ASTVผูจัดการรายวัน- "ปลอด" อ้าง "บิ๊กจิ๋ว" ต้องการให้ศาลฯ แนะนำมากกว่าตัดสิน เพราะจะเกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง มั่นใจไม่ถึงยุบพรรค "เหลิม" เชื่อศุกร์ 13 นี้ไม่ป่วน หลังม็อบจ่อบุกหน้าศาลรธน. เตือนใครลงมือก่อนแพ้ ขณะที่ทีมกม.ปชป.มั่นใจคำให้การพยานมัดฝ่ายรัฐบาลดิ้นไม่หลุด "มาร์ค"วอนทุกฝ่ายหยุดพูดให้เกิดความสับสน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาล หากเกิดเหตุป่วน"เหลิม" ต้องรับผิดชอบ ขณะที่ตุลาการยัน ยุติการวินิจฉัยคดีไม่ได้
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะเกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง และทำให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่ที่รุนแรงขึ้น ว่า ดูเหมือนพล.อ.ชวลิต จะบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญ อย่าตัดสินเลย แต่ควรให้คำแนะนำดีกว่า ซึ่งตนเคยบอกแล้วว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นการทำลายระบอบการปกครอง เพราะการที่พวกตนขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการขอแก้ไขตามครรลองของรัฐธรรมนูญ ตามที่พวกตนเข้าใจ โดยผ่านระบบรัฐสภา เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ดังนั้นเมื่อหลักคิดเป็นแบบนี้ ที่ยึดถือประชาธิปไตย ประชาชน และรัฐสภา มันจะเป็นการทำลายระบอบการปกครองได้อย่างไร แต่คนที่สร้างรัฐธรรมนูญฉบับเก่า มาจากการรัฐประหาร และถูกสร้างด้วยระบอบแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นการคิดเอง ตั้งคนขึ้นมาเอง อนุมัติเอง และบังคับให้ประชาชนรับ ขณะที่พวกตนใช้ระบบรัฐสภา มีการถกเถียง และลงมติในรัฐสภา
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องบอก หรืออธิบายว่า สิ่งที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 หรือฉบับปฏิวัตินั้น ควรเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะรับฟัง และก็ต้องนำมาปฏิบัติ ซึ่งตนคิดว่าพล.อ.ชวลิต ก็คงพูดคล้ายๆ กับตน ว่าขอให้ศาลรัฐธรรมนูญบอกมา ว่าควรจะทำอย่างไร ไม่ใช่มาตัดสินว่าเป็นการทำลายล้างระบอบการปกครอง ทั้งที่เรามาสร้างสรรค์การปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็งกว่าเดิม
เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทย พร้อมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ หรือไม่ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนไม่รู้ และยังไม่ถึงขั้นที่จะตอบคำถามนั้น
**มั่นใจพรรคเพื่อไทยไม่ถูกยุบ
ส่วนการนัดหารือกันในพรรคเพื่อไทย ก็ไม่ได้เป็นการหารือเพื่อเตรียมความพร้อมรับมืออะไร เพราะพวกตนไม่ได้คิดไกลขนาดนั้น แต่คิดถึงการทำงานในรัฐสภาตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสิ่งที่เราทำมา ถือว่าดีที่สุดแล้ว คือการเป็นปฏิปักษ์กับการรัฐประหาร และรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการรัฐประหาร ที่เป็นต้นไม้พิษ
เมื่อถามว่า คิดว่ามีสิทธิ์ที่พรรคเพื่อไทย จะถูกตัดสินยุบพรรคหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ไม่มี พรรคเพื่อไทยถูกสร้างมาเพื่อประชาชน เป็นของประชาชน และต้องอยู่กับประชาชนไปชั่วกัลปาวสานต์
** "เหลิม"เชื่อ ศุกร์13 นี้ไม่ป่วน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ มีแนวโน้มว่ามวลชนทั้งที่สนับสนุนและคัดค้าน อาจจะไปรวมตัวกันที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญว่า ถือเป็นสิทธิของประชาชน เมื่อตนได้มาทำหน้าที่ตรงนี้ ก็กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้มแข็ง แต่นุ่มนวล อย่ารุนแรง เพราะเกมการเมืองกระดานนี้ ใครลงมือก่อนแพ้ ดังนั้น ต้องอดทน อดกลั้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงไม่มีการจลาจล คนไทยสุดท้ายไม่ฆ่ากัน
ร.ต.อ.เฉลิม ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม กรณีแถลงการณ์ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ โดยกล่าวแต่เพียงว่า เป็นความเห็นของผู้ใหญ่ โดยต้องยอมรับว่า พล.อ.ชวลิต เป็นนายทหารประชาธิปไตย เติบโตทางการเมืองได้ เพราะการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
