ถ้าต่อไปนี้ศาลจะตัดสินอะไรให้ฟังความเห็นประชาชนก่อน
ตุลาการไม่กี่คนไม่มีสิทธิมาตัดสินคนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
ก็เท่ากับสับสนเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
ฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติไม่ว่าจะมีกี่ล้านเสียงก็ไม่มีสิทธิทำผิดกฎหมาย
ตามที่ได้มีผู้มาตีกลองยื่นคำร้องจำนวน 5 รายขอให้ศาลไคฟงวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญตามที่ ส.ส.และ ส.ว.ได้กระทำการแก้ไขไปจนถึงขั้นตอนที่จะลงมติวาระ 3 นั้นเป็นไปโดยชอบตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่
ผู้ร้องทั้ง 5 รายได้ร้องไปในทำนองเดียวกันว่า แม้รัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติให้สามารถแก้ไขได้ตามวิธีการใน ม. 291 แต่การแก้ไขก็ต้องทำเป็นร่างออกมาว่าจะแก้ไขในเรื่องอะไรและกระทำในมาตราใดบ้างในรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถที่จะแก้ไขโดยมอบอำนาจปวงชนที่ ส.ส.และส.ว.ได้มาไปให้กับบุคคลคณะอื่นๆ เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ให้เป็นผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็จขาดที่จะแก้ไขแทนได้
ดังนั้นการกระทำโดยขอแก้ไข ม. 291 แต่เพียงมาตราเดียวเพื่อมอบอำนาจที่ ส.ส.และส.ว.มีไปให้คณะบุคคลที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายให้มีอำนาจขึ้นมา โดยอ้างเพียงว่าได้จัดทำข้อกำหนดมิให้มีการแก้ไขในเรื่องรูปแบบการปกครองและอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินให้แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ แต่เมื่อคณะบุคคลดังกล่าวแก้ไขรัฐธรรมนูญจนเสร็จสิ้นก็กลับมอบอำนาจให้กับประธานสภาแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ดุลพินิจของตนเองแต่เพียงลำพังพิจารณาว่าขัดกับข้อห้ามตามที่กำหนดดังกล่าวหรือไม่ ก่อนที่จะไปทำประชามติ
ผู้ร้องทั้ง 5 จึงเห็นว่าเป็นการกระทำที่มุ่งหวังจะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ เพราะเท่ากับว่าเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามอำเภอใจโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ในขณะที่ผู้ที่มีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงคือ ส.ส.และส.ว.กลับไม่ใช้อำนาจที่ตนเองได้รับมอบหมายจากประชาชน เป็นการกระทำที่ไม่รับผิดชอบสมควรที่จะต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง
ศาลไคฟงได้รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาตาม ม. 68 และได้กำหนดประเด็นในการวินิจฉัยไว้ 4 ประเด็นคือ (1) ผู้ร้องทั้ง 5 รายมีอำนาจร้องตาม ม. 68 ได้หรือไม่ (2) การแก้ไข ม. 291 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับสามารถทำได้หรือไม่ (3) การแก้ไข ม. 291 ดังกล่าวเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้หรือไม่ และ (4) การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ต้องมีการยุบพรรค ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสาม และสี่ หรือไม่
