ในบทความ ‘ภาคแรก’ “ ศุกร์ 13 เพื่อไทยสยอง ” ผู้เขียนได้ชวนคิดว่า (1) การที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาไต่สวนพยานเพียง ‘สองวัน’ และ ทำคำวินิจฉัยเพียง ‘วันเดียว’ นั้น ‘หยาบสั้น’ ไปหรือไม่ ? (2) การแยกประเด็นพิจารณา มาตรา 291 ออกจากมาตรา 68 ผิดตรรกะและส่อ ‘ตั้งธง’ หรือไม่ และ (3) ‘แนวทางการตัดสิน’ ที่เป็นไปได้ 6 แนวทาง มีทางใดบ้าง? (อ่านย้อนหลังได้ที่ http://bit.ly/Suk-13 )
ใน ‘ภาคจบ’ จึงขอชวนเราเหล่าประชา คิดถึงปัญหาที่อาจต้องสยองกันต่อ ดังนี้
1. คำวินิจฉัย น่าจะออกมาในลักษณะใด?
แม้ผู้เขียนจะเห็นว่า คดีนี้ได้หลุดเลยไปจาก ‘ปริมณฑลแห่งกฎหมาย’ ตั้งแต่วันที่ศาลมีมติรับคำร้องไปแล้ว แต่ก็ยังหวังจะได้เห็นคำวินิจฉัยที่ยึดมาตรฐานเดียวกันกับที่ศาลชุดเดียวกันเคยตัดสินในสมัย ‘ประชาธิปัตย์’
กล่าวคือ ศาลสามารถ ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่าการยื่นคำร้อง ‘ผิดขั้นตอนอัยการสูงสุด’ ดังที่ศาลเคยอ้างเหตุ ‘ผิดขั้นตอน กกต.’ มายกคำร้อง คดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์’ (คำวินิจฉัยที่ 15/2553) อีกทั้งสามารถ ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า อำนาจหน้าที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ถูก ‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 ศาลจึงไม่อาจนำมาตราอื่นมาวินิจฉัยปะปนกันได้ ดังที่ศาลเคยอธิบายไว้ใน คดีพรรคประชาธิปัตย์แก้รัฐธรรมนูญ (คำสั่งที่ 4/2554) (อ่านได้ที่ http://bit.ly/VPCONS )
แต่หากศาลละทิ้งมาตรฐานแล้วฉวย มาตรา 68 มาวินิจฉัย ‘เนื้อหาหรือวิธีการ’ แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เสียแล้ว ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า แนวทางของคำวินิจฉัย ก็จะยังคงเป็นในลักษณะการ ‘ยกคำร้อง’ ด้วยปัจจัย ดังนี้
ปัจจัยที่ 1 : ฝ่ายผู้ร้อง สู้คดีโดยไม่มีน้ำหนัก
- พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม ได้หลุดปากยอมรับว่า ตนกำลัง ‘คาดการณ์-คาดคะเน’ และ ‘จินตนาการ’ ถึงการล้มล้างการปกครองฯ ไปตาม ‘บริบทสังคม’ ซึ่งฟังประหนึ่งก็วาดขึ้นเองตามอำเภอใจ แต่พอถูกถามว่า การล้มล้างการปกครองฯ ครั้งนี้ เหมือนต่างกับการล้มล้างรัฐประหารโดย คมช.ที่ตนเป็นหัวหน้าสำนักธุรการอย่างไร กลับอธิบายไม่ได้
- พรรคประชาธิปัตย์เอง ก็ได้แต่ยกคำปราศรัยของ คุณทักษิณ ชินวัตร และแกนนำ นปช. นอกสภา เพื่อโยงว่าเป็นขบวนการเดียวกันกับการแก้ไข มาตรา 291 ในสภา ซึ่งแสดงว่า เมื่อไม่มีหลักฐานการล้มล้างการปกครองในสภา จึงต้องไปจินตนาการโยงกับกลุ่มบุคคลอื่นนอกสภาเสียเอง
