพรวมนักลงทุนหันมาเก็งกำไรรับผลประกอบการไตรมาส2 คาดแบงก์กำไรพุ่ง ถ่วงดุลกลุ่มพลังานที่ปรับลด ชี้หากภาครัฐไม่เร่งแก้รธน. และไร้ภัยน้ำท่วม ดัชนีจะดีดตัวขึ้นสูงถึง 1,256 จุด จากกำไรบริษัทจดทะเบียนที่โตก้าวกระโดด หลังQ4ปีก่อนน้ำท่วมทำพิษ
นายกษมพนธ์ เหมนิลรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสและผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) กรุงศรี จำกัด กล่าวว่า จากผลตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(13ก.ค.) ถือว่าช่วยผ่อนคลายความกังวลของนักลงทุน จึงประเมินว่าจะเป็นผลดีที่ช่วยผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น โดยอาจจะเกิดความกังวลขึ้นอีก เมื่อฝ่ายรัฐบาลกลับมาเดินหน้าในเรื่องนี้ เพราะเชื่อว่าน่าจะมีฝ่ายคัดค้านเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอีกเช่นกันอย่างไรก็ตาม แนวโน้มของตลาดหุ้นไทย ต่อจากนี้อยากให้นักลงทุนจับตาปัญหาต่างๆที่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะประเมินว่าแม้พื้นฐานประเทศไทยจะอยู่ในระดับที่ แต่เชื่อว่าในเร็วๆนี้อาจเกิดแรงเทขายทกำไรระยะสั้นขึ้นมา หลังดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นรับปัจจัยบวกในประเทศไปแล้ว เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจในระดับมหาภาคยังมีปัญหา ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมายังไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เชื่อว่าการเติบโตของจีดีพีสหรัฐฯ อาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้
"ตอนนี้ นักลงทุนเฝ้ารอให้สหรัฐฯประกาศใช้มาตรการQE3 เพราะเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนต่อการลงทุน ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ขณะเดียวกันตอนนี้ในหลายประเทศได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านประเทศไทย เมื่อไม่เกิดเหตุร้ายแรง และด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ดี โอกาสที่จีดีพีจะเติบโตในระดับ 5-6 ตามที่คาดการ์ไว้ก็ความเป็นไปได้สูง"
ทั้งนี้ บล.กรุงศรี ประเมินดัชนีหุ้นไทยในปี2555 ไว้ที่ 1,256 จุด เนื่องจากมองว่าไตรมาส 3 ของทุกปีจะเป็นช่วงโลว์ซีซัน โดยเฉพาะภาคการผลิต เพราะเป็นช่วงฤดูฝน แต่ในไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ประเทศประสบปัญหาอุทกภัย จึงเป็นผลให้หลายบริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่ไม่ดี บางรายถึงขาดทุน แต่ถ้าปีนี้ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำเติมหรือเหมือนกัยที่ผ่านมา เชื่อว่าจะส่งผลให้ตั้งแต่ช่วงต้นไตรมาสที่4 ดัชนีจะปรับตัวดีขึ้น จากผลประกอบการที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัทจดทะเบียน
"ปีก่อนจากภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทำให้กำไรสุทธิโดยรวมในตลาดหุ้นเติบโตแค่ 5-6% แต่ถ้าปีนี้ไม่มีน้ำท่วม ไม่มีปัจจัยลบอื่นๆเพิ่มเติมเข้ามา เชื่อว่ากำไรสุทธิโดยรวมจะสูงถึง 21% เป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดย ปีก่อนหุ้นไทยอยู่ที่ 1,100 กว่าจุด ปีนี้อยู่ที่ 1,256 จุด ก็ถือว่าปรับตัวได้ดี โดยอาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ และถ้าเกิดสูงกว่า 1,256 จุด ก็แนะว่าให้ขายทำกำไรออกไปก่อนบ้าง"
สำหรับกระแสเงินลงทุนภายนอก ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. กรุงศรี กล่าวว่า เป็นธรรมชาติที่แหล่งเงินทุนจะวิ่งเข้าหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยในเอเชีย ถือว่าจีนเป็นตลาดที่ใหญ่สุด เมื่อจีนยังมีการปรับตัวดีขึ้น ก็เชื่อว่าจะเป็นสิ่งดึงดูดให้เม็ดเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น ตราบใดที่ทวีปอื่นๆยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเชื่อว่าประเทศไทยจะได้รับอานิสงส์เม็ดเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคด้วยเช่นกัน
