ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการวิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็ยังเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อย ความไม่พอใจระบอบนั้นมาจากความไม่สามารถของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมของเจ้านายและขุนนางบางคน นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดทางตะวันตกที่เริ่มเข้ามาสู่ผู้มีการศึกษา โดยเฉพาะผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดก็คือ ความต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง มีคนจำนวนหนึ่งที่เห็นว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล้าหลัง และไม่สามารถโต้ตอบกับการท้าทายของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นได้
ในที่สุดเมื่อ รศ. 130 ก็มีนายทหารระดับล่างส่วนหนึ่งมีแผนการก่อกบฏขึ้นแต่ถูกจับได้เสียก่อน ปัจจัยที่เป็นเหตุให้นายทหารกลุ่มนี้คบคิดจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมี 5 ประการคือ
1.การขยายตัวของระบบราชการ โดยเฉพาะกองทัพทำให้เกิดปัญหาของการอุดตันในตำแหน่งที่มีอยู่อย่างจำกัด ประกอบกับการมีข้อได้เปรียบของเชื้อพระวงศ์ ทำให้คนที่ได้รับการศึกษา และเป็นข้าราชการเกิดความรู้สึกว่าโอกาสถูกปิดกั้น และมีความรู้สึกว่ามีความไม่เป็นธรรม
2.การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความใกล้ชิดกับข้าราชการมากขึ้น ทำให้ข้าราชการมีความหวาดกลัวพระราชอำนาจน้อยลง ความใกล้ชิดมีผลทำให้ความรู้สึกที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพหมดไป
3.การเปิดเสรีทางความคิด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปิดให้มีหนังสือพิมพ์ที่สามารถวิจารณ์ระบอบการปกครองได้อย่างเสรี ทำให้เกิดข้อวิจารณ์ระบอบ และชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของระบอบมากขึ้น
4.ความไม่พอใจของทหารที่มีการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น และกรณีการวิวาทระหว่างทหารกับมหาดเล็ก ทำให้ทหารที่ได้รับการลงโทษเกิดความไม่พอใจ
5.ความคิดเรื่องประชาธิปไตย และการจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์เริ่มแพร่หลายในหมู่คนที่มีการศึกษา และนำไปสู่การรวมกลุ่ม และการคบคิดล้มล้างระบอบในที่สุด
ในส่วนของผู้ปกครองเอง แม้จะรู้ว่ามีความคิดประชาธิปไตย แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เพราะไม่คิดว่าเป็นปัญหาสำคัญ และไม่คาดคิดว่าความคิดดังกล่าวจะแพร่หลายมีพลัง และสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
แต่ที่สำคัญก็คือ ผู้ปกครองเห็นว่าการให้ประชาชนมีสิทธิทางการเมืองจะมีปัญหา เพราะหากมีพรรคการเมือง กลุ่มคนที่จะได้เปรียบเพราะมีเงิน และมีการจัดตั้งรวมกลุ่มก็คือ คนจีน ซึ่งในยุคนั้นยังไม่มีความภักดีต่อแผ่นดินไทย
ด้วยความลังเล และความไม่เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยจะพร้อมสำหรับสยาม แม้ว่าจะมีผู้เสนอความเห็นให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการปรับปรุงระบบบริหารทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดจนการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้ทันสมัย ดังนั้น การพัฒนาจึงเป็นการพัฒนาระบบกฎหมาย และการบริหารมากกว่าที่จะเป็นการพัฒนาทางการเมือง
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐไทยจึงเป็นนิติรัฐที่มีความเข้มแข็ง ทั้งทางด้านรากฐานของกฎหมาย และทางด้านโครงสร้างทางการปกครอง