- ผู้ร้องบางฝ่าย แม้จะเป็นนักกฎหมาย แต่ก็ถามนอกประเด็นจนถูกศาลตำหนิว่าถามมาแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร ยกคำถามที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น สิทธิทางแพ่ง-สิทธิทางอาญา หรือมาตรา 212 ซึ่งศาลเคยวินิจฉัยไปหลายครั้งแล้วว่า นำมาอ้างต่อการกระทำไม่ได้ ฯลฯ
ปัจจัยที่ 2 : ศาลเคยวางหลักว่า จะไม่รับฟังการ ‘คาดคะเน’ หรือ ‘ข้อสงสัย’
แนววินิจฉัยของศาล ย่อมผูกมัดศาลเอง เห็นได้จากคดีที่ ‘รัฐบาลอภิสิทธิ์’ ถูกร้องให้พ้นจากตำแหน่ง ‘ศาลชุดเดียวกัน’ นี้ ก็เคยปฏิเสธผู้ร้องอย่างหนักแน่นว่า จะไม่รับพิจารณา ‘การคาดคะเน’ หรือ ‘การตั้งข้อสงสัย’ หรือ ‘การอาศัยศาลเป็นเครื่องมือในการแสวงหาพยานหลักฐาน’ ดังภาพหลักฐาน ต่อไปนี้:
ปัจจัยที่ 3 : ฝ่ายผู้ถูกร้องได้ ‘ยอมถอย’ ให้ศาลไปไกลยิ่งกว่าที่จะต้องถอย
ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ คือ การที่ประธานรัฐสภาก็ดี หัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็ดี หรือวิปรัฐบาลก็ดี ต่างกล่าวยืนยันภายใต้คำสาบานต่อศาล ซึ่งล้วนเป็นการยอมถอยไปไกลยิ่งกว่าเนื้อหาของการแก้ไข มาตรา 291 เช่น
- ประธานรัฐสภา ได้ยืนยันว่า แม้มาตรา 291 ที่แก้ไข จะห้ามการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ แต่หากมีการยกเลิก ‘มาตราอื่นในหมวดอื่น’ ที่เป็นพระราชอำนาจ เช่น พระราชอำนาจในการอภัยโทษ (ซึ่งแท้จริงก็คือการใช้อำนาจโดยฝ่ายบริหาร) ตนจะถือว่าเข้าข่ายการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ เช่นกัน ซึ่งเท่ากับ ‘ยอมถอย’ ไปไกลกว่า มาตรา 291/11 อย่างชัดแจ้ง!
- การที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็ดี หรือวิปรัฐบาลก็ดี ต่างยืนยันใต้คำสาบานต่อศาลว่า พรรคเพื่อไทย จะไม่ดำเนินการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่อย่างใด ซึ่งเป็นการยอมจำนนอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติในการแก้ไขกฎหมายไว้ล่วงหน้า!
- และที่สำคัญ การที่ตุลาการอย่างน้อยสี่ท่าน ได้เน้นถามหลายครั้งว่า เรื่องที่ประธานรัฐสภาจะมีอำนาจวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญ ที่ร่างเสร็จโดย ส.ส.ร. นั้น จะทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายสบายใจ ซึ่งประธานรัฐสภาก็ยืนยันว่าจะไม่ใช้ดุลพินิจผู้เดียว แต่ก็จะใช้วิธีการที่จำกัดอำนาจตนเอง เช่น การฟังคณบดีคณะนิติศาสตร์ ซึ่งในคำแถลงปิดคดี อาจจำกัดกว่านั้นเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเท่ากับ ‘ยอมถอย’ ไปไกลกว่า มาตรา 291/13 อย่างชัดแจ้ง เช่นกัน!
