ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 โลกมีสภาวะสันติสุขอีกครั้งหนึ่ง และชื่นบานกันทั่วหน้าเมื่อโลกค่ายคอมมิวนิสต์โซเวียตรัสเซียล่มสลาย และนำสู่การล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก เพราะกำแพงเบอร์ลินพังทลายลง ทำให้สองเยอรมนีกลับกลายเป็นหนึ่ง หลังจากถูกแบ่งแยกเป็นสองส่วน เยอรมันตะวันตกและออกเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เริ่มศักราชใหม่ของสงครามเย็น
พลโลกไม่ต้องผวากับมหาสงครามนิวเคลียร์และสงครามตัวแทนของทั้งสองค่าย โลกเสรีคือสหรัฐฯ และค่ายคอมมิวนิสต์สากลคืออดีตโซเวียตรัสเซีย ซึ่งมีทีท่าที่จะทำสงครามนิวเคลียร์กันหลายวาระ วาระที่ล่อแหลมที่สุด คือ การที่อดีตโซเวียตรัสเซียโดยประธานาธิบดีครุสชอฟ ส่งจรวดข้ามทวีปพิสัยกลางจำนวนหนึ่ง ไปตั้งประจำการในเกาะคิวบาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคัสโตร ในปี ค.ศ. 1963 และรัฐบาลประธานาธิบดีเคนเนดี้ยื่นคำขาด หากโซเวียตไม่ย้ายฐานจรวดออกจากคิวบาจะโจมตี และเหตุการณ์สงบลงโดยที่ฝ่ายสหรัฐฯ ยอมถอนฐานทัพอากาศที่มีเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ประจำการ ณ ฐานทัพอากาศทางตอนใต้ของตุรกี
วันนี้สงครามเย็น 2 กำลังก่อตัวขึ้นอีกครั้งแบบทีละเล็กละน้อย ครอบสงครามก่อการร้ายระหว่างกลุ่มหัวรุนแรงอาหรับที่ต่อต้านระบบที่พวกเขาเรียกว่า “ระบบสามานย์ตะวันตก” ที่ยังคงระบาดไปทั่วในแถบตะวันออกกลาง
อาหรับสปริงเริ่มจากอียิปต์ลามไปถึงซีเรียแล้ว และผู้นำซีเรียมีแนวโน้มที่จะประสบชะตากรรมเหมือนอียิปต์ และพันเอกกัดดาฟี ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ สามารถโน้มน้าวชาติอาหรับ นำโดยซาอุดีอาระเบีย สหประชาชาติ และกองทัพนาโต้ เข้าข้างสหรัฐฯ ถล่มกองทัพที่หนุนผู้นำรัฐอันธพาลจนพินาศย่อยยับ
วิกฤตเหล่านี้คงไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ความสุกงอมของอำนาจเผด็จการ รัฐสภาของรัฐอันธพาลที่อยู่ตรงข้ามกับสหรัฐฯ และอิสราเอลนั้นได้รับการบ่มสุกหง่อมโดยรัฐบาลสหรัฐฯ เองอย่างแน่นอน เพราะกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่สหรัฐฯ เรียกว่า “รัฐบาลอันธพาล” กำลังถูกสหรัฐฯ กำจัดให้หมดไป คงเหลือชาติยืนโรงคือประเทศอิหร่านเพราะมีพลังการเมืองสูง
หลักการ “แบ่งแยกและปกครอง” เป็นหลักการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสงครามกรีกโบราณ นครรัฐถูกแบ่งแยกเพื่อให้ชาติที่ยิ่งใหญ่กว่าปกครองได้ง่าย เช่น ในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 แห่งเปอร์เซียรบมีชัยชนะเหนือกลุ่มประเทศชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น กรีก สปาร์ตา และมาซิโดเนีย ดาริอุสที่ 1 แบ่งแยกนครรัฐเหล่านี้มิให้รวมตัวกัน จนพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช รวบรวมกลุ่มประเทศเหล่านี้ตามนโยบายพระราชบิดากษัตริย์ฟิลลิปและเอาชนะเปอร์เซียยุคกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ได้
