บุคคลจะยอมรับความชอบธรรมของการกระทำนอกกฎหมายมิได้ เว้นแต่ว่าความยึดมั่นในหลักการกระทำที่ชอบธรรมสอดคล้องกับกฎหมายนั้นอ่อนแอลง แต่จอห์น ล็อค กลับกระทำเช่นนั้นอย่างชัดแจ้ง เขาอ้างในหนังสือชื่อ Two Treatises of Government ว่า กษัตริย์มีสิทธิ์ตามกฎหมายธรรมชาติทั่วไป (II/159) ที่จะกระทำอะไรก็ได้เพื่อประโยชน์ของสังคม โดยไม่ต้องมีกฎหมายรองรับ หรือแม้กระทั่งขัดกับกฎหมาย มีคำถามว่า ทำไมจึงต้องมีอำนาจดังกล่าว และอำนาจนั้นเป็นอย่างไร ในประเทศประชาธิปไตย
ล็อคจงใจจะทำให้ Prerogative เป็นสิทธิ (และอำนาจ) ธรรมชาติอย่างโจงแจ้ง ผู้บริหาร “มีอำนาจอยู่ในมือ โดยกฎธรรมดาของกฎหมายธรรมชาติ มีสิทธิที่จะใช้อำนาจนั้น เพื่อความดีงามของสังคม (II 159) โดยความเป็นมา เขามิได้รับสิทธิ์นี้มาจากสัญญาประชาคม ดังนั้น เขาย่อมจะได้รับสิทธิ์นี้มาจากรัฐธรรมนูญอันเป็นผลของสัญญามิได้ รัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะควบคุมอำนาจทางการเมือง (เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจการต่างประเทศหรือ Federative Powers cf. II 3 II 143-148 II 171) โดยที่ Prerogative เกิดขึ้นจากการพินิจใคร่ครวญในการให้อำนาจเหล่านั้น ดังนั้น Prerogative จึงต้องเป็นสิ่งที่นอกเหนือและมาก่อนรัฐธรรมนูญคือ Extra-Constitutional และ Pre-Constitutional
ล็อคย้ำอีกว่ากษัตริย์มีอำนาจของสังคมอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ และกฎหมายธรรมชาติรับรองการใช้อำนาจพิเศษนั้นเพื่อประโยชน์ของสังคม เรื่องนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบ กษัตริย์ทรงมีอำนาจก็เพราะพระองค์ทรงเป็น(ประมุข)ฝ่ายบริหารตามครรลองของรัฐธรรมนูญ ซึ่งพูดอีกอย่างได้ว่าตามฉันทานุมัติหรือการยอมรับสนับสนุนหรือ Consent ของปวงชน ตามปกติ กษัตริย์สามารถใช้อำนาจนั้นตามที่กฎหมายกำหนด หากกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นตามพระราชอัธยาศัยก็จะเป็นการขัดกับเงื่อนไขที่พระองค์ได้รับมอบอำนาจนั้นมาเป็นประการแรก พระองค์อาจทรงใช้อำนาจนั้นต่อไป ถึงผู้ที่อยู่ใต้อำนาจอาจจะเชื่อฟังพระองค์อยู่ แต่ถือได้ว่าพระองค์ขาดความชอบธรรมที่จะทรงใช้อำนาจ
ทั้งนี้ เปรียบเสมือนทรัพย์ที่ถูกขโมย ยิ่งกว่านั้น ราษฎรคงจะไม่ยินยอมสถานการณ์เช่นนั้นอย่างแน่นอน เพราะนั่นก็คืออำนาจตามอำเภอใจ ถ้ากษัตริย์ปฏิบัติเกินเลยกฎหมาย ก็ย่อมจะมิใช่ผลของสัญญาประชาคม แต่อาจจะเป็นอำนาจธรรมชาติ ล็อคกล่าวอย่างชัดเจนว่านี่คือตัวอย่าง อำนาจของฝ่ายบริหาร (ตัวกษัตริย์บวกรัฐบาลของกษัตริย์) ที่จะใช้อำนาจ ก็ขึ้นกับความสามารถที่พระองค์จะนำมันมาใช้ ด้วยอำนาจที่พระองค์มี อันได้แก่ความสามารถที่อาจจะอ้างประเพณี ในขณะที่สิทธิจริงๆ นั้นไม่มี
