ทอท.เตรียมชงบอร์ด เยียวยา 5 สายการบินช่วงน้ำท่วมเพิ่ม หลังถูกโวยไม่เป็นธรรม เอื้อแอร์เอเชียเกินเหตุ ขณะที่แผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ 6 กิจกรรมต้องปรับใหม่เหตุย้ายโลว์คอสต์กลับดอนเมืองพื้นที่พัฒนาน้อยลง แต่ยังไม่ล้มศูนย์ซ่อมเครื่องบิน รอนโยบายศูนย์ซ่อมฯสนามบินโคราชชัด
ว่าที่เรืออากาศโทอนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยภายหลังผู้บริหาร 5 สายการบิน เช่นนกแอร์, โอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์ และโซล่า แอร์ เข้าพบวานนี้ (28 มิ.ย.) ว่า ได้หารือถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือชดเชยกรณีที่สายการบินได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปี 2554
จนต้องย้ายไปให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับมาตรการจูงใจ 14 สายการบินที่จะย้ายมาจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะเสนอมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเรื่องน้ำท่วมแก่ 5 สายการบินต่อ คณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.ที่มีพลอากาศเอกสุเมธ โพธิ์มณี เป็นประธานพิจารณาในการประชุมวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ จากนั้นจึงจะเปิดเผยรายละเอียดได้
โดยก่อนหน้านี้ ทอท.ได้ให้ความช่วยเหลือแก่สายการบินที่ต้องย้ายไปให้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากเหตุน้ำท่วมท่าอากาศยานดอนเมืองช่วงปลายปี 2554 โดยเก็บค่าเช่าพื้นที่และค่าธรรมเนียมการใช้บริการในอัตราเดียวกับท่าอากาศยานดอนเมืองและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการระบบตรวจบัตรผู้โดยสารขึ้นเครื่องสำหรับการใช้บริการระบบบางส่วนในอัตราพิเศษ แต่สายการบินเห็นว่า การเยียวยาเรื่องอื่นๆ ยังช่วยเหลือไม่เต็มที่ ทั้งนี้ สายการบินนกแอร์ ได้ย้ายกลับมาให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนสายการบินโอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์ ย้ายกลับมาให้บริการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งจากมาตรการให้ความช่วยเหลือสายการบินและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบช่วงน้ำท่วม ทำให้ทอท.มีรายได้ลดลงประมาณ 110 ล้านบาท
***ปรับแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ดอนเมือง
ว่าที่เรืออากาศโทอนิรุทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายบริหารธุรกิจของทอท.กำลังศึกษาเพื่อปรับแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ท่าอากาศยานดอนเมือง 6 กิจกรรม เพื่อให้การใช้ประโยชน์พื้นที่มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากมีการย้ายสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) เส้นทางภายในประเทศและระหว่างประเทศแบบจุดต่อจุด (Point to Point) มาให้บริการที่ดอนเมือง เนื่องจาก ขณะนี้แนวคิดในการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองมีการปรับเปลี่ยนไปโดยมีการให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์มากขึ้น ซึ่งทำให้พื้นที่ในการทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ลดลง และต้องดูปัจจัยที่กระทบด้วย เช่น ปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้น เพื่อความรอบคอบ
ส่วนกรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะพัฒนาท่าอากาศยานนครราชสีมาของกรมการบินพลเรือน (บพ.) เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานจะกระทบต่อแผนโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานของทอท.ที่ดอนเมืองหรือไม่นั้น เห็นว่าการซ่อมบำรุงเครื่องบินมีหลายแบบ เช่น ศูนย์ซ่อมฐานล้ออากาศยาน (แลนดิ้งเกียร์), เครื่องบินขนาดเล็ก, ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องดูความชัดเจนที่สนามบินนครราชสีมาด้วย และการลงทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนด้วยว่าจะเลือกที่ไหน
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายคือจะต้องใช้ทรัพย์สินที่มีให้เกิดประโยชน์ที่สุด ซึ่งอาจจะมีการปรับลดบางกิจกรรมหรือเพิ่มกิจกรรมก็ได้โดยสำหรับ 6 กิจกรรม ประกอบด้วย 1.โครงการซ่อมบำรุงอากาศยาน 2.โครงการบริหารจัดการอะไหล่อากาศยานในภูมิภาค 3.โครงการเขตสินค้าปลอดอากร (Free Zone) 4. โครงการศูนย์ขนส่งกระจายสินค้า 5.โครงการศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการ และ6.โครงการอาคารผู้โดยสารสำหรับอากาศยานส่วนบุคคล( Private Jet Terminal) ดำเนินการแล้วตั้งแต่ปี 2553