กล่าวคือ อำนาจรัฐได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อำนาจทางการเมืองจึงเป็นอำนาจที่อ่อนแอ และต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ
แม้คณะราษฎรจะได้อำนาจทางการเมือง แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายปีในการจัดการกับอำนาจรัฐ ที่สำคัญก็คือ ต้องทบทวนการจัดโครงสร้างอำนาจรัฐเสียใหม่ ให้อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมือง มาตรการที่สำคัญก็คือ อาศัยผู้มีตำแหน่งสำคัญทางราชการมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมให้มีพรรคการเมือง ดังนั้น แหล่งเดียวที่เป็นแหล่งป้อนบุคลากรทางการเมืองก็คือ ระบบราชการโดยเฉพาะกองทัพ
อย่างไรก็ดี จำนวนคนที่เข้าเป็นสมาชิกคณะราษฎร มีฐานทางสังคม-เศรษฐกิจกว้างกว่าคณะรศ. 130 เพราะมีทั้งทหาร พลเรือน และพ่อค้า ทหารเองก็มีนายทหารจากกองทัพเรือเข้าร่วมด้วย และก็มีนายทหารทั้งรุ่นหนุ่มและรุ่นอาวุโสรวมอยู่ในคณะราษฎร ในแง่นี้คณะราษฎรจึงมีลักษณะเป็นแนวร่วมพันธมิตรของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองแบบเก่ามากกว่าเป็นแนวร่วมของนักประชาธิปไตย ในแง่นี้ ทั้งคณะรศ. 130 และคณะราษฎรจึงเป็นกลุ่มปฏิกิริยา (reactive) มากกว่ากลุ่มอุดมการณ์ที่มีความเป็นปึกแผ่น
ทั้งคณะรศ. 130 และคณะราษฎรเป็นการก่อหวอดทางการเมืองที่ขาดการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง หากเป็นการก่อตัวทางการเมืองที่มีขอบเขตจำกัด และด้วยเหตุที่ผู้ร่วมในกลุ่มไม่ได้ต่อสู้ร่วมกันระยะยาว กลุ่มจึงเปราะบาง ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และแตกแยกกันในที่สุด
โดยสรุปแล้ว การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นเพียงการเปิดช่องทางให้กับข้าราชการได้ขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองแทนพระมหากษัตริย์ และข้าราชการเหล่านี้ก็ได้กระชับอำนาจรัฐให้เข้ากับอำนาจทางการเมือง ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้อยู่ภายใต้การปกครองเหมือนเดิม การมีส่วนร่วมเป็นการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่เป็นข้าราชการเท่านั้น และเป็นเหตุให้ประชาธิปไตยกลายเป็นเพียงข้ออ้างในการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น
ในที่สุดเมื่อ รศ. 130 ก็มีนายทหารระดับล่างส่วนหนึ่งมีแผนการก่อกบฏขึ้นแต่ถูกจับได้เสียก่อน ปัจจัยที่เป็นเหตุให้นายทหารกลุ่มนี้คบคิดจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมี 5 ประการคือ
1.การขยายตัวของระบบราชการ โดยเฉพาะกองทัพทำให้เกิดปัญหาของการอุดตันในตำแหน่งที่มีอยู่อย่างจำกัด ประกอบกับการมีข้อได้เปรียบของเชื้อพระวงศ์ ทำให้คนที่ได้รับการศึกษา และเป็นข้าราชการเกิดความรู้สึกว่าโอกาสถูกปิดกั้น และมีความรู้สึกว่ามีความไม่เป็นธรรม
2.การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความใกล้ชิดกับข้าราชการมากขึ้น ทำให้ข้าราชการมีความหวาดกลัวพระราชอำนาจน้อยลง ความใกล้ชิดมีผลทำให้ความรู้สึกที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพหมดไป
3.การเปิดเสรีทางความคิด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปิดให้มีหนังสือพิมพ์ที่สามารถวิจารณ์ระบอบการปกครองได้อย่างเสรี ทำให้เกิดข้อวิจารณ์ระบอบ และชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของระบอบมากขึ้น
4.ความไม่พอใจของทหารที่มีการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น และกรณีการวิวาทระหว่างทหารกับมหาดเล็ก ทำให้ทหารที่ได้รับการลงโทษเกิดความไม่พอใจ
5.ความคิดเรื่องประชาธิปไตย และการจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์เริ่มแพร่หลายในหมู่คนที่มีการศึกษา และนำไปสู่การรวมกลุ่ม และการคบคิดล้มล้างระบอบในที่สุด
