ASTVผู้จัดการรายวัน - "สนธิ" ชี้อเมริกาติดกับดักตัวเอง หลังเอาใจกลุ่มทุนจนประเทศแบกหนี้มหาศาล แถมเสี่ยงภัยก่อการร้าย ขณะเงินดอลลาร์เริ่มหมดค่าและพิมพ์แบงก์เพิ่มได้ยาก ต้องลดงบประมาณ หันไปใช้ประเทศอื่นทำสงครามตัวแทน ชี้ถึงจุดเปลี่ยน รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องเลือกจะเอาใจทุนอำมหิตผู้สนับสนุนพรรค หรือประชาชนผู้ลงคะแนน ส่วนไทยจะรอดเงื้อมมืออำมหิตทุนข้ามชาติด้วยเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น
วานนี้ (20 ก.พ.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้วิเคราะห์ว่า ขณะนี้สถานการณ์สหรัฐอเมริกากำลังติดกับดักเงิน กับดักทุน และกับดักการตลาด ของตัวเอง ซึ่งสรุปการวิเคราะห์ได้ดังนี้
1. โลกกำลังมีความไว้วางใจน้อยลงในการพิมพ์เงินดอลลาร์สหรัฐอย่างไร้ขีดจำกัด ส่งผลทำให้สหรัฐอเมริกาติดกับดักตัวเองครั้งใหญ่ คือ 1.1 ด้านหนึ่งค่าเงินที่น่าเชื่อถือน้อยลงและอ่อนค่าลง แต่กลับไม่ได้ช่วยทำให้อเมริกาเกิดการจ้างงานมากขึ้นนัก เพราะสินค้าส่วนใหญ่ได้วางรากฐานผลิตในต่างประเทศหมดแล้วด้วยต้นทุนอื่นๆ ที่ถูกกว่านอกเหนือจากค่าเงิน ในทางตรงกันข้ามอเมริกาเป็นประเทศที่มีการบริโภคสูง หากปล่อยให้ค่าเงินอ่อนต่อไปจะทำให้สินค้านำเข้าราคาแพงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และทำให้กำลังซื้อในประเทศลดลง จะส่งผลทำให้การว่างงานในสหรัฐอเมริกายังคงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
1.2 อเมริกามีหนี้สินมหาศาลเกินกว่าที่จะชดใช้ได้ เมื่อมีข้อจำกัดไม่สามารถพิมพ์แบงก์ได้อย่างเสรีเหมือนเช่นแต่ก่อน จึงต้องตัดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลให้ลดลงเพื่อชำระหนี้ให้มากขึ้น และเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคธุรกิจจริงมากขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้าง ทำให้อเมริกามีข้อจำกัดมากขึ้นและไม่น่าจะทำสงครามโดยตรงกับประเทศต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนเช่นเมื่อก่อน ส่งผลทำให้ต้องลดขนาดของกองทัพลง ต้องถอนทหารออกจากอิรัก ต้องเน้นเหลือจุดเท่าที่จำเป็นทางยุทธศาสตร์ และต้องเน้นการส่งเสริมสนับสนุนประเทศตัวแทนอเมริกาให้มากขึ้น หรืออาจสร้างสถานการณ์กดดันให้ประเทศต่างๆ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนอเมริกาให้มากขึ้น เช่น กรณีอิหร่าน ก็จะใช้อิสราเอลเป็นตัวแทน และอาจลากประเทศอื่นๆเข้าร่วมด้วย ผ่านการสร้างสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ
1.3 จีนได้เริ่มยอมให้เงินหยวนอยู่นอกประเทศได้ในทางบัญชีเพื่อการค้าแบบทวิภาคีในหลายประเทศมากขึ้น เพื่อทำให้คู่ค้าแต่ละประเทศสามารถค้าขายกับจีนได้โดยไม่ต้องอาศัยเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวกลางอีกต่อไป ส่งผลเสมือนทำให้จีนจะมีทุนสำรองเป็นสกุลเงินแต่ละชาติที่หลากหลายมากขึ้นทดแทนเงินดอลลาร์และยูโรที่มีปัญหาอยู่ ในขณะที่ประเทศต่างๆ ก็จะมีเงินหยวนของจีนมาทดแทนในทุนสำรองแทนเงินยูโรและดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเช่นกัน อันเป็นแรงกดดันต่อสหรัฐที่จะไม่สามารถพิมพ์แบงก์ได้ตามอำเภอใจอีกต่อไป เพราะอาจสูญเสียสถานภาพเงินสกุลหลักของโลกให้กับเงินหยวนและทองคำมากขึ้นไปอีก