ว่าที่เรืออากาศโทอนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยภายหลังผู้บริหาร 5 สายการบิน เช่นนกแอร์, โอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์ และโซล่า แอร์ เข้าพบวานนี้ (28 มิ.ย.) ว่า ได้หารือถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือชดเชยกรณีที่สายการบินได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปี 2554
จนต้องย้ายไปให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับมาตรการจูงใจ 14 สายการบินที่จะย้ายมาจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะเสนอมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเรื่องน้ำท่วมแก่ 5 สายการบินต่อ คณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.ที่มีพลอากาศเอกสุเมธ โพธิ์มณี เป็นประธานพิจารณาในการประชุมวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ จากนั้นจึงจะเปิดเผยรายละเอียดได้
โดยก่อนหน้านี้ ทอท.ได้ให้ความช่วยเหลือแก่สายการบินที่ต้องย้ายไปให้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากเหตุน้ำท่วมท่าอากาศยานดอนเมืองช่วงปลายปี 2554 โดยเก็บค่าเช่าพื้นที่และค่าธรรมเนียมการใช้บริการในอัตราเดียวกับท่าอากาศยานดอนเมืองและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการระบบตรวจบัตรผู้โดยสารขึ้นเครื่องสำหรับการใช้บริการระบบบางส่วนในอัตราพิเศษ แต่สายการบินเห็นว่า การเยียวยาเรื่องอื่นๆ ยังช่วยเหลือไม่เต็มที่ ทั้งนี้ สายการบินนกแอร์ ได้ย้ายกลับมาให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนสายการบินโอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์ ย้ายกลับมาให้บริการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งจากมาตรการให้ความช่วยเหลือสายการบินและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบช่วงน้ำท่วม ทำให้ทอท.มีรายได้ลดลงประมาณ 110 ล้านบาท
***ปรับแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ดอนเมือง
ว่าที่เรืออากาศโทอนิรุทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายบริหารธุรกิจของทอท.กำลังศึกษาเพื่อปรับแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ท่าอากาศยานดอนเมือง 6 กิจกรรม เพื่อให้การใช้ประโยชน์พื้นที่มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากมีการย้ายสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) เส้นทางภายในประเทศและระหว่างประเทศแบบจุดต่อจุด (Point to Point) มาให้บริการที่ดอนเมือง เนื่องจาก ขณะนี้แนวคิดในการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองมีการปรับเปลี่ยนไปโดยมีการให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์มากขึ้น ซึ่งทำให้พื้นที่ในการทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ลดลง และต้องดูปัจจัยที่กระทบด้วย เช่น ปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้น เพื่อความรอบคอบ
ส่วนกรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะพัฒนาท่าอากาศยานนครราชสีมาของกรมการบินพลเรือน (บพ.) เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานจะกระทบต่อแผนโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานของทอท.ที่ดอนเมืองหรือไม่นั้น เห็นว่าการซ่อมบำรุงเครื่องบินมีหลายแบบ เช่น ศูนย์ซ่อมฐานล้ออากาศยาน (แลนดิ้งเกียร์), เครื่องบินขนาดเล็ก, ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องดูความชัดเจนที่สนามบินนครราชสีมาด้วย และการลงทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนด้วยว่าจะเลือกที่ไหน
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายคือจะต้องใช้ทรัพย์สินที่มีให้เกิดประโยชน์ที่สุด ซึ่งอาจจะมีการปรับลดบางกิจกรรมหรือเพิ่มกิจกรรมก็ได้โดยสำหรับ 6 กิจกรรม ประกอบด้วย 1.โครงการซ่อมบำรุงอากาศยาน 2.โครงการบริหารจัดการอะไหล่อากาศยานในภูมิภาค 3.โครงการเขตสินค้าปลอดอากร (Free Zone) 4. โครงการศูนย์ขนส่งกระจายสินค้า 5.โครงการศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการ และ6.โครงการอาคารผู้โดยสารสำหรับอากาศยานส่วนบุคคล( Private Jet Terminal) ดำเนินการแล้วตั้งแต่ปี 2553