อังกฤษเป็นชาติที่ถนัดมากในหลักแบ่งแยกและปกครองในยุคล่าอาณานิคมในทุกทวีป เช่น แยกชนเผ่าต่างๆ ในทวีปแอฟริกาแยกศาสนาฮินดูกับอิสลามในอนุทวีปอินเดีย ปากีสถาน แยกคนจีนและมาเลย์ในแหลมมลายู
สหรัฐฯ กำลังใช้หลักการนี้ในตะวันออกกลาง ด้วยการแยกอิหร่านออกจากชาติอาหรับ ทั้งที่นับถือศาสนาเดียวกัน แต่คนละเผ่าพันธุ์ โดยเน้นที่อิหร่านไม่ใช่อาหรับแยกให้กลุ่มชาติอาหรับร่ำรวยเป็นพวกหนึ่ง นำโดยซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต การ์ตา และจอร์แดน นอกนั้นสหรัฐฯ พยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลที่ไม่ยอมรับนโยบายสหรัฐฯ อย่างชัดเจนเต็มตัว
ขณะที่สงครามเย็น 2 กำลังพัฒนาตัวมันเองที่ก่อตัวมาตั้งแต่การประชุมเอเปคที่ประเทศไทย ค.ศ. 2003 สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งครั้งนั้นถือว่าเป็นครั้งสำคัญยิ่ง ที่ผู้นำอภิมหาอำนาจและมหาอำนาจมาประชุมร่วมกันในประเทศไทย เช่น นายจอร์จ บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย และนายหู จิ่นเทา ประธานาธิบดีจีน
ในการประชุมครั้งนี้ เงื่อนไขแห่งสงครามเย็นเริ่มต้นเมื่อสหรัฐฯ ต้องการให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวน เพื่อต้องการให้สินค้าจีนมีราคาแพงขึ้น แต่บัดนี้จีนยังไม่เพิ่มค่าเงินหยวนเลย สินค้าจากจีนจึงครองตลาดโลกโดยเฉพาะในสหรัฐฯ เมื่อต้นทุนการผลิตต่ำ ราคาสินค้าต่ำ เกิดการลงทุนในจีนมากมายมหาศาล และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในพริบตาเดียว ทำให้มีเงินพัฒนาค้นคว้าเทคโนโลยีอวกาศ อาวุธยุทธศาสตร์ และขีปนาวุธ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ เช่น จีนสามารถสร้างขีปนาวุธ ยิงดาวเทียมในอวกาศได้ จีนไปอวกาศแล้ว และขณะนี้จีนกำลังต่อเรือบรรทุกเครื่องบิน
ในยุค 1960 – 1970 เป็นยุคสงครามตัวแทนสหรัฐฯ และโซเวียตในอินโดจีน ประเทศไทยถูกกำหนดให้เป็นเขตปิดล้อมจีน และในภาวะสงครามเย็น 2 ที่กำลังก่อตัวขึ้นนี้ ประเทศไทยก็จะถูกกำหนดให้เป็นเขตปิดล้อมจีนอีก
ในยุค 1960 – 1970 นั้น ไทยต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว จึงง่ายที่รัฐบาลไทยจะยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพได้ แต่ปัจจุบันนี้ยุทธศาสตร์การเมืองยุคนั้นไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้อีกต่อไป
ลักษณะสงครามเย็นจะไม่มีการประกาศสงครามกัน แต่เป็นทัศนคติทางการเมืองที่ขัดแย้งและคุกคามกันทางยุทธศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งสามขั้วอำนาจใหม่ สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน กำลังประจันหน้ากันในยุทธศาสตร์เหล่านี้