แม้จะมีการกดดันศาลจากอำมาตย์ในรัฐบาลปัจจุบันในรูปแบบต่างๆรวมถึงแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ฝักใฝ่ลัทธิ “ล้มเจ้า” เพื่อให้ศาลวินิจฉัยไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ โดยอ้างถึงความเป็นตัวแทนจากประชาชนหลายล้านเสียงที่มีความชอบธรรมมากกว่าศาล หรือความไม่สงบที่จะเกิดขึ้นมาบ้าง หรือการสังคมจะไม่ยอมคำตัดสินของศาลบ้าง แต่ก็หาได้ทำให้ศาลหวั่นไหวเอนเอียงไปกับกระแสกดดันเหล่านั้นไม่ เพราะหากศาลไม่เป็นเสาหลักในการอำนวยความยุติธรรมแล้ว บ้านเมืองจะอยู่อย่างสงบได้อย่างไร
ในประเด็นแรก ศาลไคฟงก็เช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ในการรักษาความถูกต้องของแผ่นดิน การรับเรื่องตีความไว้พิจารณาจึงเป็นหน้าที่โดยตรง หาได้เป็นหน้าที่ของอัยการหรือคนอื่นใดไม่ หากได้อัยการขี้ฉ้อเรื่องจะมาถึงศาลได้หรือ ยิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดมิให้คนเลวมาทำตัวเป็นศรีธนญชัยตะแบงเอาสีข้างเข้าถูยิ่งต้องรับไว้พิจารณาเพื่อเป็นการวางบรรทัดฐานที่ดีเอาไว้สืบต่อไปในอนาคต จึงมีคำวินิจฉัยในประเด็นแรกนี้ว่ามีอำนาจในการรับไว้พิจารณาตาม ม.68 มิเช่นนั้นจะมีศาลไว้ทำอะไร
ในประเด็นที่สอง แก้ไขรัฐธรรมนูญตาม ม. 291 สามารถทำได้หากมีเจตนาที่ดี เพราะคนดีย่อมไม่ปกปิดเจตนาที่แท้จริงว่าจะแก้เรื่องอะไรมีเหตุผลอย่างไร การแก้ไข ม. 291 เสียใหม่ให้มีคณะบุคคลอื่นมาทำการแทนโดยมอบอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปให้ด้วยโดยไม่ยอมรับรู้ว่าเขาจะแก้อะไรบ้างจึงเท่ากับมีเจตนาแอบแฝงเป็นเสมือนการเซ็นเช็คเปล่าไปให้ผู้อื่นกรอกตัวเงินและชื่อผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งไม่เป็นเรื่องที่ถูกต้องและไม่คิดว่าผู้ที่เป็นตัวแทนประชาชนจะกล้าทรยศหักหลังไม่รับผิดชอบมอบอำนาจแบบ “ขายขาด” ไปให้คนอื่นเช่นนี้ได้
ยิ่งหากมีเจตนาต้องการแก้ไขใหม่ทั้งฉบับจนเป็นเสมือนร่างใหม่ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำประชามติเพื่อขออนุมัติจากประชาชนเสียก่อนที่จะกระทำการอื่นใด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มาจากประชาชนลงประชามติรับโดยตรง ประชาชนเป็นผู้สถาปนา หาใช่ ส.ส.และ ส.ว.ที่เป็นเพียงตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากประชาชนมาทำงานภายใต้กติกาของรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดไม่
การที่กำหนดข้อห้ามเอาไว้แต่เพียงลอยๆ มีบทบังคับแค่ให้ประธานสภาเป็นผู้พิจารณาว่าขัดกับข้อห้ามหรือไม่เป็นเพียงเล่ห์เหลี่ยมในการทำให้คนตายใจ เพราะศาลเองก็ยังพิจารณาโดยใช้องค์คณะมิได้ใช้ดุลพินิจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เพียงลำพัง หากขอให้เชื่อตัวบุคคลว่าเป็นคนดีจะมีกฎหมายเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไปทำไม แถมประธานสภาคนนี้มีข่าวเรื่องเสื่อมเสียไม่เป็นกลางฝักใฝ่กับนักโทษหนีคำพิพากษาจากคลิปเสียงที่ถูกเอามาเผยแพร่ก็ยิ่งไม่สามารถจะปล่อยไปได้ พิจารณาแล้วจึงมีวินิจฉัยว่าการแก้ไขดังกล่าวไม่สามารถทำได้
ในประเด็นที่สาม เมื่อไม่มีหลักประกันอันใดจะมารับรองได้ว่า คณะบุคคลที่รับมอบอำนาจไปร่างรัฐธรรมนูญจะแก้ไขในประเด็นใดบ้างหรือเป็นการแก้ไขทั้งฉบับก็สามารถทำได้ อีกทั้งพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินก็มีอยู่ทั่วไปในรัฐธรรมนูญ มิได้จำกัดอยู่ในหมวดใดหมวดหนึ่งเป็นการเฉพาะ การจะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่คิดไปเองเพราะยังไม่รู้เลยว่าเขาจะไปร่างแก้ไขอย่างไร จึงเป็นเหตุผลตะแบงแบบศรีธนญชัยโดยแท้ เป็นการอำพรางเจตนาพิเศษของตนเอง หากประสงค์ดีคงไม่ทำปกปิดเช่นนี้
