ถ้าย้อนกลับไปอ่านบทความของผมหลายๆ ตอนตั้งแต่มีนายกฯ ชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผมวิจารณ์ไปที่ตัวนายกฯ ตรงๆ น้อยมาก นั่นก็เพราะผมคิดว่าผมไม่ได้ให้ราคาเธอและผมไม่นับเป็นนายกฯ โดยพฤตินัยของผม แต่เธอเป็นนายกฯ โดยนิตินัยเท่านั้น
ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องป่วยการที่จะพูดถึงเธอ
เพราะผมคิดว่าแม้เธอจะเป็นนายกฯ ตามกฎหมาย ผ่านพิธีกรรมการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักการปกครองของประเทศ แต่การกระทำ การปฏิบัติของเธอบนเก้าอี้นายกฯ นั้น ตอบคำถามเราว่าเธอไม่มีความสามารถจะนั่งเก้าอี้ที่มีความรับผิดชอบขนาดนี้ได้
เธอไม่มีความรู้ ไม่มีสติปัญญา และไม่มีภาวะที่จะโน้มนำให้เราเชื่อได้เลยว่า เธอจะปกครองประเทศโดยใช้ความสามารถของตัวเธอเองได้
พูดตรงๆ นะครับ ผมว่าเธอกลวงมากๆ ผมไม่ได้พูดสรุปเอาจากอคติหรือความเกลียดชังแต่ประมวลเอาจากพฤติการณ์และสถานะของเธอหลังจากได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นต้นมา
ผมเคยอดสูใจตอนที่พรรคประชาธิปัตย์พูดจาทำนองว่า คนใต้นั้นประชาธิปัตย์ส่งเสาไฟฟ้าลงคนใต้ก็เลือก เพราะมันไม่ได้อธิบายความเชื่อมั่นศรัทธาของคนใต้ต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างโอหังเพียงอย่างเดียว แต่ด้านกลับมันอธิบายถึงการหมิ่นแคลนคนใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย และมันบ่งบอกลึกลงไปให้คนเข้าใจได้ด้วยว่า นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์นั้น มองคนใต้ด้วยทัศนะอย่างไร
แต่พอผมเจอภาวะที่ต้องจำยอมให้ผู้หญิงชื่อยิ่งลักษณ์รับบทเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยพิธีกรรมระบอบประชาธิปไตย ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นนิยามที่อธิบายประชาธิปไตยแบบไทยๆ ได้ดีที่สุด
เพราะพิธีกรรมการสืบทอดอำนาจวงศ์ตระกูลแบบไม่ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถแบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในประเทศประชาธิปไตยที่เข้าใจประชาธิปไตยจริงๆ ได้ แต่น่าจะเกิดขึ้นในการสืบทอดอำนาจแบบเผด็จการหรือแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากกว่า แต่มันก็เกิดขึ้นแล้วในประเทศของเรา คือ พรรคการเมืองใส่พานขึ้นมาเป็นนายกฯ เพราะนายทุนเจ้าของพรรคสั่งให้ดำเนินการ
วันก่อนผมอ่านข่าวเจอนัยทำนองนี้จากปากชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการที่มีจุดยืนเข้าข้างรัฐเขมรในวงอภิปรายแห่งหนึ่ง จนผมรู้สึกอยากจะอาเจียนและสมเพช “ผีโม่แป้ง” อยู่ไม่น้อย