**เพื่อไทยครวญอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไม่มีความกังวลอะไร เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ทำอะไรผิด ส่วนคำตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไรก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาล
เมื่อถามต่อว่า หากมีการยุบพรรค จะมีผลกระทบกับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลและเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานภาพ หรือปัจจัยที่กระทบกับการเมืองมีมากน้อยเพียงใด ถ้าการเมืองเรียบร้อยการทำงานก็ทำไปได้ เหมือนประเทศไทยเป็นนาฬิกาเรือนหนึ่ง อำนาจทั้งสามก็เป็นฟันเฟืองสำคัญ ถ้าฟันเฟืองหมุนอย่างสอดคล้องกัน ก็เป็นผลดีต่อตัวนาฬิกา ได้เสถียรภาพของรัฐบาล มองในแง่สภาผู้แทนราษฎร ก็มีความมั่งคง มองในแง่ความเห็นของประชาชน ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนยังอยู่ในระดับที่ดี หัวหน้าพรรคเพื่อไทยยังตอบข้อซักถามที่ว่าหากศาลวินิจฉัยว่า กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัด มาตรา 68 และนำไปสู่การยุบพรรคว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงเหนื่อย เพราะพรรคเราถูกยุบมาสองครั้งแล้ว ถ้าถูกยุบอีกคนในพรรคก็คงเหนื่อย
เมื่อถามว่าประเมินการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร นายยงยุทธ กล่าวว่า บอกไม่ได้ว่าสอบผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่ได้คิดอะไรไกล อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด คนเราก็ต้องรับได้ พรรคก็ได้มีการพูดคุยกันไว้แล้ว ไม่ว่าจะมีผลอย่างไร
** ชี้ศาลตัดสินได้ 3 แนวทาง
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ยังคงมีบางเรื่องที่พรรคจะต้องเขียนคำชี้แจงให้ชัดเจน โดยในส่วนของผู้ถูกร้องรายอื่นๆ อาจไม่จำเป็นต้องสอดคล้อง แต่ขอให้มีความชัดเจนและกระชับในสิ่งที่ให้ข้อมูลกับศาลรัฐธรรมนูญไว้ ซึ่งขณะนี้พรรคเพื่อไทยก็มีความชัดเจนและไม่มีประเด็นอะไรเพิ่มเติม ซึ่งทางฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยยังคงยืนยันหลักการว่า ศาลไม่มีอำนาจในการตัดสินการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว โดยจะสรุปเนื้อหาอีกครั้ง ในวันนี้
นายอุดมเดช ยังกล่าวด้วยว่า การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะออกมาเป็น 3 แนวทาง คือ
1.ไม่ขัดมาตรา 68 สามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเปิดทางให้มี ส.ส.ร. มายกร่างได้
2.ไม่สามารถแก้ได้ทั้งฉบับ แต่ให้สามารถแก้ไขในรายมาตราได้
3.ขัดมาตรา 68 ไม่สามารถแก้ไขได้ และตัดสินยุบพรรคการเมือง ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินออกมาในแนวทางที่ 2 ก็สามารถรับได้ และจะเป็นเรื่องง่ายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยผ่านรัฐสภาไม่ต้องมี ส.ส.ร. สามารถเดินหน้าแก้ไขได้เร็วขึ้น
** ชี้คำให้การมัดผู้ถูกร้องดิ้นไม่หลุด
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ยื่นคำร้อง กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กล่าวว่า ตนพอใจการทำหน้าที่ในชั้นไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดสองวัน โดยเห็นว่าการให้ถ้อยคำของ นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา พยานของผู้ถูกร้องได้ยอมรับกลางศาลว่าโหวตเลือกพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะมีความรัก นับถือ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ขัดประเพณีการทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร อย่างร้ายแรง
อีกทั้งยอมรับด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ ส.ส.ร. จะยกร่างนั้น จะเป็นฉบับใหม่ เท่ากับเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ทันที
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ทั้ง ส.ส. -ส.ว. และรัฐบาล จะยังอยู่ในอำนาจต่อไป เท่ากับว่า คนเหล่านี้ได้อำนาจด้วยการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับเก่า เป็นการได้มาซึ่งอำนาจ ด้วยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนคิดว่าประเด็นเหล่านี้ ศาลรัฐธรรมนูญย่อมเข้าใจดี