อย่างไรก็ตาม ข้างต้นนี้กลายเป็นปัญหาหนัก ในแง่หนึ่ง ที่มาของสิทธิหรืออำนาจของฝ่ายบริหารแสดงว่าผู้บริหารทุกคนควรจะมีสิทธินั้นอยู่โดยปริยาย และทุกคนที่มีอำนาจย่อมมีสิทธิใช้ Prerogative แต่มันไม่เป็นดังนั้น กฎหมายธรรมชาติมิได้ให้อำนาจ แต่ละคนสักแต่ว่ามีตำแหน่งสูง แต่ในอีกแง่หนึ่ง ล็อคก็ไม่เคยพูดว่าผู้บริหารทุกๆ คน มีแต่กษัตริย์หรือเจ้าผู้ปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิจะมีอำนาจนี้ : ล็อคได้ล็อกไว้เสมอว่าใครจึงจะใช้อำนาจนี้ได้ เราอาจจะพูดว่าซีอีโอหรือประธานผู้บริหารมีอำนาจในมือมากกว่าผู้อื่น ฉะนั้นอาจจะดีกว่าที่ให้เขาเป็นผู้ใช้อำนาจของทุกคน แต่ล็อคไม่เคยพูดอย่างนี้ เราอาจจะขยับขึ้นไปอีกหน่อยว่า : Prerogative มีลักษณะคล้ายกับอำนาจศาลหรืออำนาจป้องกันตนเองของบุคคล ทั้งสองอย่างไม่มีอะไรมากไปกว่าบุคคลใช้อำนาจของกฎหมายธรรมชาติ เขาต่างก็ใช้ดุลพินิจส่วนตัวว่ากฎหมายต้องการอะไร เรื่องนี้ล็อคก็ไม่พูดว่าอย่างนี้ ทำไมทุกคนที่มีอำนาจอยู่ในมือจึงไม่ใช้มันให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งๆ ที่กฎหมายจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เรื่องนี้ล็อคก็เงียบอีก
หรือว่าล็อคพูดว่าอย่างไร ขอให้ดูตัวอย่างเรื่องการอภัยโทษ เรื่องนี้ การใช้ Prerogative เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อปลดโทษให้ผู้ที่การกระทำผิดกฎหมายของเขาสมควรได้รับรางวัล (เพราะเกิดผลดีต่อส่วนรวม) แต่อาชญากรควรมีสิทธิฝ่าฝืนกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งได้หรือ ดูเหมือนเราและล็อคจะไม่มีทางเลือกนอกจากจะสรุปว่านั่นคือสิทธิธรรมชาติ เช่นเดียวกับกฎหมายธรรมชาติที่รับรอง Prerogative กฎหมายธรรมดาหรือกฎหมายสาระบัญญัติไม่สามารถให้สิทธิ(ใคร)มาฝ่าฝืนล้มล้างกฎหมายสาระบัญญัติด้วยกัน จนกระทั่งกลายเป็นไม่ผิดกฎหมาย
ถ้าอย่างนั้น อะไรล่ะที่ต่างกัน เราก็ต้องกลับไปหาสมมติฐานในตัวอย่างเรื่องอภัยโทษอีก อาชญากรอาจได้รับการอภัยโทษ ถ้าหากเขาต้องคำพิพากษาในศาล การอภัยโทษทำได้เฉพาะกับผู้กระทำผิดหรือศาลเห็นว่ากระทำผิดแล้วเท่านั้น สำหรับผู้บริหารกระทำผิด ใครจะเป็นผู้อภัยโทษให้ หรือใครจะเป็นผู้ตัดสิน ถ้าหากว่า Prerogative เป็น Extra-constitutional อยู่นอกหรือเหนือรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะตัดสินได้ อย่างไรก็ตาม ในสังคมการเมืองทุกๆ คนที่ใช้อำนาจธรรมชาติจะต้องมีผู้พิพากษา อันได้แก่รัฐบาลนั่นเอง ถึงตอนนี้เราก็อนุมานได้แล้วว่า ทำไมจึงมีแต่กษัตริย์ผู้ปกครองเท่านั้นที่สามารถใช้พระราชอำนาจพิเศษ ซึ่งมิใช่อำนาจธรรมชาติธรรมดาๆ หากเป็นอำนาจธรรมชาติพิเศษที่ไม่มีผู้อื่นในโลกนี้จะตัดสินได้
มีผู้เสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ควบคุมตัดสินอำนาจ Prerogative (เพราะยังไงนิติบัญญัติก็เป็นอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน) แต่ความคิดแบบนี้ประสบคำถามและปัญหาใหญ่หลวงมากมายที่แก้ไม่ตก เฉพาะที่เป็นหลักๆ ในต้นฉบับของล็อคที่วิจารณ์ว่าฝ่ายบริหารอาจจะดำเนินการไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติ “จนกระทั่งสะดวกที่จะเรียกประชุมสภามาปฏิบัติหน้าที่ได้” (II 159) เรื่องนี้อาจจะไม่สิ้นกังขา หากปรากฏว่า นี่เป็นเพียงกรณี (การปกครองท้องถิ่น) ที่ “กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลไม่มีทางออกหรือทิศทางอะไรให้ไว้เลย) และไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่ฝ่ายบริหารปฏิบัติการตรงกันข้ามกับที่กฎหมายบัญญัติไว้