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็จะเสียหายทั้งสิ้น ประกอบกับมาตรการดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่ไปไม่ได้ไกลกว่านี้ หากเดินหน้า QE 3 หรือพิมพ์แบงก์ดอลลาร์เพิ่มขึ้นก็จะทำให้ความเชื่อมั่นต่อดอลลาร์ลดน้อยลงสูญเสียสถานภาพเงินสกุลหลักของโลกไปเรื่อยๆ ดอลลาร์ก็จะอ่อนลง ทองคำแพงขึ้น เงินเฟ้อในอเมริกาจะสูงเพิ่มขึ้น กำลังซื้อในประเทศลดลง แต่ถ้าไม่พิมพ์แบงก์เพิ่มขึ้นก็จะต้องมีการตัดงบกองทัพครั้งใหญ่ต่อไปจนไม่สามารถทำสงครามกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วงชิงพลังงานได้ และเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อต้องชำระดอกเบี้ยและหนี้เงินต้นมากขึ้นก็จะกระทบงบประมาณส่วนอื่นๆ อยู่ดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามแนวโน้มสุดท้ายคืออเมริกาจะไม่สามารถชำระหนี้อันมหาศาลนี้ได้
2. กับดักของกลุ่มทุนและการตลาดอำมหิตที่เน้นกำไรสูงสุด ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาอเมริกาเน้นเรื่องทุนเป็นใหญ่ และผลประโยชน์ของกลุ่มทุนนำการเมือง ดังนี้
- อเมริการุกเข้าไปในประเทศต่างเพื่อช่วงชิงเอาผลประโยชน์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และความมั่งคั่งเข้ากระเป๋ากลุ่มบรรษัทนายทุนที่โยงใยกับนักการเมืองไม่กี่คน แลกกับประชาชนชาวอเมริกันทั้งประเทศที่ต้องมีความเสี่ยงภัยก่อการร้ายทั่วโลก และยังจะพยายามหาแนวร่วมจากประเทศต่างๆ ให้เข้ามาแบกรับความเสี่ยงนี้ร่วมกับสหรัฐอเมริกา
- กลุ่มทุนของอเมริกาย้ายฐานการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเอเชียเพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อสร้างกำไรสูงสุดให้กับกลุ่มทุน โดยยอมแลกกับการว่างงานในประเทศจนสูญเสียความสามารถในการผลิต
- กลุ่มทุนอเมริกาได้พึ่งพาตลาดและกำลังซื้อขนาดใหญ่ในเอเชียโดยเฉพาะจีน ทำให้กลุ่มทุนในอเมริกายอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของจีนในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายโอนเทคโนโลยี การควบคุมการไหลเข้าออกของเงินต่างชาติ ส่งผลทำให้กลุ่มทุนเหล่านี้ไม่กลับไปลงทุนผลิตในอเมริกาซึ่งแพงกว่า และยังเป็นผลทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกากดดันจีนได้อย่างจำกัด เพราะกลุ่มทุนต่างๆ ที่ลงทุนและหวังตลาดและกำลังซื้อในจีนเหล่านั้นต่างเป็นผู้สนับสนุนนักการเมืองในสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น
ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในสหรัฐอเมริกาจึงเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดการชุมนุมที่วอลล์สตรีท เพื่อประท้วงคนที่ร่ำรวยในสหรัฐอเมริกา 1% มีเงินมากกว่าคนในอเมริกา 99% กลุ่มทุนที่รวยก็รวยล้นฟ้า คนจนก็มีแต่หนี้มหาศาลแต่ไม่มีงานทำ
โจทย์สำคัญที่ท้าทายนักการเมืองสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาคือเอาใจความร่ำรวยของกลุ่มทุนบรรษัทเป็นหลัก แต่เมื่อวันนี้ผลประโยชน์ประชาชนชาวอเมริกันอยู่ตรงกันข้ามกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนบรรษัท ในขณะที่ประชาชนจะเป็นผู้ลงคะแนนเสียงให้นักการเมือง แต่กลุ่มทุนเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับนักการเมือง น่าสนใจว่าการเมืองในอเมริกาหลังจากนี้จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
ถือได้ว่าโลกใบนี้อยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและสมดุลทางการเมืองระหว่างประเทศครั้งใหญ่ ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆจะรอดพ้นภัยจากความอำมหิตของทุนข้ามชาติได้ ก็ด้วยปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้องเริ่มที่จิตวิญญาณที่รู้จักความพอเพียงของคนไทย.
