เห็นศาลรัฐธรรมนูญจัดสัมมนาสื่อครั้งสำคัญเมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมาแล้ว ก็ได้กลิ่นของความขัดแย้งขั้นรุนแรงยกใหม่ยกสำคัญในสังคมไทยขึ้นมาทันที
ไม่บ่อยครั้งนักที่องค์กรที่ได้ชื่อว่าศาลจะจัดงานเพื่อชี้แจงการทำงานของตนเองกับสังคมผ่านสื่อเช่นนี้
ไม่บ่อยครั้งนักที่จะเห็นผู้ใหญ่ของบ้านเมืองที่มีตำแหน่งประธานศาลออกมาชี้แจงและแสดงความเห็นต่อสาธารณะผ่านสื่อในประเด็นคดีความสำคัญที่ยังอยู่ในกระบวนพิจารณาที่ตัวท่านเองป็นหนึ่งในองค์คณะอยู่ด้วย แม้จะบอกว่าเป็นเพียงการยกตัวอย่างก็เถอะ
พูดตามตรงผมเชื่อว่านี่เป็นครั้งแรกเสียด้วยซ้ำ!
ศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญ บอกวัตถุประสงค์ว่าเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนผ่านสื่อ แต่เหมือนท่านจะไม่เข้าใจธรรมชาติของสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรมชาติของสื่อไทย จึงเกิดปรากฏการณ์ที่หลังจากยกตัวอย่างคดีสำคัญตอนต้น พอถึงตอนท้ายท่านก็ต้องออกตัวตัดพ้อว่าที่สื่อออนไลน์นำไปถ่ายทอดเป็นพาดหัวข่าวไม่กี่นาทีหลังจากนั้นน่าจะไม่ตรงกับที่ท่านพูด เล่นเอานักวิชาการสื่อชื่อดังที่ร่วมอยู่ด้วยต้องชี้แจงขั้นตอนและกระบวนการทำงานของสื่อไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพาดหัวข่าวที่ต้องมีลักษณะจับประเด็นเด่นมาเรียกร้องความสนใจโดยในบางครั้งก็ตีความขยายความเองเพื่อความชัดเจนเข้าไปด้วย
เลยไม่แน่ใจว่างานครั้งนี้ของศาลรัฐธรมนูญบรรลุผลหรือไม่?
หนึ่งในปัญหาใหญ่ของสังคมไทยประการสำคัญอยู่ที่สื่อ โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อโทรทัศน์วิทยุกระแสหลัก หรือพูดให้เข้าเป้าก็คือฟรีทีวีทั้งลายที่ใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติทำมาหากินอยู่ทุกวันนี้
ถ้าสื่อกระแสหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟรีทีวีทำหน้าที่สื่อมวลชนได้สมบูรณ์กว่านี้ ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่จำเป็นต้องจัดงานเมื่อวันศุกร์ด้วยซ้ำ
ไม่ว่าใครจะถูกใครจะผิด แต่การแก้ไรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ครั้งนี้มีประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวง ทั้งทางการเมือง และทางวิชาการ มีการนำเสนอประเด็นใหญ่ๆ ออกมามากมายระหว่างนักวิชาการต่างสำนักหรือแม้แต่สำนักเดียวกันแต่ต่างความคิดเห็นต่างสถาบันที่เล่าเรียนมาจากต่างประเทศ อย่างสิ่งที่เรียกว่าอำนาจตั้งแผ่นดิน หรืออำนาจบัญญัติรัฐธรรมนูญและจัดให้มีองค์รทางการเมือง หรือที่ภาษาวิชาการเรียกว่า Pouvoir Constituant ซึ่งถ้าจะทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนแล้วมีประเด็นให้พูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในข่วงครบรอบ 80 ปีการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
แม้แต่การเปรียบเทียบว่าแก้ 291 ครั้งนี้เหมือนแก้ 211 เมื่อปี 2539 ผมก็ไม่เห็นสื่อทำข่าวง่ายๆ ให้เห็นเลยว่าไม่จริง และแสดงให้เห็นว่ามันต่างกันในสาระสำคัญอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงว่ารัฐธรรมนูญ 2534 ที่ถูกแก้มาตรา 211 ในครั้งนั้นไม่มีมาตราในทำนองมาตรา 68 เหมือนรัฐธรมนูญ 2550
เอาแค่ว่าแก้ 291 ครั้งนี้ไปแล้วไปลับไม่กลับมาให้รัฐสภาอนุมัติอีกก็ต่างกันราวฟ้ากับดินแล้ว
เอาละ หยุดการถกเถียงว่าอำนาจตั้งแผ่นดินเป็นของรัฐสภาหรือไม่เอาไว้ก่อน และสมมติเรายินยอมเชื่อว่าอำนาจนี้เป็นของรัฐสภา
คำถามใหญ่ที่สุดในทางทฤษฎีก็คือรัฐสภาที่ถืออำนาจสูงสุดนี้สามารถยกให้คนอื่นองค์กรอื่นไปทำแทนโดยไม่กลับมาให้ตนเองอนุมัติอีกได้ง่ายๆ อย่างนั้นหรือ?
ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิที่จะตรวจสอบการกระทำเยี่ยงนี้เลยหรือ?
การกระทำของรัฐสภาที่ยกอำนาจตั้งแผ่นดินของตัวเองไปให้คนอื่น องค์กรอื่น แบบไปแล้วไปลับไม่กลับมาอีกเลยนี้ ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญขนานนามเสียใหม่ให้เห็นภาพชัดเจนว่ามันเข้าลักษณะ...
“ขายขาด”
เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจประเด็นในรายละเอียด และสื่อก็ไม่ได้ช่วยมากนัก ศาลท่านคงเห็นความจำเป็นที่จะต้องออกมาทำความเข้าใจก่อนที่ผลของคำวินิจฉัยจะออกมาภายในเดือนสองเดือนนี้ เพราะจะหวังให้ภาครัฐช่วยทำความเข้าใจให้ก็เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากครั้งนี้เป็นคู่กรณีกันโดยตรง
ผมจึงเห็นใจและเข้าใจศาลรัฐธรรมนญที่ดูเหมือนโดดเดี่ยวเหลือเกินในภารกิจสำคัญ
แม้ว่าอาจจะตกใจอยู่สักหน่อยกับปรากฏการณ์ที่อุบัติขึ้น
เพราะโดยปกติตุลาการจะไม่ใช่คนที่ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับใคร โดยเฉพาะการให้ความเห็นในประเด็นคดีความที่ยังอยู่ในกระบวนพิจารณา หากจำเป็นจริงๆ ก็มักจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายธุรการ
ศาลท่านคงตัดสินใจบนพื้นฐานที่ตระหนักชัดว่านี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ จะสงวนตัวอยู่แต่บนบัลลังก์หาได้ไม่
เห็นประธานศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงคดีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับมาตุฆาตอัตวินิบาตกรรมว่าเป็นการแก้ไขแบบขายขาด มีแนวโน้มอาจขัดมาตรา 68 เห็นการที่สำนักงานศาลรัฐธรมนูญไปแจ้งขอให้ถอนประกันนายจตุพร พรหมพันธุ์ ผนวกกับการเห็นกองทัพเริ่มซีเรียสกับการไต่สวนคดี 6 ศพวัดปทุวนาราม และเห็นการจัดตั้งมวลชนจัดตั้งกลุ่มขึ้นกระทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์อย่างถี่ แม้กระทั่งผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยก็ยังจัดตั้งรวมกลุ่มออกมาหลายพันคน
ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เห็นการระดมพลจัดชุมนุมใหญ่เชิงสัญลักษณ์เนื่องในโอกาส 80 ปีการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ของคณะราษฎร พร้อมๆ กับการเผยแพร่ประเด็นหลักให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันว่าความตั้งใจสูงสุดของคณะราษฎรคือต้องการให้อำนาจสูงสุดอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร
ไม่ต้องเป็นนักวิเคราะห์ไม่ต้องเป็นโหราจารย์ก็ได้กลิ่นความขัดแย้งขั้นรุนแรงโชยใกล้เข้ามา
เป็นความขัดแย้งที่ลงรากลึกยากจะยุติกันได้ง่ายๆ
ประเทศไทยมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในระดับปฏิวัติมาครั้งหนึ่งในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 อาจจะถือตลอดรัชสมัยของพระองค์ หรือจะถือปีปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี 2435 ก็ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างชนิดเกือบจะรอบด้าน จากนั้นก็มีการรัฐประหารของข้าราชการทหารพลเรือนที่มีลักษณะปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่จากนั้นเพียงไม่ถึง 1 ปีก็เกิดการรัฐประหารเงียบ แล้วก็รัฐประหารกลับ และเกิดการต่อสู้กันในหมู่คณะที่ก่อการมาด้วยกันจนเกิดการรัฐประหารครั้งสำคัญในปี 2490 ประชาธิปไตยที่ได้มาจึงมีเพียงรูปแบบ ทั้งครึ่งๆ กลางๆ และลุ่มๆ ดอนๆ ต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2500 ก็เกิดการรัฐประหารพลิกประเทศกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการทหารเสียเกือบ 20 ปี การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงกลับมาอีกครั้งแต่ก็ไม่ยั่งยืน
หลังการนองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 เราพูดกันมากถึงการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์ ผลที่ได้ล่าช้าและเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์เดิม รัฐธรรมนูญ 2540 แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี แต่ก็ถูกนายทุนที่มั่งคั่งที่สุดคนหนึ่งของประเทศที่เข้ามาแสวงอำนาจทางการเมืองอาศัยช่องว่างบิดเบือนจนตายไปก่อนที่จะถูกฉีกในการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ต่ำกว่า 2 ปี และตั้งแต่ปลายปี 2551 จนถึงกลางปี 2554 เรามีการนองเลือดถึง 2 ครั้งในเดือนเมษายน 2553 และเดือนพฤษภาคม 2553 แต่รัฐบาลก็ไม่ใช้โอกาสนั้นดำเนินการปฏิรูปใหญ่
เศรษฐกิจประเทศไทยก้าวไปไกลบนหนทางทุนนิยมเสรี แต่การเมืองระบอบประชาธิปไตยยังพิกลพิการ
ลักษณะขัดแย้งกันเช่นนี้คือบ่อเกิดแห่งความรุนแรงที่คุกรุ่นมาโดยตลอด
กลิ่นความขัดแย้งขั้นรุนแรงครั้งนี้จึงหนักหนาสาหัสนัก
ไม่บ่อยครั้งนักที่องค์กรที่ได้ชื่อว่าศาลจะจัดงานเพื่อชี้แจงการทำงานของตนเองกับสังคมผ่านสื่อเช่นนี้
ไม่บ่อยครั้งนักที่จะเห็นผู้ใหญ่ของบ้านเมืองที่มีตำแหน่งประธานศาลออกมาชี้แจงและแสดงความเห็นต่อสาธารณะผ่านสื่อในประเด็นคดีความสำคัญที่ยังอยู่ในกระบวนพิจารณาที่ตัวท่านเองป็นหนึ่งในองค์คณะอยู่ด้วย แม้จะบอกว่าเป็นเพียงการยกตัวอย่างก็เถอะ
พูดตามตรงผมเชื่อว่านี่เป็นครั้งแรกเสียด้วยซ้ำ!
ศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญ บอกวัตถุประสงค์ว่าเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนผ่านสื่อ แต่เหมือนท่านจะไม่เข้าใจธรรมชาติของสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรมชาติของสื่อไทย จึงเกิดปรากฏการณ์ที่หลังจากยกตัวอย่างคดีสำคัญตอนต้น พอถึงตอนท้ายท่านก็ต้องออกตัวตัดพ้อว่าที่สื่อออนไลน์นำไปถ่ายทอดเป็นพาดหัวข่าวไม่กี่นาทีหลังจากนั้นน่าจะไม่ตรงกับที่ท่านพูด เล่นเอานักวิชาการสื่อชื่อดังที่ร่วมอยู่ด้วยต้องชี้แจงขั้นตอนและกระบวนการทำงานของสื่อไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพาดหัวข่าวที่ต้องมีลักษณะจับประเด็นเด่นมาเรียกร้องความสนใจโดยในบางครั้งก็ตีความขยายความเองเพื่อความชัดเจนเข้าไปด้วย
เลยไม่แน่ใจว่างานครั้งนี้ของศาลรัฐธรมนูญบรรลุผลหรือไม่?