อย่างไรก็ตาม พิจารณาจากข้อความที่ล็อคเขียนไว้ การให้สัตยาบันโดยฝ่ายนิติบัญญัติอย่างมากที่จะกระทำได้ก็คือผ่านกฎหมายออกมาใหม่เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ของกฎหมายเทศบาลเท่านั้น ถ้าหากจะเป็นเพียงการรับสภาพหรือยืนยัน Prerogative หรืออำนาจพิเศษเฉพาะเรื่องแบบนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติก็คงไม่พ้นผิดฐานออกกฎหมายเฉพาะกิจแทนที่จะเป็นกฎหมายทั่วไป (cf II 136 II 142) อำนาจนอกหรือเหนือกฎหมายของผู้ครองแผ่นดินไม่สามารถจะออกให้เข้ากับกฎหมายรัฐบาลตามกฎหมาย โดยการใช้อำนาจนิติบัญญัติผิดๆ ได้ ยิ่งกว่านั้น หลังจากการอธิบายดังกล่าว ล็อคยังเปิดประเด็นว่า “ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่กฎหมายไม่มีทางออกมาให้ครอบคลุมได้” (II 159) สิ่งเหล่านั้น จำเป็นจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของ Prerogative และฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถให้สัตยาบันในภายหลังได้ สิ่งเหล่านี้ไม่มีทางเยียวยาโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ทุกครั้งที่ล็อคกล่าวถึงสัตยาบันของ Prerogative หรืออำนาจพิเศษ เขาจะพูดถึงประชาชนที่จะเป็นผู้ตัดสิน หาใช่ผู้แทนราษฎรไม่ (cf II 164-165)
ฝ่ายนิติบัญญัติไม่เคยมีสิทธิหรืออำนาจดั้งเดิมที่จะตัดสิน Prerogative หรือฝ่ายนิติบัญญัติอาจจะทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่ฝ่ายบริหารเป็นเพียงลูก (Creature) ของสภาผู้แทน ในขณะที่กษัตริย์ไม่มีอำนาจนิติบัญญัติ? ล็อคกล่าวด้วยว่าในโลกนี้ไม่มีผู้พิพากษาคนไหนสามารถทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติสั่งให้ฝ่ายบริหารประชุมได้ (II 168) แต่นี่เป็นกรณีของประเทศที่จัดระเบียบดีแล้วเท่านั้น (Well-Ordered Commonwealth) (II 156) ด้วยเหตุนี้ บางคนอาจจะคิดว่าในประเทศที่จัดระเบียบเลว (Poorly Ordered Commonwealth) ฝ่ายนิติบัญญัติอาจจะตัดสิน Prerogative ได้อำนาจอย่างเดียวที่ล็อคให้ฝ่ายนิติบัญญัติเหนือฝ่ายบริหารก็คืออำนาจลงโทษและไล่รัฐบาลออกเพราะบริหารผิดพลาด (II 152-153)
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเกิด 100 ปีหลังจากที่ล็อคเขียนเรื่องนี้) มิได้เขียนไว้ให้อเมริกาเป็นประเทศที่จัดระเบียบเลว ประธานาธิบดีจึงมีอำนาจนิติบัญญัติพิเศษคือการวีโต้กฎหมายที่ผ่านโดยสภา
ที่มา : เรียบเรียงจาก The Extraconstitutionality of Lockean Prerogative ของ Ross J. Corbett