วานนี้ (20 ก.พ.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้วิเคราะห์ว่า ขณะนี้สถานการณ์สหรัฐอเมริกากำลังติดกับดักเงิน กับดักทุน และกับดักการตลาด ของตัวเอง ซึ่งสรุปการวิเคราะห์ได้ดังนี้
1. โลกกำลังมีความไว้วางใจน้อยลงในการพิมพ์เงินดอลลาร์สหรัฐอย่างไร้ขีดจำกัด ส่งผลทำให้สหรัฐอเมริกาติดกับดักตัวเองครั้งใหญ่ คือ 1.1 ด้านหนึ่งค่าเงินที่น่าเชื่อถือน้อยลงและอ่อนค่าลง แต่กลับไม่ได้ช่วยทำให้อเมริกาเกิดการจ้างงานมากขึ้นนัก เพราะสินค้าส่วนใหญ่ได้วางรากฐานผลิตในต่างประเทศหมดแล้วด้วยต้นทุนอื่นๆ ที่ถูกกว่านอกเหนือจากค่าเงิน ในทางตรงกันข้ามอเมริกาเป็นประเทศที่มีการบริโภคสูง หากปล่อยให้ค่าเงินอ่อนต่อไปจะทำให้สินค้านำเข้าราคาแพงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และทำให้กำลังซื้อในประเทศลดลง จะส่งผลทำให้การว่างงานในสหรัฐอเมริกายังคงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
1.2 อเมริกามีหนี้สินมหาศาลเกินกว่าที่จะชดใช้ได้ เมื่อมีข้อจำกัดไม่สามารถพิมพ์แบงก์ได้อย่างเสรีเหมือนเช่นแต่ก่อน จึงต้องตัดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลให้ลดลงเพื่อชำระหนี้ให้มากขึ้น และเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคธุรกิจจริงมากขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้าง ทำให้อเมริกามีข้อจำกัดมากขึ้นและไม่น่าจะทำสงครามโดยตรงกับประเทศต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนเช่นเมื่อก่อน ส่งผลทำให้ต้องลดขนาดของกองทัพลง ต้องถอนทหารออกจากอิรัก ต้องเน้นเหลือจุดเท่าที่จำเป็นทางยุทธศาสตร์ และต้องเน้นการส่งเสริมสนับสนุนประเทศตัวแทนอเมริกาให้มากขึ้น หรืออาจสร้างสถานการณ์กดดันให้ประเทศต่างๆ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนอเมริกาให้มากขึ้น เช่น กรณีอิหร่าน ก็จะใช้อิสราเอลเป็นตัวแทน และอาจลากประเทศอื่นๆเข้าร่วมด้วย ผ่านการสร้างสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ
1.3 จีนได้เริ่มยอมให้เงินหยวนอยู่นอกประเทศได้ในทางบัญชีเพื่อการค้าแบบทวิภาคีในหลายประเทศมากขึ้น เพื่อทำให้คู่ค้าแต่ละประเทศสามารถค้าขายกับจีนได้โดยไม่ต้องอาศัยเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวกลางอีกต่อไป ส่งผลเสมือนทำให้จีนจะมีทุนสำรองเป็นสกุลเงินแต่ละชาติที่หลากหลายมากขึ้นทดแทนเงินดอลลาร์และยูโรที่มีปัญหาอยู่ ในขณะที่ประเทศต่างๆ ก็จะมีเงินหยวนของจีนมาทดแทนในทุนสำรองแทนเงินยูโรและดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเช่นกัน อันเป็นแรงกดดันต่อสหรัฐที่จะไม่สามารถพิมพ์แบงก์ได้ตามอำเภอใจอีกต่อไป เพราะอาจสูญเสียสถานภาพเงินสกุลหลักของโลกให้กับเงินหยวนและทองคำมากขึ้นไปอีก
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็จะเสียหายทั้งสิ้น ประกอบกับมาตรการดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่ไปไม่ได้ไกลกว่านี้ หากเดินหน้า QE 3 หรือพิมพ์แบงก์ดอลลาร์เพิ่มขึ้นก็จะทำให้ความเชื่อมั่นต่อดอลลาร์ลดน้อยลงสูญเสียสถานภาพเงินสกุลหลักของโลกไปเรื่อยๆ ดอลลาร์ก็จะอ่อนลง ทองคำแพงขึ้น เงินเฟ้อในอเมริกาจะสูงเพิ่มขึ้น กำลังซื้อในประเทศลดลง แต่ถ้าไม่พิมพ์แบงก์เพิ่มขึ้นก็จะต้องมีการตัดงบกองทัพครั้งใหญ่ต่อไปจนไม่สามารถทำสงครามกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วงชิงพลังงานได้ และเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อต้องชำระดอกเบี้ยและหนี้เงินต้นมากขึ้นก็จะกระทบงบประมาณส่วนอื่นๆ อยู่ดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามแนวโน้มสุดท้ายคืออเมริกาจะไม่สามารถชำระหนี้อันมหาศาลนี้ได้