“ผมคิดว่าประเด็นสำคัญของผู้นำในอุษาคเนย์ อาเซียนของเราคือ “สายพันธุ์” ซึ่งประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะการเมืองอะไรของเรา ก็ค่อนข้างใหม่ คือ เราไม่มีระบบการเมืองเป็นเวลายาวนานในแง่ของประชาธิปไตย ที่โอกาสจะเปิดให้กับคนมีความสามารถได้ เวลาเราดูตัวอย่างที่ไปไกลมากๆ คือ สหรัฐอเมริกา มันเปิดใครก็ได้ แต่ในเอเชีย ต้องเป็น “สายพันธุ์” DNA สายเลือดนี่แหละครับ ผมคิดว่า ในเมืองไทยก็เหมือนกัน ผมคิดว่า คุณยิ่งลักษณ์ ก็ได้สายพันธุ์จากคุณทักษิณนั่นละ คนเห็น ก็เออ ใช่ ... สายพันธุ์ดี หน้าตาดี แล้วยังฉลาดอีก ถ้าเราไปดูตอนที่ซูจีอยู่เกียวโต เซนเตอร์ของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เธอเขียนบทความแนะนำประเทศ “มารู้จักพม่าของเราเถอะ” ดูกระจุ๋มกระจิ๋มมากเลย ดูแบบคิขุ อาโนเนะ ไม่ได้มาพูดเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กลายเป็นเรื่องธรรมดามากๆ เลย แต่ว่า คนที่ดูไม่ฉลาดเนี่ย น่ากลัวนะครับ” นายชาญวิทย์กล่าว
ผมไม่รู้ว่าชาญวิทย์กำลังจะอธิบายอะไร เธออาจต้องการจะบอกว่า ที่เรากำลังพูดถึงความหน่อมแน้มไร้สาระของยิ่งลักษณ์อยู่นั้น ซูจีก็เคยเป็นทำนองนี้มาก่อน อาจต้องการบอกว่า จะเอาอะไรนักหนากับประเทศที่คนยังไม่ค่อยเข้าใจระบอบประชาธิปไตยเลือกได้แค่นี้ก็ดีถมเถแล้ว
ชาญวิทย์พูดเรื่องนี้ในงานเสวนาวิชาการอุษาคเนย์สาธารณะหัวข้อ “อองซาน ซูจี กับการเมืองพม่า : หลังการเลือกตั้งซ่อม” ณ ห้อง 301 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งถ้าใครติดตามจะพบว่า ผู้อภิปรายในหัวข้อนี้พยายามพูดเปรียบเปรยให้เห็นว่า ยิ่งลักษณ์กับซูจีนั้นมีอะไรที่ไม่ต่างกันเลย
ผู้อภิปรายร่วมกับชาญวิทย์ในวันนั้นคนหนึ่งบอกว่า “เวลาไปไฮด์ปาร์กที่ไหน ปรากฏการณ์ก็จะคล้ายๆ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นปรากฏการณ์เดียวกัน ซึ่ง 2 คนนี้ มีที่มาแทบไม่ต่างกัน เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้ว ประสบการณ์ซูจี ก่อนหน้าตอนที่เธอกลับมาพม่า ก็มีประสบการณ์น้อยกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยซ้ำ อย่างน้อย น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีพี่ชายเป็นนักการเมือง ครอบครัวเป็นนักการเมืองร่วมสมัย ขณะที่คุณพ่อของซูจี เสียชีวิตตอนซูจี 2 ขวบ เธอไม่มีอะไรในหัวเกี่ยวกับพ่อ เธอยังทำงานวิจัยค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพ่ออยู่เลย”
เป็นนัยว่า เมื่อเทียบกันแล้วยิ่งลักษณ์ยังมีอะไรดีกว่าซูจีตั้งเยอะ
ผมก็ออกจะชื่นชมอองซาน ซูจีนะครับ ด้านหนึ่งผมจึงคิดว่า เอายิ่งลักษณ์มาเปรียบกับซูจีเนี่ยนะ ตอนเริ่มต้นกลับเข้าไปประเทศและเหตุการณ์ชักนำให้ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ทางการเมือง ซูจีอาจจะไม่มีพื้นฐานทางการเมืองก็จริง แต่หลังผ่านการต่อสู้มา 20-30 ปีจนซูจีอายุ 60 กว่าจะ 70 แล้วนี่ผมคิดว่าเธอน่าจะมีประวัติการต่อสู้ทางการเมืองสะท้อนทัศนคติความคิดและอุดมการณ์ออกมาให้ประชาชนได้รับรู้พอสมควรแล้ว หากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในวันข้างหน้าเธอก็จะเป็นประธานาธิบดีที่มีภูมิหลังในการต่อสู้ทางการเมืองไม่ได้ตัวเปล่าเล่าเปลือยกลวงโบ๋แบบยิ่งลักษณ์แน่