จากการสืบพยานก็เป็นที่ประจักษ์ว่ามีเจตนาล้มล้างการปกครองเพื่อให้ได้อำนาจปกครองประเทศที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพราะยอมรับว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับมาแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อีกทั้ง ส.ส.และส.ว.ที่มอบอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปให้ก็จะยังสามารถอยู่ในตำแหน่งเดิมได้ รวมถึงการคงอยู่ของรัฐบาลปัจจุบันที่มาจากรัฐธรรมนูญที่จะยกเลิกด้วย
ดังนั้นจึงมีวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อให้ได้อำนาจปกครองที่ไม่เป็นไปตามที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ไม่สามารถทำได้
ในประเด็นที่สี่ เมื่อเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญจึงเท่ากับเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่ ส.ส.และส.ว.ได้ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่งที่จะปกป้องรักษารัฐธรรมนูญฉบับนี้เอาไว้ เป็นการทวนคำสาบานอย่างหน้าไม่อาย แม้ฟ้าดินยังไม่ลงโทษในปัจจุบันเพราะยังไม่ตายไปเมืองผีแต่ศาลจะลงโทษตอนเป็นคนแทนเสียชั้นหนึ่งก่อน จึงวินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง การปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.และส.ว.ที่ผ่านมาที่ลงมติในวาระ 1 และ 2 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความผิดอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้ยุบพรรค ตัดสิทธิ์ทางการเมือง และดำเนินคดีฐานเป็นกบฏ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป
หวังเฉา หม่าฮั่น และเจ้าหน้าที่ เตรียมเครื่องประหารหัวสุนัข
ลงชื่อ เปา บุ้น จิ้น แห่งศาลไคฟง
ตุลาการไม่กี่คนไม่มีสิทธิมาตัดสินคนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
ก็เท่ากับสับสนเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
ฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติไม่ว่าจะมีกี่ล้านเสียงก็ไม่มีสิทธิทำผิดกฎหมาย
ตามที่ได้มีผู้มาตีกลองยื่นคำร้องจำนวน 5 รายขอให้ศาลไคฟงวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญตามที่ ส.ส.และ ส.ว.ได้กระทำการแก้ไขไปจนถึงขั้นตอนที่จะลงมติวาระ 3 นั้นเป็นไปโดยชอบตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่
ผู้ร้องทั้ง 5 รายได้ร้องไปในทำนองเดียวกันว่า แม้รัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติให้สามารถแก้ไขได้ตามวิธีการใน ม. 291 แต่การแก้ไขก็ต้องทำเป็นร่างออกมาว่าจะแก้ไขในเรื่องอะไรและกระทำในมาตราใดบ้างในรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถที่จะแก้ไขโดยมอบอำนาจปวงชนที่ ส.ส.และส.ว.ได้มาไปให้กับบุคคลคณะอื่นๆ เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ให้เป็นผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็จขาดที่จะแก้ไขแทนได้
ดังนั้นการกระทำโดยขอแก้ไข ม. 291 แต่เพียงมาตราเดียวเพื่อมอบอำนาจที่ ส.ส.และส.ว.มีไปให้คณะบุคคลที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายให้มีอำนาจขึ้นมา โดยอ้างเพียงว่าได้จัดทำข้อกำหนดมิให้มีการแก้ไขในเรื่องรูปแบบการปกครองและอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินให้แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ แต่เมื่อคณะบุคคลดังกล่าวแก้ไขรัฐธรรมนูญจนเสร็จสิ้นก็กลับมอบอำนาจให้กับประธานสภาแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ดุลพินิจของตนเองแต่เพียงลำพังพิจารณาว่าขัดกับข้อห้ามตามที่กำหนดดังกล่าวหรือไม่ ก่อนที่จะไปทำประชามติ