นอกจากนี้ ในกรณีของ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ก็รับในสาระสำคัญว่า พรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง เดินคู่ขนานกัน มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ คนของเสื้อแดง เช่น พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ปราศรัยชัดเจนว่า " ไอ้เหี้ยสั่งฆ่า อีห่าสังยิง" และเปลี่ยนเป็น " คุณลุงสั่งฆ่า คุณป้าสั่งยิง" ซึ่งนายใจ อึ้งภากรณ์ ได้พูดที่สวีเดนว่า ไอ้เหี้ย คือใคร ซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการใส่ร้ายอย่างน่าละอาย รวมถึงกรณีที่ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ปราศรัยว่า คนไทยปลดรูปที่มีทุกบ้านลงแล้ว เป็นการบ่อนทำลายความเคารพที่ประชาชนมีต่อเบื้องสูง อีกทั้งก่อนหน้านี้ มีความพยายามจะเบี่ยงเบนว่า อำมาตย์ คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่มีการใช้คำว่า เพ็ดทูล ย่อมไม่ได้หมายความถึง พล.อ.เปรม อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ มีการพูดถึงเรื่องประธานาธิบดี สถาปนารัฐไทยใหม่ ซึ่งทั้งหมดมี คลิป ส่งเป็นหลักฐานให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว ดังนั้นสิ่งที่นายยงยุทธ ยอมรับว่า พรรคเพื่อไทย เป็นเนื้อเดียวกับคนเสื้อแดง โดยที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีกรอบชัดเจนว่า ส.ส.ร.จะยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร จึงชัดเจนว่า มีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยผ่านการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ถือว่ามีขบวนการใน และนอกสภา เดินคู่กัน เพื่อล้มล้างการปกครอง ที่สำคัญคือ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ที่กระจายอยู่ในมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่มีหลักประกันว่า จะไม่ได้รับผลกระทบจากการยกร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร.
สำหรับการให้ถ้อยคำของนายอัชพร จารุจินดา เลขากฤษฎีกานั้น นายวิรัตน์ กล่าวว่า รัฐสภาไม่สามารถไปล้มล้างรัฐธรรมนูญได้ เหมือนลูกไปฆ่าแม่ไม่ได้ ซึ่งนายอัชพร ก็ยอมรับในเรื่องนี้ รวมถึงการตั้งหมวดพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่ทำขึ้นมาใหม่ แต่นายอัชพร อ้างว่า แบ่งหมวดเพื่อให้อ่านง่าย ซึ่งถือว่าเป็นการตะแบง
ทั้งนี้ ตนจะไปรับคำให้การตลอดสองวัน หลังเวลา 16.30 น. และจะยื่นคลิปเสียง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ต่อศาลเพิ่มเติมด้วย ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับแล้วว่า เป็นเสียงของตัวเอง โดยจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนเวลา 15.00 น. จากนั้นเมื่อได้เอกสารทั้งหมด จะสรุปคำให้การ เพื่อแถลงปิดคดียื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่ 11 ก.ค.นี้ ตามที่ศาลกำหนด
** "มาร์ค"วอนทุกฝ่ายหยุดพูด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายควรให้ศาลได้ทำหน้าที่ โดยยอมรับกระบวนการของศาล ยอมรับระบบ อย่าไปวิตกกังวล หรือคาดคะเนว่าจะเกิดสิ่งใด เรื่องทั้งหมดเป็นหน้าที่ของศาลจะพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกิดขึ้น เพราะขั้นตอนการไต่สวนก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการนัดแถลงปิดคดี ดังนั้น ทุกฝ่ายควรรอให้ศาลได้ทำหน้าที่เป็นการดีที่สุด ไม่ควรอกมาสร้างประเด็นความสับสนในทางการเมือง โดยการพูดประเด็นต่างๆให้มากไปกว่านี้
**จี้"เหลิม"รับผิดชอบหากป่วน
เมื่อถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ดูแลด้านความปลอดภัย ออกมาระบุว่า ศาลต้องพิจารณาตามกระแสความรู้สึกของประชาชน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าท่านเรียนกฎหมายตำราไหน ที่บอกให้ศาลวินิจฉัยตามความรู้สึก เพราะทุกอย่างต้องว่าไปตามกระบวนการของกฎหมาย และอยากจะเตือนว่า เมื่อปี 44 ขณะที่เกิดคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ช่วงที่เป็นนายกฯ ก็มีความพยายามใช้วิธีกดดันศาล ด้วยวิธีเหล่านี้ ที่ออกมาบอกว่าต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ มีการไปล้อมศาล สุดท้ายศาลก็มีคำวินิจฉัย ซึ่งต่อมาก็เห็นได้ชัดว่า มีความไม่ชอบมาพากลหลายเรื่อง และมาวันนี้ก็เริ่มมีกระบวนการ และเริ่มมีคนได้วิเคราะห์แล้วว่า นั่นคือจุดเริ่มต้นที่มาของวิกฤตปัญหาบ้านเมืองทั้งหมด ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะทำผิดซ้ำสอง ศาลจะวินิจฉัยอย่างไร เชื่อว่าจะมีเหตุผลที่ดีรองรับ ขอให้ชี้แจงอธิบาย เที่ยงตรงเที่ยงธรรม ก็เพียงพอแล้ว
