เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของคณะบุคคล และบุคคลต่างๆ 5 คณะว่าพบเห็นการกระทำที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศไทย โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ปรากฏว่าฝ่ายรัฐบาลตั้งแต่รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักวิชาการ สื่อมวลชนส่วนหนึ่งก่นด่าศาลรัฐธรรมนูญกันเป็นแถว
พวกเขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณา การรับคำร้องไว้พิจารณาแล้วยังให้รัฐสภาชะลอการลงมติวาระ 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นการแทรกแซงรัฐสภา รัฐสภาจะยอมไม่ได้
พวกเขายืนยันว่า ผู้ร้องจะต้องร้องผ่านอัยการสูงสุด ให้อัยการสูงสุดพิจารณาสมควรส่งศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าหากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่พบความผิดดังกล่าว ก็ยกคำร้อง (ซึ่งเท่ากับว่าอัยการใช้ดุลพินิจแทนศาลเป็นด่านแรกเสียแล้ว ทั้งที่ดุลพินิจของอัยการสร้างความคลางแคลงใจให้กับประชาชนตลอดมา เป็นต้น การไม่ฎีกาคดีคุณหญิงพจมานเลี่ยงภาษี การไม่ฟ้องคดีถุงขนม 2 ล้าน ฯลฯ) ในขณะที่ศาลให้เหตุผลที่รับคำร้องว่า เพราะมาตรา 68 วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ว่า ผู้ทราบการกระทำย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า รัฐธรรมนูญส่วนนี้อยู่ในส่วนพิทักษ์รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ เรื่องเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง การให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ จะให้อยู่ในดุลพินิจของอัยการสูงสุดคนเดียวได้อย่างไร
แรกทีเดียวรัฐสภาจะไม่สนใจศาลรัฐธรรมนูญจะลงมติวาระ 3 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ติดที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาคัดค้านความคิดดังกล่าว นายสมศักดิ์ไม่เพียงต้องต่อสู้ทางความคิดกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย หากยังต่อสู้กับความาคิดของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังหนีคุกอยู่ดูไบ เจ้าของและผู้บงการพรรคเพื่อไทยซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือที่จริงคือการฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 ทิ้ง แล้วร่างขึ้นใหม่ครั้งนี้ ผู้บงการคือ ทักษิณ ชินวัตร
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ให้ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ลงมติวาระ 3 รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (แก้ไขมาตรา 291) และส่งคำชี้แจงของผู้ถูกร้องไปศาลรัฐธรรมนูญ และเดินทางไปให้ปากคำและให้ผู้ร้องซักปากคำ
พยานต่างๆ ที่ผู้ถูกร้อง (คณะรัฐมนตรี รัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) เป็นต้นว่า นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา นักกฎหมายคนสำคัญ นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องโดยตรง ผู้ร้องจะต้องร้องผ่านอัยการสูงสุด
พูดกันตรงๆ ในความเห็นของพวกเขา ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาเรื่องนี้ได้ก็แต่ ผู้ร้องร้องผ่านอัยการสูงสุด อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องมีมูลจึงจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
เรื่องนี้อัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว (เป็นการพิจารณาหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเอาไว้แล้ว) ให้ยกคำร้อง
นี่ถ้าหากประชาชนทั้งหลายที่ติดตามสถานการณ์การเมืองรอให้อัยการสูงสุดส่งคำร้อง 5-6 คำร้องที่มีผู้พบเห็นการกระทำที่อาจจะเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร เราก็คงไม่เห็นเหตุการณ์วันพฤหัสบดีที่ 5 และวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา และเราก็คงจะไม่ระทึกว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ขาด