สรุป : เมื่อพิจารณาปัจจัยสามข้อที่กล่าวมา คือ ผู้ร้องเองก็สู้คดีไม่มีน้ำหนัก ส่วนศาลเองก็เคยตัดสินผูกมัดตนเองไว้ว่าไม่รับพิจารณา ‘การคาดคะเน’ อีกทั้ง ผู้ถูกร้องเองก็ ‘ยอมถอย’ ไปไกลกว่าที่ต้องถอย จึงเชื่อได้ว่า ศาลน่าจะยกคำร้อง เพราะไม่มีการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ แต่ศาลก็จะนำอาการ ‘ยอมถอย’ ของผู้ถูกร้อง มาเขียนมัดไว้ในคำวินิจฉัย (หรือความเห็นส่วนตน ซึ่งควรต้องเผยแพร่ในวันศุกร์นี้พร้อมคำวินิจฉัย มิใช่อ่านแล้วเก็บไปแก้ไขเหมือนในอดีต) เพื่อบอกว่า แม้จะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญได้ แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบพิเศษบางประการ
2. ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะคดี?
หากศาล ‘ยกคำร้อง’ คือ ให้แก้รัฐธรรมนูญได้ ตั้ง ส.ส.ร.ได้ แต่มีการผูกมัดข้อความที่ประธานรัฐสภาและพรรคเพื่อไทยได้ยืนยันภายใต้คำสาบานไว้ ก็จะส่งผลให้หลายฝ่าย ต่างอ้างชัยชนะจากผลคดีนี้ กล่าวคือ
- ฝ่ายรัฐบาลและเพื่อไทย ก็จะอ้างว่า สามารถดำเนินการตามนโยบาย และเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
- ฝ่ายค้านหรือผู้ร้อง ก็จะอ้างว่า ประสบความสำเร็จเพียงพอที่จะมีเงื่อนไขหรือข้อผูกมัดจากข้อความในคำวินิจฉัย เพื่อจะนำมาอ้างว่า แม้จะตั้ง ส.ส.ร.ได้ แต่การดำเนินการต่อไปอนาคต ก็จะต้องอยู่ภายในกรอบที่เขียนไว้ในคำวินิจฉัยตามคำมั่นที่กล่าวใต้คำสาบานไว้
- ส่วนศาลก็จะเพิ่มอานุภาพของอำนาจตุลาการ ที่สั่งให้สภาหยุดรอได้ เรียกให้ประมุขนิติบัญญัติมาให้ศาลซักถามได้ และเขียนคำวินิจฉัยที่สามารถ ‘เค้น’ คำตอบจากสภาเสียงข้างมากและรัฐบาลที่ต้องยอมถอยเพื่อให้ศาลสบายใจได้ (และอาจมีการร้องให้ศาลใช้ มาตรา 68 มาสั่งห้าม กกต.หรือ ส.ส.ร.ในอนาคตอีกก็เป็นได้) จะเหลือแต่เพียงเรา ประชาชน ที่ต้องนั่งคิดว่า บัดนี้ หลักการความถูกต้องและความเป็นประชาธิปไตยได้หลุดลอยไปจาก ‘ปริมณฑลแห่งกฎหมาย’ จนหมดสิ้นแล้วหรือไม่?
3. หากคะแนนเสียงเท่ากัน 4-4 จะทำอย่างไร?
รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 กำหนดไว้ชัดเจนว่า คำวินิจฉัย จะต้องถือเสียงข้างมาก ดังนั้น หากไม่มีเสียงข้างมาก จึงย่อมไม่ถือเป็นคำวินิจฉัยตามความหมายของรัฐธรรมนูญ และไม่มีผลผูกพันแต่ประการใด
หากผู้ใดจะให้ประธานศาลจะออกเสียงชี้ขาด หรือให้ตุลาการลาป่วย ก็พึงระลึกว่า ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจทำเช่นนั้น หากกระทำไปย่อมเป็นการผิดกฎหมายและละเลยการปฏิบัติหน้าที่
หากศาลจะอาศัยข้อกำหนดวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ ‘อนุโลมใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง’ ก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้ประธานศาลที่นั่งเป็นองค์คณะออกเสียงชี้ขาดได้ ตรงกันข้าม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ควบคุมการทำคำพิพากษาในคดีแพ่ง ก็ให้อำนาจประธานศาลหรืออธิบดีศาลเข้ามาเกี่ยวข้องได้ แต่ต้องไม่เป็นองค์คณะมาก่อน ดังนั้น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนั่งอยู่ในองค์คณะอยู่แล้ว จึงไม่อาจออกเสียงเพิ่มได้
ส่วนหากจะอาศัย ‘หลักกฎหมายทั่วไป’ โดยปรับกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาอุดช่องว่าง จะพบว่า ข้อกำหนดวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญข้อที่ 13 กำหนดว่า ในกรณีที่มีการคัดค้านตุลาการให้ถอนตัว และมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ถือตามคำร้องที่คัดค้าน สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั่วไปในวิธีพิจารณาความอาญาว่า ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ต้องยอมตามฝ่ายที่เป็นผลร้ายต่อจำเลยน้อยกว่า
ดังนั้น หากศาลมีคะแนนเสียง 4-4 เท่ากัน ย่อมไม่มีผลเป็นคำวินิจฉัย และหากจะอ้างว่ามีผล ก็ไม่อาจมีผลใดๆ ที่จะเป็นผลร้ายต่อผู้ถูกร้องในคดีนี้ได้
4. คดีนี้จะจบสิ้นในวันศุกร์ที่ 13 หรือไม่?
ศึกการเมืองทั้งจากในและนอกสภาซึ่งลามมาถึงเวทีตุลาการนั้น จะยังไม่จบในวันศุกร์ที่ 13 นี้ แต่จะมีนัยสำคัญต่อการดำเนิน ‘คดีอาญา’ กล่าวคือ หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ามีการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ก็ย่อมมีผู้อ้างกฎหมายอาญาไปร้องต่อ ป.ป.ช.ซึ่งอาจลามไปถึง ‘ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง’ ได้
เรื่องนี้ ยังมีปัญหาต้องตีความว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีมาตรา 68 วรรคสอง จะกระทบกระเทือนหรือผูกพันการพิจารณามูลความผิดโดย ป.ป.ช.หรือการพิจารณาโดยศาลอื่นหรือไม่เพียงใด เพราะในทางหนึ่ง อาจตีความได้ว่า การทำหน้าที่โดยอัยการสูงสุดเท่านั้นที่ไม่ส่งผลกระทบกระเทือน แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมผูกพัน ป.ป.ช.และศาลฎีกาก็เป็นได้
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำล้มล้างการปกครองฯ แม้อาจจะไม่มีการยุบพรรค แต่ก็จะนำไปสู่การกดดันให้ ป.ป.ช. ‘ชี้มูลความผิดทางอาญา’ ของคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐสภา (ทั้งจากคำร้องทั้งห้า และคำร้องล่าสุดที่พลตรีจำลอง ศรีเมืองไปร้องเพิ่ม) และอาจนำไปสู่กรณีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ซึ่ง ส.ส. ส.ว.หรือรัฐมนตรีที่ถูกชี้มูล (ซึ่งอาจมีหลายร้อยคน) จะถูกต้องห้ามไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ จนเกิด ‘วิกฤตทางการเมือง’ และลามไปถึงความรุนแรงบนท้องถนนในที่สุด
ดังนั้น คำวินิจฉัยในยาม ‘ หัวเลี้ยวหัวต่อ’ ทางประชาธิปไตยเช่นนี้ ไม่ว่าจะออกมาทางใด ก็จะถูกประชาชนจดจำ วิพากษ์วิจารณ์ และต่อสู้ต่อไปตามครรลองประชาธิปไตย เช่น การผลักดันให้ปฏิรูปศาล ดังคำกล่าวที่ว่า คำวินิจฉัยอาจเป็นที่สิ้นสุดในทางกฎหมาย แต่ความยุติธรรมนั้นใคร่ครวญได้ไม่สิ้นกาลเวลา
ผู้เขียนได้แต่ภาวนาว่า การต่อสู้ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในห้าถึงสิบปีนี้ จะเป็นไปด้วยน้ำหมึก และแน่นอนน้ำตา แต่ต้องไม่ใช่น้ำเลือด!