ความหวาดระแวงของสหรัฐฯ ที่จ้องมองดูไทยก็คือ ความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมระหว่างไทยกับจีน ผลประโยชน์ที่ไทยได้จากจีน และด้วยความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งนี้ ทำให้สหรัฐฯ อาจจะต้องทำลายหรือหากทำลายไม่ได้ ก็อาจจะต้องสร้างสถานการณ์ให้ประเทศไทยมีลักษณะเป็น “รัฐล้มเหลว” และมีการก่อการร้ายสากลเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อสหรัฐฯ จะได้สถาปนาแนวรบสงครามก่อการร้ายในภูมิภาคที่ประเทศไทย ด้วยการสร้างให้เป็นสมรภูมิสงครามข่าวกรองการก่อการร้ายก่อน และพัฒนาแนวป้องกันสงครามก่อการร้ายนี้ในประเทศไทย แต่แท้จริงแล้วแฝงไว้ให้เป็นสงครามข่าวกรองในภูมิภาคที่สัมพันธ์กับจีน และพร้อมกันนั้นก็ป้องกันอิทธิพลจีน
สมมติฐานหรือจินตยุทธ์นี้ เกิดจากนโยบายการสร้างอิทธิพล และการขจัดศัตรูของสหรัฐฯ ในอดีต ซึ่งมีตัวอย่างมากมาย เช่น กรณี พ.ท.โอลิเวอร์ นอร์ธ ในคดีอิหร่าน – คอนทรา ในปี ค.ศ. 1980 ยุคประธานาธิบดีเรแกน
เรื่องราวมีอยู่ว่าในปี ค.ศ. 1980 สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ให้ พ.ท.โอลิเวอร์ นอร์ธ อดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ แปลงเป็นสายลับจัดการขายอาวุธให้กับรัฐบาลอิหร่าน เพื่อให้รัฐบาลอิหร่านกดดันกลุ่มก่อการร้ายเอชบอลลาห์ ปล่อยตัวประกันชาวอเมริกันที่ถูกจับไปขังไว้ในเลบานอน นอกเหนือจากนั้นพ.ท.โอลิเวอร์ นอร์ธ ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลให้เอาเงินกำไรไปซื้ออาวุธให้กับกลุ่มคอนทรา ที่เป็นกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลเอียงซ้ายซึ่งต่อต้านสหรัฐฯ ในช่วงนั้น แต่สหรัฐฯ โดยรัฐสภาคองเกรส ได้ออกกฎหมายห้ามมิให้รัฐกระทำเช่นนี้ เพราะไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา เรียกว่ากฎหมายโบแลนด์ในปี ค.ศ. 1982 พ.ท.โอลิเวอร์ นอร์ธ ถูกจับ แต่ในที่สุดประธานาธิบดีบุช ประกาศนิรโทษกรรมให้ ทั้งๆ ที่กลุ่มอาวุธคอนทรา ก็พัวพันเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วย
งานสกปรกทางการเมืองลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติของสหรัฐฯ หรือม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเรียก “อเมริกันที่น่าเกลียด” แต่เพื่อให้ได้มาตามที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการนั้น รัฐบาลและนักการเมืองสหรัฐฯ ทำได้เสมอไม่ยากนัก
งานวางระเบิดโดยคนอิหร่านเมื่อสองวันที่ผ่านมา ดูเป็นงานเด็กๆ เพราะไม่มีจุดเป้าหมายที่สำคัญแม้แต่น้อย และคนวางระเบิดก็ไม่ใช่มืออาชีพอย่างแท้จริง จึงถูกระเบิดตัวเองขาขาด เขาถูกใครจ้างมาหรือ เพื่อสร้างสถานการณ์หรือ และด้วยว่ากฎหมายก่อการร้ายของไทยไม่ชัดเจน จึงเป็นช่องโหว่ของสำนวนการตีความการก่อการร้ายของไทย เป็นการสร้างภาพลวงตาว่าไทยเป็นสนามรบก่อการร้ายทั้งๆ ที่เป็นไปไม่ได้ทุกกรณี