ทำไมกลุ่มคนที่คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้ต้องไปให้ปากคำ ไม่อยู่เฉยๆ ที่บ้าน ที่ทำงาน
เมื่อคราวที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคไทยรักไทย อันเป็นเหตุให้นายโภคิน พลกุล ต้องเว้นวรรคการเมือง 5 ปี บรรดานักกฎหมายพรรคไทยรักไทยก็ประสานเสียงเหมือนๆ กันว่า ศาลไม่มีอำนาจ
วันนี้ด็อกเตอร์กฎหมายของรัฐบาลคนหนึ่งชื่อ เฉลิม อยู่บำรุง มีตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี โวยวายโหวกเหวกเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณา บอกว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณา เรื่องต้องผ่านอัยการก่อน ศาลรัฐธรรมนูญต้องถอย
ครั้นมีผู้คนด่าศาลรัฐธรรมนูญ ด็อกเตอร์เฉลิม ก็บอกว่าเป็นเสรีภาพ ครั้นสำนักงานศาลไปร้องศาลอาญาให้ถอนประกันคนที่ออกมาด่าศาล ด็อกเตอร์เฉลิมก็บอกว่า ต้องอัยการเท่านั้นที่จะเป็นผู้ร้องต่อศาลอาญาให้ถอนประกัน
มาถึงวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินอยู่แล้ว ด็อกเตอร์คนเดียวกันนี้คาดการณ์ว่าศาลจะยกคำร้อง และถ้าหากตัดสินให้ผิดจนกระทั่งพรรคเพื่อไทยถูกยุบ ก็ไม่เดือดร้อน เพราะไม่เกี่ยวกับนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี เพราะไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปได้
ส่วนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา บอกว่า ผมถอยแล้ว หวังว่าศาลจะถอยไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ให้เกิดการฆ่าฟันในหมู่คนไทยด้วยกัน
กล่าวโดยสรุป พวกมันคิดเอาแต่ได้ทั้งนั้น ไม่อาย ไม่รู้สึก ทั้งที่ความจริงปรากฏชัดแล้วว่าร่าง พ.ร.บ.ปรองดองก็ดี การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ดี บงการโดย ทักษิณ ชินวัตร ทั้งสิ้น
ประชาชนทั้งประเทศ ทั้งโลกเขาก็รู้ มีหรือที่ศาลรัฐธรรมนูญเขาจะไม่รู้
พวกเขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณา การรับคำร้องไว้พิจารณาแล้วยังให้รัฐสภาชะลอการลงมติวาระ 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นการแทรกแซงรัฐสภา รัฐสภาจะยอมไม่ได้
พวกเขายืนยันว่า ผู้ร้องจะต้องร้องผ่านอัยการสูงสุด ให้อัยการสูงสุดพิจารณาสมควรส่งศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าหากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่พบความผิดดังกล่าว ก็ยกคำร้อง (ซึ่งเท่ากับว่าอัยการใช้ดุลพินิจแทนศาลเป็นด่านแรกเสียแล้ว ทั้งที่ดุลพินิจของอัยการสร้างความคลางแคลงใจให้กับประชาชนตลอดมา เป็นต้น การไม่ฎีกาคดีคุณหญิงพจมานเลี่ยงภาษี การไม่ฟ้องคดีถุงขนม 2 ล้าน ฯลฯ) ในขณะที่ศาลให้เหตุผลที่รับคำร้องว่า เพราะมาตรา 68 วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ว่า ผู้ทราบการกระทำย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า รัฐธรรมนูญส่วนนี้อยู่ในส่วนพิทักษ์รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ เรื่องเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง การให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ จะให้อยู่ในดุลพินิจของอัยการสูงสุดคนเดียวได้อย่างไร
แรกทีเดียวรัฐสภาจะไม่สนใจศาลรัฐธรรมนูญจะลงมติวาระ 3 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ติดที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาคัดค้านความคิดดังกล่าว นายสมศักดิ์ไม่เพียงต้องต่อสู้ทางความคิดกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย หากยังต่อสู้กับความาคิดของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังหนีคุกอยู่ดูไบ เจ้าของและผู้บงการพรรคเพื่อไทยซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือที่จริงคือการฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 ทิ้ง แล้วร่างขึ้นใหม่ครั้งนี้ ผู้บงการคือ ทักษิณ ชินวัตร
