xs
xsm
sm
md
lg

“ปู” ถกแพงทั้งแผ่นดิน สภาพัฒน์ชี้ไตรมาส 4 จีดีพีติดลบ 9%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร
นายกฯ นัดถก ครม.เศรษฐกิจวาระพิเศษ แก้ปัญหาสินค้าราคแพงด่วน ชี้ภาวะเงินเฟ้อน่าห่วง เนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ด้านสภาพัฒน์สรุปปัญหาค่าครองชีพพุ่งสูงจากภัยน้ำท่วม ทำจีดีพีติดลง 9% ในไตรมาสที่ 4

วันนี้ (1 พ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจวาระพิเศษที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า เพื่อหารือสินค้าราคาแพง โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายโอฬาร ไชยประวัติ นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง

โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จะวิเคราะห์ถึงภาคอุตสาหกรรม และเอสเอ็มอี เพื่อหามาตรการเสริมโดยปัญหาเร่งด่วนวันนี้ คือ เรื่องเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาราคาแพง ที่ขณะนี้มีปัญหาสองส่วน คือ ปัญหาวัตถุดิบที่มีต้นทุนราคาถูก แต่หลังจากทำเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรืออาหารจะเป็นราคาแพง ดังนั้น ขอให้กระทรวงพาณิชย์วิเคราะห์ต้นทุนในลักษณะของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ประกอบทุกส่วน พร้อมกันนี้ให้ดูว่าสินค้าชนิดใดมีราคาสูงและสินค้าใดที่มีราคาปรับลดลง

ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสภาพัฒนาและเศรษฐกิจแห่งชาติ กล่าวรายงานถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมว่า ในเรื่องของเอสเอ็มอียังไม่ขอวิเคราะห์สภาพปัญหา เพราะตัวเลขยังไม่นิ่ง ซึ่งขอวิเคราะห์ถึงปัญหาค่าครองชีพ โดยไตรมาสที่ 4 เกิดวิกฤตระบบเศรษฐกิจที่มีผลกระทบมาจากภัยน้ำท่วม ส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เรื่่องการส่งออกและระบบการขนส่งได้รับผลกระทบ ทำให้จีดีพีไตรมาส 4 ติดลบ 9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าหลายตัวช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมขยับขึ้นสูง เพราะระบบการส่งกำลังบำรุงและเสบียงอาหารมีปัญหา

ทั้งนี้ ถ้าสังเกตจากเครื่องชี้วัดของธนาคาห่งประเทศไทยจะเห็นว่าเรื่องส่งออกตีตื้นขึ้นมากโดยลำดับ มูลค่าการส่งออกเดือนมกราคมมีตัวเลขอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ทำให้รายได้ส่งออกในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ประมาณ 53,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับตัวเลขไตรมาส 1 ปีที่ผ่านมา ถือว่าค่อนข้างดี

นอกจากนี้ ยอมรับว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยังติดลบ เพราะอุตสาหกรรมใหญ่ที่ได้รับผลกระทบในไตรมาส 4 โดยเฉพาะโรงงานฮอนด้า ที่เริ่มเปิดเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ขณะนี้กลับมาผลิต ซึ่งเชื่อว่าไตรมาส 2 หลังเดือนเมษายนกำลังการผลิตจะดีขึ้น ส่วนภาคการท่องเที่ยวถือว่าฟื้นตัวค่อนข้างเร็ว
กำลังโหลดความคิดเห็น