หนึ่งในปัญหาใหญ่ของสังคมไทยประการสำคัญอยู่ที่สื่อ โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อโทรทัศน์วิทยุกระแสหลัก หรือพูดให้เข้าเป้าก็คือฟรีทีวีทั้งลายที่ใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติทำมาหากินอยู่ทุกวันนี้
ถ้าสื่อกระแสหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟรีทีวีทำหน้าที่สื่อมวลชนได้สมบูรณ์กว่านี้ ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่จำเป็นต้องจัดงานเมื่อวันศุกร์ด้วยซ้ำ
ไม่ว่าใครจะถูกใครจะผิด แต่การแก้ไรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ครั้งนี้มีประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวง ทั้งทางการเมือง และทางวิชาการ มีการนำเสนอประเด็นใหญ่ๆ ออกมามากมายระหว่างนักวิชาการต่างสำนักหรือแม้แต่สำนักเดียวกันแต่ต่างความคิดเห็นต่างสถาบันที่เล่าเรียนมาจากต่างประเทศ อย่างสิ่งที่เรียกว่าอำนาจตั้งแผ่นดิน หรืออำนาจบัญญัติรัฐธรรมนูญและจัดให้มีองค์รทางการเมือง หรือที่ภาษาวิชาการเรียกว่า Pouvoir Constituant ซึ่งถ้าจะทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนแล้วมีประเด็นให้พูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในข่วงครบรอบ 80 ปีการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
แม้แต่การเปรียบเทียบว่าแก้ 291 ครั้งนี้เหมือนแก้ 211 เมื่อปี 2539 ผมก็ไม่เห็นสื่อทำข่าวง่ายๆ ให้เห็นเลยว่าไม่จริง และแสดงให้เห็นว่ามันต่างกันในสาระสำคัญอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงว่ารัฐธรรมนูญ 2534 ที่ถูกแก้มาตรา 211 ในครั้งนั้นไม่มีมาตราในทำนองมาตรา 68 เหมือนรัฐธรมนูญ 2550
เอาแค่ว่าแก้ 291 ครั้งนี้ไปแล้วไปลับไม่กลับมาให้รัฐสภาอนุมัติอีกก็ต่างกันราวฟ้ากับดินแล้ว
เอาละ หยุดการถกเถียงว่าอำนาจตั้งแผ่นดินเป็นของรัฐสภาหรือไม่เอาไว้ก่อน และสมมติเรายินยอมเชื่อว่าอำนาจนี้เป็นของรัฐสภา
คำถามใหญ่ที่สุดในทางทฤษฎีก็คือรัฐสภาที่ถืออำนาจสูงสุดนี้สามารถยกให้คนอื่นองค์กรอื่นไปทำแทนโดยไม่กลับมาให้ตนเองอนุมัติอีกได้ง่ายๆ อย่างนั้นหรือ?
ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิที่จะตรวจสอบการกระทำเยี่ยงนี้เลยหรือ?
การกระทำของรัฐสภาที่ยกอำนาจตั้งแผ่นดินของตัวเองไปให้คนอื่น องค์กรอื่น แบบไปแล้วไปลับไม่กลับมาอีกเลยนี้ ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญขนานนามเสียใหม่ให้เห็นภาพชัดเจนว่ามันเข้าลักษณะ...
