ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.เศรษฐกิจสั่งตั้งรับวิกฤตยูโรโซน ยังไม่เพิ่มมาตรการ แต่ให้เน้นการติดตามผลกระทบ มั่นใจเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง จีดีพีโตได้ 5.5-6.5% "บุญทรง"ชงคลังช่วยสภาพคล่อง SMEs พร้อมใช้มาตรการด้านภาษีอุ้มผู้ส่งออก
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วานนี้ (27 ม.ย.) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานว่า มีการหารือร่วมกันระหว่าง 9 กระทรวงเศรษฐกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงวิกฤตการณ์ทางการเงินในกลุ่มสหภาพยุโรปที่เกิดขึ้น รวมทั้งประเมินแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และให้แต่ละหน่วยงานติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด แต่ยังไม่มีการออกมาตรการใดๆ เพิ่มเติมในขณะนี้ โดยจะเน้นในเรื่องการติดตามผลกระทบ โดยมองผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมยืนยันว่าเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ที่เป้าหมายเดิม 5.5-6.5%
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงกรณีของประเทศไซปรัสที่เป็นประเทศล่าสุดในลำดับที่ 5 ที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป ต่อจากโปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน โดยเห็นว่าไซปรัสเป็นประเทศขนาดเล็ก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรปไม่มากนัก และเชื่อว่ายุโรปจะสามารถดูแลแก้ปัญหาได้
ส่วนกรณีที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ปรับลดเครดิตของธนาคารขนาดใหญ่ทั่วโลกลง 15 แห่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จะไม่มีผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ของไทย เนื่องจากความเชื่อมโยงของธนาคารพาณิชย์ไทยกับกลุ่มยุโรปมีน้อย สำหรับภาคการส่งออกนั้น ที่ประชุมวิเคราะห์ว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตรถยนต์ ในช่วงเดือนเม.ย.2555 ได้กลับมาผลิตได้เต็มกำลังการผลิตแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากยอดการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาในภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่ส่งออกไปยังยุโรป เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานจำนวนมาก
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) 65 ประเทศ เพื่อหามาตรการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กระทบต่อการส่งออกว่า ได้เตรียมที่จะประสานไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการส่งออก โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งขณะนี้ทราบว่านายกิตติรัตน์กำลังให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ หาแนวทางเข้ามาช่วยเหลือสินเชื่ออยู่
ขณะเดียวกัน จะเพิ่มมาตรการช่วยเหลืออีกหลากหลาย ทั้งการใช้มาตรการด้านภาษีสำหรับผู้ส่งออกที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รวมทั้งการแก้ไขกฎระเบียบให้กับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่ออำนวยความสะดวก โดยมาตรการทั้งหมดจะมีการหารือและสรุปหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ซึ่งมั่นใจหลังจากมีการใช้มาตรการกระตุ้นส่งออกแล้ว การส่งออกจะเติบโตไม่น้อยกว่า 2หลักในทุกเดือน และจะขยายตัวแบบก้าวกระโดดในไตรมาสสุดท้าย
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มสินค้าเครื่องนุ่งห่ม เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตยุโรปลำดับต้น เพราะหลายประเทศกำลังเกิดปัญหาในตอนนี้ทั้งสเปน อิตาลี และฝรั่งเศส เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของไทย หรือมีสัดส่วน 45% ของตลาดยุโรปทั้งหมด โดยประเมินว่าการส่งออกภาพรวมทั้งปีจะติดลบถึง 7-8% ส่วนข้อเสนอในการประชุมร่วมกับนายกฯ จะขอให้เร่งรัดการปล่อยสินเชื่อ และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
เพื่อลดปัญหาการขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่กำลังประสบปัญหามาก
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วานนี้ (27 ม.ย.) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานว่า มีการหารือร่วมกันระหว่าง 9 กระทรวงเศรษฐกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงวิกฤตการณ์ทางการเงินในกลุ่มสหภาพยุโรปที่เกิดขึ้น รวมทั้งประเมินแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และให้แต่ละหน่วยงานติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด แต่ยังไม่มีการออกมาตรการใดๆ เพิ่มเติมในขณะนี้ โดยจะเน้นในเรื่องการติดตามผลกระทบ โดยมองผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมยืนยันว่าเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ที่เป้าหมายเดิม 5.5-6.5%
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงกรณีของประเทศไซปรัสที่เป็นประเทศล่าสุดในลำดับที่ 5 ที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป ต่อจากโปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน โดยเห็นว่าไซปรัสเป็นประเทศขนาดเล็ก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรปไม่มากนัก และเชื่อว่ายุโรปจะสามารถดูแลแก้ปัญหาได้
ส่วนกรณีที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ปรับลดเครดิตของธนาคารขนาดใหญ่ทั่วโลกลง 15 แห่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จะไม่มีผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ของไทย เนื่องจากความเชื่อมโยงของธนาคารพาณิชย์ไทยกับกลุ่มยุโรปมีน้อย สำหรับภาคการส่งออกนั้น ที่ประชุมวิเคราะห์ว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตรถยนต์ ในช่วงเดือนเม.ย.2555 ได้กลับมาผลิตได้เต็มกำลังการผลิตแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากยอดการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาในภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่ส่งออกไปยังยุโรป เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานจำนวนมาก
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) 65 ประเทศ เพื่อหามาตรการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กระทบต่อการส่งออกว่า ได้เตรียมที่จะประสานไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการส่งออก โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งขณะนี้ทราบว่านายกิตติรัตน์กำลังให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ หาแนวทางเข้ามาช่วยเหลือสินเชื่ออยู่
ขณะเดียวกัน จะเพิ่มมาตรการช่วยเหลืออีกหลากหลาย ทั้งการใช้มาตรการด้านภาษีสำหรับผู้ส่งออกที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รวมทั้งการแก้ไขกฎระเบียบให้กับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่ออำนวยความสะดวก โดยมาตรการทั้งหมดจะมีการหารือและสรุปหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ซึ่งมั่นใจหลังจากมีการใช้มาตรการกระตุ้นส่งออกแล้ว การส่งออกจะเติบโตไม่น้อยกว่า 2หลักในทุกเดือน และจะขยายตัวแบบก้าวกระโดดในไตรมาสสุดท้าย
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มสินค้าเครื่องนุ่งห่ม เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตยุโรปลำดับต้น เพราะหลายประเทศกำลังเกิดปัญหาในตอนนี้ทั้งสเปน อิตาลี และฝรั่งเศส เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของไทย หรือมีสัดส่วน 45% ของตลาดยุโรปทั้งหมด โดยประเมินว่าการส่งออกภาพรวมทั้งปีจะติดลบถึง 7-8% ส่วนข้อเสนอในการประชุมร่วมกับนายกฯ จะขอให้เร่งรัดการปล่อยสินเชื่อ และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
เพื่อลดปัญหาการขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่กำลังประสบปัญหามาก