เรื่องเงินหยวนปรากฏเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้งในสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อวุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายให้รัฐบาลสหรัฐฯ ทำการลงโทษทางภาษี ต่อประเทศที่ควบคุมค่าเงินมิให้เป็นไปตามกลไกตลาด
ไม่ต้องอธิบาย ทุกฝ่ายต่างก็รู้ว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ พุ่งเป้าไปที่เงินหยวนหรือเงินสกุล “เหรินหมินปี้” (RMB) ของจีน ผลคือ ฝ่ายจีน ทั้งกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารกลาง ได้พร้อมกันแถลงจุดยืน คัดค้านมติดังกล่าวของวุฒิสภาอเมริกัน พร้อมเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรอเมริกันและประธานาธิบดีบารัค โอบามา ปฏิเสธร่างกฎหมายฉบับนี้
หากสภาผู้แทนฯ หรือประธานาธิบดีไม่เห็นด้วย ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็จะเป็นหมัน ไม่มีผลบังคับใช้
นักวิเคราะห์ทั้งของจีนและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่เห็นว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะผ่านด่านทั้งสองนี้ได้ กระทั่งเห็นว่า เรื่องค่าเงินหยวน ได้กลายเป็น “เครื่องเล่น” ที่นักการเมืองอเมริกันนิยมนำมาเล่นกันในสภาฯ หรือเวทีหาเสียง ตามอุณหภูมิทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค คือพรรคริพับลิกันและเดโมแครต
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว สภาผู้แทนฯ สหรัฐฯ ก็เคยผ่านร่างกฎหมายลักษณะคล้ายกันนี้มาแล้ว แต่ก็ไม่มีผลบังคับใช้แต่ประการใด
ดูเหมือนแต่ละฝ่ายที่นำเอาเงินหยวนขึ้นมาเล่น ต่างได้กำหนดบทเล่นของตนเองไว้ก่อนล่วงหน้า ว่า “ทำแค่นี้ก็พอ” เมื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองเฉพาะหน้าของตนแล้วก็เลิกไป เนื่องจากว่า หากผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้จริง สหรัฐฯ ก็ต้องพร้อมที่จะทำ “สงครามการค้า” กับจีน เพราะจีนจะต้องใช้มาตรการตอบโต้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
ทางจีนเองก็ย้ำนักย้ำหนาว่า ความร่วมมือทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เป็นหัวใจสำคัญของทั้งสองประเทศ ความบาดหมางถึงขั้นต้องโรมรันพันตูกัน รังแต่จะทำให้สองประเทศประสบความเสียหายใหญ่หลวง ส่วนการปรับค่าเงินหยวนของจีน ก็ดำเนินไปตามกลไกที่ได้พัฒนาขึ้นมามากขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะปีนี้ ค่าเงินหยวนก็ปรับแข็งขึ้น (เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ) แล้ว 7% ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วตั้งแต่จีนเริ่มใช้กลไกผ่อนคลายการปรับค่าเงินหยวนในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนก็ปรับแข็งขึ้นแล้วร่วม 30% ทุกอย่างดำเนินไปตามสภาะเป็นจริงที่เศรษฐกิจจีนรับได้ และสอดคล้องกับการทำงานของกลไกตลาด
ในมุมมองของผู้เขียน การเมืองสหรัฐฯ ในตอนนี้ กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ “โหมด” ของการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งกำลังจะมาถึง ปัญหาต่างๆ มักจะโยงหรือถูกโยงเข้าสู่วิถีการเมืองเลือกตั้ง ดังเช่น การชุมนุมประท้วงเศรษฐี 1% ของคนอเมริกัน 99% ที่วอลล์สตรีท หรือที่เรียกว่า ขบวนการ “ยึดวอลล์สตรีท” นักการเมืองของสองพรรคใหญ่ก็นำไปโยงเข้ากับการเมืองเลือกตั้ง โดยประธานาธิบดีโอบามาบอก “เข้าใจ” ในเจตนารมณ์ของผู้ประท้วง ฝ่ายริพับลิกันก็ตั้งข้อสงสัยว่า พรรคเดโมแครตอยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงครั้งนี้