"ถ้าคุณเฉลิม ทราบข่าวนี้ก็ควรจะดำเนินการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้น เพราะเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของท่าน และหากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ท่านก็ต้องรับผิดชอบ ที่รับผิดชอบเรื่องความมั่นคง เพราะท่านแสดงออกมาแล้วว่า ท่านทราบล่วงหน้า การออกมาพูดอย่างนี้ คงเป็นการหวังผลทางคดี แต่คิดว่าทุกฝ่ายต้องช่วยกันยืนยันว่า ควรให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ"
เมื่อถามว่า การที่มีกระบวนการใช้มวลชนออกมากดดัน ข่มขู่ โดยระบุว่าจะมีการระดมมวลชนมาเรือนแสน มาที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องเหล่านี้ไม่ควรมี หรือแม้แต่การสนับสนุนใดๆ แต่ทุกฝ่ายควรสนับสนุนให้ศาลได้ทำหน้าที่อย่างตรงตรงมา เพราะเราไม่ทราบว่าท่านจะวินิจฉัยออกมาอย่างไร และผลที่ออกมา เห็น ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่าผลออกมาอย่างไรก็ไม่กระทบรัฐบาลอยู่แล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ไม่ต้องวิตกกังวลอะไร
**ตุลาการยันยุติการวินิจฉัยคดีไม่ได้
แหล่งข่าวจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเปิดเผยว่า หลังการไต่สวนแล้วคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้มีการประชุม หรือนัดวันประชุมเพื่ออภิปรายนำไปสู่การลงมติ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการประชุมในเช้าของวันที่นัดฟังคำวินิจฉัย แต่ระหว่างนี้ตุลาการฯ แต่ละคนก็จะใช้เวลาในการศึกษา พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งในข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ซึ่งตุลาการฯแต่ละคนก็จะต้องเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนก่อนที่จะไปอภิปรายฯ ด้วยวาจา และลงมติ จากนั้นก็จะมีการจัดทำคำวินิจฉัยกลาง ก่อนที่จะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย โดยกระบวนการทั้งหมด จะกระทำในวันที่ 13 ก.ค.เพียงวันเดียว
ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญควรหยุดการพิจารณา เพราะไม่ว่าจะวินิจฉัยออกมาทางใด ก็จะเกิดเหตุรุนแรง รวมถึงการคาดการณ์การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะออกมานั้น ทางคณะตุลาการเห็นว่า คงไม่สามารถหยุดการพิจารณาวินิจฉัยได้แล้ว เพราะได้กำหนดวันนัดไว้แล้ว ซึ่งต้องมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนที่มีการคาดการณ์ผลการวินิจฉัย ก็เป็นความเห็นของคนภายนอก โดยการพิจารณา ก็จะดูตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน สำหรับคำวินิจฉัยจะออกมา จะมีการวางแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องตามที่หลายฝ่ายต้องการหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมคณะตุลาการฯ ว่ามีคำวินิจฉัยอย่างไรก่อน และต้องพิจารณาว่า หากศาลจะชี้แนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกต้อง จะถือว่าเป็นทำเกินกว่าที่กฎหมายหมายกำหนด หรือเกิดจากคำขอหรือไม่
** "เรืองไกร" ยื่นยุบ 6 พรรค 2 องค์กรอิสระ
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาสั่งยุบ 6 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล และขอให้ตรวจสอบ 2 องค์กรอิสระ ประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
** จี้ “ชัช” ถอนตัวจากองค์คณะฯ
นายจาตุรันต์ บุญเบญจรัตน์ ผู้ช่วยผู้ประสานงาน กลุ่มกรีน เข้ายื่นหนังสือต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านนางอรรถพร เลาหสุรโยธิน รักษาการในตำแหน่ง ผอ.กลุ่มงานบริหารทั่วไป ขอให้ นายชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อยเพียงคนเดียว ที่เห็นควรไม่รับคำร้องการกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองมาตรา 68 ไว้วินิจฉัย ออกจากองค์คณะในการพิจารณาคดีนี้