ส่วนถึงเวลาเธอจะทำงานได้จริงและนำพาประเทศชาติได้หรือไม่หรือต้องเป็นหุ่นยนต์ให้คนมากดปุ่มแบบยิ่งลักษณ์หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ไม่มีอะไรเปรียบเทียบซูจีกับยิ่งลักษณ์ที่ไม่เคยมีประวัติการต่อสู้ทางการเมืองมาก่อน ใช้เวลา 40 กว่าวันแล้วก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีจากบารมีของพี่ชาย และเมื่อได้นายกรัฐมนตรีแล้วก็พิสูจน์ได้ว่าเธอไม่มีความสามารถจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้เลย
ที่สำคัญผมไม่คิดว่า การเลือกผู้นำทางการเมืองจากการสืบสายพันธุ์มาเป็นตัวบ่งชี้ที่ถูกต้องในระบอบประชาธิปไตย นอกจากเห็นเขาทำกันในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีหรือเกาหลีเหนือเท่านั้นเอง
แปลกไหมครับเวลาจะปฏิเสธสถาบันพระมหากษัตริย์แบบไทยๆ ชาญวิทย์บอกว่า สถาบันกษัตริย์ โลกก็มีมาตรฐาน สถาบันที่ไหน เป็นมาตรฐานของโลก คิดว่าอังกฤษ หนีไม่พ้น เราต้องดูว่ามาตรฐานสูงสุดอยู่ที่ไหน ถึงใครจะบอกว่า ต้องเป็น ไทยแท้ๆ เป็นพม่าแท้ๆ ซูจีไปเชียงตุง แต่งชุดไทยใหญ่ ทำไมไม่แต่งชุดพม่า อ้าว บางอย่างมันก็มีมาตรฐานของมันละนะ คุณไปต่างประเทศ ก็ต้องแต่งตัวแบบนั้นให้เข้ากับสถานการณ์อะไรก็ตาม คือรวมความแล้ว มองว่าสิ่งที่เราเห็นบ่อยๆ คำว่า นานาอารยประเทศสากล ยังไงก็เป็นมาตรฐาน ไม่มีใครอยากอยู่ล้าหลังด้อย แล้วแฮปปี้กับความล้าหลัง มนุษย์ต้องการไปกับอนาคต
แต่ตลกไหมครับ อ้างว่าเราต้องเป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก สถาบันกษัตริย์ต้องดูแบบมาตรฐานอังกฤษ แต่พอได้นายกฯ แบบยิ่งลักษณ์กลับบอกว่า เอเชียก็ต้องเลือกนายกฯ แบบ “สายพันธุ์” DNA สายเลือดนี่แหละ
หรือต่อไปนี้นักการเมืองไทยต้องมีอะไรคล้ายๆ เพดดิกรี (Pedigree) ด้วย แต่ผมว่าสายพันธุ์ของยิ่งลักษณ์โดยรวมนั้นน่าจะตรงข้ามกับที่ชาญวิทย์บอกว่า สายพันธุ์ดี หน้าตาดี แล้วยังฉลาดอีกด้วยนะ
ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องป่วยการที่จะพูดถึงเธอ
เพราะผมคิดว่าแม้เธอจะเป็นนายกฯ ตามกฎหมาย ผ่านพิธีกรรมการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักการปกครองของประเทศ แต่การกระทำ การปฏิบัติของเธอบนเก้าอี้นายกฯ นั้น ตอบคำถามเราว่าเธอไม่มีความสามารถจะนั่งเก้าอี้ที่มีความรับผิดชอบขนาดนี้ได้
เธอไม่มีความรู้ ไม่มีสติปัญญา และไม่มีภาวะที่จะโน้มนำให้เราเชื่อได้เลยว่า เธอจะปกครองประเทศโดยใช้ความสามารถของตัวเธอเองได้
พูดตรงๆ นะครับ ผมว่าเธอกลวงมากๆ ผมไม่ได้พูดสรุปเอาจากอคติหรือความเกลียดชังแต่ประมวลเอาจากพฤติการณ์และสถานะของเธอหลังจากได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นต้นมา
ผมเคยอดสูใจตอนที่พรรคประชาธิปัตย์พูดจาทำนองว่า คนใต้นั้นประชาธิปัตย์ส่งเสาไฟฟ้าลงคนใต้ก็เลือก เพราะมันไม่ได้อธิบายความเชื่อมั่นศรัทธาของคนใต้ต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างโอหังเพียงอย่างเดียว แต่ด้านกลับมันอธิบายถึงการหมิ่นแคลนคนใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย และมันบ่งบอกลึกลงไปให้คนเข้าใจได้ด้วยว่า นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์นั้น มองคนใต้ด้วยทัศนะอย่างไร