มีการประเมินว่า หากการชุมนุมประท้วงของชาวอเมริกันครั้งนี้ ที่ปัจจุบันดำเนินมานานนับเดือนและกระจายไปทั่วเมืองสำคัญๆ ของสหรัฐฯ และอีกหลายเมืองในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ดำเนินไปอย่างยืดเยื้อ ก็จะกลายเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลโอบามานำมาเชื่อมโยงเข้ากับคำขวัญทางการเมืองของเขา “change” ที่ส่งให้เขาลอยลำเข้าสู่ทำเนียบขาวได้สำเร็จมาแล้ว
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายที่จะแก้ไขปัญหาการว่างงานแบบเบ็ดเสร็จที่เขาส่งเข้าพิจารณาในวุฒิสภาก็ “ตกม้าตาย” ทำให้การแก้ไขปัญหาคนว่างงานที่มีอยู่ในเปอร์เซ็นต์สูงมาก คือกว่า 9% หรือราว 45 ล้านคน ไม่อาจดำเนินไปได้
รัฐบาลโอบามาจึงอยู่ในฐานะลำบากอย่างยิ่งในการดำเนินนโยบายแก้วิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่เรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2008
การเมืองลักษณะนี้ ทำให้คนอเมริกันจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกเอือมระอาและ “ทนไม่ไหว” ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ยังยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ผู้บริหารประเทศกลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ให้คนอเมริกันที่กำลังเผชิญวิกฤตได้
ในส่วนของประเทศจีน ได้กำหนดทิศทางการปรับค่าเงินหยวนไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า จะต้องค่อยเป็นค่อยไป ตามสภาวะเป็นจริงทางเศรษฐกิจของจีน
ตามแนวคิดพื้นฐานที่ว่า หลีกเลี่ยงการทำสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ดำเนินการปรับค่าเงินหยวนอย่างยืดหยุ่น ด้วยกลไกที่ทรงประสิทธิภาพ เหมาะสมที่สุดกับสภาวะเป็นจริงของเศรษฐกิจจีน
ไม่ต้องอธิบาย ทุกฝ่ายต่างก็รู้ว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ พุ่งเป้าไปที่เงินหยวนหรือเงินสกุล “เหรินหมินปี้” (RMB) ของจีน ผลคือ ฝ่ายจีน ทั้งกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารกลาง ได้พร้อมกันแถลงจุดยืน คัดค้านมติดังกล่าวของวุฒิสภาอเมริกัน พร้อมเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรอเมริกันและประธานาธิบดีบารัค โอบามา ปฏิเสธร่างกฎหมายฉบับนี้
หากสภาผู้แทนฯ หรือประธานาธิบดีไม่เห็นด้วย ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็จะเป็นหมัน ไม่มีผลบังคับใช้
นักวิเคราะห์ทั้งของจีนและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่เห็นว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะผ่านด่านทั้งสองนี้ได้ กระทั่งเห็นว่า เรื่องค่าเงินหยวน ได้กลายเป็น “เครื่องเล่น” ที่นักการเมืองอเมริกันนิยมนำมาเล่นกันในสภาฯ หรือเวทีหาเสียง ตามอุณหภูมิทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค คือพรรคริพับลิกันและเดโมแครต
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว สภาผู้แทนฯ สหรัฐฯ ก็เคยผ่านร่างกฎหมายลักษณะคล้ายกันนี้มาแล้ว แต่ก็ไม่มีผลบังคับใช้แต่ประการใด
ดูเหมือนแต่ละฝ่ายที่นำเอาเงินหยวนขึ้นมาเล่น ต่างได้กำหนดบทเล่นของตนเองไว้ก่อนล่วงหน้า ว่า “ทำแค่นี้ก็พอ” เมื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองเฉพาะหน้าของตนแล้วก็เลิกไป เนื่องจากว่า หากผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้จริง สหรัฐฯ ก็ต้องพร้อมที่จะทำ “สงครามการค้า” กับจีน เพราะจีนจะต้องใช้มาตรการตอบโต้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