สงครามเย็น 2 ของขั้วอำนาจ 3 ขั้ว จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของใครคนหนึ่ง หรือเชื่อมโยงกับรัฐบาลนี้หรือไม่และอย่างไร เพราะการเจรจาต่อรองแลกเปลี่ยนในเรื่องการครอบครองอำนาจรัฐไม่ทำกันอย่างเปิดเผย และหากทักษิณได้อานิสงส์จากยุทธศาสตร์นี้ และได้กลับเข้ามามีอำนาจอีก อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร
พลโลกไม่ต้องผวากับมหาสงครามนิวเคลียร์และสงครามตัวแทนของทั้งสองค่าย โลกเสรีคือสหรัฐฯ และค่ายคอมมิวนิสต์สากลคืออดีตโซเวียตรัสเซีย ซึ่งมีทีท่าที่จะทำสงครามนิวเคลียร์กันหลายวาระ วาระที่ล่อแหลมที่สุด คือ การที่อดีตโซเวียตรัสเซียโดยประธานาธิบดีครุสชอฟ ส่งจรวดข้ามทวีปพิสัยกลางจำนวนหนึ่ง ไปตั้งประจำการในเกาะคิวบาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคัสโตร ในปี ค.ศ. 1963 และรัฐบาลประธานาธิบดีเคนเนดี้ยื่นคำขาด หากโซเวียตไม่ย้ายฐานจรวดออกจากคิวบาจะโจมตี และเหตุการณ์สงบลงโดยที่ฝ่ายสหรัฐฯ ยอมถอนฐานทัพอากาศที่มีเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ประจำการ ณ ฐานทัพอากาศทางตอนใต้ของตุรกี
วันนี้สงครามเย็น 2 กำลังก่อตัวขึ้นอีกครั้งแบบทีละเล็กละน้อย ครอบสงครามก่อการร้ายระหว่างกลุ่มหัวรุนแรงอาหรับที่ต่อต้านระบบที่พวกเขาเรียกว่า “ระบบสามานย์ตะวันตก” ที่ยังคงระบาดไปทั่วในแถบตะวันออกกลาง
อาหรับสปริงเริ่มจากอียิปต์ลามไปถึงซีเรียแล้ว และผู้นำซีเรียมีแนวโน้มที่จะประสบชะตากรรมเหมือนอียิปต์ และพันเอกกัดดาฟี ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ สามารถโน้มน้าวชาติอาหรับ นำโดยซาอุดีอาระเบีย สหประชาชาติ และกองทัพนาโต้ เข้าข้างสหรัฐฯ ถล่มกองทัพที่หนุนผู้นำรัฐอันธพาลจนพินาศย่อยยับ
วิกฤตเหล่านี้คงไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ความสุกงอมของอำนาจเผด็จการ รัฐสภาของรัฐอันธพาลที่อยู่ตรงข้ามกับสหรัฐฯ และอิสราเอลนั้นได้รับการบ่มสุกหง่อมโดยรัฐบาลสหรัฐฯ เองอย่างแน่นอน เพราะกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่สหรัฐฯ เรียกว่า “รัฐบาลอันธพาล” กำลังถูกสหรัฐฯ กำจัดให้หมดไป คงเหลือชาติยืนโรงคือประเทศอิหร่านเพราะมีพลังการเมืองสูง
หลักการ “แบ่งแยกและปกครอง” เป็นหลักการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสงครามกรีกโบราณ นครรัฐถูกแบ่งแยกเพื่อให้ชาติที่ยิ่งใหญ่กว่าปกครองได้ง่าย เช่น ในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 แห่งเปอร์เซียรบมีชัยชนะเหนือกลุ่มประเทศชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น กรีก สปาร์ตา และมาซิโดเนีย ดาริอุสที่ 1 แบ่งแยกนครรัฐเหล่านี้มิให้รวมตัวกัน จนพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช รวบรวมกลุ่มประเทศเหล่านี้ตามนโยบายพระราชบิดากษัตริย์ฟิลลิปและเอาชนะเปอร์เซียยุคกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ได้
อังกฤษเป็นชาติที่ถนัดมากในหลักแบ่งแยกและปกครองในยุคล่าอาณานิคมในทุกทวีป เช่น แยกชนเผ่าต่างๆ ในทวีปแอฟริกาแยกศาสนาฮินดูกับอิสลามในอนุทวีปอินเดีย ปากีสถาน แยกคนจีนและมาเลย์ในแหลมมลายู