หมายเหตุ : John Locke หรือ ล็อค คือปรัชญาเมธีเอกชาวอังกฤษ (1632-1704) ความคิดหรือหนังสือของล็อคได้กลายเป็นทฤษฎีเสรีประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพที่มีอิทธิพลที่สุดในการเมืองสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส
ล็อคจงใจจะทำให้ Prerogative เป็นสิทธิ (และอำนาจ) ธรรมชาติอย่างโจงแจ้ง ผู้บริหาร “มีอำนาจอยู่ในมือ โดยกฎธรรมดาของกฎหมายธรรมชาติ มีสิทธิที่จะใช้อำนาจนั้น เพื่อความดีงามของสังคม (II 159) โดยความเป็นมา เขามิได้รับสิทธิ์นี้มาจากสัญญาประชาคม ดังนั้น เขาย่อมจะได้รับสิทธิ์นี้มาจากรัฐธรรมนูญอันเป็นผลของสัญญามิได้ รัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะควบคุมอำนาจทางการเมือง (เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจการต่างประเทศหรือ Federative Powers cf. II 3 II 143-148 II 171) โดยที่ Prerogative เกิดขึ้นจากการพินิจใคร่ครวญในการให้อำนาจเหล่านั้น ดังนั้น Prerogative จึงต้องเป็นสิ่งที่นอกเหนือและมาก่อนรัฐธรรมนูญคือ Extra-Constitutional และ Pre-Constitutional
ล็อคย้ำอีกว่ากษัตริย์มีอำนาจของสังคมอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ และกฎหมายธรรมชาติรับรองการใช้อำนาจพิเศษนั้นเพื่อประโยชน์ของสังคม เรื่องนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบ กษัตริย์ทรงมีอำนาจก็เพราะพระองค์ทรงเป็น(ประมุข)ฝ่ายบริหารตามครรลองของรัฐธรรมนูญ ซึ่งพูดอีกอย่างได้ว่าตามฉันทานุมัติหรือการยอมรับสนับสนุนหรือ Consent ของปวงชน ตามปกติ กษัตริย์สามารถใช้อำนาจนั้นตามที่กฎหมายกำหนด หากกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นตามพระราชอัธยาศัยก็จะเป็นการขัดกับเงื่อนไขที่พระองค์ได้รับมอบอำนาจนั้นมาเป็นประการแรก พระองค์อาจทรงใช้อำนาจนั้นต่อไป ถึงผู้ที่อยู่ใต้อำนาจอาจจะเชื่อฟังพระองค์อยู่ แต่ถือได้ว่าพระองค์ขาดความชอบธรรมที่จะทรงใช้อำนาจ
ทั้งนี้ เปรียบเสมือนทรัพย์ที่ถูกขโมย ยิ่งกว่านั้น ราษฎรคงจะไม่ยินยอมสถานการณ์เช่นนั้นอย่างแน่นอน เพราะนั่นก็คืออำนาจตามอำเภอใจ ถ้ากษัตริย์ปฏิบัติเกินเลยกฎหมาย ก็ย่อมจะมิใช่ผลของสัญญาประชาคม แต่อาจจะเป็นอำนาจธรรมชาติ ล็อคกล่าวอย่างชัดเจนว่านี่คือตัวอย่าง อำนาจของฝ่ายบริหาร (ตัวกษัตริย์บวกรัฐบาลของกษัตริย์) ที่จะใช้อำนาจ ก็ขึ้นกับความสามารถที่พระองค์จะนำมันมาใช้ ด้วยอำนาจที่พระองค์มี อันได้แก่ความสามารถที่อาจจะอ้างประเพณี ในขณะที่สิทธิจริงๆ นั้นไม่มี
อย่างไรก็ตาม ข้างต้นนี้กลายเป็นปัญหาหนัก ในแง่หนึ่ง ที่มาของสิทธิหรืออำนาจของฝ่ายบริหารแสดงว่าผู้บริหารทุกคนควรจะมีสิทธินั้นอยู่โดยปริยาย และทุกคนที่มีอำนาจย่อมมีสิทธิใช้ Prerogative แต่มันไม่เป็นดังนั้น กฎหมายธรรมชาติมิได้ให้อำนาจ แต่ละคนสักแต่ว่ามีตำแหน่งสูง แต่ในอีกแง่หนึ่ง ล็อคก็ไม่เคยพูดว่าผู้บริหารทุกๆ คน มีแต่กษัตริย์หรือเจ้าผู้ปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิจะมีอำนาจนี้ : ล็อคได้ล็อกไว้เสมอว่าใครจึงจะใช้อำนาจนี้ได้ เราอาจจะพูดว่าซีอีโอหรือประธานผู้บริหารมีอำนาจในมือมากกว่าผู้อื่น ฉะนั้นอาจจะดีกว่าที่ให้เขาเป็นผู้ใช้อำนาจของทุกคน แต่ล็อคไม่เคยพูดอย่างนี้ เราอาจจะขยับขึ้นไปอีกหน่อยว่า : Prerogative มีลักษณะคล้ายกับอำนาจศาลหรืออำนาจป้องกันตนเองของบุคคล ทั้งสองอย่างไม่มีอะไรมากไปกว่าบุคคลใช้อำนาจของกฎหมายธรรมชาติ เขาต่างก็ใช้ดุลพินิจส่วนตัวว่ากฎหมายต้องการอะไร เรื่องนี้ล็อคก็ไม่พูดว่าอย่างนี้ ทำไมทุกคนที่มีอำนาจอยู่ในมือจึงไม่ใช้มันให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งๆ ที่กฎหมายจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เรื่องนี้ล็อคก็เงียบอีก
หรือว่าล็อคพูดว่าอย่างไร ขอให้ดูตัวอย่างเรื่องการอภัยโทษ เรื่องนี้ การใช้ Prerogative เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อปลดโทษให้ผู้ที่การกระทำผิดกฎหมายของเขาสมควรได้รับรางวัล (เพราะเกิดผลดีต่อส่วนรวม) แต่อาชญากรควรมีสิทธิฝ่าฝืนกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งได้หรือ ดูเหมือนเราและล็อคจะไม่มีทางเลือกนอกจากจะสรุปว่านั่นคือสิทธิธรรมชาติ เช่นเดียวกับกฎหมายธรรมชาติที่รับรอง Prerogative กฎหมายธรรมดาหรือกฎหมายสาระบัญญัติไม่สามารถให้สิทธิ(ใคร)มาฝ่าฝืนล้มล้างกฎหมายสาระบัญญัติด้วยกัน จนกระทั่งกลายเป็นไม่ผิดกฎหมาย
ถ้าอย่างนั้น อะไรล่ะที่ต่างกัน เราก็ต้องกลับไปหาสมมติฐานในตัวอย่างเรื่องอภัยโทษอีก อาชญากรอาจได้รับการอภัยโทษ ถ้าหากเขาต้องคำพิพากษาในศาล การอภัยโทษทำได้เฉพาะกับผู้กระทำผิดหรือศาลเห็นว่ากระทำผิดแล้วเท่านั้น สำหรับผู้บริหารกระทำผิด ใครจะเป็นผู้อภัยโทษให้ หรือใครจะเป็นผู้ตัดสิน ถ้าหากว่า Prerogative เป็น Extra-constitutional อยู่นอกหรือเหนือรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะตัดสินได้ อย่างไรก็ตาม ในสังคมการเมืองทุกๆ คนที่ใช้อำนาจธรรมชาติจะต้องมีผู้พิพากษา อันได้แก่รัฐบาลนั่นเอง ถึงตอนนี้เราก็อนุมานได้แล้วว่า ทำไมจึงมีแต่กษัตริย์ผู้ปกครองเท่านั้นที่สามารถใช้พระราชอำนาจพิเศษ ซึ่งมิใช่อำนาจธรรมชาติธรรมดาๆ หากเป็นอำนาจธรรมชาติพิเศษที่ไม่มีผู้อื่นในโลกนี้จะตัดสินได้
มีผู้เสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ควบคุมตัดสินอำนาจ Prerogative (เพราะยังไงนิติบัญญัติก็เป็นอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน) แต่ความคิดแบบนี้ประสบคำถามและปัญหาใหญ่หลวงมากมายที่แก้ไม่ตก เฉพาะที่เป็นหลักๆ ในต้นฉบับของล็อคที่วิจารณ์ว่าฝ่ายบริหารอาจจะดำเนินการไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติ “จนกระทั่งสะดวกที่จะเรียกประชุมสภามาปฏิบัติหน้าที่ได้” (II 159) เรื่องนี้อาจจะไม่สิ้นกังขา หากปรากฏว่า นี่เป็นเพียงกรณี (การปกครองท้องถิ่น) ที่ “กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลไม่มีทางออกหรือทิศทางอะไรให้ไว้เลย) และไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่ฝ่ายบริหารปฏิบัติการตรงกันข้ามกับที่กฎหมายบัญญัติไว้