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ให้ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ลงมติวาระ 3 รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (แก้ไขมาตรา 291) และส่งคำชี้แจงของผู้ถูกร้องไปศาลรัฐธรรมนูญ และเดินทางไปให้ปากคำและให้ผู้ร้องซักปากคำ
พยานต่างๆ ที่ผู้ถูกร้อง (คณะรัฐมนตรี รัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) เป็นต้นว่า นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา นักกฎหมายคนสำคัญ นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องโดยตรง ผู้ร้องจะต้องร้องผ่านอัยการสูงสุด
พูดกันตรงๆ ในความเห็นของพวกเขา ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาเรื่องนี้ได้ก็แต่ ผู้ร้องร้องผ่านอัยการสูงสุด อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องมีมูลจึงจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
เรื่องนี้อัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว (เป็นการพิจารณาหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเอาไว้แล้ว) ให้ยกคำร้อง
นี่ถ้าหากประชาชนทั้งหลายที่ติดตามสถานการณ์การเมืองรอให้อัยการสูงสุดส่งคำร้อง 5-6 คำร้องที่มีผู้พบเห็นการกระทำที่อาจจะเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร เราก็คงไม่เห็นเหตุการณ์วันพฤหัสบดีที่ 5 และวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา และเราก็คงจะไม่ระทึกว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ขาด
ทำไมกลุ่มคนที่คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้ต้องไปให้ปากคำ ไม่อยู่เฉยๆ ที่บ้าน ที่ทำงาน
เมื่อคราวที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคไทยรักไทย อันเป็นเหตุให้นายโภคิน พลกุล ต้องเว้นวรรคการเมือง 5 ปี บรรดานักกฎหมายพรรคไทยรักไทยก็ประสานเสียงเหมือนๆ กันว่า ศาลไม่มีอำนาจ
วันนี้ด็อกเตอร์กฎหมายของรัฐบาลคนหนึ่งชื่อ เฉลิม อยู่บำรุง มีตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี โวยวายโหวกเหวกเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณา บอกว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณา เรื่องต้องผ่านอัยการก่อน ศาลรัฐธรรมนูญต้องถอย
ครั้นมีผู้คนด่าศาลรัฐธรรมนูญ ด็อกเตอร์เฉลิม ก็บอกว่าเป็นเสรีภาพ ครั้นสำนักงานศาลไปร้องศาลอาญาให้ถอนประกันคนที่ออกมาด่าศาล ด็อกเตอร์เฉลิมก็บอกว่า ต้องอัยการเท่านั้นที่จะเป็นผู้ร้องต่อศาลอาญาให้ถอนประกัน
มาถึงวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินอยู่แล้ว ด็อกเตอร์คนเดียวกันนี้คาดการณ์ว่าศาลจะยกคำร้อง และถ้าหากตัดสินให้ผิดจนกระทั่งพรรคเพื่อไทยถูกยุบ ก็ไม่เดือดร้อน เพราะไม่เกี่ยวกับนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี เพราะไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปได้
ส่วนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา บอกว่า ผมถอยแล้ว หวังว่าศาลจะถอยไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ให้เกิดการฆ่าฟันในหมู่คนไทยด้วยกัน
กล่าวโดยสรุป พวกมันคิดเอาแต่ได้ทั้งนั้น ไม่อาย ไม่รู้สึก ทั้งที่ความจริงปรากฏชัดแล้วว่าร่าง พ.ร.บ.ปรองดองก็ดี การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ดี บงการโดย ทักษิณ ชินวัตร ทั้งสิ้น
ประชาชนทั้งประเทศ ทั้งโลกเขาก็รู้ มีหรือที่ศาลรัฐธรรมนูญเขาจะไม่รู้