ศูนย์ข่าวภูเก็ต - พบ “โลมาลายแถบ” เกยตื้นหาดกะตะ แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของ จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่นำรักษาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เบื้องต้น คาดป่วยภายใน ยังว่ายน้ำได้แต่ไม่แข็งแรง จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูอาการใกล้ชิด พร้อมเจาะเลือดตรวจหาสาเหตุ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (20 พ.ค.) ที่บริเวณชายหาดกะตะ ปากคลองปากบาง ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการ ประมงชำนาญการ กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน นายไพทูล แพชัยภูมิ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะลและชายฝั่ง ที่ 5 จ.ภูเก็ต พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เข้าทำการช่วยเหลือโลมาซึ่งว่ายน้ำเข้ามาเกยตื้นอยู่บริเวณชายหาดดังกล่าว
ในขณะที่เจ้าหน้าที่จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ ไปถึงบริเวณชายหาดดังกล่าว ห่างลงไปทะเลเล็กน้อย พบเจ้าหน้าที่ของศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทางทะเลเทศบาลตำบลกะรน และหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล ทัพเรือภาคที่ 3 ได้ทำการพยุงตัวของโลมาไว้ โดยนายก้องเกียรติ พร้อมเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ได้ลุยน้ำลงไปตรวจดูสภาพของโลมาเบื้องต้นด้วยการให้ว่ายน้ำ ซึ่งการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า โลมาดังกล่าวยังสามารถว่ายได้แต่สภาพร่างกายอ่อนเพลีย จึงได้ทำการรักษาในเบื้องต้นโดยการฉีดยากันช็อก จากนั้นได้ช่วยกันนำโลมาขึ้นจากทะเล เพื่อส่งไปดูแลรักษาและพักฟื้นที่บ่ออนุบาลสัตว์ทะเลที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป
สำหรับการช่วยเหลือโลมาดังกล่าว สืบเนื่องจากทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากได้รับแจ้งจากนายศุภชัย จันทร์เพ็ชร์ หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทางทะเลเทศบาลตำบลกะรน และหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล ทัพเรือภาคที่ 3 ซึ่งได้รับแจ้งจากพนักงานโรงแรมกะตะบีช รีสอร์ท อีกทอดหนึ่งว่า มีโลมาอยู่ในสภาพอ่อนเพลีย ว่ายน้ำมาเกยตื้นที่ชายหาดหน้าโรงแรม บริเวณหาดกะตะ ตรงข้ามคลองปากบาง ขอให้ไปทำการตรวจสอบ และช่วยเหลือด่วนเนื่องจากในทะเลมีคลื่นลมแรง โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการช่วยในเบื้องต้นด้วยการใช้เจ็ตสกีต้อนมาไว้ที่ชายหาด และช่วยกันประคองตัวโลมาไว้เพื่อไม่ให้จมน้ำ หรือถูกคลื่นซัดออกนอกฝั่ง โดยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติที่อยู่บริเวณหน้าชายหาดเป็นอย่างมาก
ขณะที่นายก้องเกียรติ กล่าวว่า โลมาที่ว่ายน้ำเข้ามาเกยหาดในครั้งนี้ เป็นลูกโลมาลายแถบ เพศเมีย อายุประมาณ 2 ปี และน่าจะยังอยู่กับแม่ น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ยาวประมาณ 1.20-1.30 เมตร ตรวจสอบสภาพภายนอกไม่พบบาดแผล มีเพียงรอยช้ำที่เกิดจากเชือกบริเวณหัวเล็กน้อย ยังสามารถว่ายน้ำได้ แต่ว่ายน้ำแบบตะแคง สภาพร่างกายค่อนข้างอ่อนเพลีย พบมีพยาธิบริเวณหาง ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีอาการป่วย หรือผิดปกติภายใน ซึ่งจะต้องเจาะเลือดไปตรวจเพื่อหาสาเหตุการป่วย
การเจาะเลือดไปตรวจนั้นจะให้ผลที่ชัดเจน และจะต้องทดลองให้อาหาร เนื่องจากในเบื้องต้นพบว่า มีอาการขาดน้ำด้วย โดยจะจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด หากพบอาการไม่ดีขึ้นก็ต้องทำอัลตราซาวนด์เพื่อดูอวัยวะภายในว่าเป็นอย่างไร มีความผิดปกติหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมา เคยมีการตรวจพบโลมากินขยะพลาสติกเข้าไป และทำให้เกิดการอุดตันระบบทางเดินอาหาร
นายก้องเกียรติ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโลมาลายแถบจะพบบ่อยบริเวณฝั่งตะวันตกของ จ.พังงา และภูเก็ต โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงละประมาณ 50 ตัว ซึ่งโลมาตัวดังกล่าวคาดว่าน่าจะพลัดหลงออกมาจากฝูง เนื่องจากคลื่นลมแรงและมีอาการอ่อนเพลีย แต่โดยปกติตามธรรมชาติแล้วโลมาชนิดนี้หากมีอาการเจ็บป่วย หรือไม่เข็งแรงก็จะถูกให้ออกจากฝูง หรืออาจจะว่ายน้ำเข้าฝั่ง เพื่อหาที่สงบรักษาตัว และเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอื่นๆ ในฝูงติดเชื้อตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในรอบปีนี้ยังไม่พบโลมาลายแถบเสียชีวิต แต่มีโลมาชนิดอื่น เช่น โลมาหลังโหนก โลมาอิระวดี เสียชีวิตแล้วประมาณ 7 ตัว ในพื้นที่ จ.พังงา ตรัง และ จ.สตูล
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (20 พ.ค.) ที่บริเวณชายหาดกะตะ ปากคลองปากบาง ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการ ประมงชำนาญการ กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน นายไพทูล แพชัยภูมิ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะลและชายฝั่ง ที่ 5 จ.ภูเก็ต พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เข้าทำการช่วยเหลือโลมาซึ่งว่ายน้ำเข้ามาเกยตื้นอยู่บริเวณชายหาดดังกล่าว
ในขณะที่เจ้าหน้าที่จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ ไปถึงบริเวณชายหาดดังกล่าว ห่างลงไปทะเลเล็กน้อย พบเจ้าหน้าที่ของศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทางทะเลเทศบาลตำบลกะรน และหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล ทัพเรือภาคที่ 3 ได้ทำการพยุงตัวของโลมาไว้ โดยนายก้องเกียรติ พร้อมเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ได้ลุยน้ำลงไปตรวจดูสภาพของโลมาเบื้องต้นด้วยการให้ว่ายน้ำ ซึ่งการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า โลมาดังกล่าวยังสามารถว่ายได้แต่สภาพร่างกายอ่อนเพลีย จึงได้ทำการรักษาในเบื้องต้นโดยการฉีดยากันช็อก จากนั้นได้ช่วยกันนำโลมาขึ้นจากทะเล เพื่อส่งไปดูแลรักษาและพักฟื้นที่บ่ออนุบาลสัตว์ทะเลที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป
สำหรับการช่วยเหลือโลมาดังกล่าว สืบเนื่องจากทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากได้รับแจ้งจากนายศุภชัย จันทร์เพ็ชร์ หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทางทะเลเทศบาลตำบลกะรน และหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล ทัพเรือภาคที่ 3 ซึ่งได้รับแจ้งจากพนักงานโรงแรมกะตะบีช รีสอร์ท อีกทอดหนึ่งว่า มีโลมาอยู่ในสภาพอ่อนเพลีย ว่ายน้ำมาเกยตื้นที่ชายหาดหน้าโรงแรม บริเวณหาดกะตะ ตรงข้ามคลองปากบาง ขอให้ไปทำการตรวจสอบ และช่วยเหลือด่วนเนื่องจากในทะเลมีคลื่นลมแรง โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการช่วยในเบื้องต้นด้วยการใช้เจ็ตสกีต้อนมาไว้ที่ชายหาด และช่วยกันประคองตัวโลมาไว้เพื่อไม่ให้จมน้ำ หรือถูกคลื่นซัดออกนอกฝั่ง โดยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติที่อยู่บริเวณหน้าชายหาดเป็นอย่างมาก
ขณะที่นายก้องเกียรติ กล่าวว่า โลมาที่ว่ายน้ำเข้ามาเกยหาดในครั้งนี้ เป็นลูกโลมาลายแถบ เพศเมีย อายุประมาณ 2 ปี และน่าจะยังอยู่กับแม่ น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ยาวประมาณ 1.20-1.30 เมตร ตรวจสอบสภาพภายนอกไม่พบบาดแผล มีเพียงรอยช้ำที่เกิดจากเชือกบริเวณหัวเล็กน้อย ยังสามารถว่ายน้ำได้ แต่ว่ายน้ำแบบตะแคง สภาพร่างกายค่อนข้างอ่อนเพลีย พบมีพยาธิบริเวณหาง ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีอาการป่วย หรือผิดปกติภายใน ซึ่งจะต้องเจาะเลือดไปตรวจเพื่อหาสาเหตุการป่วย
การเจาะเลือดไปตรวจนั้นจะให้ผลที่ชัดเจน และจะต้องทดลองให้อาหาร เนื่องจากในเบื้องต้นพบว่า มีอาการขาดน้ำด้วย โดยจะจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด หากพบอาการไม่ดีขึ้นก็ต้องทำอัลตราซาวนด์เพื่อดูอวัยวะภายในว่าเป็นอย่างไร มีความผิดปกติหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมา เคยมีการตรวจพบโลมากินขยะพลาสติกเข้าไป และทำให้เกิดการอุดตันระบบทางเดินอาหาร
นายก้องเกียรติ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโลมาลายแถบจะพบบ่อยบริเวณฝั่งตะวันตกของ จ.พังงา และภูเก็ต โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงละประมาณ 50 ตัว ซึ่งโลมาตัวดังกล่าวคาดว่าน่าจะพลัดหลงออกมาจากฝูง เนื่องจากคลื่นลมแรงและมีอาการอ่อนเพลีย แต่โดยปกติตามธรรมชาติแล้วโลมาชนิดนี้หากมีอาการเจ็บป่วย หรือไม่เข็งแรงก็จะถูกให้ออกจากฝูง หรืออาจจะว่ายน้ำเข้าฝั่ง เพื่อหาที่สงบรักษาตัว และเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอื่นๆ ในฝูงติดเชื้อตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในรอบปีนี้ยังไม่พบโลมาลายแถบเสียชีวิต แต่มีโลมาชนิดอื่น เช่น โลมาหลังโหนก โลมาอิระวดี เสียชีวิตแล้วประมาณ 7 ตัว ในพื้นที่ จ.พังงา ตรัง และ จ.สตูล