อย่างไรก็ตาม พิจารณาจากข้อความที่ล็อคเขียนไว้ การให้สัตยาบันโดยฝ่ายนิติบัญญัติอย่างมากที่จะกระทำได้ก็คือผ่านกฎหมายออกมาใหม่เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ของกฎหมายเทศบาลเท่านั้น ถ้าหากจะเป็นเพียงการรับสภาพหรือยืนยัน Prerogative หรืออำนาจพิเศษเฉพาะเรื่องแบบนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติก็คงไม่พ้นผิดฐานออกกฎหมายเฉพาะกิจแทนที่จะเป็นกฎหมายทั่วไป (cf II 136 II 142) อำนาจนอกหรือเหนือกฎหมายของผู้ครองแผ่นดินไม่สามารถจะออกให้เข้ากับกฎหมายรัฐบาลตามกฎหมาย โดยการใช้อำนาจนิติบัญญัติผิดๆ ได้ ยิ่งกว่านั้น หลังจากการอธิบายดังกล่าว ล็อคยังเปิดประเด็นว่า “ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่กฎหมายไม่มีทางออกมาให้ครอบคลุมได้” (II 159) สิ่งเหล่านั้น จำเป็นจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของ Prerogative และฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถให้สัตยาบันในภายหลังได้ สิ่งเหล่านี้ไม่มีทางเยียวยาโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ทุกครั้งที่ล็อคกล่าวถึงสัตยาบันของ Prerogative หรืออำนาจพิเศษ เขาจะพูดถึงประชาชนที่จะเป็นผู้ตัดสิน หาใช่ผู้แทนราษฎรไม่ (cf II 164-165)
ฝ่ายนิติบัญญัติไม่เคยมีสิทธิหรืออำนาจดั้งเดิมที่จะตัดสิน Prerogative หรือฝ่ายนิติบัญญัติอาจจะทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่ฝ่ายบริหารเป็นเพียงลูก (Creature) ของสภาผู้แทน ในขณะที่กษัตริย์ไม่มีอำนาจนิติบัญญัติ? ล็อคกล่าวด้วยว่าในโลกนี้ไม่มีผู้พิพากษาคนไหนสามารถทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติสั่งให้ฝ่ายบริหารประชุมได้ (II 168) แต่นี่เป็นกรณีของประเทศที่จัดระเบียบดีแล้วเท่านั้น (Well-Ordered Commonwealth) (II 156) ด้วยเหตุนี้ บางคนอาจจะคิดว่าในประเทศที่จัดระเบียบเลว (Poorly Ordered Commonwealth) ฝ่ายนิติบัญญัติอาจจะตัดสิน Prerogative ได้อำนาจอย่างเดียวที่ล็อคให้ฝ่ายนิติบัญญัติเหนือฝ่ายบริหารก็คืออำนาจลงโทษและไล่รัฐบาลออกเพราะบริหารผิดพลาด (II 152-153)
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเกิด 100 ปีหลังจากที่ล็อคเขียนเรื่องนี้) มิได้เขียนไว้ให้อเมริกาเป็นประเทศที่จัดระเบียบเลว ประธานาธิบดีจึงมีอำนาจนิติบัญญัติพิเศษคือการวีโต้กฎหมายที่ผ่านโดยสภา
ที่มา : เรียบเรียงจาก The Extraconstitutionality of Lockean Prerogative ของ Ross J. Corbett
หมายเหตุ : John Locke หรือ ล็อค คือปรัชญาเมธีเอกชาวอังกฤษ (1632-1704) ความคิดหรือหนังสือของล็อคได้กลายเป็นทฤษฎีเสรีประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพที่มีอิทธิพลที่สุดในการเมืองสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส