ASTVผู้จัดการรายวัน-สินค้าจมน้ำทั้งยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ฟื้น ดันยอดส่งออก พ.ค. กลับมาเป็นบวกได้ 7.68% “พาณิชย์”มั่นใจทั้งปีเข้าเป้า 15% ชี้แนวโน้มส่งออกกระเตื้องขึ้นต่อเนื่อง ไม่หวั่นขาดดุลการค้าทะลุ 3.3 แสนล้าน เหตุส่วนใหญ่นำเข้าทุนและวัตถุดิบ “ปู”นั่งหัวโต๊ะแก้ปัญหาส่งออก 30 มิ.ย.นี้
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพ.ค.2555 มีมูลค่า 20,932.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.68% เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 641,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.68% ขณะที่การนำเข้าเดือนพ.ค.2555 มีมูลค่า 22,672.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.2% คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 703,030.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.4% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1,739.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 61,893.9 ล้านบาท
ส่วนยอดการส่งออก 5 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 92,494 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.47% คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.79% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 102,288 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.55% คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.02% ส่งผลให้ 5 เดือน ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 9,794 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทขาดดุลการค้ามูลค่า 337,902 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกเดือนพ.ค.2555 ขยายตัวเป็นบวก มาจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปลายปี กลับมาผลิตสินค้าและส่งออกได้เป็นปกติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่ม 110.1% ส่วนประกอบยานยนต์เพิ่ม 54.9% เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม 11.8% และอิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม 10.9%
ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักหลายแห่งในเดือนพ.ค. ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ กลับมาเป็นบวก อีกทั้งการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดใหม่ ที่กรมส่งเสริมการส่งออกมีนโยบายเร่งผลักดันเพื่อทดแทนตลาดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น อาเซียน จีน อินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง ก็มีการขยายตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว
นายภูมิกล่าวว่า การส่งออกในเดือนพ.ค. พบว่า หมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 5% สินค้าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าวลด 29% ยางพาราลด 27.5% เนื่องจากมีความต้องจากต่างประเทศเพื่อไปผลิตสินค้าแปรรูปน้อยลง
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 9.5% โดยสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์อุปกรณ์ และชิ้นส่วนประกอบเพิ่ม 83.5% เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม 11.8% อิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม 10.9% ผลิตภัณฑ์ยางเพิ่ม 6.5% ส่วนสินค้าลดลง ได้แก่ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติกลด 2.7% สิ่งทอลด 10% อัญมณีและเครื่องประดับลด 22.3% สิ่งพิมพ์ลด 74.2%
สำหรับการส่งออกแยกเป็นรายตลาด พบว่า ตลาดหลักเพิ่มขึ้น 7.5% ได้แก่ ญี่ปุ่นเพิ่ม 5% สหรัฐฯ เพิ่ม 10.9% และสหภาพยุโรป (15 ประเทศ) เพิ่ม 6.8% ตลาดศักยภาพสูงเพิ่มขึ้น 4.8% ได้แก่ อาเซียนเพิ่ม 13.4% จีนเพิ่ม 22.3% อินเดียเพิ่ม 16.5% แต่เกาหลีใต้ลดลง 6.7% เอเชียใต้ลด 2.8% ฮ่องกงลด 38.9% และไต้หวันลด 9.6% ขณะที่ตลาดศักยภาพระดับรองเพิ่ม 22.7% ได้แก่ แอฟริกาเพิ่ม 22% ลาตินอเมริกาเพิ่ม 34.6% ทวีปออสเตรเลียเพิ่ม 51.1% ตะวันออกกลางเพิ่ม 17.3% แต่สหภาพยุโรปสมาชิกใหม่ 12 ประเทศลด 13.6% ส่วนตลาดอื่นๆ ลดลง 46.9% โดยสวิตเซอร์แลนด์ลด 66.4%
ด้านสินค้านำเข้าในเดือนพ.ค.2555 สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าทุนเพิ่ม 40.69% เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่ม 57.97% เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเพิ่ม 65.61% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเพิ่ม 8.86% ได้แก่ ทองคำเพิ่ม 35.55% เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เพิ่ม 9.09% รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่ม 17.03% หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งเพิ่ม 72.65%
นายภูมิกล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกในเดือนมิ.ย.2555 คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นกว่านี้ เพราะกำลังการผลิตสินค้าที่เสียหายจากน้ำท่วมจะฟื้นตัวได้เพิ่มมากขึ้น จึงมั่นใจว่าทั้งปีการส่งออกจะเติบโตได้ถึง 15% แน่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย ตัวเลขการส่งออกจะเติบโตได้เกิน 20% ขึ้นไป ส่วนดุลการค้าที่ขาดดุลมากในขณะนี้ไม่น่ากังวล เพราะส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อขยายกำลังการผลิต แสดงให้เห็นว่าหลังจากนี้ การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และดุลการค้าในครึ่งปีหลังน่าจะกลับมาเกินดุลได้
ส่วนความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อกระตุ้นการส่งออกนั้น ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้ผลิตและส่งออกสินค้ารายใหญ่ในประเทศ เพื่อรับฟังปัญหา และหามาตรช่วยเหลือรวมถึงกระตุ้นการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีให้เป็นไปตามเป้าหมาย
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพ.ค.2555 มีมูลค่า 20,932.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.68% เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 641,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.68% ขณะที่การนำเข้าเดือนพ.ค.2555 มีมูลค่า 22,672.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.2% คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 703,030.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.4% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1,739.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 61,893.9 ล้านบาท
ส่วนยอดการส่งออก 5 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 92,494 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.47% คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.79% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 102,288 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.55% คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.02% ส่งผลให้ 5 เดือน ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 9,794 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทขาดดุลการค้ามูลค่า 337,902 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกเดือนพ.ค.2555 ขยายตัวเป็นบวก มาจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปลายปี กลับมาผลิตสินค้าและส่งออกได้เป็นปกติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่ม 110.1% ส่วนประกอบยานยนต์เพิ่ม 54.9% เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม 11.8% และอิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม 10.9%
ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักหลายแห่งในเดือนพ.ค. ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ กลับมาเป็นบวก อีกทั้งการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดใหม่ ที่กรมส่งเสริมการส่งออกมีนโยบายเร่งผลักดันเพื่อทดแทนตลาดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น อาเซียน จีน อินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง ก็มีการขยายตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว
นายภูมิกล่าวว่า การส่งออกในเดือนพ.ค. พบว่า หมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 5% สินค้าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าวลด 29% ยางพาราลด 27.5% เนื่องจากมีความต้องจากต่างประเทศเพื่อไปผลิตสินค้าแปรรูปน้อยลง
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 9.5% โดยสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์อุปกรณ์ และชิ้นส่วนประกอบเพิ่ม 83.5% เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม 11.8% อิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม 10.9% ผลิตภัณฑ์ยางเพิ่ม 6.5% ส่วนสินค้าลดลง ได้แก่ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติกลด 2.7% สิ่งทอลด 10% อัญมณีและเครื่องประดับลด 22.3% สิ่งพิมพ์ลด 74.2%
สำหรับการส่งออกแยกเป็นรายตลาด พบว่า ตลาดหลักเพิ่มขึ้น 7.5% ได้แก่ ญี่ปุ่นเพิ่ม 5% สหรัฐฯ เพิ่ม 10.9% และสหภาพยุโรป (15 ประเทศ) เพิ่ม 6.8% ตลาดศักยภาพสูงเพิ่มขึ้น 4.8% ได้แก่ อาเซียนเพิ่ม 13.4% จีนเพิ่ม 22.3% อินเดียเพิ่ม 16.5% แต่เกาหลีใต้ลดลง 6.7% เอเชียใต้ลด 2.8% ฮ่องกงลด 38.9% และไต้หวันลด 9.6% ขณะที่ตลาดศักยภาพระดับรองเพิ่ม 22.7% ได้แก่ แอฟริกาเพิ่ม 22% ลาตินอเมริกาเพิ่ม 34.6% ทวีปออสเตรเลียเพิ่ม 51.1% ตะวันออกกลางเพิ่ม 17.3% แต่สหภาพยุโรปสมาชิกใหม่ 12 ประเทศลด 13.6% ส่วนตลาดอื่นๆ ลดลง 46.9% โดยสวิตเซอร์แลนด์ลด 66.4%
ด้านสินค้านำเข้าในเดือนพ.ค.2555 สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าทุนเพิ่ม 40.69% เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่ม 57.97% เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเพิ่ม 65.61% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเพิ่ม 8.86% ได้แก่ ทองคำเพิ่ม 35.55% เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เพิ่ม 9.09% รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่ม 17.03% หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งเพิ่ม 72.65%
นายภูมิกล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกในเดือนมิ.ย.2555 คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นกว่านี้ เพราะกำลังการผลิตสินค้าที่เสียหายจากน้ำท่วมจะฟื้นตัวได้เพิ่มมากขึ้น จึงมั่นใจว่าทั้งปีการส่งออกจะเติบโตได้ถึง 15% แน่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย ตัวเลขการส่งออกจะเติบโตได้เกิน 20% ขึ้นไป ส่วนดุลการค้าที่ขาดดุลมากในขณะนี้ไม่น่ากังวล เพราะส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อขยายกำลังการผลิต แสดงให้เห็นว่าหลังจากนี้ การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และดุลการค้าในครึ่งปีหลังน่าจะกลับมาเกินดุลได้
ส่วนความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อกระตุ้นการส่งออกนั้น ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้ผลิตและส่งออกสินค้ารายใหญ่ในประเทศ เพื่อรับฟังปัญหา และหามาตรช่วยเหลือรวมถึงกระตุ้นการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีให้เป็นไปตามเป้าหมาย