แต่พอผมเจอภาวะที่ต้องจำยอมให้ผู้หญิงชื่อยิ่งลักษณ์รับบทเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยพิธีกรรมระบอบประชาธิปไตย ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นนิยามที่อธิบายประชาธิปไตยแบบไทยๆ ได้ดีที่สุด
เพราะพิธีกรรมการสืบทอดอำนาจวงศ์ตระกูลแบบไม่ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถแบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในประเทศประชาธิปไตยที่เข้าใจประชาธิปไตยจริงๆ ได้ แต่น่าจะเกิดขึ้นในการสืบทอดอำนาจแบบเผด็จการหรือแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากกว่า แต่มันก็เกิดขึ้นแล้วในประเทศของเรา คือ พรรคการเมืองใส่พานขึ้นมาเป็นนายกฯ เพราะนายทุนเจ้าของพรรคสั่งให้ดำเนินการ
วันก่อนผมอ่านข่าวเจอนัยทำนองนี้จากปากชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการที่มีจุดยืนเข้าข้างรัฐเขมรในวงอภิปรายแห่งหนึ่ง จนผมรู้สึกอยากจะอาเจียนและสมเพช “ผีโม่แป้ง” อยู่ไม่น้อย
“ผมคิดว่าประเด็นสำคัญของผู้นำในอุษาคเนย์ อาเซียนของเราคือ “สายพันธุ์” ซึ่งประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะการเมืองอะไรของเรา ก็ค่อนข้างใหม่ คือ เราไม่มีระบบการเมืองเป็นเวลายาวนานในแง่ของประชาธิปไตย ที่โอกาสจะเปิดให้กับคนมีความสามารถได้ เวลาเราดูตัวอย่างที่ไปไกลมากๆ คือ สหรัฐอเมริกา มันเปิดใครก็ได้ แต่ในเอเชีย ต้องเป็น “สายพันธุ์” DNA สายเลือดนี่แหละครับ ผมคิดว่า ในเมืองไทยก็เหมือนกัน ผมคิดว่า คุณยิ่งลักษณ์ ก็ได้สายพันธุ์จากคุณทักษิณนั่นละ คนเห็น ก็เออ ใช่ ... สายพันธุ์ดี หน้าตาดี แล้วยังฉลาดอีก ถ้าเราไปดูตอนที่ซูจีอยู่เกียวโต เซนเตอร์ของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เธอเขียนบทความแนะนำประเทศ “มารู้จักพม่าของเราเถอะ” ดูกระจุ๋มกระจิ๋มมากเลย ดูแบบคิขุ อาโนเนะ ไม่ได้มาพูดเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กลายเป็นเรื่องธรรมดามากๆ เลย แต่ว่า คนที่ดูไม่ฉลาดเนี่ย น่ากลัวนะครับ” นายชาญวิทย์กล่าว
ผมไม่รู้ว่าชาญวิทย์กำลังจะอธิบายอะไร เธออาจต้องการจะบอกว่า ที่เรากำลังพูดถึงความหน่อมแน้มไร้สาระของยิ่งลักษณ์อยู่นั้น ซูจีก็เคยเป็นทำนองนี้มาก่อน อาจต้องการบอกว่า จะเอาอะไรนักหนากับประเทศที่คนยังไม่ค่อยเข้าใจระบอบประชาธิปไตยเลือกได้แค่นี้ก็ดีถมเถแล้ว
ชาญวิทย์พูดเรื่องนี้ในงานเสวนาวิชาการอุษาคเนย์สาธารณะหัวข้อ “อองซาน ซูจี กับการเมืองพม่า : หลังการเลือกตั้งซ่อม” ณ ห้อง 301 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งถ้าใครติดตามจะพบว่า ผู้อภิปรายในหัวข้อนี้พยายามพูดเปรียบเปรยให้เห็นว่า ยิ่งลักษณ์กับซูจีนั้นมีอะไรที่ไม่ต่างกันเลย
ผู้อภิปรายร่วมกับชาญวิทย์ในวันนั้นคนหนึ่งบอกว่า “เวลาไปไฮด์ปาร์กที่ไหน ปรากฏการณ์ก็จะคล้ายๆ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นปรากฏการณ์เดียวกัน ซึ่ง 2 คนนี้ มีที่มาแทบไม่ต่างกัน เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้ว ประสบการณ์ซูจี ก่อนหน้าตอนที่เธอกลับมาพม่า ก็มีประสบการณ์น้อยกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยซ้ำ อย่างน้อย น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีพี่ชายเป็นนักการเมือง ครอบครัวเป็นนักการเมืองร่วมสมัย ขณะที่คุณพ่อของซูจี เสียชีวิตตอนซูจี 2 ขวบ เธอไม่มีอะไรในหัวเกี่ยวกับพ่อ เธอยังทำงานวิจัยค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพ่ออยู่เลย”