ส่วนความคาดหวังเรื่องมาตรการQE3 ของรัฐบาล ประเมินว่าจะเป็นเร่องที่นักลงทุนให้ความสนใจและติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป อย่างไรก็ตามประเมินว่า มาตรการดังกล่าวเมื่อประกาศใช้จะเป็นผลบวกต่อการปรับตัวของดัชนีและราคาหุ้นในระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อมีเงินเข้ามาในระบบจำนวนมาก เพราะระยะกลาง-ยาว เมื่อมีเงินไหลเข้ามาจำนวนมาก จะมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งอาจจะกระทบต่อภาคส่งออกของประเทศ ยิ่งเม็ดเงินไหลเข้ามามาก เป้าการส่งออกทั้งปี 15% ก็อาจไม่เป็นไปตามที่วางไว้
"ภาพรวมจากนี้ นักลงทุนจะเริ่มหันมาลงทุนเก็งกำไรรับผลประกอบการไตรมาส2 ซึ่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ จะประกาศออกมาก่อนเป็นกลุ่มแรก โดยคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง17% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งกลุ่มไอซีที ก็จะดีขึ้น ทำให้ทั้ง 2 กลุ่มนี้จะเป็นตัวช่วยหนุนดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นไปอีก
ขณะเดียวกัน จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ก็จะมีผลต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะธุรกิจโรงกลั่น เช่น บมจ.ไทยออยล์ อาจได้รับผลกระทบ ซึ่งกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มใหญ่ ดังนั้นถ้ามีการปรับตัวลดลงหรือขาดทุน จะมีน้ำหนักต่อการกดดันดัชนีได้สูง อย่างไรก็ตาม โชคดีที่กลุ่มแบงก์ และไอซีทีปรับตัวเพิ่มขึ้น น่าจะช่วยลดทอนลงได้"
โดยแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16-20 ก.ค. 2555 บล.กสิกรไทย จำกัด และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ แต่ยังคงต้องจับตาการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป และแถลงการณ์รอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด โดยต้องติดตามการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ อันได้แก่ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (ZEW) ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้แก่ ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และเครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,186 และ 1,170 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,215 และ 1,227 จุด
นายกษมพนธ์ เหมนิลรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสและผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) กรุงศรี จำกัด กล่าวว่า จากผลตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(13ก.ค.) ถือว่าช่วยผ่อนคลายความกังวลของนักลงทุน จึงประเมินว่าจะเป็นผลดีที่ช่วยผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น โดยอาจจะเกิดความกังวลขึ้นอีก เมื่อฝ่ายรัฐบาลกลับมาเดินหน้าในเรื่องนี้ เพราะเชื่อว่าน่าจะมีฝ่ายคัดค้านเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอีกเช่นกันอย่างไรก็ตาม แนวโน้มของตลาดหุ้นไทย ต่อจากนี้อยากให้นักลงทุนจับตาปัญหาต่างๆที่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะประเมินว่าแม้พื้นฐานประเทศไทยจะอยู่ในระดับที่ แต่เชื่อว่าในเร็วๆนี้อาจเกิดแรงเทขายทกำไรระยะสั้นขึ้นมา หลังดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นรับปัจจัยบวกในประเทศไปแล้ว เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจในระดับมหาภาคยังมีปัญหา ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมายังไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เชื่อว่าการเติบโตของจีดีพีสหรัฐฯ อาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้
"ตอนนี้ นักลงทุนเฝ้ารอให้สหรัฐฯประกาศใช้มาตรการQE3 เพราะเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนต่อการลงทุน ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ขณะเดียวกันตอนนี้ในหลายประเทศได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านประเทศไทย เมื่อไม่เกิดเหตุร้ายแรง และด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ดี โอกาสที่จีดีพีจะเติบโตในระดับ 5-6 ตามที่คาดการ์ไว้ก็ความเป็นไปได้สูง"