ผู้ร้องทั้ง 5 จึงเห็นว่าเป็นการกระทำที่มุ่งหวังจะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ เพราะเท่ากับว่าเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามอำเภอใจโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ในขณะที่ผู้ที่มีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงคือ ส.ส.และส.ว.กลับไม่ใช้อำนาจที่ตนเองได้รับมอบหมายจากประชาชน เป็นการกระทำที่ไม่รับผิดชอบสมควรที่จะต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง
ศาลไคฟงได้รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาตาม ม. 68 และได้กำหนดประเด็นในการวินิจฉัยไว้ 4 ประเด็นคือ (1) ผู้ร้องทั้ง 5 รายมีอำนาจร้องตาม ม. 68 ได้หรือไม่ (2) การแก้ไข ม. 291 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับสามารถทำได้หรือไม่ (3) การแก้ไข ม. 291 ดังกล่าวเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้หรือไม่ และ (4) การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ต้องมีการยุบพรรค ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสาม และสี่ หรือไม่
แม้จะมีการกดดันศาลจากอำมาตย์ในรัฐบาลปัจจุบันในรูปแบบต่างๆรวมถึงแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ฝักใฝ่ลัทธิ “ล้มเจ้า” เพื่อให้ศาลวินิจฉัยไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ โดยอ้างถึงความเป็นตัวแทนจากประชาชนหลายล้านเสียงที่มีความชอบธรรมมากกว่าศาล หรือความไม่สงบที่จะเกิดขึ้นมาบ้าง หรือการสังคมจะไม่ยอมคำตัดสินของศาลบ้าง แต่ก็หาได้ทำให้ศาลหวั่นไหวเอนเอียงไปกับกระแสกดดันเหล่านั้นไม่ เพราะหากศาลไม่เป็นเสาหลักในการอำนวยความยุติธรรมแล้ว บ้านเมืองจะอยู่อย่างสงบได้อย่างไร
ในประเด็นแรก ศาลไคฟงก็เช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ในการรักษาความถูกต้องของแผ่นดิน การรับเรื่องตีความไว้พิจารณาจึงเป็นหน้าที่โดยตรง หาได้เป็นหน้าที่ของอัยการหรือคนอื่นใดไม่ หากได้อัยการขี้ฉ้อเรื่องจะมาถึงศาลได้หรือ ยิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดมิให้คนเลวมาทำตัวเป็นศรีธนญชัยตะแบงเอาสีข้างเข้าถูยิ่งต้องรับไว้พิจารณาเพื่อเป็นการวางบรรทัดฐานที่ดีเอาไว้สืบต่อไปในอนาคต จึงมีคำวินิจฉัยในประเด็นแรกนี้ว่ามีอำนาจในการรับไว้พิจารณาตาม ม.68 มิเช่นนั้นจะมีศาลไว้ทำอะไร
ในประเด็นที่สอง แก้ไขรัฐธรรมนูญตาม ม. 291 สามารถทำได้หากมีเจตนาที่ดี เพราะคนดีย่อมไม่ปกปิดเจตนาที่แท้จริงว่าจะแก้เรื่องอะไรมีเหตุผลอย่างไร การแก้ไข ม. 291 เสียใหม่ให้มีคณะบุคคลอื่นมาทำการแทนโดยมอบอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปให้ด้วยโดยไม่ยอมรับรู้ว่าเขาจะแก้อะไรบ้างจึงเท่ากับมีเจตนาแอบแฝงเป็นเสมือนการเซ็นเช็คเปล่าไปให้ผู้อื่นกรอกตัวเงินและชื่อผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งไม่เป็นเรื่องที่ถูกต้องและไม่คิดว่าผู้ที่เป็นตัวแทนประชาชนจะกล้าทรยศหักหลังไม่รับผิดชอบมอบอำนาจแบบ “ขายขาด” ไปให้คนอื่นเช่นนี้ได้