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ โปรดดู http://bit.ly/VPCONS
ใน ‘ภาคจบ’ จึงขอชวนเราเหล่าประชา คิดถึงปัญหาที่อาจต้องสยองกันต่อ ดังนี้
1. คำวินิจฉัย น่าจะออกมาในลักษณะใด?
แม้ผู้เขียนจะเห็นว่า คดีนี้ได้หลุดเลยไปจาก ‘ปริมณฑลแห่งกฎหมาย’ ตั้งแต่วันที่ศาลมีมติรับคำร้องไปแล้ว แต่ก็ยังหวังจะได้เห็นคำวินิจฉัยที่ยึดมาตรฐานเดียวกันกับที่ศาลชุดเดียวกันเคยตัดสินในสมัย ‘ประชาธิปัตย์’
กล่าวคือ ศาลสามารถ ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่าการยื่นคำร้อง ‘ผิดขั้นตอนอัยการสูงสุด’ ดังที่ศาลเคยอ้างเหตุ ‘ผิดขั้นตอน กกต.’ มายกคำร้อง คดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์’ (คำวินิจฉัยที่ 15/2553) อีกทั้งสามารถ ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า อำนาจหน้าที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ถูก ‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 ศาลจึงไม่อาจนำมาตราอื่นมาวินิจฉัยปะปนกันได้ ดังที่ศาลเคยอธิบายไว้ใน คดีพรรคประชาธิปัตย์แก้รัฐธรรมนูญ (คำสั่งที่ 4/2554) (อ่านได้ที่ http://bit.ly/VPCONS )
แต่หากศาลละทิ้งมาตรฐานแล้วฉวย มาตรา 68 มาวินิจฉัย ‘เนื้อหาหรือวิธีการ’ แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เสียแล้ว ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า แนวทางของคำวินิจฉัย ก็จะยังคงเป็นในลักษณะการ ‘ยกคำร้อง’ ด้วยปัจจัย ดังนี้
ปัจจัยที่ 1 : ฝ่ายผู้ร้อง สู้คดีโดยไม่มีน้ำหนัก
- พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม ได้หลุดปากยอมรับว่า ตนกำลัง ‘คาดการณ์-คาดคะเน’ และ ‘จินตนาการ’ ถึงการล้มล้างการปกครองฯ ไปตาม ‘บริบทสังคม’ ซึ่งฟังประหนึ่งก็วาดขึ้นเองตามอำเภอใจ แต่พอถูกถามว่า การล้มล้างการปกครองฯ ครั้งนี้ เหมือนต่างกับการล้มล้างรัฐประหารโดย คมช.ที่ตนเป็นหัวหน้าสำนักธุรการอย่างไร กลับอธิบายไม่ได้
- พรรคประชาธิปัตย์เอง ก็ได้แต่ยกคำปราศรัยของ คุณทักษิณ ชินวัตร และแกนนำ นปช. นอกสภา เพื่อโยงว่าเป็นขบวนการเดียวกันกับการแก้ไข มาตรา 291 ในสภา ซึ่งแสดงว่า เมื่อไม่มีหลักฐานการล้มล้างการปกครองในสภา จึงต้องไปจินตนาการโยงกับกลุ่มบุคคลอื่นนอกสภาเสียเอง
- ผู้ร้องบางฝ่าย แม้จะเป็นนักกฎหมาย แต่ก็ถามนอกประเด็นจนถูกศาลตำหนิว่าถามมาแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร ยกคำถามที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น สิทธิทางแพ่ง-สิทธิทางอาญา หรือมาตรา 212 ซึ่งศาลเคยวินิจฉัยไปหลายครั้งแล้วว่า นำมาอ้างต่อการกระทำไม่ได้ ฯลฯ
ปัจจัยที่ 2 : ศาลเคยวางหลักว่า จะไม่รับฟังการ ‘คาดคะเน’ หรือ ‘ข้อสงสัย’