ทั้งนี้ บล.กรุงศรี ประเมินดัชนีหุ้นไทยในปี2555 ไว้ที่ 1,256 จุด เนื่องจากมองว่าไตรมาส 3 ของทุกปีจะเป็นช่วงโลว์ซีซัน โดยเฉพาะภาคการผลิต เพราะเป็นช่วงฤดูฝน แต่ในไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ประเทศประสบปัญหาอุทกภัย จึงเป็นผลให้หลายบริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่ไม่ดี บางรายถึงขาดทุน แต่ถ้าปีนี้ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำเติมหรือเหมือนกัยที่ผ่านมา เชื่อว่าจะส่งผลให้ตั้งแต่ช่วงต้นไตรมาสที่4 ดัชนีจะปรับตัวดีขึ้น จากผลประกอบการที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัทจดทะเบียน
"ปีก่อนจากภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทำให้กำไรสุทธิโดยรวมในตลาดหุ้นเติบโตแค่ 5-6% แต่ถ้าปีนี้ไม่มีน้ำท่วม ไม่มีปัจจัยลบอื่นๆเพิ่มเติมเข้ามา เชื่อว่ากำไรสุทธิโดยรวมจะสูงถึง 21% เป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดย ปีก่อนหุ้นไทยอยู่ที่ 1,100 กว่าจุด ปีนี้อยู่ที่ 1,256 จุด ก็ถือว่าปรับตัวได้ดี โดยอาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ และถ้าเกิดสูงกว่า 1,256 จุด ก็แนะว่าให้ขายทำกำไรออกไปก่อนบ้าง"
สำหรับกระแสเงินลงทุนภายนอก ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. กรุงศรี กล่าวว่า เป็นธรรมชาติที่แหล่งเงินทุนจะวิ่งเข้าหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยในเอเชีย ถือว่าจีนเป็นตลาดที่ใหญ่สุด เมื่อจีนยังมีการปรับตัวดีขึ้น ก็เชื่อว่าจะเป็นสิ่งดึงดูดให้เม็ดเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น ตราบใดที่ทวีปอื่นๆยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเชื่อว่าประเทศไทยจะได้รับอานิสงส์เม็ดเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคด้วยเช่นกัน
ส่วนความคาดหวังเรื่องมาตรการQE3 ของรัฐบาล ประเมินว่าจะเป็นเร่องที่นักลงทุนให้ความสนใจและติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป อย่างไรก็ตามประเมินว่า มาตรการดังกล่าวเมื่อประกาศใช้จะเป็นผลบวกต่อการปรับตัวของดัชนีและราคาหุ้นในระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อมีเงินเข้ามาในระบบจำนวนมาก เพราะระยะกลาง-ยาว เมื่อมีเงินไหลเข้ามาจำนวนมาก จะมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งอาจจะกระทบต่อภาคส่งออกของประเทศ ยิ่งเม็ดเงินไหลเข้ามามาก เป้าการส่งออกทั้งปี 15% ก็อาจไม่เป็นไปตามที่วางไว้
"ภาพรวมจากนี้ นักลงทุนจะเริ่มหันมาลงทุนเก็งกำไรรับผลประกอบการไตรมาส2 ซึ่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ จะประกาศออกมาก่อนเป็นกลุ่มแรก โดยคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง17% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งกลุ่มไอซีที ก็จะดีขึ้น ทำให้ทั้ง 2 กลุ่มนี้จะเป็นตัวช่วยหนุนดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นไปอีก
ขณะเดียวกัน จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ก็จะมีผลต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะธุรกิจโรงกลั่น เช่น บมจ.ไทยออยล์ อาจได้รับผลกระทบ ซึ่งกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มใหญ่ ดังนั้นถ้ามีการปรับตัวลดลงหรือขาดทุน จะมีน้ำหนักต่อการกดดันดัชนีได้สูง อย่างไรก็ตาม โชคดีที่กลุ่มแบงก์ และไอซีทีปรับตัวเพิ่มขึ้น น่าจะช่วยลดทอนลงได้"
โดยแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16-20 ก.ค. 2555 บล.กสิกรไทย จำกัด และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ แต่ยังคงต้องจับตาการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป และแถลงการณ์รอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด โดยต้องติดตามการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ อันได้แก่ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (ZEW) ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้แก่ ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และเครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,186 และ 1,170 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,215 และ 1,227 จุด