“ขายขาด”
เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจประเด็นในรายละเอียด และสื่อก็ไม่ได้ช่วยมากนัก ศาลท่านคงเห็นความจำเป็นที่จะต้องออกมาทำความเข้าใจก่อนที่ผลของคำวินิจฉัยจะออกมาภายในเดือนสองเดือนนี้ เพราะจะหวังให้ภาครัฐช่วยทำความเข้าใจให้ก็เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากครั้งนี้เป็นคู่กรณีกันโดยตรง
ผมจึงเห็นใจและเข้าใจศาลรัฐธรรมนญที่ดูเหมือนโดดเดี่ยวเหลือเกินในภารกิจสำคัญ
แม้ว่าอาจจะตกใจอยู่สักหน่อยกับปรากฏการณ์ที่อุบัติขึ้น
เพราะโดยปกติตุลาการจะไม่ใช่คนที่ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับใคร โดยเฉพาะการให้ความเห็นในประเด็นคดีความที่ยังอยู่ในกระบวนพิจารณา หากจำเป็นจริงๆ ก็มักจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายธุรการ
ศาลท่านคงตัดสินใจบนพื้นฐานที่ตระหนักชัดว่านี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ จะสงวนตัวอยู่แต่บนบัลลังก์หาได้ไม่
เห็นประธานศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงคดีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับมาตุฆาตอัตวินิบาตกรรมว่าเป็นการแก้ไขแบบขายขาด มีแนวโน้มอาจขัดมาตรา 68 เห็นการที่สำนักงานศาลรัฐธรมนูญไปแจ้งขอให้ถอนประกันนายจตุพร พรหมพันธุ์ ผนวกกับการเห็นกองทัพเริ่มซีเรียสกับการไต่สวนคดี 6 ศพวัดปทุวนาราม และเห็นการจัดตั้งมวลชนจัดตั้งกลุ่มขึ้นกระทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์อย่างถี่ แม้กระทั่งผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยก็ยังจัดตั้งรวมกลุ่มออกมาหลายพันคน
ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เห็นการระดมพลจัดชุมนุมใหญ่เชิงสัญลักษณ์เนื่องในโอกาส 80 ปีการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ของคณะราษฎร พร้อมๆ กับการเผยแพร่ประเด็นหลักให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันว่าความตั้งใจสูงสุดของคณะราษฎรคือต้องการให้อำนาจสูงสุดอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร
ไม่ต้องเป็นนักวิเคราะห์ไม่ต้องเป็นโหราจารย์ก็ได้กลิ่นความขัดแย้งขั้นรุนแรงโชยใกล้เข้ามา
เป็นความขัดแย้งที่ลงรากลึกยากจะยุติกันได้ง่ายๆ
ประเทศไทยมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในระดับปฏิวัติมาครั้งหนึ่งในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 อาจจะถือตลอดรัชสมัยของพระองค์ หรือจะถือปีปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี 2435 ก็ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างชนิดเกือบจะรอบด้าน จากนั้นก็มีการรัฐประหารของข้าราชการทหารพลเรือนที่มีลักษณะปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่จากนั้นเพียงไม่ถึง 1 ปีก็เกิดการรัฐประหารเงียบ แล้วก็รัฐประหารกลับ และเกิดการต่อสู้กันในหมู่คณะที่ก่อการมาด้วยกันจนเกิดการรัฐประหารครั้งสำคัญในปี 2490 ประชาธิปไตยที่ได้มาจึงมีเพียงรูปแบบ ทั้งครึ่งๆ กลางๆ และลุ่มๆ ดอนๆ ต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2500 ก็เกิดการรัฐประหารพลิกประเทศกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการทหารเสียเกือบ 20 ปี การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงกลับมาอีกครั้งแต่ก็ไม่ยั่งยืน
หลังการนองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 เราพูดกันมากถึงการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์ ผลที่ได้ล่าช้าและเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์เดิม รัฐธรรมนูญ 2540 แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี แต่ก็ถูกนายทุนที่มั่งคั่งที่สุดคนหนึ่งของประเทศที่เข้ามาแสวงอำนาจทางการเมืองอาศัยช่องว่างบิดเบือนจนตายไปก่อนที่จะถูกฉีกในการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ต่ำกว่า 2 ปี และตั้งแต่ปลายปี 2551 จนถึงกลางปี 2554 เรามีการนองเลือดถึง 2 ครั้งในเดือนเมษายน 2553 และเดือนพฤษภาคม 2553 แต่รัฐบาลก็ไม่ใช้โอกาสนั้นดำเนินการปฏิรูปใหญ่
เศรษฐกิจประเทศไทยก้าวไปไกลบนหนทางทุนนิยมเสรี แต่การเมืองระบอบประชาธิปไตยยังพิกลพิการ
ลักษณะขัดแย้งกันเช่นนี้คือบ่อเกิดแห่งความรุนแรงที่คุกรุ่นมาโดยตลอด
กลิ่นความขัดแย้งขั้นรุนแรงครั้งนี้จึงหนักหนาสาหัสนัก