2. กับดักของกลุ่มทุนและการตลาดอำมหิตที่เน้นกำไรสูงสุด ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาอเมริกาเน้นเรื่องทุนเป็นใหญ่ และผลประโยชน์ของกลุ่มทุนนำการเมือง ดังนี้
- อเมริการุกเข้าไปในประเทศต่างเพื่อช่วงชิงเอาผลประโยชน์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และความมั่งคั่งเข้ากระเป๋ากลุ่มบรรษัทนายทุนที่โยงใยกับนักการเมืองไม่กี่คน แลกกับประชาชนชาวอเมริกันทั้งประเทศที่ต้องมีความเสี่ยงภัยก่อการร้ายทั่วโลก และยังจะพยายามหาแนวร่วมจากประเทศต่างๆ ให้เข้ามาแบกรับความเสี่ยงนี้ร่วมกับสหรัฐอเมริกา
- กลุ่มทุนของอเมริกาย้ายฐานการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเอเชียเพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อสร้างกำไรสูงสุดให้กับกลุ่มทุน โดยยอมแลกกับการว่างงานในประเทศจนสูญเสียความสามารถในการผลิต
- กลุ่มทุนอเมริกาได้พึ่งพาตลาดและกำลังซื้อขนาดใหญ่ในเอเชียโดยเฉพาะจีน ทำให้กลุ่มทุนในอเมริกายอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของจีนในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายโอนเทคโนโลยี การควบคุมการไหลเข้าออกของเงินต่างชาติ ส่งผลทำให้กลุ่มทุนเหล่านี้ไม่กลับไปลงทุนผลิตในอเมริกาซึ่งแพงกว่า และยังเป็นผลทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกากดดันจีนได้อย่างจำกัด เพราะกลุ่มทุนต่างๆ ที่ลงทุนและหวังตลาดและกำลังซื้อในจีนเหล่านั้นต่างเป็นผู้สนับสนุนนักการเมืองในสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น
ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในสหรัฐอเมริกาจึงเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดการชุมนุมที่วอลล์สตรีท เพื่อประท้วงคนที่ร่ำรวยในสหรัฐอเมริกา 1% มีเงินมากกว่าคนในอเมริกา 99% กลุ่มทุนที่รวยก็รวยล้นฟ้า คนจนก็มีแต่หนี้มหาศาลแต่ไม่มีงานทำ
โจทย์สำคัญที่ท้าทายนักการเมืองสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาคือเอาใจความร่ำรวยของกลุ่มทุนบรรษัทเป็นหลัก แต่เมื่อวันนี้ผลประโยชน์ประชาชนชาวอเมริกันอยู่ตรงกันข้ามกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนบรรษัท ในขณะที่ประชาชนจะเป็นผู้ลงคะแนนเสียงให้นักการเมือง แต่กลุ่มทุนเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับนักการเมือง น่าสนใจว่าการเมืองในอเมริกาหลังจากนี้จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
ถือได้ว่าโลกใบนี้อยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและสมดุลทางการเมืองระหว่างประเทศครั้งใหญ่ ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆจะรอดพ้นภัยจากความอำมหิตของทุนข้ามชาติได้ ก็ด้วยปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้องเริ่มที่จิตวิญญาณที่รู้จักความพอเพียงของคนไทย.