ทั้งนี้ เนื่องจากในการไต่สวน นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการได้ถอนตัว จากการเป็นองค์คณะ เนื่องจากได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มเห็นว่า เป็นการสร้างบรรทัดฐานเพื่อให้สังคมเกิดความสบายใจว่า การพิจารณาคดีนี้จะเป็นไปด้วยความเป็นธรรม
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะเกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง และทำให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่ที่รุนแรงขึ้น ว่า ดูเหมือนพล.อ.ชวลิต จะบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญ อย่าตัดสินเลย แต่ควรให้คำแนะนำดีกว่า ซึ่งตนเคยบอกแล้วว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นการทำลายระบอบการปกครอง เพราะการที่พวกตนขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการขอแก้ไขตามครรลองของรัฐธรรมนูญ ตามที่พวกตนเข้าใจ โดยผ่านระบบรัฐสภา เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ดังนั้นเมื่อหลักคิดเป็นแบบนี้ ที่ยึดถือประชาธิปไตย ประชาชน และรัฐสภา มันจะเป็นการทำลายระบอบการปกครองได้อย่างไร แต่คนที่สร้างรัฐธรรมนูญฉบับเก่า มาจากการรัฐประหาร และถูกสร้างด้วยระบอบแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นการคิดเอง ตั้งคนขึ้นมาเอง อนุมัติเอง และบังคับให้ประชาชนรับ ขณะที่พวกตนใช้ระบบรัฐสภา มีการถกเถียง และลงมติในรัฐสภา
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องบอก หรืออธิบายว่า สิ่งที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 หรือฉบับปฏิวัตินั้น ควรเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะรับฟัง และก็ต้องนำมาปฏิบัติ ซึ่งตนคิดว่าพล.อ.ชวลิต ก็คงพูดคล้ายๆ กับตน ว่าขอให้ศาลรัฐธรรมนูญบอกมา ว่าควรจะทำอย่างไร ไม่ใช่มาตัดสินว่าเป็นการทำลายล้างระบอบการปกครอง ทั้งที่เรามาสร้างสรรค์การปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็งกว่าเดิม
เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทย พร้อมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ หรือไม่ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนไม่รู้ และยังไม่ถึงขั้นที่จะตอบคำถามนั้น
**มั่นใจพรรคเพื่อไทยไม่ถูกยุบ
ส่วนการนัดหารือกันในพรรคเพื่อไทย ก็ไม่ได้เป็นการหารือเพื่อเตรียมความพร้อมรับมืออะไร เพราะพวกตนไม่ได้คิดไกลขนาดนั้น แต่คิดถึงการทำงานในรัฐสภาตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสิ่งที่เราทำมา ถือว่าดีที่สุดแล้ว คือการเป็นปฏิปักษ์กับการรัฐประหาร และรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการรัฐประหาร ที่เป็นต้นไม้พิษ
เมื่อถามว่า คิดว่ามีสิทธิ์ที่พรรคเพื่อไทย จะถูกตัดสินยุบพรรคหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ไม่มี พรรคเพื่อไทยถูกสร้างมาเพื่อประชาชน เป็นของประชาชน และต้องอยู่กับประชาชนไปชั่วกัลปาวสานต์
** "เหลิม"เชื่อ ศุกร์13 นี้ไม่ป่วน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ มีแนวโน้มว่ามวลชนทั้งที่สนับสนุนและคัดค้าน อาจจะไปรวมตัวกันที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญว่า ถือเป็นสิทธิของประชาชน เมื่อตนได้มาทำหน้าที่ตรงนี้ ก็กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้มแข็ง แต่นุ่มนวล อย่ารุนแรง เพราะเกมการเมืองกระดานนี้ ใครลงมือก่อนแพ้ ดังนั้น ต้องอดทน อดกลั้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงไม่มีการจลาจล คนไทยสุดท้ายไม่ฆ่ากัน
ร.ต.อ.เฉลิม ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม กรณีแถลงการณ์ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ โดยกล่าวแต่เพียงว่า เป็นความเห็นของผู้ใหญ่ โดยต้องยอมรับว่า พล.อ.ชวลิต เป็นนายทหารประชาธิปไตย เติบโตทางการเมืองได้ เพราะการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
**เพื่อไทยครวญอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไม่มีความกังวลอะไร เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ทำอะไรผิด ส่วนคำตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไรก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาล
เมื่อถามต่อว่า หากมีการยุบพรรค จะมีผลกระทบกับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลและเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานภาพ หรือปัจจัยที่กระทบกับการเมืองมีมากน้อยเพียงใด ถ้าการเมืองเรียบร้อยการทำงานก็ทำไปได้ เหมือนประเทศไทยเป็นนาฬิกาเรือนหนึ่ง อำนาจทั้งสามก็เป็นฟันเฟืองสำคัญ ถ้าฟันเฟืองหมุนอย่างสอดคล้องกัน ก็เป็นผลดีต่อตัวนาฬิกา ได้เสถียรภาพของรัฐบาล มองในแง่สภาผู้แทนราษฎร ก็มีความมั่งคง มองในแง่ความเห็นของประชาชน ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนยังอยู่ในระดับที่ดี หัวหน้าพรรคเพื่อไทยยังตอบข้อซักถามที่ว่าหากศาลวินิจฉัยว่า กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัด มาตรา 68 และนำไปสู่การยุบพรรคว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงเหนื่อย เพราะพรรคเราถูกยุบมาสองครั้งแล้ว ถ้าถูกยุบอีกคนในพรรคก็คงเหนื่อย
เมื่อถามว่าประเมินการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร นายยงยุทธ กล่าวว่า บอกไม่ได้ว่าสอบผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่ได้คิดอะไรไกล อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด คนเราก็ต้องรับได้ พรรคก็ได้มีการพูดคุยกันไว้แล้ว ไม่ว่าจะมีผลอย่างไร
** ชี้ศาลตัดสินได้ 3 แนวทาง
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ยังคงมีบางเรื่องที่พรรคจะต้องเขียนคำชี้แจงให้ชัดเจน โดยในส่วนของผู้ถูกร้องรายอื่นๆ อาจไม่จำเป็นต้องสอดคล้อง แต่ขอให้มีความชัดเจนและกระชับในสิ่งที่ให้ข้อมูลกับศาลรัฐธรรมนูญไว้ ซึ่งขณะนี้พรรคเพื่อไทยก็มีความชัดเจนและไม่มีประเด็นอะไรเพิ่มเติม ซึ่งทางฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยยังคงยืนยันหลักการว่า ศาลไม่มีอำนาจในการตัดสินการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว โดยจะสรุปเนื้อหาอีกครั้ง ในวันนี้
นายอุดมเดช ยังกล่าวด้วยว่า การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะออกมาเป็น 3 แนวทาง คือ
1.ไม่ขัดมาตรา 68 สามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเปิดทางให้มี ส.ส.ร. มายกร่างได้
2.ไม่สามารถแก้ได้ทั้งฉบับ แต่ให้สามารถแก้ไขในรายมาตราได้
3.ขัดมาตรา 68 ไม่สามารถแก้ไขได้ และตัดสินยุบพรรคการเมือง ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินออกมาในแนวทางที่ 2 ก็สามารถรับได้ และจะเป็นเรื่องง่ายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยผ่านรัฐสภาไม่ต้องมี ส.ส.ร. สามารถเดินหน้าแก้ไขได้เร็วขึ้น
** ชี้คำให้การมัดผู้ถูกร้องดิ้นไม่หลุด
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ยื่นคำร้อง กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กล่าวว่า ตนพอใจการทำหน้าที่ในชั้นไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดสองวัน โดยเห็นว่าการให้ถ้อยคำของ นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา พยานของผู้ถูกร้องได้ยอมรับกลางศาลว่าโหวตเลือกพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะมีความรัก นับถือ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ขัดประเพณีการทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร อย่างร้ายแรง
อีกทั้งยอมรับด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ ส.ส.ร. จะยกร่างนั้น จะเป็นฉบับใหม่ เท่ากับเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ทันที
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ทั้ง ส.ส. -ส.ว. และรัฐบาล จะยังอยู่ในอำนาจต่อไป เท่ากับว่า คนเหล่านี้ได้อำนาจด้วยการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับเก่า เป็นการได้มาซึ่งอำนาจ ด้วยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนคิดว่าประเด็นเหล่านี้ ศาลรัฐธรรมนูญย่อมเข้าใจดี
นอกจากนี้ ในกรณีของ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ก็รับในสาระสำคัญว่า พรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง เดินคู่ขนานกัน มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ คนของเสื้อแดง เช่น พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ปราศรัยชัดเจนว่า " ไอ้เหี้ยสั่งฆ่า อีห่าสังยิง" และเปลี่ยนเป็น " คุณลุงสั่งฆ่า คุณป้าสั่งยิง" ซึ่งนายใจ อึ้งภากรณ์ ได้พูดที่สวีเดนว่า ไอ้เหี้ย คือใคร ซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการใส่ร้ายอย่างน่าละอาย รวมถึงกรณีที่ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ปราศรัยว่า คนไทยปลดรูปที่มีทุกบ้านลงแล้ว เป็นการบ่อนทำลายความเคารพที่ประชาชนมีต่อเบื้องสูง อีกทั้งก่อนหน้านี้ มีความพยายามจะเบี่ยงเบนว่า อำมาตย์ คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่มีการใช้คำว่า เพ็ดทูล ย่อมไม่ได้หมายความถึง พล.อ.เปรม อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ มีการพูดถึงเรื่องประธานาธิบดี สถาปนารัฐไทยใหม่ ซึ่งทั้งหมดมี คลิป ส่งเป็นหลักฐานให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว ดังนั้นสิ่งที่นายยงยุทธ ยอมรับว่า พรรคเพื่อไทย เป็นเนื้อเดียวกับคนเสื้อแดง โดยที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีกรอบชัดเจนว่า ส.ส.ร.จะยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร จึงชัดเจนว่า มีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยผ่านการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ถือว่ามีขบวนการใน และนอกสภา เดินคู่กัน เพื่อล้มล้างการปกครอง ที่สำคัญคือ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ที่กระจายอยู่ในมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่มีหลักประกันว่า จะไม่ได้รับผลกระทบจากการยกร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร.
สำหรับการให้ถ้อยคำของนายอัชพร จารุจินดา เลขากฤษฎีกานั้น นายวิรัตน์ กล่าวว่า รัฐสภาไม่สามารถไปล้มล้างรัฐธรรมนูญได้ เหมือนลูกไปฆ่าแม่ไม่ได้ ซึ่งนายอัชพร ก็ยอมรับในเรื่องนี้ รวมถึงการตั้งหมวดพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่ทำขึ้นมาใหม่ แต่นายอัชพร อ้างว่า แบ่งหมวดเพื่อให้อ่านง่าย ซึ่งถือว่าเป็นการตะแบง
ทั้งนี้ ตนจะไปรับคำให้การตลอดสองวัน หลังเวลา 16.30 น. และจะยื่นคลิปเสียง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ต่อศาลเพิ่มเติมด้วย ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับแล้วว่า เป็นเสียงของตัวเอง โดยจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนเวลา 15.00 น. จากนั้นเมื่อได้เอกสารทั้งหมด จะสรุปคำให้การ เพื่อแถลงปิดคดียื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่ 11 ก.ค.นี้ ตามที่ศาลกำหนด
** "มาร์ค"วอนทุกฝ่ายหยุดพูด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายควรให้ศาลได้ทำหน้าที่ โดยยอมรับกระบวนการของศาล ยอมรับระบบ อย่าไปวิตกกังวล หรือคาดคะเนว่าจะเกิดสิ่งใด เรื่องทั้งหมดเป็นหน้าที่ของศาลจะพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกิดขึ้น เพราะขั้นตอนการไต่สวนก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการนัดแถลงปิดคดี ดังนั้น ทุกฝ่ายควรรอให้ศาลได้ทำหน้าที่เป็นการดีที่สุด ไม่ควรอกมาสร้างประเด็นความสับสนในทางการเมือง โดยการพูดประเด็นต่างๆให้มากไปกว่านี้
**จี้"เหลิม"รับผิดชอบหากป่วน
เมื่อถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ดูแลด้านความปลอดภัย ออกมาระบุว่า ศาลต้องพิจารณาตามกระแสความรู้สึกของประชาชน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าท่านเรียนกฎหมายตำราไหน ที่บอกให้ศาลวินิจฉัยตามความรู้สึก เพราะทุกอย่างต้องว่าไปตามกระบวนการของกฎหมาย และอยากจะเตือนว่า เมื่อปี 44 ขณะที่เกิดคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ช่วงที่เป็นนายกฯ ก็มีความพยายามใช้วิธีกดดันศาล ด้วยวิธีเหล่านี้ ที่ออกมาบอกว่าต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ มีการไปล้อมศาล สุดท้ายศาลก็มีคำวินิจฉัย ซึ่งต่อมาก็เห็นได้ชัดว่า มีความไม่ชอบมาพากลหลายเรื่อง และมาวันนี้ก็เริ่มมีกระบวนการ และเริ่มมีคนได้วิเคราะห์แล้วว่า นั่นคือจุดเริ่มต้นที่มาของวิกฤตปัญหาบ้านเมืองทั้งหมด ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะทำผิดซ้ำสอง ศาลจะวินิจฉัยอย่างไร เชื่อว่าจะมีเหตุผลที่ดีรองรับ ขอให้ชี้แจงอธิบาย เที่ยงตรงเที่ยงธรรม ก็เพียงพอแล้ว
"ถ้าคุณเฉลิม ทราบข่าวนี้ก็ควรจะดำเนินการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้น เพราะเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของท่าน และหากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ท่านก็ต้องรับผิดชอบ ที่รับผิดชอบเรื่องความมั่นคง เพราะท่านแสดงออกมาแล้วว่า ท่านทราบล่วงหน้า การออกมาพูดอย่างนี้ คงเป็นการหวังผลทางคดี แต่คิดว่าทุกฝ่ายต้องช่วยกันยืนยันว่า ควรให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ"
เมื่อถามว่า การที่มีกระบวนการใช้มวลชนออกมากดดัน ข่มขู่ โดยระบุว่าจะมีการระดมมวลชนมาเรือนแสน มาที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องเหล่านี้ไม่ควรมี หรือแม้แต่การสนับสนุนใดๆ แต่ทุกฝ่ายควรสนับสนุนให้ศาลได้ทำหน้าที่อย่างตรงตรงมา เพราะเราไม่ทราบว่าท่านจะวินิจฉัยออกมาอย่างไร และผลที่ออกมา เห็น ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่าผลออกมาอย่างไรก็ไม่กระทบรัฐบาลอยู่แล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ไม่ต้องวิตกกังวลอะไร
**ตุลาการยันยุติการวินิจฉัยคดีไม่ได้
แหล่งข่าวจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเปิดเผยว่า หลังการไต่สวนแล้วคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้มีการประชุม หรือนัดวันประชุมเพื่ออภิปรายนำไปสู่การลงมติ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการประชุมในเช้าของวันที่นัดฟังคำวินิจฉัย แต่ระหว่างนี้ตุลาการฯ แต่ละคนก็จะใช้เวลาในการศึกษา พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งในข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ซึ่งตุลาการฯแต่ละคนก็จะต้องเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนก่อนที่จะไปอภิปรายฯ ด้วยวาจา และลงมติ จากนั้นก็จะมีการจัดทำคำวินิจฉัยกลาง ก่อนที่จะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย โดยกระบวนการทั้งหมด จะกระทำในวันที่ 13 ก.ค.เพียงวันเดียว
ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญควรหยุดการพิจารณา เพราะไม่ว่าจะวินิจฉัยออกมาทางใด ก็จะเกิดเหตุรุนแรง รวมถึงการคาดการณ์การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะออกมานั้น ทางคณะตุลาการเห็นว่า คงไม่สามารถหยุดการพิจารณาวินิจฉัยได้แล้ว เพราะได้กำหนดวันนัดไว้แล้ว ซึ่งต้องมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนที่มีการคาดการณ์ผลการวินิจฉัย ก็เป็นความเห็นของคนภายนอก โดยการพิจารณา ก็จะดูตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน สำหรับคำวินิจฉัยจะออกมา จะมีการวางแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องตามที่หลายฝ่ายต้องการหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมคณะตุลาการฯ ว่ามีคำวินิจฉัยอย่างไรก่อน และต้องพิจารณาว่า หากศาลจะชี้แนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกต้อง จะถือว่าเป็นทำเกินกว่าที่กฎหมายหมายกำหนด หรือเกิดจากคำขอหรือไม่
** "เรืองไกร" ยื่นยุบ 6 พรรค 2 องค์กรอิสระ
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาสั่งยุบ 6 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล และขอให้ตรวจสอบ 2 องค์กรอิสระ ประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
** จี้ “ชัช” ถอนตัวจากองค์คณะฯ
นายจาตุรันต์ บุญเบญจรัตน์ ผู้ช่วยผู้ประสานงาน กลุ่มกรีน เข้ายื่นหนังสือต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านนางอรรถพร เลาหสุรโยธิน รักษาการในตำแหน่ง ผอ.กลุ่มงานบริหารทั่วไป ขอให้ นายชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อยเพียงคนเดียว ที่เห็นควรไม่รับคำร้องการกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองมาตรา 68 ไว้วินิจฉัย ออกจากองค์คณะในการพิจารณาคดีนี้
ทั้งนี้ เนื่องจากในการไต่สวน นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการได้ถอนตัว จากการเป็นองค์คณะ เนื่องจากได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มเห็นว่า เป็นการสร้างบรรทัดฐานเพื่อให้สังคมเกิดความสบายใจว่า การพิจารณาคดีนี้จะเป็นไปด้วยความเป็นธรรม