ทางจีนเองก็ย้ำนักย้ำหนาว่า ความร่วมมือทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เป็นหัวใจสำคัญของทั้งสองประเทศ ความบาดหมางถึงขั้นต้องโรมรันพันตูกัน รังแต่จะทำให้สองประเทศประสบความเสียหายใหญ่หลวง ส่วนการปรับค่าเงินหยวนของจีน ก็ดำเนินไปตามกลไกที่ได้พัฒนาขึ้นมามากขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะปีนี้ ค่าเงินหยวนก็ปรับแข็งขึ้น (เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ) แล้ว 7% ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วตั้งแต่จีนเริ่มใช้กลไกผ่อนคลายการปรับค่าเงินหยวนในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนก็ปรับแข็งขึ้นแล้วร่วม 30% ทุกอย่างดำเนินไปตามสภาะเป็นจริงที่เศรษฐกิจจีนรับได้ และสอดคล้องกับการทำงานของกลไกตลาด
ในมุมมองของผู้เขียน การเมืองสหรัฐฯ ในตอนนี้ กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ “โหมด” ของการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งกำลังจะมาถึง ปัญหาต่างๆ มักจะโยงหรือถูกโยงเข้าสู่วิถีการเมืองเลือกตั้ง ดังเช่น การชุมนุมประท้วงเศรษฐี 1% ของคนอเมริกัน 99% ที่วอลล์สตรีท หรือที่เรียกว่า ขบวนการ “ยึดวอลล์สตรีท” นักการเมืองของสองพรรคใหญ่ก็นำไปโยงเข้ากับการเมืองเลือกตั้ง โดยประธานาธิบดีโอบามาบอก “เข้าใจ” ในเจตนารมณ์ของผู้ประท้วง ฝ่ายริพับลิกันก็ตั้งข้อสงสัยว่า พรรคเดโมแครตอยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงครั้งนี้
มีการประเมินว่า หากการชุมนุมประท้วงของชาวอเมริกันครั้งนี้ ที่ปัจจุบันดำเนินมานานนับเดือนและกระจายไปทั่วเมืองสำคัญๆ ของสหรัฐฯ และอีกหลายเมืองในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ดำเนินไปอย่างยืดเยื้อ ก็จะกลายเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลโอบามานำมาเชื่อมโยงเข้ากับคำขวัญทางการเมืองของเขา “change” ที่ส่งให้เขาลอยลำเข้าสู่ทำเนียบขาวได้สำเร็จมาแล้ว
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายที่จะแก้ไขปัญหาการว่างงานแบบเบ็ดเสร็จที่เขาส่งเข้าพิจารณาในวุฒิสภาก็ “ตกม้าตาย” ทำให้การแก้ไขปัญหาคนว่างงานที่มีอยู่ในเปอร์เซ็นต์สูงมาก คือกว่า 9% หรือราว 45 ล้านคน ไม่อาจดำเนินไปได้
รัฐบาลโอบามาจึงอยู่ในฐานะลำบากอย่างยิ่งในการดำเนินนโยบายแก้วิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่เรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2008
การเมืองลักษณะนี้ ทำให้คนอเมริกันจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกเอือมระอาและ “ทนไม่ไหว” ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ยังยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ผู้บริหารประเทศกลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ให้คนอเมริกันที่กำลังเผชิญวิกฤตได้
ในส่วนของประเทศจีน ได้กำหนดทิศทางการปรับค่าเงินหยวนไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า จะต้องค่อยเป็นค่อยไป ตามสภาวะเป็นจริงทางเศรษฐกิจของจีน
ตามแนวคิดพื้นฐานที่ว่า หลีกเลี่ยงการทำสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ดำเนินการปรับค่าเงินหยวนอย่างยืดหยุ่น ด้วยกลไกที่ทรงประสิทธิภาพ เหมาะสมที่สุดกับสภาวะเป็นจริงของเศรษฐกิจจีน