เป็นนัยว่า เมื่อเทียบกันแล้วยิ่งลักษณ์ยังมีอะไรดีกว่าซูจีตั้งเยอะ
ผมก็ออกจะชื่นชมอองซาน ซูจีนะครับ ด้านหนึ่งผมจึงคิดว่า เอายิ่งลักษณ์มาเปรียบกับซูจีเนี่ยนะ ตอนเริ่มต้นกลับเข้าไปประเทศและเหตุการณ์ชักนำให้ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ทางการเมือง ซูจีอาจจะไม่มีพื้นฐานทางการเมืองก็จริง แต่หลังผ่านการต่อสู้มา 20-30 ปีจนซูจีอายุ 60 กว่าจะ 70 แล้วนี่ผมคิดว่าเธอน่าจะมีประวัติการต่อสู้ทางการเมืองสะท้อนทัศนคติความคิดและอุดมการณ์ออกมาให้ประชาชนได้รับรู้พอสมควรแล้ว หากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในวันข้างหน้าเธอก็จะเป็นประธานาธิบดีที่มีภูมิหลังในการต่อสู้ทางการเมืองไม่ได้ตัวเปล่าเล่าเปลือยกลวงโบ๋แบบยิ่งลักษณ์แน่
ส่วนถึงเวลาเธอจะทำงานได้จริงและนำพาประเทศชาติได้หรือไม่หรือต้องเป็นหุ่นยนต์ให้คนมากดปุ่มแบบยิ่งลักษณ์หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ไม่มีอะไรเปรียบเทียบซูจีกับยิ่งลักษณ์ที่ไม่เคยมีประวัติการต่อสู้ทางการเมืองมาก่อน ใช้เวลา 40 กว่าวันแล้วก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีจากบารมีของพี่ชาย และเมื่อได้นายกรัฐมนตรีแล้วก็พิสูจน์ได้ว่าเธอไม่มีความสามารถจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้เลย
ที่สำคัญผมไม่คิดว่า การเลือกผู้นำทางการเมืองจากการสืบสายพันธุ์มาเป็นตัวบ่งชี้ที่ถูกต้องในระบอบประชาธิปไตย นอกจากเห็นเขาทำกันในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีหรือเกาหลีเหนือเท่านั้นเอง
แปลกไหมครับเวลาจะปฏิเสธสถาบันพระมหากษัตริย์แบบไทยๆ ชาญวิทย์บอกว่า สถาบันกษัตริย์ โลกก็มีมาตรฐาน สถาบันที่ไหน เป็นมาตรฐานของโลก คิดว่าอังกฤษ หนีไม่พ้น เราต้องดูว่ามาตรฐานสูงสุดอยู่ที่ไหน ถึงใครจะบอกว่า ต้องเป็น ไทยแท้ๆ เป็นพม่าแท้ๆ ซูจีไปเชียงตุง แต่งชุดไทยใหญ่ ทำไมไม่แต่งชุดพม่า อ้าว บางอย่างมันก็มีมาตรฐานของมันละนะ คุณไปต่างประเทศ ก็ต้องแต่งตัวแบบนั้นให้เข้ากับสถานการณ์อะไรก็ตาม คือรวมความแล้ว มองว่าสิ่งที่เราเห็นบ่อยๆ คำว่า นานาอารยประเทศสากล ยังไงก็เป็นมาตรฐาน ไม่มีใครอยากอยู่ล้าหลังด้อย แล้วแฮปปี้กับความล้าหลัง มนุษย์ต้องการไปกับอนาคต
แต่ตลกไหมครับ อ้างว่าเราต้องเป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก สถาบันกษัตริย์ต้องดูแบบมาตรฐานอังกฤษ แต่พอได้นายกฯ แบบยิ่งลักษณ์กลับบอกว่า เอเชียก็ต้องเลือกนายกฯ แบบ “สายพันธุ์” DNA สายเลือดนี่แหละ
หรือต่อไปนี้นักการเมืองไทยต้องมีอะไรคล้ายๆ เพดดิกรี (Pedigree) ด้วย แต่ผมว่าสายพันธุ์ของยิ่งลักษณ์โดยรวมนั้นน่าจะตรงข้ามกับที่ชาญวิทย์บอกว่า สายพันธุ์ดี หน้าตาดี แล้วยังฉลาดอีกด้วยนะ