ในส่วนของผู้ปกครองเอง แม้จะรู้ว่ามีความคิดประชาธิปไตย แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เพราะไม่คิดว่าเป็นปัญหาสำคัญ และไม่คาดคิดว่าความคิดดังกล่าวจะแพร่หลายมีพลัง และสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
แต่ที่สำคัญก็คือ ผู้ปกครองเห็นว่าการให้ประชาชนมีสิทธิทางการเมืองจะมีปัญหา เพราะหากมีพรรคการเมือง กลุ่มคนที่จะได้เปรียบเพราะมีเงิน และมีการจัดตั้งรวมกลุ่มก็คือ คนจีน ซึ่งในยุคนั้นยังไม่มีความภักดีต่อแผ่นดินไทย
ด้วยความลังเล และความไม่เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยจะพร้อมสำหรับสยาม แม้ว่าจะมีผู้เสนอความเห็นให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการปรับปรุงระบบบริหารทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดจนการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้ทันสมัย ดังนั้น การพัฒนาจึงเป็นการพัฒนาระบบกฎหมาย และการบริหารมากกว่าที่จะเป็นการพัฒนาทางการเมือง
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐไทยจึงเป็นนิติรัฐที่มีความเข้มแข็ง ทั้งทางด้านรากฐานของกฎหมาย และทางด้านโครงสร้างทางการปกครอง
กล่าวคือ อำนาจรัฐได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อำนาจทางการเมืองจึงเป็นอำนาจที่อ่อนแอ และต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ
แม้คณะราษฎรจะได้อำนาจทางการเมือง แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายปีในการจัดการกับอำนาจรัฐ ที่สำคัญก็คือ ต้องทบทวนการจัดโครงสร้างอำนาจรัฐเสียใหม่ ให้อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมือง มาตรการที่สำคัญก็คือ อาศัยผู้มีตำแหน่งสำคัญทางราชการมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมให้มีพรรคการเมือง ดังนั้น แหล่งเดียวที่เป็นแหล่งป้อนบุคลากรทางการเมืองก็คือ ระบบราชการโดยเฉพาะกองทัพ
อย่างไรก็ดี จำนวนคนที่เข้าเป็นสมาชิกคณะราษฎร มีฐานทางสังคม-เศรษฐกิจกว้างกว่าคณะรศ. 130 เพราะมีทั้งทหาร พลเรือน และพ่อค้า ทหารเองก็มีนายทหารจากกองทัพเรือเข้าร่วมด้วย และก็มีนายทหารทั้งรุ่นหนุ่มและรุ่นอาวุโสรวมอยู่ในคณะราษฎร ในแง่นี้คณะราษฎรจึงมีลักษณะเป็นแนวร่วมพันธมิตรของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองแบบเก่ามากกว่าเป็นแนวร่วมของนักประชาธิปไตย ในแง่นี้ ทั้งคณะรศ. 130 และคณะราษฎรจึงเป็นกลุ่มปฏิกิริยา (reactive) มากกว่ากลุ่มอุดมการณ์ที่มีความเป็นปึกแผ่น
ทั้งคณะรศ. 130 และคณะราษฎรเป็นการก่อหวอดทางการเมืองที่ขาดการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง หากเป็นการก่อตัวทางการเมืองที่มีขอบเขตจำกัด และด้วยเหตุที่ผู้ร่วมในกลุ่มไม่ได้ต่อสู้ร่วมกันระยะยาว กลุ่มจึงเปราะบาง ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และแตกแยกกันในที่สุด
โดยสรุปแล้ว การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นเพียงการเปิดช่องทางให้กับข้าราชการได้ขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองแทนพระมหากษัตริย์ และข้าราชการเหล่านี้ก็ได้กระชับอำนาจรัฐให้เข้ากับอำนาจทางการเมือง ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้อยู่ภายใต้การปกครองเหมือนเดิม การมีส่วนร่วมเป็นการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่เป็นข้าราชการเท่านั้น และเป็นเหตุให้ประชาธิปไตยกลายเป็นเพียงข้ออ้างในการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น