สหรัฐฯ กำลังใช้หลักการนี้ในตะวันออกกลาง ด้วยการแยกอิหร่านออกจากชาติอาหรับ ทั้งที่นับถือศาสนาเดียวกัน แต่คนละเผ่าพันธุ์ โดยเน้นที่อิหร่านไม่ใช่อาหรับแยกให้กลุ่มชาติอาหรับร่ำรวยเป็นพวกหนึ่ง นำโดยซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต การ์ตา และจอร์แดน นอกนั้นสหรัฐฯ พยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลที่ไม่ยอมรับนโยบายสหรัฐฯ อย่างชัดเจนเต็มตัว
ขณะที่สงครามเย็น 2 กำลังพัฒนาตัวมันเองที่ก่อตัวมาตั้งแต่การประชุมเอเปคที่ประเทศไทย ค.ศ. 2003 สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งครั้งนั้นถือว่าเป็นครั้งสำคัญยิ่ง ที่ผู้นำอภิมหาอำนาจและมหาอำนาจมาประชุมร่วมกันในประเทศไทย เช่น นายจอร์จ บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย และนายหู จิ่นเทา ประธานาธิบดีจีน
ในการประชุมครั้งนี้ เงื่อนไขแห่งสงครามเย็นเริ่มต้นเมื่อสหรัฐฯ ต้องการให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวน เพื่อต้องการให้สินค้าจีนมีราคาแพงขึ้น แต่บัดนี้จีนยังไม่เพิ่มค่าเงินหยวนเลย สินค้าจากจีนจึงครองตลาดโลกโดยเฉพาะในสหรัฐฯ เมื่อต้นทุนการผลิตต่ำ ราคาสินค้าต่ำ เกิดการลงทุนในจีนมากมายมหาศาล และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในพริบตาเดียว ทำให้มีเงินพัฒนาค้นคว้าเทคโนโลยีอวกาศ อาวุธยุทธศาสตร์ และขีปนาวุธ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ เช่น จีนสามารถสร้างขีปนาวุธ ยิงดาวเทียมในอวกาศได้ จีนไปอวกาศแล้ว และขณะนี้จีนกำลังต่อเรือบรรทุกเครื่องบิน
ในยุค 1960 – 1970 เป็นยุคสงครามตัวแทนสหรัฐฯ และโซเวียตในอินโดจีน ประเทศไทยถูกกำหนดให้เป็นเขตปิดล้อมจีน และในภาวะสงครามเย็น 2 ที่กำลังก่อตัวขึ้นนี้ ประเทศไทยก็จะถูกกำหนดให้เป็นเขตปิดล้อมจีนอีก
ในยุค 1960 – 1970 นั้น ไทยต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว จึงง่ายที่รัฐบาลไทยจะยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพได้ แต่ปัจจุบันนี้ยุทธศาสตร์การเมืองยุคนั้นไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้อีกต่อไป
ลักษณะสงครามเย็นจะไม่มีการประกาศสงครามกัน แต่เป็นทัศนคติทางการเมืองที่ขัดแย้งและคุกคามกันทางยุทธศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งสามขั้วอำนาจใหม่ สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน กำลังประจันหน้ากันในยุทธศาสตร์เหล่านี้