แนววินิจฉัยของศาล ย่อมผูกมัดศาลเอง เห็นได้จากคดีที่ ‘รัฐบาลอภิสิทธิ์’ ถูกร้องให้พ้นจากตำแหน่ง ‘ศาลชุดเดียวกัน’ นี้ ก็เคยปฏิเสธผู้ร้องอย่างหนักแน่นว่า จะไม่รับพิจารณา ‘การคาดคะเน’ หรือ ‘การตั้งข้อสงสัย’ หรือ ‘การอาศัยศาลเป็นเครื่องมือในการแสวงหาพยานหลักฐาน’ ดังภาพหลักฐาน ต่อไปนี้:
ปัจจัยที่ 3 : ฝ่ายผู้ถูกร้องได้ ‘ยอมถอย’ ให้ศาลไปไกลยิ่งกว่าที่จะต้องถอย
ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ คือ การที่ประธานรัฐสภาก็ดี หัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็ดี หรือวิปรัฐบาลก็ดี ต่างกล่าวยืนยันภายใต้คำสาบานต่อศาล ซึ่งล้วนเป็นการยอมถอยไปไกลยิ่งกว่าเนื้อหาของการแก้ไข มาตรา 291 เช่น
- ประธานรัฐสภา ได้ยืนยันว่า แม้มาตรา 291 ที่แก้ไข จะห้ามการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ แต่หากมีการยกเลิก ‘มาตราอื่นในหมวดอื่น’ ที่เป็นพระราชอำนาจ เช่น พระราชอำนาจในการอภัยโทษ (ซึ่งแท้จริงก็คือการใช้อำนาจโดยฝ่ายบริหาร) ตนจะถือว่าเข้าข่ายการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ เช่นกัน ซึ่งเท่ากับ ‘ยอมถอย’ ไปไกลกว่า มาตรา 291/11 อย่างชัดแจ้ง!
- การที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็ดี หรือวิปรัฐบาลก็ดี ต่างยืนยันใต้คำสาบานต่อศาลว่า พรรคเพื่อไทย จะไม่ดำเนินการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่อย่างใด ซึ่งเป็นการยอมจำนนอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติในการแก้ไขกฎหมายไว้ล่วงหน้า!
- และที่สำคัญ การที่ตุลาการอย่างน้อยสี่ท่าน ได้เน้นถามหลายครั้งว่า เรื่องที่ประธานรัฐสภาจะมีอำนาจวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญ ที่ร่างเสร็จโดย ส.ส.ร. นั้น จะทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายสบายใจ ซึ่งประธานรัฐสภาก็ยืนยันว่าจะไม่ใช้ดุลพินิจผู้เดียว แต่ก็จะใช้วิธีการที่จำกัดอำนาจตนเอง เช่น การฟังคณบดีคณะนิติศาสตร์ ซึ่งในคำแถลงปิดคดี อาจจำกัดกว่านั้นเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเท่ากับ ‘ยอมถอย’ ไปไกลกว่า มาตรา 291/13 อย่างชัดแจ้ง เช่นกัน!
สรุป : เมื่อพิจารณาปัจจัยสามข้อที่กล่าวมา คือ ผู้ร้องเองก็สู้คดีไม่มีน้ำหนัก ส่วนศาลเองก็เคยตัดสินผูกมัดตนเองไว้ว่าไม่รับพิจารณา ‘การคาดคะเน’ อีกทั้ง ผู้ถูกร้องเองก็ ‘ยอมถอย’ ไปไกลกว่าที่ต้องถอย จึงเชื่อได้ว่า ศาลน่าจะยกคำร้อง เพราะไม่มีการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ แต่ศาลก็จะนำอาการ ‘ยอมถอย’ ของผู้ถูกร้อง มาเขียนมัดไว้ในคำวินิจฉัย (หรือความเห็นส่วนตน ซึ่งควรต้องเผยแพร่ในวันศุกร์นี้พร้อมคำวินิจฉัย มิใช่อ่านแล้วเก็บไปแก้ไขเหมือนในอดีต) เพื่อบอกว่า แม้จะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญได้ แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบพิเศษบางประการ
2. ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะคดี?
หากศาล ‘ยกคำร้อง’ คือ ให้แก้รัฐธรรมนูญได้ ตั้ง ส.ส.ร.ได้ แต่มีการผูกมัดข้อความที่ประธานรัฐสภาและพรรคเพื่อไทยได้ยืนยันภายใต้คำสาบานไว้ ก็จะส่งผลให้หลายฝ่าย ต่างอ้างชัยชนะจากผลคดีนี้ กล่าวคือ
- ฝ่ายรัฐบาลและเพื่อไทย ก็จะอ้างว่า สามารถดำเนินการตามนโยบาย และเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
- ฝ่ายค้านหรือผู้ร้อง ก็จะอ้างว่า ประสบความสำเร็จเพียงพอที่จะมีเงื่อนไขหรือข้อผูกมัดจากข้อความในคำวินิจฉัย เพื่อจะนำมาอ้างว่า แม้จะตั้ง ส.ส.ร.ได้ แต่การดำเนินการต่อไปอนาคต ก็จะต้องอยู่ภายในกรอบที่เขียนไว้ในคำวินิจฉัยตามคำมั่นที่กล่าวใต้คำสาบานไว้
- ส่วนศาลก็จะเพิ่มอานุภาพของอำนาจตุลาการ ที่สั่งให้สภาหยุดรอได้ เรียกให้ประมุขนิติบัญญัติมาให้ศาลซักถามได้ และเขียนคำวินิจฉัยที่สามารถ ‘เค้น’ คำตอบจากสภาเสียงข้างมากและรัฐบาลที่ต้องยอมถอยเพื่อให้ศาลสบายใจได้ (และอาจมีการร้องให้ศาลใช้ มาตรา 68 มาสั่งห้าม กกต.หรือ ส.ส.ร.ในอนาคตอีกก็เป็นได้) จะเหลือแต่เพียงเรา ประชาชน ที่ต้องนั่งคิดว่า บัดนี้ หลักการความถูกต้องและความเป็นประชาธิปไตยได้หลุดลอยไปจาก ‘ปริมณฑลแห่งกฎหมาย’ จนหมดสิ้นแล้วหรือไม่?
3. หากคะแนนเสียงเท่ากัน 4-4 จะทำอย่างไร?
รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 กำหนดไว้ชัดเจนว่า คำวินิจฉัย จะต้องถือเสียงข้างมาก ดังนั้น หากไม่มีเสียงข้างมาก จึงย่อมไม่ถือเป็นคำวินิจฉัยตามความหมายของรัฐธรรมนูญ และไม่มีผลผูกพันแต่ประการใด
หากผู้ใดจะให้ประธานศาลจะออกเสียงชี้ขาด หรือให้ตุลาการลาป่วย ก็พึงระลึกว่า ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจทำเช่นนั้น หากกระทำไปย่อมเป็นการผิดกฎหมายและละเลยการปฏิบัติหน้าที่
หากศาลจะอาศัยข้อกำหนดวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ ‘อนุโลมใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง’ ก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้ประธานศาลที่นั่งเป็นองค์คณะออกเสียงชี้ขาดได้ ตรงกันข้าม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ควบคุมการทำคำพิพากษาในคดีแพ่ง ก็ให้อำนาจประธานศาลหรืออธิบดีศาลเข้ามาเกี่ยวข้องได้ แต่ต้องไม่เป็นองค์คณะมาก่อน ดังนั้น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนั่งอยู่ในองค์คณะอยู่แล้ว จึงไม่อาจออกเสียงเพิ่มได้
ส่วนหากจะอาศัย ‘หลักกฎหมายทั่วไป’ โดยปรับกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาอุดช่องว่าง จะพบว่า ข้อกำหนดวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญข้อที่ 13 กำหนดว่า ในกรณีที่มีการคัดค้านตุลาการให้ถอนตัว และมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ถือตามคำร้องที่คัดค้าน สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั่วไปในวิธีพิจารณาความอาญาว่า ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ต้องยอมตามฝ่ายที่เป็นผลร้ายต่อจำเลยน้อยกว่า
ดังนั้น หากศาลมีคะแนนเสียง 4-4 เท่ากัน ย่อมไม่มีผลเป็นคำวินิจฉัย และหากจะอ้างว่ามีผล ก็ไม่อาจมีผลใดๆ ที่จะเป็นผลร้ายต่อผู้ถูกร้องในคดีนี้ได้
4. คดีนี้จะจบสิ้นในวันศุกร์ที่ 13 หรือไม่?
ศึกการเมืองทั้งจากในและนอกสภาซึ่งลามมาถึงเวทีตุลาการนั้น จะยังไม่จบในวันศุกร์ที่ 13 นี้ แต่จะมีนัยสำคัญต่อการดำเนิน ‘คดีอาญา’ กล่าวคือ หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ามีการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ก็ย่อมมีผู้อ้างกฎหมายอาญาไปร้องต่อ ป.ป.ช.ซึ่งอาจลามไปถึง ‘ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง’ ได้
เรื่องนี้ ยังมีปัญหาต้องตีความว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีมาตรา 68 วรรคสอง จะกระทบกระเทือนหรือผูกพันการพิจารณามูลความผิดโดย ป.ป.ช.หรือการพิจารณาโดยศาลอื่นหรือไม่เพียงใด เพราะในทางหนึ่ง อาจตีความได้ว่า การทำหน้าที่โดยอัยการสูงสุดเท่านั้นที่ไม่ส่งผลกระทบกระเทือน แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมผูกพัน ป.ป.ช.และศาลฎีกาก็เป็นได้
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำล้มล้างการปกครองฯ แม้อาจจะไม่มีการยุบพรรค แต่ก็จะนำไปสู่การกดดันให้ ป.ป.ช. ‘ชี้มูลความผิดทางอาญา’ ของคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐสภา (ทั้งจากคำร้องทั้งห้า และคำร้องล่าสุดที่พลตรีจำลอง ศรีเมืองไปร้องเพิ่ม) และอาจนำไปสู่กรณีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ซึ่ง ส.ส. ส.ว.หรือรัฐมนตรีที่ถูกชี้มูล (ซึ่งอาจมีหลายร้อยคน) จะถูกต้องห้ามไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ จนเกิด ‘วิกฤตทางการเมือง’ และลามไปถึงความรุนแรงบนท้องถนนในที่สุด
ดังนั้น คำวินิจฉัยในยาม ‘ หัวเลี้ยวหัวต่อ’ ทางประชาธิปไตยเช่นนี้ ไม่ว่าจะออกมาทางใด ก็จะถูกประชาชนจดจำ วิพากษ์วิจารณ์ และต่อสู้ต่อไปตามครรลองประชาธิปไตย เช่น การผลักดันให้ปฏิรูปศาล ดังคำกล่าวที่ว่า คำวินิจฉัยอาจเป็นที่สิ้นสุดในทางกฎหมาย แต่ความยุติธรรมนั้นใคร่ครวญได้ไม่สิ้นกาลเวลา
ผู้เขียนได้แต่ภาวนาว่า การต่อสู้ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในห้าถึงสิบปีนี้ จะเป็นไปด้วยน้ำหมึก และแน่นอนน้ำตา แต่ต้องไม่ใช่น้ำเลือด!
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ โปรดดู http://bit.ly/VPCONS