ยิ่งหากมีเจตนาต้องการแก้ไขใหม่ทั้งฉบับจนเป็นเสมือนร่างใหม่ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำประชามติเพื่อขออนุมัติจากประชาชนเสียก่อนที่จะกระทำการอื่นใด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มาจากประชาชนลงประชามติรับโดยตรง ประชาชนเป็นผู้สถาปนา หาใช่ ส.ส.และ ส.ว.ที่เป็นเพียงตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากประชาชนมาทำงานภายใต้กติกาของรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดไม่
การที่กำหนดข้อห้ามเอาไว้แต่เพียงลอยๆ มีบทบังคับแค่ให้ประธานสภาเป็นผู้พิจารณาว่าขัดกับข้อห้ามหรือไม่เป็นเพียงเล่ห์เหลี่ยมในการทำให้คนตายใจ เพราะศาลเองก็ยังพิจารณาโดยใช้องค์คณะมิได้ใช้ดุลพินิจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เพียงลำพัง หากขอให้เชื่อตัวบุคคลว่าเป็นคนดีจะมีกฎหมายเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไปทำไม แถมประธานสภาคนนี้มีข่าวเรื่องเสื่อมเสียไม่เป็นกลางฝักใฝ่กับนักโทษหนีคำพิพากษาจากคลิปเสียงที่ถูกเอามาเผยแพร่ก็ยิ่งไม่สามารถจะปล่อยไปได้ พิจารณาแล้วจึงมีวินิจฉัยว่าการแก้ไขดังกล่าวไม่สามารถทำได้
ในประเด็นที่สาม เมื่อไม่มีหลักประกันอันใดจะมารับรองได้ว่า คณะบุคคลที่รับมอบอำนาจไปร่างรัฐธรรมนูญจะแก้ไขในประเด็นใดบ้างหรือเป็นการแก้ไขทั้งฉบับก็สามารถทำได้ อีกทั้งพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินก็มีอยู่ทั่วไปในรัฐธรรมนูญ มิได้จำกัดอยู่ในหมวดใดหมวดหนึ่งเป็นการเฉพาะ การจะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่คิดไปเองเพราะยังไม่รู้เลยว่าเขาจะไปร่างแก้ไขอย่างไร จึงเป็นเหตุผลตะแบงแบบศรีธนญชัยโดยแท้ เป็นการอำพรางเจตนาพิเศษของตนเอง หากประสงค์ดีคงไม่ทำปกปิดเช่นนี้
จากการสืบพยานก็เป็นที่ประจักษ์ว่ามีเจตนาล้มล้างการปกครองเพื่อให้ได้อำนาจปกครองประเทศที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพราะยอมรับว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับมาแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อีกทั้ง ส.ส.และส.ว.ที่มอบอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปให้ก็จะยังสามารถอยู่ในตำแหน่งเดิมได้ รวมถึงการคงอยู่ของรัฐบาลปัจจุบันที่มาจากรัฐธรรมนูญที่จะยกเลิกด้วย
ดังนั้นจึงมีวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อให้ได้อำนาจปกครองที่ไม่เป็นไปตามที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ไม่สามารถทำได้
ในประเด็นที่สี่ เมื่อเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญจึงเท่ากับเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่ ส.ส.และส.ว.ได้ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่งที่จะปกป้องรักษารัฐธรรมนูญฉบับนี้เอาไว้ เป็นการทวนคำสาบานอย่างหน้าไม่อาย แม้ฟ้าดินยังไม่ลงโทษในปัจจุบันเพราะยังไม่ตายไปเมืองผีแต่ศาลจะลงโทษตอนเป็นคนแทนเสียชั้นหนึ่งก่อน จึงวินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง การปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.และส.ว.ที่ผ่านมาที่ลงมติในวาระ 1 และ 2 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความผิดอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้ยุบพรรค ตัดสิทธิ์ทางการเมือง และดำเนินคดีฐานเป็นกบฏ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป
หวังเฉา หม่าฮั่น และเจ้าหน้าที่ เตรียมเครื่องประหารหัวสุนัข
ลงชื่อ เปา บุ้น จิ้น แห่งศาลไคฟง