ความหวาดระแวงของสหรัฐฯ ที่จ้องมองดูไทยก็คือ ความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมระหว่างไทยกับจีน ผลประโยชน์ที่ไทยได้จากจีน และด้วยความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งนี้ ทำให้สหรัฐฯ อาจจะต้องทำลายหรือหากทำลายไม่ได้ ก็อาจจะต้องสร้างสถานการณ์ให้ประเทศไทยมีลักษณะเป็น “รัฐล้มเหลว” และมีการก่อการร้ายสากลเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อสหรัฐฯ จะได้สถาปนาแนวรบสงครามก่อการร้ายในภูมิภาคที่ประเทศไทย ด้วยการสร้างให้เป็นสมรภูมิสงครามข่าวกรองการก่อการร้ายก่อน และพัฒนาแนวป้องกันสงครามก่อการร้ายนี้ในประเทศไทย แต่แท้จริงแล้วแฝงไว้ให้เป็นสงครามข่าวกรองในภูมิภาคที่สัมพันธ์กับจีน และพร้อมกันนั้นก็ป้องกันอิทธิพลจีน
สมมติฐานหรือจินตยุทธ์นี้ เกิดจากนโยบายการสร้างอิทธิพล และการขจัดศัตรูของสหรัฐฯ ในอดีต ซึ่งมีตัวอย่างมากมาย เช่น กรณี พ.ท.โอลิเวอร์ นอร์ธ ในคดีอิหร่าน – คอนทรา ในปี ค.ศ. 1980 ยุคประธานาธิบดีเรแกน
เรื่องราวมีอยู่ว่าในปี ค.ศ. 1980 สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ให้ พ.ท.โอลิเวอร์ นอร์ธ อดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ แปลงเป็นสายลับจัดการขายอาวุธให้กับรัฐบาลอิหร่าน เพื่อให้รัฐบาลอิหร่านกดดันกลุ่มก่อการร้ายเอชบอลลาห์ ปล่อยตัวประกันชาวอเมริกันที่ถูกจับไปขังไว้ในเลบานอน นอกเหนือจากนั้นพ.ท.โอลิเวอร์ นอร์ธ ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลให้เอาเงินกำไรไปซื้ออาวุธให้กับกลุ่มคอนทรา ที่เป็นกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลเอียงซ้ายซึ่งต่อต้านสหรัฐฯ ในช่วงนั้น แต่สหรัฐฯ โดยรัฐสภาคองเกรส ได้ออกกฎหมายห้ามมิให้รัฐกระทำเช่นนี้ เพราะไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา เรียกว่ากฎหมายโบแลนด์ในปี ค.ศ. 1982 พ.ท.โอลิเวอร์ นอร์ธ ถูกจับ แต่ในที่สุดประธานาธิบดีบุช ประกาศนิรโทษกรรมให้ ทั้งๆ ที่กลุ่มอาวุธคอนทรา ก็พัวพันเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วย
งานสกปรกทางการเมืองลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติของสหรัฐฯ หรือม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเรียก “อเมริกันที่น่าเกลียด” แต่เพื่อให้ได้มาตามที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการนั้น รัฐบาลและนักการเมืองสหรัฐฯ ทำได้เสมอไม่ยากนัก
งานวางระเบิดโดยคนอิหร่านเมื่อสองวันที่ผ่านมา ดูเป็นงานเด็กๆ เพราะไม่มีจุดเป้าหมายที่สำคัญแม้แต่น้อย และคนวางระเบิดก็ไม่ใช่มืออาชีพอย่างแท้จริง จึงถูกระเบิดตัวเองขาขาด เขาถูกใครจ้างมาหรือ เพื่อสร้างสถานการณ์หรือ และด้วยว่ากฎหมายก่อการร้ายของไทยไม่ชัดเจน จึงเป็นช่องโหว่ของสำนวนการตีความการก่อการร้ายของไทย เป็นการสร้างภาพลวงตาว่าไทยเป็นสนามรบก่อการร้ายทั้งๆ ที่เป็นไปไม่ได้ทุกกรณี
สงครามเย็น 2 ของขั้วอำนาจ 3 ขั้ว จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของใครคนหนึ่ง หรือเชื่อมโยงกับรัฐบาลนี้หรือไม่และอย่างไร เพราะการเจรจาต่อรองแลกเปลี่ยนในเรื่องการครอบครองอำนาจรัฐไม่ทำกันอย่างเปิดเผย และหากทักษิณได้อานิสงส์จากยุทธศาสตร์นี้ และได้กลับเข้ามามีอำนาจอีก อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร